จากคอลัมน์ Learn & Share โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล
(suwatmgr@gmail.com)
เซกชั่น Good Health & Well Being ของ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2558)
__________________________________________________________
แน่นอนครับ หากมองว่าการดำเนินชีวิตก็คล้ายการบริหารธุรกิจประเภทหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายย่อมไม่ต้องการ “ติดลบ” คือ มีกำไร เพียงแต่กำไรชีวิตนั้นคือ “ความสำเร็จ” ซึ่งอาจหมายถึง “ความสุข” หรือ “คุณค่า” จากการลงทุนชีวิต ซึ่งทั้งตัวเองและสังคมให้การยอมรับ
เมื่อมีเป้าหมายที่มีแก่นสารทำนองนี้ คนแบบนี้ย่อมต้องบริหารชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ จึงไม่ใช่คนที่ปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม หรืออยู่กับเรื่องไร้สาระ ปล่อยให้เวลาผ่านไปวันๆ มีชีวิตอยู่เหมือน “แก้บน”
หลายคนเมื่อผ่านจังหวะโอกาสดีๆ หรือพลาดท่าเสียทีทำผิดพลาด ก็ได้แต่บนซ้ำซากว่า “เสียดาย...” หรือบอกว่า “รู้อย่างงี้...” เหมือนรู้สึกตัวก็สายไปแล้ว
เช่นบางคน เหมือนจะรู้ว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องจำเป็น แต่ไม่เคยให้ความสำคัญไม่จัดเวลาบริหารร่างกาย จนปล่อยให้อ้วนฉุ พุงพลุ้ย ขี้โรค กว่าจะรู้เมื่อหมอบอกให้ทำก็เกือบสายไป
ประเด็นเกริ่นนำข้างต้นนี้มีอยู่ในเนื้อหาภาคที่ 1 “แนวคิดในการบริหารชีวิต” จากหนังสือเล่มเด่นของ ณรงค์วิทย์ แสนทอง ชื่อ “กล้าเปลี่ยนแปลง” : ก้าวกระโดดข้ามสิ่งที่เป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่ต้องการ ซึ่งตอนนี้จัดทำเป็นหนังสือเสียง เพื่อความสะดวกในการเรียนรู้ทางการฟังได้แล้ว
เมื่อรู้จักว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของชีวิต คือ “ความสำเร็จ” จึงต้องหย่าขาดจากการบ่น “เสียดาย...” ไม่ให้เป็นสนิมชีวิตอีกต่อไป
แนวทางการบริหารธุรกิจชีวิต ที่น่าจะนำมาประยุกต์ใช้ คือ
1.กำหนดวิสัยทัศน์ชีวิต
ทำได้ 2 ลักษณะ คือ จากความใฝ่ฝันของเรา อาจะเกิดจากแรงดลใจ ที่มาจากประสบการณ์ชีวิต เช่น เคยยากลำบาก จึงอยากช่วยงานสังคม
ดูแบบอย่างผู้ประสบความสำเร็จ คุณลักษณะของบุคคลต้นแบบที่เราชื่นชม จะช่วยจุดประกายความฝัน และเป็นพลังแสงสว่างให้เกิดภาพที่เราอยากเป็น และจะเป็นเสมือนเข็มทิศชี้นำชีวิตเราไปสู่ทิศทางใฝ่ดีนั้น
2.วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน
เมื่อเรามีเป้าหมายชัดเจนแล้ว ต้องมาดูความพร้อมของตัวเราว่ามีข้อดี หรือ จุดแข็ง (Strength) ที่ส่งเสริมต่อการไปสู่จุดหมายที่กำหนดขนาดไหน และมีข้อด้อย หรือ จุดอ่อน (Weaknesses) ที่ยังต้องพัฒนาปรับปรุง
ขณะเดียวกันก็ยังต้องดูปัจจัยแวดล้อมภายนอกว่า มีอะไรที่เป็นโอกาสเอื้อ (Opportunities) และที่เป็นอุปสรรค (Threats) คืออะไร
การวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยให้เข้าใจตัวเองว่า ต้องเสริมจุดแข็งแก้จุดอ่อน ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เอื้ออำนวย และป้องกันหรือลดผลกระทบจากอุปสรรค
3.ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
การกำหนดปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการนำเราไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ เช่นต้องการเป็นเจ้าของกิจการก็ต้องมี
• เงินลงทุน
• ความรู้ด้านการจัดการ
• ลูกค้า
• บุคลากร
• เทคโนโลยี
4.กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของแต่ละอาชีพอาจมีความแตกต่างกัน และมีเป้าหมายระยะเวลาเตรียมการ ให้ได้ปัจจัยแต่ละด้านอาจต่างกัน ทำให้ต้องจัดลำดับความสำคัญการไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น
5.กำหนดทางเลือก
ในแต่ละเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ย่อยๆ ด้านต่างๆ อาจเป็นด้านเงินทุน ด้านความรู้ หรือด้านประสบการณ์ ก็ต้องกำหนดทางเลือกเพื่อให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด เช่น เป้าหมายย่อยด้านเงินทุนอาจมีทางเลือก คือ กู้เงินจากสถาบันการเงิน กู้เงินจากญาติพี่น้อง เก็บสะสมเงินด้วยตัวเอง และระดมทุนจากหุ้นส่วน ทั้งนี้แต่ละทางเลือกย่อมมีเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างกัน
6.กำหนดแผนเชิงกลยุทธ์
เป็นการนำกลยุทธ์แต่ละด้านมาทำแผนรวม เพื่อให้รู้ว่าแต่ละช่วงเวลาเราจะทำอะไรก่อนหลัง จัดทำเป็นตารางการดำเนินชีวิตให้ชัดเจนว่า เราจะทำอะไร เมื่อใด อย่างไร
นอกจากนี้ก็ควรทำแผนสำรองไว้ด้วย เผื่อกรณีแผนที่กำหนดไว้ไม่เป็นไปตามต้องการ
กำกับด้วยวงจร PDCA
หนังสือเล่มนี้ยังแนะนำให้วงจรคุณภาพ (Deming Quality Cycle) มากำกับการขับเคลื่อนการบริหารธุรกิจชีวิต คือ เมื่อเราได้กำหนดแผนชีวิตเสร็จ (Plan) ก็นำไปปฏิบัติจริง (Do) ก็ควรตรวจสอบเพื่อติดตามผลเป็นระยะๆ (Check) หากมีข้อติดขัด หรือมีปัญหาระหว่างทางก็ปรับปรุงแก้ไข (Act) ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
เรียกว่าทุกขั้นตอนของแผนย่อยก็สามารถหมุนวงจร P > D > C > A กำกับดูแลให้เป็นไปตามแผน
กล่าวโดยสรุป การเปรียบเทียบการใช้ชีวิตกับการทำธุรกิจก็เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า การที่ไม่จริงจังกับการบริหารชีวิต คือไม่มีความใฝ่ฝันที่เหมาะสม ไม่มีเป้าหมายชีวิตที่ดี ไม่มีแผนเชิงกลยุทธ์ คือขาดการวิเคราะห์ศักยภาพตัวเองอย่างชัดเจน และไม่มีความมุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินชีวิต อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรม
ชีวิตแบบนี้ก็มีแต่ “ติดลบ” หรือเป็นชีวิตที่ขาดทุนในหุ้นส่วนชีวิต
ตัวเราเองนั้นเสมือนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด คนอื่นทั้งพ่อแม่พี่น้อง สามีหรือภรรยา ลูก ปละญาติๆ ก็นับเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
เมื่อใดที่เรามีกำไรชีวิต ก็แจกความสุขปันผลไปยังคนที่เป็นหุ้นส่วนชีวิตเราด้วย แต่ถ้าชีวิตขาดทุนก็เกิดหนี้แห่งความทุกข์ ที่ถูกเฉลี่ยเป็นผลกระทบทางชื่อเสียงไปยังคนในครอบครัวด้วย
___________________________
ข้อมูลจาก หนังสือและหนังสือเสียง : กล้าเปลี่ยนแปลง
โดย : ณรงค์วิทย์ แสนทอง
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ด ยูเคชั่น
(suwatmgr@gmail.com)
เซกชั่น Good Health & Well Being ของ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2558)
__________________________________________________________
แน่นอนครับ หากมองว่าการดำเนินชีวิตก็คล้ายการบริหารธุรกิจประเภทหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายย่อมไม่ต้องการ “ติดลบ” คือ มีกำไร เพียงแต่กำไรชีวิตนั้นคือ “ความสำเร็จ” ซึ่งอาจหมายถึง “ความสุข” หรือ “คุณค่า” จากการลงทุนชีวิต ซึ่งทั้งตัวเองและสังคมให้การยอมรับ
เมื่อมีเป้าหมายที่มีแก่นสารทำนองนี้ คนแบบนี้ย่อมต้องบริหารชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ จึงไม่ใช่คนที่ปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม หรืออยู่กับเรื่องไร้สาระ ปล่อยให้เวลาผ่านไปวันๆ มีชีวิตอยู่เหมือน “แก้บน”
หลายคนเมื่อผ่านจังหวะโอกาสดีๆ หรือพลาดท่าเสียทีทำผิดพลาด ก็ได้แต่บนซ้ำซากว่า “เสียดาย...” หรือบอกว่า “รู้อย่างงี้...” เหมือนรู้สึกตัวก็สายไปแล้ว
เช่นบางคน เหมือนจะรู้ว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องจำเป็น แต่ไม่เคยให้ความสำคัญไม่จัดเวลาบริหารร่างกาย จนปล่อยให้อ้วนฉุ พุงพลุ้ย ขี้โรค กว่าจะรู้เมื่อหมอบอกให้ทำก็เกือบสายไป
ประเด็นเกริ่นนำข้างต้นนี้มีอยู่ในเนื้อหาภาคที่ 1 “แนวคิดในการบริหารชีวิต” จากหนังสือเล่มเด่นของ ณรงค์วิทย์ แสนทอง ชื่อ “กล้าเปลี่ยนแปลง” : ก้าวกระโดดข้ามสิ่งที่เป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่ต้องการ ซึ่งตอนนี้จัดทำเป็นหนังสือเสียง เพื่อความสะดวกในการเรียนรู้ทางการฟังได้แล้ว
เมื่อรู้จักว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของชีวิต คือ “ความสำเร็จ” จึงต้องหย่าขาดจากการบ่น “เสียดาย...” ไม่ให้เป็นสนิมชีวิตอีกต่อไป
แนวทางการบริหารธุรกิจชีวิต ที่น่าจะนำมาประยุกต์ใช้ คือ
1.กำหนดวิสัยทัศน์ชีวิต
ทำได้ 2 ลักษณะ คือ จากความใฝ่ฝันของเรา อาจะเกิดจากแรงดลใจ ที่มาจากประสบการณ์ชีวิต เช่น เคยยากลำบาก จึงอยากช่วยงานสังคม
ดูแบบอย่างผู้ประสบความสำเร็จ คุณลักษณะของบุคคลต้นแบบที่เราชื่นชม จะช่วยจุดประกายความฝัน และเป็นพลังแสงสว่างให้เกิดภาพที่เราอยากเป็น และจะเป็นเสมือนเข็มทิศชี้นำชีวิตเราไปสู่ทิศทางใฝ่ดีนั้น
2.วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน
เมื่อเรามีเป้าหมายชัดเจนแล้ว ต้องมาดูความพร้อมของตัวเราว่ามีข้อดี หรือ จุดแข็ง (Strength) ที่ส่งเสริมต่อการไปสู่จุดหมายที่กำหนดขนาดไหน และมีข้อด้อย หรือ จุดอ่อน (Weaknesses) ที่ยังต้องพัฒนาปรับปรุง
ขณะเดียวกันก็ยังต้องดูปัจจัยแวดล้อมภายนอกว่า มีอะไรที่เป็นโอกาสเอื้อ (Opportunities) และที่เป็นอุปสรรค (Threats) คืออะไร
การวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยให้เข้าใจตัวเองว่า ต้องเสริมจุดแข็งแก้จุดอ่อน ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เอื้ออำนวย และป้องกันหรือลดผลกระทบจากอุปสรรค
3.ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
การกำหนดปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการนำเราไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ เช่นต้องการเป็นเจ้าของกิจการก็ต้องมี
• เงินลงทุน
• ความรู้ด้านการจัดการ
• ลูกค้า
• บุคลากร
• เทคโนโลยี
4.กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของแต่ละอาชีพอาจมีความแตกต่างกัน และมีเป้าหมายระยะเวลาเตรียมการ ให้ได้ปัจจัยแต่ละด้านอาจต่างกัน ทำให้ต้องจัดลำดับความสำคัญการไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น
5.กำหนดทางเลือก
ในแต่ละเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ย่อยๆ ด้านต่างๆ อาจเป็นด้านเงินทุน ด้านความรู้ หรือด้านประสบการณ์ ก็ต้องกำหนดทางเลือกเพื่อให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด เช่น เป้าหมายย่อยด้านเงินทุนอาจมีทางเลือก คือ กู้เงินจากสถาบันการเงิน กู้เงินจากญาติพี่น้อง เก็บสะสมเงินด้วยตัวเอง และระดมทุนจากหุ้นส่วน ทั้งนี้แต่ละทางเลือกย่อมมีเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างกัน
6.กำหนดแผนเชิงกลยุทธ์
เป็นการนำกลยุทธ์แต่ละด้านมาทำแผนรวม เพื่อให้รู้ว่าแต่ละช่วงเวลาเราจะทำอะไรก่อนหลัง จัดทำเป็นตารางการดำเนินชีวิตให้ชัดเจนว่า เราจะทำอะไร เมื่อใด อย่างไร
นอกจากนี้ก็ควรทำแผนสำรองไว้ด้วย เผื่อกรณีแผนที่กำหนดไว้ไม่เป็นไปตามต้องการ
กำกับด้วยวงจร PDCA
หนังสือเล่มนี้ยังแนะนำให้วงจรคุณภาพ (Deming Quality Cycle) มากำกับการขับเคลื่อนการบริหารธุรกิจชีวิต คือ เมื่อเราได้กำหนดแผนชีวิตเสร็จ (Plan) ก็นำไปปฏิบัติจริง (Do) ก็ควรตรวจสอบเพื่อติดตามผลเป็นระยะๆ (Check) หากมีข้อติดขัด หรือมีปัญหาระหว่างทางก็ปรับปรุงแก้ไข (Act) ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
เรียกว่าทุกขั้นตอนของแผนย่อยก็สามารถหมุนวงจร P > D > C > A กำกับดูแลให้เป็นไปตามแผน
กล่าวโดยสรุป การเปรียบเทียบการใช้ชีวิตกับการทำธุรกิจก็เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า การที่ไม่จริงจังกับการบริหารชีวิต คือไม่มีความใฝ่ฝันที่เหมาะสม ไม่มีเป้าหมายชีวิตที่ดี ไม่มีแผนเชิงกลยุทธ์ คือขาดการวิเคราะห์ศักยภาพตัวเองอย่างชัดเจน และไม่มีความมุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินชีวิต อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรม
ชีวิตแบบนี้ก็มีแต่ “ติดลบ” หรือเป็นชีวิตที่ขาดทุนในหุ้นส่วนชีวิต
ตัวเราเองนั้นเสมือนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด คนอื่นทั้งพ่อแม่พี่น้อง สามีหรือภรรยา ลูก ปละญาติๆ ก็นับเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
เมื่อใดที่เรามีกำไรชีวิต ก็แจกความสุขปันผลไปยังคนที่เป็นหุ้นส่วนชีวิตเราด้วย แต่ถ้าชีวิตขาดทุนก็เกิดหนี้แห่งความทุกข์ ที่ถูกเฉลี่ยเป็นผลกระทบทางชื่อเสียงไปยังคนในครอบครัวด้วย
___________________________
ข้อมูลจาก หนังสือและหนังสือเสียง : กล้าเปลี่ยนแปลง
โดย : ณรงค์วิทย์ แสนทอง
สำนักพิมพ์ : ซีเอ็ด ยูเคชั่น