"ไฉ จิ้ง" นักข่าวหญิงชาวจีน ที่ได้ลงทุนทำสารคดี "Under the Dome" แปลเป็นไทยคือ "ภายใต้โดม" ที่ได้รายงานเสนอข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับ มลพิษทางอากาศของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลงานสารคดีชิ้นนี้ได้ทำให้คนทั่วโลกนอกจากจะเห็นความล้มเหลวการรับมือกับปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อมในประเทศจีนแล้ว ยังทำให้คนทั่วโลกได้หันกลับมามองมลพิษในนโยบายของประเทศตัวเองด้วย
มลพิษด้านหนึ่งที่ "ไฉ จิ้ง" ได้นำเสนอก็คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กๆ ขนาด 2.5 ไมครอน หรือเรียกสั้นๆ ว่า PM 2.5 ที่มีมากมายมหาศาลในกรุงปักกิ่งและทั่วประเทศจีนว่า ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอย่างมากมายจนถึงการเป็นโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง ฝุ่นเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากโรคไฟฟ้าถ่านหิน เขม่าควันจากการใช้น้ำมันดีเซล และการใช้น้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐาน การเผาขยะ ฝุ่นละอองจากเหมืองแร่ ฝุ่นละอองจากสิ่งปลูกสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และฝุ่นละอองจากร้านอาหารที่ใช้น้ำมันผัดหรือทอดโดยที่ไม่มีการควบคุมที่ดี
และเพราะฝุ่นเหล่านี้มีขนาดเล็กมาก จึงอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเพราะมันมีขนาดเล็กมาก คนทั่วไปจึงไม่ตระหนัก และเข้าไปในร่างกายมนุษย์ได้อย่างง่ายดายโดยที่เราไม่เคยรู้ตัวเลย และกว่าจะรู้ก็เป็นโรคร้ายแล้ว
องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้ฝุ่นอนุภาคในอากาศนั้นเป็นสารก่อมะเร็งประเภทหนึ่ง เป็นมลพิษที่อันตรายทางอากาศ เพราะมันสามารถเข้าไปในปอดและกระแสเลือดได้ง่ายโดยไม่สามารถกรองได้ ส่งผลทำให้รหัสพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอกลายพันธุ์ เพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้
จากหลักฐานในวารสารทางการแพทย์ The Lancet Oncology ได้รายงานเผยแพร่งานวิจัยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2556 โดย Ole Rasschou-Nielsen และคณะวิจัย ได้ศึกษาจำนวนประชากรที่เกี่ยวข้อง 312,944 คน จาก 9 ประเทศในยุโรป พบว่าระดับของละอองฝุ่นขนาด 10 ไมครอน ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะทำให้อัตราความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดเพิ่มสูงขึ้น 22.2% ในขณะที่ละอองฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่าในระดับ 2.5 ไมครอนนั้น กลับทำให้ให้อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดเพิ่มสูงมากขึ้นยิ่งกว่า โดยระดับของละอองฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอน ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะทำให้อัตราความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดเพิ่มสูงขึ้นเป็น 36%
หมายความว่า ฝุ่นยิ่งเล็ก ยิ่งอันตราย!!!
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เผยแพร่รายงาน "สถานการณ์มลพิษประเทศไทย ปี 2558 รอบ 6 เดือน" เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 พบว่า "ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) มีปริมาณเกินมาตรฐานมากขึ้นกว่าเดิม" โดยระบุในรายงานว่า :
"มีจุดตรวจวัดขณะนี้ทั้งหมด 10 จุด ใน 9 จังหวัด และเริ่มมีการตรวจวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ภาพรวมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 ฝุ่นละออง PM 2.5 เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันเป็นปริมาณมาก (ปี 2557 เกินค่ามาตรฐานเฉลี่ยร้อยละ 32 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42 ในปี 2558) โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำปาง ระยอง และสระบุรี สำหรับจังหวัดขอนแก่น สมุทรสาคร และสงขลา แม้ว่าปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 จะลดลงแต่ก็เป็นปริมาณน้อย ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ระหว่างการตรวจสอบหาสาเหตุในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขต่อไป"
ความน่ากลัวของฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้ของประเทศไทยอยู่ตรงที่
1.เกินมาตรฐาน
2.มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
3.ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้และอยู่ระหว่างการตรวจสอบหาสาเหตุในพื้นที่ดังกล่าว
แม้จะยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่ดูเหมือนว่ากรมควบคุมมลพิษน่าจะรู้เบาะแสว่ามันจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกเพราะสาเหตุใด จึงได้รายงานด้วยข้อความสั้นๆ ในหัวข้อ "การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศ" ว่า
"จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยภาพรวมของประเทศ พบว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และก๊าซโอโซนเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรและสภาพสังคมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และในอนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้ถ่านหิน และขยะมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสามลพิษในอากาศในหลายพื้นที่"
ในขณะที่รัฐบาลกำลังเลือกใช้พลังงานถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามกดดันให้ประชาชนเลิกใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคขนส่งด้วยการทยอยขึ้นภาษีสรรพสามิต แล้วเอาก๊าซแอลพีจี ไปเป็นวัตถุดิบให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้แทนนั้น ถือเป็นนโยบายที่เอาเรื่องเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง โดยไม่ได้เอาสุขภาพและชีวิตของประชาชนเป็นตัวตั้งเลย
เพราะการเลือกใช้พลังงานใดว่าให้ใครใช้มิได้มีมิติใน "คุณค่าทางธุรกิจ" เท่านั้น แต่ยังมีมิติ "คุณค่าสุขภาพและชีวิตมนุษย์" ที่ประเมินค่าไม่ได้ด้วยเช่นกัน
จากการศึกษาผลกระทบของมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร (Health Effects of Air Pollution in Bangkok) พบว่า
"ฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จากปี พ.ศ. 2551 ได้พบว่า ฝุ่นละอองที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะส่งผลทำให้ประชากร 1.9% เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น และเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น 1% ในทุกสาเหตุของโรค ทั้งนี้ระดับของฝุ่นละอองเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2539 อยู่ที่ 65 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, ในปี พ.ศ. 2545 เพิ่มขึ้นเป็น 68 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ในปี พ.ศ. 2547 กลับลดลงเหลือ 52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้มลพิษลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญก็อาจจะเป็นเพราะในช่วงเวลานั้นเป็นผลมาจากการเปลี่ยนพลังงานในภาคขนส่งจากการใช้น้ำมันดีเซลมาเป็นก๊าซธรรมชาติควบคู่กับการปรับปรุงข้อกำหนดต่างๆ มากขึ้น"
เป็นข่าวดีมากที่รู้ว่าการเปลี่ยนจากภาคขนส่งที่ใช้น้ำมันดีเซลหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นทำให้มลพิษที่ก่อโรคร้ายแรงมีน้อยลง แต่มีข่าวร้ายยิ่งกว่าที่รัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมให้ภาคขนส่งมาแย่งใช้ก๊าซแอลพีจีจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
และเป็นข่าวดีมากที่นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศจะลดการปล่อยมลภาวะจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และส่งเสริมให้เกิดพลังงานหมุนเวียนให้มาแทนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน แต่เป็นข่าวร้ายที่รัฐบาลไทยยังคงส่งเสริมให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินให้มากขึ้น ทั้งๆที่ทั่วโลกกำลังจะลดและปลดโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ใช้น้อยลง
อย่าคิดว่าฝุ่นละอองเหล่านี้จะไม่เข้าสู่ร่างกาย เพราะเรามองไม่เห็น แม้แต่ในอาคารบ้านเรือน หรือแม้แต่ในรถทีปิดกระจกเปิดแอร์ก็ยังสามารถเกิดฝุ่นเหล่านี้เข้ามาได้
ถ้ารัฐบาลยังไม่ได้เข้าใจ คุณค่าของสุขภาพ และคุณค่าชีวิตคน ที่ไม่ได้มีศักดิ์ศรีด้อยว่าคุณค่าของชีวิตนักธุรกิจ ประชาชนก็ต้องเลือกดูแลตัวเอง ได้หลายวิธี เช่น ลุกขึ้นมาดูแลท้องถิ่นตัวตัวเองในการป้องภัยมลพิษ ต่อต้านนโยบายที่สร้างมลพิษ ย้ายถิ่นฐานไปในที่ๆสะอาดกว่า หรือติดเครื่องฟอกอากาศที่กรองฝุ่นขนาดเล็กเอาไว้ในบ้านเพื่อความปลอภัย ฯลฯ ตามสภาพของตัวเองต่อไป
มลพิษด้านหนึ่งที่ "ไฉ จิ้ง" ได้นำเสนอก็คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กๆ ขนาด 2.5 ไมครอน หรือเรียกสั้นๆ ว่า PM 2.5 ที่มีมากมายมหาศาลในกรุงปักกิ่งและทั่วประเทศจีนว่า ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอย่างมากมายจนถึงการเป็นโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง ฝุ่นเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากโรคไฟฟ้าถ่านหิน เขม่าควันจากการใช้น้ำมันดีเซล และการใช้น้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐาน การเผาขยะ ฝุ่นละอองจากเหมืองแร่ ฝุ่นละอองจากสิ่งปลูกสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และฝุ่นละอองจากร้านอาหารที่ใช้น้ำมันผัดหรือทอดโดยที่ไม่มีการควบคุมที่ดี
และเพราะฝุ่นเหล่านี้มีขนาดเล็กมาก จึงอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเพราะมันมีขนาดเล็กมาก คนทั่วไปจึงไม่ตระหนัก และเข้าไปในร่างกายมนุษย์ได้อย่างง่ายดายโดยที่เราไม่เคยรู้ตัวเลย และกว่าจะรู้ก็เป็นโรคร้ายแล้ว
องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้ฝุ่นอนุภาคในอากาศนั้นเป็นสารก่อมะเร็งประเภทหนึ่ง เป็นมลพิษที่อันตรายทางอากาศ เพราะมันสามารถเข้าไปในปอดและกระแสเลือดได้ง่ายโดยไม่สามารถกรองได้ ส่งผลทำให้รหัสพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอกลายพันธุ์ เพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้
จากหลักฐานในวารสารทางการแพทย์ The Lancet Oncology ได้รายงานเผยแพร่งานวิจัยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2556 โดย Ole Rasschou-Nielsen และคณะวิจัย ได้ศึกษาจำนวนประชากรที่เกี่ยวข้อง 312,944 คน จาก 9 ประเทศในยุโรป พบว่าระดับของละอองฝุ่นขนาด 10 ไมครอน ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะทำให้อัตราความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดเพิ่มสูงขึ้น 22.2% ในขณะที่ละอองฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่าในระดับ 2.5 ไมครอนนั้น กลับทำให้ให้อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดเพิ่มสูงมากขึ้นยิ่งกว่า โดยระดับของละอองฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอน ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะทำให้อัตราความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดเพิ่มสูงขึ้นเป็น 36%
หมายความว่า ฝุ่นยิ่งเล็ก ยิ่งอันตราย!!!
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เผยแพร่รายงาน "สถานการณ์มลพิษประเทศไทย ปี 2558 รอบ 6 เดือน" เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 พบว่า "ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) มีปริมาณเกินมาตรฐานมากขึ้นกว่าเดิม" โดยระบุในรายงานว่า :
"มีจุดตรวจวัดขณะนี้ทั้งหมด 10 จุด ใน 9 จังหวัด และเริ่มมีการตรวจวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ภาพรวมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 ฝุ่นละออง PM 2.5 เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันเป็นปริมาณมาก (ปี 2557 เกินค่ามาตรฐานเฉลี่ยร้อยละ 32 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42 ในปี 2558) โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำปาง ระยอง และสระบุรี สำหรับจังหวัดขอนแก่น สมุทรสาคร และสงขลา แม้ว่าปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 จะลดลงแต่ก็เป็นปริมาณน้อย ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ระหว่างการตรวจสอบหาสาเหตุในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขต่อไป"
ความน่ากลัวของฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้ของประเทศไทยอยู่ตรงที่
1.เกินมาตรฐาน
2.มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
3.ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้และอยู่ระหว่างการตรวจสอบหาสาเหตุในพื้นที่ดังกล่าว
แม้จะยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่ดูเหมือนว่ากรมควบคุมมลพิษน่าจะรู้เบาะแสว่ามันจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกเพราะสาเหตุใด จึงได้รายงานด้วยข้อความสั้นๆ ในหัวข้อ "การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศ" ว่า
"จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยภาพรวมของประเทศ พบว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และก๊าซโอโซนเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรและสภาพสังคมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และในอนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้ถ่านหิน และขยะมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสามลพิษในอากาศในหลายพื้นที่"
ในขณะที่รัฐบาลกำลังเลือกใช้พลังงานถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามกดดันให้ประชาชนเลิกใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคขนส่งด้วยการทยอยขึ้นภาษีสรรพสามิต แล้วเอาก๊าซแอลพีจี ไปเป็นวัตถุดิบให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้แทนนั้น ถือเป็นนโยบายที่เอาเรื่องเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง โดยไม่ได้เอาสุขภาพและชีวิตของประชาชนเป็นตัวตั้งเลย
เพราะการเลือกใช้พลังงานใดว่าให้ใครใช้มิได้มีมิติใน "คุณค่าทางธุรกิจ" เท่านั้น แต่ยังมีมิติ "คุณค่าสุขภาพและชีวิตมนุษย์" ที่ประเมินค่าไม่ได้ด้วยเช่นกัน
จากการศึกษาผลกระทบของมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร (Health Effects of Air Pollution in Bangkok) พบว่า
"ฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จากปี พ.ศ. 2551 ได้พบว่า ฝุ่นละอองที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะส่งผลทำให้ประชากร 1.9% เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น และเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น 1% ในทุกสาเหตุของโรค ทั้งนี้ระดับของฝุ่นละอองเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2539 อยู่ที่ 65 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, ในปี พ.ศ. 2545 เพิ่มขึ้นเป็น 68 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ในปี พ.ศ. 2547 กลับลดลงเหลือ 52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้มลพิษลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญก็อาจจะเป็นเพราะในช่วงเวลานั้นเป็นผลมาจากการเปลี่ยนพลังงานในภาคขนส่งจากการใช้น้ำมันดีเซลมาเป็นก๊าซธรรมชาติควบคู่กับการปรับปรุงข้อกำหนดต่างๆ มากขึ้น"
เป็นข่าวดีมากที่รู้ว่าการเปลี่ยนจากภาคขนส่งที่ใช้น้ำมันดีเซลหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นทำให้มลพิษที่ก่อโรคร้ายแรงมีน้อยลง แต่มีข่าวร้ายยิ่งกว่าที่รัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมให้ภาคขนส่งมาแย่งใช้ก๊าซแอลพีจีจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
และเป็นข่าวดีมากที่นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศจะลดการปล่อยมลภาวะจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และส่งเสริมให้เกิดพลังงานหมุนเวียนให้มาแทนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน แต่เป็นข่าวร้ายที่รัฐบาลไทยยังคงส่งเสริมให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินให้มากขึ้น ทั้งๆที่ทั่วโลกกำลังจะลดและปลดโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ใช้น้อยลง
อย่าคิดว่าฝุ่นละอองเหล่านี้จะไม่เข้าสู่ร่างกาย เพราะเรามองไม่เห็น แม้แต่ในอาคารบ้านเรือน หรือแม้แต่ในรถทีปิดกระจกเปิดแอร์ก็ยังสามารถเกิดฝุ่นเหล่านี้เข้ามาได้
ถ้ารัฐบาลยังไม่ได้เข้าใจ คุณค่าของสุขภาพ และคุณค่าชีวิตคน ที่ไม่ได้มีศักดิ์ศรีด้อยว่าคุณค่าของชีวิตนักธุรกิจ ประชาชนก็ต้องเลือกดูแลตัวเอง ได้หลายวิธี เช่น ลุกขึ้นมาดูแลท้องถิ่นตัวตัวเองในการป้องภัยมลพิษ ต่อต้านนโยบายที่สร้างมลพิษ ย้ายถิ่นฐานไปในที่ๆสะอาดกว่า หรือติดเครื่องฟอกอากาศที่กรองฝุ่นขนาดเล็กเอาไว้ในบ้านเพื่อความปลอภัย ฯลฯ ตามสภาพของตัวเองต่อไป