xs
xsm
sm
md
lg

เคล็ดลับ กินพิชิตโรค "กรดไหลย้อน"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

 

โรคกรดไหลย้อนมีหลายสาเหตุ ทั้งจากความเครียด, จากพฤติกรรมการรับประทาน เช่น ทานอาหารรสจัด อาหารมัน อาหารทอด ทานอาหารเสร็จแล้วนอนเลย ฯลฯ 
          
          คำแนะนำทั่วไปในการรับประทานอาหาร (ผู้มีสุขภาพดีก็ควรปฏิบัติ) 
          
          1. ใน 2 - 3 คำแรกของอาหารแต่ละมื้อ ควรรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา ฯลฯ ก่อนอาหารประเภทอื่น เพราะการทานโปรตีนในคำแรกจะเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำย่อย เป็นการบอกร่างกายว่า ถึงเวลาที่จะต้องย่อยอาหารแล้ว และที่สำคัญอย่าลืมเคี้ยวให้ละเอียด และโปรดจำไว้ว่า ใน 2 - 3 คำแรก อย่าทานของเผ็ด ของเปรี้ยว ของมัน ผักสด ผลไม้สด ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม น้ำตาล ผักต้ม และข้าว (เรียงลำดับโทษจากมากไปน้อย) 
          
          2. เมื่อทานอาหารอื่นไปครึ่งมื้อแล้ว ค่อยเริ่มทานผักต้ม

  ผักต้มที่แนะนำให้รับประทาน มีดังนี้
          
          1.ผักที่มีฤทธิ์เย็น 
          บวบหอมต้ม แนะนำให้ทุกคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนทาน โดยเฉพาะผู้ที่มีสาเหตุจากกรดเกินในกระเพาะอาหารรับประทานทานและควรรับประทานให้มากในมื้อเย็น บวบหอมต้มจะช่วยลดอาการแสบท้อง ร้อนท้อง แสบหน้าอก ปวดท้องเหมือนลำไส้ถูกบิดได้
          
          2.ผักสีเขียวที่มีกากใยสูง 
          ผักหวานบ้าน, คะน้า, ผักกวางตุ้ง, ผักกาดแก้ว (ผักสลัด), ตำลึง, ผักบุ้ง, บล็อคโครี่ ฯลฯ ผักเหล่านี้ควรทานให้มากในมื้อเช้าและมื้อกลางวัน โดยขณะรับประทาน เน้นบริโภคคำเล็กๆ และเคี้ยวผักเหล่านี้ให้ละเอียดมาก 2 - 3 นาทีต่อ 1 คำ ก่อนกลืนผักให้ใช้ลิ้นช่วยจัดผักให้เป็นชิ้นเล็กๆ แผ่นแบนๆ (ไม่ไห้เป็นก้อน) เพื่อเป็นการกระจายกากใย เพราะกากใยในผัก ช่วยซับกรด ดูดซับน้ำตาลส่วนเกิน ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว เปรียบเหมือนเรามีหมอนวด นวดอาหารให้เคลื่อนไหวในลำไส้ บรรเทาอาการท้องผูก ให้มีการขับถ่าย และไล่ลมออกทางทวารหนัก (ผายลม) บ่อยครั้งที่ทานผักพวกนี้ลงไปแล้วจะเรอไล่ลมขึ้นมาทันทีเลย (คนละอย่างกับดื่มน้ำ แล้วน้ำไปแทนที่ลม จนเราเรอออกมา) 

 
          
          3.ผักสีขาวที่ย่อยง่าย 
          ผักสีขาวเป็นผักที่ย่อยง่าย เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ดอกกะหล่ำปลี โตวเหมี่ยว ควรทานให้มากในมื้อเย็น ซึ่งประโยชน์พิเศษของกะหล่ำปลี นักวิจัยหลายท่านเห็นด้วยกับการใช้กะหล่ำปลี ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เพราะกะหล่ำปลีประกอบด้วยซัลเฟอร์ ซึ่งช่วยในขบวนการหายของแผล สมานแผล รักษาการอักเสบ ช่วยซ่อมแซมผิวหนังและช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย (ที่มา : คัดลอกจากหนังสือ “น้ำทิพย์จากธรรมชาติ ทางลัดเพื่อสุขภาพจากผักและผลไม้” โดยทันตแพทย์จักรชัย และทันตแพทย์หญิงภัทรา หน้า 43 พิมพ์ครั้งที่ 4) 
          
          4.ผักที่เคี้ยวแล้วเป็นเมือก 
          ผักเหล่านี้ เมื่อเคี้ยวจะมีน้ำเป็นเมือก เหนียวๆ ข้นๆออกมา คล้ายกับน้ำราดหน้า กระเพาะปลา เช่น ผักปลัง ผักดอกกระเจี๊ยบ (หาซื้อได้ในร้านขายน้ำพริก) ผักเหล่านี้เหมาะสำหรับคนที่มีสาเหตุจากความเครียด มีกรดเกินในกระเพาะอาหารนั้นเอง โดยรับประทานผักเหล่านี้เป็นคำสุดท้ายของมื้ออาหาร เพื่อให้เมือกเหล่านี้ ไปเคลือบกระเพาะและลำไส้ ป้องกันอาการแสบท้อง ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร 
          
          5.เม็ดแมงลัก 
          มีกากใยสูง เหมาะสำหรับดูดซับน้ำตาลส่วนเกิน คำแนะนำจากประสบการณ์ส่วนตัว ผมจะทานเม็ดแมงลักตอนที่หิวข้าว เริ่มแสบท้องในมื้อเช้าครับ บางครั้งรถติดแต่ถึงเวลาที่ต้องทานอาหารมื้อเช้าแล้ว ให้ทานเม็ดแมงลักบรรเทาไปก่อน และหากในช่วงดึกมีอาการหิวและแสบท้องขึ้นมา ก็จะทานเม็ดแมงลักเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร


ประสบการณ์ตรงโดยผู้เขียน
1.ผักหวานต้ม
เป็นผักที่มีกากใยสูงมาก เป็นผักฤทธิ์เย็น รับประทานแล้วสบายท้อง เรียกได้ว่าประทับใจจริงๆ เส้นใยของผักหวานช่วยทำความสะอาดลำไส้ได้เป็นอย่างดีมาก ช่วงที่ผมเป็นหนัก ผมทานคู่กับบวบหอมต้ม เรียกได้ว่า สบายท้อง แถมถ่ายคล่องมากๆ

2.ผักกาดแก้วต้ม (ผักสลัดต้ม)
เป็นผักสีเขียวที่ย่อยได้ง่ายมากๆ มีกากใยสูง ถ่ายคล่องมากๆ

3.โตวเหมี่ยวต้ม
เป็นผักสีขาว ที่มีมีกากใยสูงมาก ย่อยง่ายมากด้วย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือผู้ที่ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ละเอียด รับประทานโตวเมี่ยวในมื้อเย็น รุ่งเช้าถ่ายได้คล่องมาก

4.บวบหอมต้ม
เป็นผักฤทธิ์เย็นมาก ลดกรดส่วนเกินในกระเพาะอาหาร ลดอาการร้อนท้อง

5.กะหล่ำปลี
เป็นผักสีขาว ประกอบด้วยซัลเฟอร์ ซึ่งช่วยในขบวนการหายของแผล สมานแผล รักษาการอักเสบ ช่วยซ่อมแซมผิวหนังและช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจากความเครียด
ผักที่มีน้ำตาลน้อย และ ผักที่มีน้ำตาลสูง
          
          - ผักที่มีน้ำตาลน้อย ได้แก่ ผักตั้งโอ๋ มะละกอดิบ กะหล่ำปลี คะน้า น้ำเต้า ผักกาดขาว ผัดกาดเขียว ผัดกาดแดง ผัดกาดหอม ผักโขม บวมเหลี่ยม ถั่วงอก เห็ดบัว ผักตำลึง บวบงู ฟักเขียว 
          
          - ผักที่มีน้ำตาลสูง (ควรเลือกและจำกัดปริมาณในการรับประทาน) ฟักทอง หัวหอมเล็ก สะระแหน่ ขึ้นฉ่าย มะเขือเขียว ต้นหอม หัวผักกาดเหลือง ถั่วฟักยาว มันแกว ดอกกะหล่ำปลี มะระ หอมหัวใหญ่ พริกหยวก ต้นกระเทียม พริกชี้ฟ้า ขิง หน่อไม้ไผ่ ขนุนดิบ ถั่วลันเตา หัวปลี ผักชี มะเขือเปราะ มะรุม มะเขือม่วง สายบัว ถั่วงอกหัวโต ใบมะขามอ่อน กระเจี๊ยบ 
          
          ที่มา: แผ่นผับ “การควบคุมอาหาร สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน” จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

 
ผลไม้ที่แนะนำให้รับประทาน
          
          1. แตงไทย 
          เป็นพืชฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับคนธาตุร้อนที่มีอาการร้อนท้อง กล่าวคือ หากรับประทานแตงไทย แล้วไม่มีอาการจุกที่คอ ไม่มีอาการท้องอืด แสดงว่าแตงไทยเหมาะกับท่านในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อน คนธาตุร้อนทานแตงไทยแล้วจะสบายท้องมาก แต่ผมซึ่งเป็นคนธาตุเย็นแถมมีอาการร้อนท้อง ทานแตงไทยเข้าไปแล้วจะจุกที่คอทันที และมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยในมื้อนั้นเลย ต้องหาขมิ้นชันมาทานเพิ่มมากกว่าเดิม และรีบไปต้มเนื้อไก่ (หาโปรตีน) มาทานเพื่อเรียกน้ำย่อย 
          
           
         
  2. แคนตาลูป 
          เป็นพืชฤทธิ์เย็น แต่เย็นน้อยกว่าแตงไทย ผมทานแล้วสบายท้อง ท้องไม่อืด อาหารย่อยได้ดี 
          
          3. ชมพู่ 
          ไม่หวาน ไม่เปรี้ยว มีกากใยช่วยในการขับถ่าย
          
          4. กล้วยน้ำว้า (ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรรับประทาน) 
          กล้วยน้ำว้าดีมากเพราะมีฤทธิ์เย็นในกระเพาะอาหารแต่จะมีฤทธิ์ร้อนที่ลำไส้ในการช่วยย่อยอาหาร ใช้เคลือบลำไส้ได้ดี เพราะจะเป็นเมือกเมื่ออยู่ในลำไส้

ผักและผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง
          
          1. ผลไม้ที่มีรสหวาน มีน้ำตาลทุกชนิด เช่น ลำไย เงาะ แตงโม ฯลฯ ผลไม้เหล่านี้ มีน้ำตาลในปริมาณที่สูง เมื่อเรารับประทานเข้าไป น้ำตาลในผลไม้จะมีฤทธิ์เป็นกรดที่ลำไส้เล็ก อีกทั้งแครอทก็ทำให้ท้องอืดด้วยเช่นกัน 

 
          
          2. ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิด มะเขือเทศ แก้วมังกร ฝรั่ง เสาวรส มะนาว เพราะมีวิตามินซีสูง เมื่ออยู่ในกระเพาะอาหารจะมีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้จุกท้อง ท้องป่อง และสำหรับคนที่เป็นหนัก จะมีอาการแสบท้องร่วมด้วย 

คำแนะนำเพิ่มเติม 
          
          หากโรคกรดไหลย้อนของท่านมีสาเหตุเกิดจากความเครียด มีกรดเกินในกระเพาะอาหารโดยมีอาการแสบท้อง ร้อนท้องร่วมด้วย เป็นต้น แนะนำให้ทานผักสีเขียวควบคู่กับกะหล่ำปลี ในสัดส่วน มื้อเช้า 80:20 กลางวัน 50:50 เย็น 30 :70 และมื้อเย็นอย่าลืมบวบหอมต้ม 
          
สิ่งสำคัญคือต้องพยายามสังเกตอุจจาระ 
          
          1. หากอุจจาระของท่าน มีสีเหลือง เป็นก้อนยาวสวยติดกัน ไม่มีกลิ่น และจมน้ำแสดงว่าท่านมีระบบขับถ่ายที่ดี 
          
          2. หากอุจจาระของท่าน มีลักษณะเหมือนขี้แพะ เล็กๆ ไหลออกเร็ว ไม่ได้เป็นก้อนติดกัน แสดงว่าระบบย่อยอาหารของท่านมีความเป็นกรดจากน้ำกรดในกระเพาะอาหารหรือมีความเป็นกรดจากอาหารที่รับประทาน คือ ผมให้ท่านลองทดลองด้วยตนเองดูว่า วันไหนท่านลองทานอาหารรสหวาน ไอศกรีม หรือแป้งละเอียด เช่น ขนมเปียะ ขนมเทียน ขนมปังหรือผักสดบริโภคปริมาณสักครึ่งมือสุดท้ายของอาหารมื้อเย็น อุจจาระของท่านจะเป็นเหมือนอุจจาระแพะเลย 

ข้อมูล "รู้ไว้มีสุข" ที่มา : เฟซบุ้คนานาสาระเพื่อสุขภาพที่ดี

กำลังโหลดความคิดเห็น