• อบเชยช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
มีการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่า เพียงโรยอบเชยลงในอาหาร จะช่วยลดอุณหภูมิในกระเพาะอาหารลงได้
กระเพาะเย็นลงแล้วดีอย่างไร นักวิจัยบอกว่า อุณหภูมิที่ลดลงนี้เกี่ยวโยงกับการลดระดับกรดในกระเพาะอาหาร และเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารที่ชื่อเปปซิน ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดรอบๆ ผนังกระเพาะอาหารดีขึ้น ส่งผลให้การย่อยอาหารและลำไส้ทำงานดีขึ้น
โดยอ้างอิงงานวิจัยก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการทดลองในหมู ที่พบว่า หมูที่กินอาหารผสมอบเชยจะมีอุณหภูมิในกระเพาะอาหารต่ำกว่าหมูที่กินอาหารปกติ 2 องศาเซลเซียส ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในลำไส้ลดลง ส่งผลดีต่อสุขภาพลำไส้ และเมื่อทดลองกับมนุษย์ก็ได้ผลออกมาแบบเดียวกัน
ผู้วิจัยคำนวณว่า กินอบเชยวันละ 1 กรัมก็เห็นผลแล้ว แต่ปริมาณที่ปลอดภัยตามกระทรวงสุขภาพของสหรัฐอเมริกาคือ ไม่เกินวันละ 6 กรัม เป็นเวลา 6 สัปดาห์ หากกินมากกว่านั้นหรือนานกว่านั้นก็อาจเป็นพิษได้
ตัวอย่างอาหารบ้านเราที่ใส่อบเชย เช่น มัสมั่นเนิ้อ พะโล้ เนื้อตุ๋น หมูตุ๋น ก๋วยเตี๊ยวไก่ตุ๋น เป็นต้น
• แคลเซียมเม็ดอาจทำร้ายหัวใจ
ใครที่เชื่อว่าอาหารเสริมช่วยให้แข็งแรง ยิ่งทานมากยิ่งดี ขอให้ฉุกคิดสักนิด เพราะมีการศึกษาชิ้นใหม่ในสหรัฐอเมริกา พบว่า แคลเซียมเม็ดจะไปสะสมเป็นคราบอยู่ในเส้นเลือดแดง ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ ยกเว้นว่าถ้าได้แคลเซียมจำนวนมากจากการรับประทานอาหารตามปกติ กลับเสี่ยงน้อยลง
นักวิจัยได้สำรวจการกินแคลเซียมในอาหารทั่วไป และอาหารเสริม ในประชากรอายุ 45-80 ปี จำนวนกว่า 2,700 คน โดยทำซีทีสแกนตอนเริ่มทำการวิจัยและอีก 10 ปีให้หลัง เพื่อตรวจหาคราบหินปูนในผนังเส้นเลือดหัวใจโคโรนารี ซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ
ผู้วิจัยกล่าวว่า เป็นไปได้ว่าคนที่กินแคลเซียมเสริมในปริมาณมาก จะมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้นชั่วคราว ซึ่งจะทำให้แคลเซียมเกาะในเส้นเลือดได้ และร่างกายต้องจัดการกับภาวะแคลเซียมเกาะเพิ่มขึ้นจากที่ต้องนำแคลเซียมไปใช้ตามปกติอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อต้องทำทั้งสองอย่างในคราวเดียวกัน จึงเกินกำลังที่ร่างกายจะจัดการได้ มันจึงสะสมเป็นคราบอยู่ในเส้นเลือดแดง
แม้ผู้วิจัยจะตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่พบเป็นเพียงความเกี่ยวโยงกันระหว่างอาหารเสริมแคลเซียมกับการเกิดคราบหินปูนและโรคหัวใจเท่านั้น ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อาหารเสริมแคลเซียมเป็นสาเหตุของเรื่องนี้ แต่การศึกษานี้ก็ยิ่งเพิ่มน้ำหนักให้กับหลักฐานที่มีมาก่อนหน้านี้ว่า การเสริมแคลเซียมอาจเป็นอันตรายกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
• ออกกำลังกายหนักๆ ตอนอารมณ์เสีย เสี่ยงหัวใจวายได้ง่ายๆ
ปกติหัวใจดวงน้อยต้องทำงานหนักตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่หากจะต้องรับศึกสองด้าน ทั้งออกกำลังกายอย่างหนัก และมีอารมณ์รุนแรงไปด้วยพร้อมๆกัน หัวใจก็เกินจะทานไหว
มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Circulation ของสมาคมโรคหัวใจอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม 2559 ชี้ว่า การออกกำลังกายขณะกำลังโกรธหรืออารมณ์เสีย เกี่ยวโยงกับความเสี่ยงที่จะหัวใจวายจากเส้นเลือดหัวใจตีบภายในหนึ่งชั่วโมง เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า
การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่เคยมีอาการหัวใจวายจากเส้นเลือดหัวใจตีบมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง จำนวน 12,500 ราย จาก 52 ประเทศ โดยแยกดูเรื่องการออกกำลังกายหนักๆ และความเครียดทางอารมณ์ทีละเรื่อง เพื่อดูว่าแต่ละเรื่องส่งผลต่ออาการหัวใจวายอย่างไร ก็พบว่า แต่ละเรื่องทำให้จำนวนคนที่เสี่ยงต่ออาการหัวใจวายเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และทั้งสองเรื่องทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นหัวใจเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดเปลี่ยนแปลง เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงหัวใจลดลง เสี่ยงหัวใจวายได้ง่ายๆ
จริงอยู่..การออกกำลังกายตามปกติมีประโยชน์มากมาย รวมถึงการป้องกันโรคหัวใจ แต่การออกกำลังกายขณะโกรธหรืออารมณ์เสีย โดยหวังจะใช้การออกกำลังกายปัดเป่าความเดือดดาลหรือคับข้องใจออกไป ก็จะไม่ใช่การออกกำลังกายแบบปกติ แต่เป็นการออกกำลังกายที่รุนแรงหรือมากกว่าปกตินั่นเอง
• ขี่จักรยาน ต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย
ไม่ใช่เฉพาะคนขี่จักรยานยนต์ที่ต้องสวมหมวกกันน็อค เพื่อความปลอดภัย แต่คนขี่จักรยานก็ต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย เพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุที่ศีรษะได้ถึงร้อยละ 85
เคลเวอร์แลนด์คลินิก ในสหรัฐอเมริกา ได้รายงานการเก็บตัวเลขทั่วไปว่า ปีหนึ่งๆ มีผู้ขี่จักรยานเสียชีวิตในสหรัฐฯ ประมาณ 800 คน และเข้ารักษาในห้องฉุกเฉินกว่า 500,000 คน ทั้งนี้ 1 ใน 3 ของผู้ประสบอุบัติเหตุ และ 2 ใน 3 ของผู้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและใบหน้า
จึงฝากคำแนะนำมาว่า ขี่จักรยานต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย โดยเลือกหมวกที่สวมใส่พอดี ไม่บีบรัดหรือหลวมเกินไปจนขยับไปซ้ายขวาหน้าหลังได้ โดยวัดขนาดรอบศีรษะเหนือคิ้วสักสองนิ้วมือ ก็จะได้ตัวเลขเป็นเซนติเมตรใช้เลือกขนาดหมวก ที่สำคัญคือ อย่าลืมใส่หมวกทุกครั้งที่นั่งบนอานจักรยาน และใส่ให้ลูกหลานด้วยตั้งแต่เริ่มหัดขี่ จะได้ไม่มีปัญหามานั่งเสียใจในภายหลัง
• กินปลาที่มีโอเมก้า 3 มากๆ ช่วยตัดโอกาสตายเพราะมะเร็งลำไส้
วารสาร Gut ของสมาคมโรคระบบทางเดินอาหารของอังกฤษ รายงานข่าวดีว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ที่กินปลาที่มีน้ำมันมาก มีโอกาสรอดตายเพราะโรคร้ายนี้ได้
ก่อนหน้านี้เคยมีงานวิจัยชี้ว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) อาจหยุดการเติบโตของก้อนเนื้อมะเร็ง และยับยั้งเลือดที่จะไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งได้
นักวิจัยชุดนี้เชื่อว่าอัตราผู้ป่วยที่รอดชีวิตจะเพิ่มขึ้นได้ ด้วยอาหารที่มีโอเมก้า 3 อยู่จำนวนมาก โอเมก้า 3 เป็น PUFA ที่สำคัญชนิดหนึ่ง เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้ แต่ก็สร้างเองไม่ได้ โดยมีแหล่งสำคัญอยู่ที่ปลาที่มีน้ำมันมาก ทีมงานจึงวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ 1,659 คน ว่าแต่ละคนกินโอเมก้า 3 พร้อมกันไปด้วยในปริมาณมากน้อยเพียงใด
พบว่าผู้ป่วยที่กิน PUFA อย่างน้อยวันละ 0.3 กรัม จะมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ น้อยกว่าคนที่กิน PUFA น้อยกว่าวันละ 0.1 กรัม ถึงร้อยละ 41
ผู้ป่วยที่หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้แล้ว ก็ยังกิน PUFA เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยวันละ 0.15 กรัม พบว่า มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคนี้ลดลงถึงร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่กินเพิ่ม ขณะที่ผู้ป่วยที่กินโอเมก้า 3 น้อยลง มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
สำหรับปลาที่มีโอเมก้า 3 มาก ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาจะละเม็ดขาว ปลาสำลี ปลากะพงขาว ปลาอินทรี ปลาทู เป็นต้น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย ธาราทิพย์)
มีการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่า เพียงโรยอบเชยลงในอาหาร จะช่วยลดอุณหภูมิในกระเพาะอาหารลงได้
กระเพาะเย็นลงแล้วดีอย่างไร นักวิจัยบอกว่า อุณหภูมิที่ลดลงนี้เกี่ยวโยงกับการลดระดับกรดในกระเพาะอาหาร และเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารที่ชื่อเปปซิน ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดรอบๆ ผนังกระเพาะอาหารดีขึ้น ส่งผลให้การย่อยอาหารและลำไส้ทำงานดีขึ้น
โดยอ้างอิงงานวิจัยก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการทดลองในหมู ที่พบว่า หมูที่กินอาหารผสมอบเชยจะมีอุณหภูมิในกระเพาะอาหารต่ำกว่าหมูที่กินอาหารปกติ 2 องศาเซลเซียส ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในลำไส้ลดลง ส่งผลดีต่อสุขภาพลำไส้ และเมื่อทดลองกับมนุษย์ก็ได้ผลออกมาแบบเดียวกัน
ผู้วิจัยคำนวณว่า กินอบเชยวันละ 1 กรัมก็เห็นผลแล้ว แต่ปริมาณที่ปลอดภัยตามกระทรวงสุขภาพของสหรัฐอเมริกาคือ ไม่เกินวันละ 6 กรัม เป็นเวลา 6 สัปดาห์ หากกินมากกว่านั้นหรือนานกว่านั้นก็อาจเป็นพิษได้
ตัวอย่างอาหารบ้านเราที่ใส่อบเชย เช่น มัสมั่นเนิ้อ พะโล้ เนื้อตุ๋น หมูตุ๋น ก๋วยเตี๊ยวไก่ตุ๋น เป็นต้น
• แคลเซียมเม็ดอาจทำร้ายหัวใจ
ใครที่เชื่อว่าอาหารเสริมช่วยให้แข็งแรง ยิ่งทานมากยิ่งดี ขอให้ฉุกคิดสักนิด เพราะมีการศึกษาชิ้นใหม่ในสหรัฐอเมริกา พบว่า แคลเซียมเม็ดจะไปสะสมเป็นคราบอยู่ในเส้นเลือดแดง ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ ยกเว้นว่าถ้าได้แคลเซียมจำนวนมากจากการรับประทานอาหารตามปกติ กลับเสี่ยงน้อยลง
นักวิจัยได้สำรวจการกินแคลเซียมในอาหารทั่วไป และอาหารเสริม ในประชากรอายุ 45-80 ปี จำนวนกว่า 2,700 คน โดยทำซีทีสแกนตอนเริ่มทำการวิจัยและอีก 10 ปีให้หลัง เพื่อตรวจหาคราบหินปูนในผนังเส้นเลือดหัวใจโคโรนารี ซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ
ผู้วิจัยกล่าวว่า เป็นไปได้ว่าคนที่กินแคลเซียมเสริมในปริมาณมาก จะมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้นชั่วคราว ซึ่งจะทำให้แคลเซียมเกาะในเส้นเลือดได้ และร่างกายต้องจัดการกับภาวะแคลเซียมเกาะเพิ่มขึ้นจากที่ต้องนำแคลเซียมไปใช้ตามปกติอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อต้องทำทั้งสองอย่างในคราวเดียวกัน จึงเกินกำลังที่ร่างกายจะจัดการได้ มันจึงสะสมเป็นคราบอยู่ในเส้นเลือดแดง
แม้ผู้วิจัยจะตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่พบเป็นเพียงความเกี่ยวโยงกันระหว่างอาหารเสริมแคลเซียมกับการเกิดคราบหินปูนและโรคหัวใจเท่านั้น ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อาหารเสริมแคลเซียมเป็นสาเหตุของเรื่องนี้ แต่การศึกษานี้ก็ยิ่งเพิ่มน้ำหนักให้กับหลักฐานที่มีมาก่อนหน้านี้ว่า การเสริมแคลเซียมอาจเป็นอันตรายกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
• ออกกำลังกายหนักๆ ตอนอารมณ์เสีย เสี่ยงหัวใจวายได้ง่ายๆ
ปกติหัวใจดวงน้อยต้องทำงานหนักตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่หากจะต้องรับศึกสองด้าน ทั้งออกกำลังกายอย่างหนัก และมีอารมณ์รุนแรงไปด้วยพร้อมๆกัน หัวใจก็เกินจะทานไหว
มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Circulation ของสมาคมโรคหัวใจอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม 2559 ชี้ว่า การออกกำลังกายขณะกำลังโกรธหรืออารมณ์เสีย เกี่ยวโยงกับความเสี่ยงที่จะหัวใจวายจากเส้นเลือดหัวใจตีบภายในหนึ่งชั่วโมง เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า
การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่เคยมีอาการหัวใจวายจากเส้นเลือดหัวใจตีบมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง จำนวน 12,500 ราย จาก 52 ประเทศ โดยแยกดูเรื่องการออกกำลังกายหนักๆ และความเครียดทางอารมณ์ทีละเรื่อง เพื่อดูว่าแต่ละเรื่องส่งผลต่ออาการหัวใจวายอย่างไร ก็พบว่า แต่ละเรื่องทำให้จำนวนคนที่เสี่ยงต่ออาการหัวใจวายเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และทั้งสองเรื่องทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นหัวใจเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดเปลี่ยนแปลง เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงหัวใจลดลง เสี่ยงหัวใจวายได้ง่ายๆ
จริงอยู่..การออกกำลังกายตามปกติมีประโยชน์มากมาย รวมถึงการป้องกันโรคหัวใจ แต่การออกกำลังกายขณะโกรธหรืออารมณ์เสีย โดยหวังจะใช้การออกกำลังกายปัดเป่าความเดือดดาลหรือคับข้องใจออกไป ก็จะไม่ใช่การออกกำลังกายแบบปกติ แต่เป็นการออกกำลังกายที่รุนแรงหรือมากกว่าปกตินั่นเอง
• ขี่จักรยาน ต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย
ไม่ใช่เฉพาะคนขี่จักรยานยนต์ที่ต้องสวมหมวกกันน็อค เพื่อความปลอดภัย แต่คนขี่จักรยานก็ต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย เพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุที่ศีรษะได้ถึงร้อยละ 85
เคลเวอร์แลนด์คลินิก ในสหรัฐอเมริกา ได้รายงานการเก็บตัวเลขทั่วไปว่า ปีหนึ่งๆ มีผู้ขี่จักรยานเสียชีวิตในสหรัฐฯ ประมาณ 800 คน และเข้ารักษาในห้องฉุกเฉินกว่า 500,000 คน ทั้งนี้ 1 ใน 3 ของผู้ประสบอุบัติเหตุ และ 2 ใน 3 ของผู้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและใบหน้า
จึงฝากคำแนะนำมาว่า ขี่จักรยานต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย โดยเลือกหมวกที่สวมใส่พอดี ไม่บีบรัดหรือหลวมเกินไปจนขยับไปซ้ายขวาหน้าหลังได้ โดยวัดขนาดรอบศีรษะเหนือคิ้วสักสองนิ้วมือ ก็จะได้ตัวเลขเป็นเซนติเมตรใช้เลือกขนาดหมวก ที่สำคัญคือ อย่าลืมใส่หมวกทุกครั้งที่นั่งบนอานจักรยาน และใส่ให้ลูกหลานด้วยตั้งแต่เริ่มหัดขี่ จะได้ไม่มีปัญหามานั่งเสียใจในภายหลัง
• กินปลาที่มีโอเมก้า 3 มากๆ ช่วยตัดโอกาสตายเพราะมะเร็งลำไส้
วารสาร Gut ของสมาคมโรคระบบทางเดินอาหารของอังกฤษ รายงานข่าวดีว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ที่กินปลาที่มีน้ำมันมาก มีโอกาสรอดตายเพราะโรคร้ายนี้ได้
ก่อนหน้านี้เคยมีงานวิจัยชี้ว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) อาจหยุดการเติบโตของก้อนเนื้อมะเร็ง และยับยั้งเลือดที่จะไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งได้
นักวิจัยชุดนี้เชื่อว่าอัตราผู้ป่วยที่รอดชีวิตจะเพิ่มขึ้นได้ ด้วยอาหารที่มีโอเมก้า 3 อยู่จำนวนมาก โอเมก้า 3 เป็น PUFA ที่สำคัญชนิดหนึ่ง เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้ แต่ก็สร้างเองไม่ได้ โดยมีแหล่งสำคัญอยู่ที่ปลาที่มีน้ำมันมาก ทีมงานจึงวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ 1,659 คน ว่าแต่ละคนกินโอเมก้า 3 พร้อมกันไปด้วยในปริมาณมากน้อยเพียงใด
พบว่าผู้ป่วยที่กิน PUFA อย่างน้อยวันละ 0.3 กรัม จะมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ น้อยกว่าคนที่กิน PUFA น้อยกว่าวันละ 0.1 กรัม ถึงร้อยละ 41
ผู้ป่วยที่หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้แล้ว ก็ยังกิน PUFA เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยวันละ 0.15 กรัม พบว่า มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคนี้ลดลงถึงร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่กินเพิ่ม ขณะที่ผู้ป่วยที่กินโอเมก้า 3 น้อยลง มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
สำหรับปลาที่มีโอเมก้า 3 มาก ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาจะละเม็ดขาว ปลาสำลี ปลากะพงขาว ปลาอินทรี ปลาทู เป็นต้น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย ธาราทิพย์)