ปัจจุบัน การฆ่าตัวตายมีให้เห็นเป็นข่าวแทบทุกวัน ซึ่งกรมสุขภาพจิตบอกว่าปัญหาการฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องใกล้ตัว จึงได้ออกมาแนะวิธีสังเกตสัญญาณเตือนฆ่าตัวตายของคนใกล้ตัว เพื่อให้คนรอบข้างช่วยเหลือได้ทันท่วงที
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เหตุการณ์การฆ่าตัวตายในหลายๆครั้ง สิ่งที่มักพบเสมอ คือ ผู้ที่ทำร้ายตนเองหลายราย ก่อนตัดสินใจลงมือกระทำ จะส่งสัญญาณเตือนบอกเหตุให้แก่ครอบครัว และบุคคลใกล้ชิดอยู่เสมอ
แต่ผู้ที่ได้รับสัญญาณเตือนนั้น มักไม่เข้าใจ หรือแปลความหมายไม่ถูกต้อง กลับมองว่าเป็นเรื่องปกติ เรียกร้องความสนใจ ทำให้ละเลย ไม่ใส่ใจ หรือแม้จะสังเกตเห็น แต่ก็ไม่กล้าพอ และขาดความรู้ที่จะเข้าไปดูแลช่วยเหลือ เหล่านี้จึงล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนที่นำมาสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด
ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว การมีความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตสัญญาณเตือน และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น จึงมีความสำคัญ ซึ่งถ้าได้นำไปปฏิบัติ ย่อมช่วยให้สังคมและครอบครัว ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
สำหรับวิธีสังเกตหรือประเมินว่า กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองหรือไม่ ได้แก่
• กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติชีวิต และไม่สามารถปรับตัวต่อการแก้ไขปัญหาในชีวิตได้
• มีอารมณ์หรือบุคลิกแบบหุนหันพลันแล่น แบบก้าวร้าวรุนแรง
• กำลังประสบกับความผิดหวัง ล้มเหลวด้านการงาน การเงิน การเรียน
• สูญเสียคนรัก คนในครอบครัว
• เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือโรคจิตเวชบางชนิด เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิต ทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย
• ติดสุรา ยาเสพติด
• มีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย หรือตนเองเคยมีประวัติทำร้ายตัวเองมาก่อนภายใน 1 ปี
ฯลฯ
เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ที่ฆ่าตัวตายหลายราย มักมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งสาเหตุประกอบกัน ก่อนการลงมือ
และด้วยความรู้สึกสุดท้ายที่จะขอความช่วยเหลือ หรือเพื่อการบอกลา มักมีการแสดงออกให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเห็นสัญญาณ เช่น
• ชอบบ่นตัดพ้อ โพสต์ หรือเขียนข้อความ ในทำนองเปรยๆว่า อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ชีวิตไม่มีค่า ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจ ไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไร ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ
• มีพฤติกรรมเก็บตัว พูดน้อยลง แยกตัวออกจากครอบครัว และเพื่อนฝูง
• มีการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด เป็นต้น
สัญญาณเตือนเหล่านี้ คนใกล้ชิดและสังคมไม่ควรละเลย ควรยื่นมือให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าวไปจากสังคมไทย อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า สัญญาณที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือ ไม่ใช่การเรียกร้องความสนใจ ผู้ใกล้ชิดจึงต้องเปลี่ยนทัศนคติตัวเอง อย่ามองว่าการฆ่าตัวตายเป็นการเรียกร้องความสนใจ แต่มันคือ call for help ที่เขาพยายามร้องขอความช่วยเหลืออีกครั้ง เป็นการบอกกล่าวแทนคำพูดเพื่อให้ช่วย เพราะเขาเหล่านั้นหาทางแก้ไขไม่ได้แล้ว ไม่พบเห็นประตูทางออกของปัญหา จึงเลือกวิธีนี้เพื่อยุติปัญหา
ดังนั้น ทุกคนควรที่จะช่วยกันสังเกตว่า ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยงดังกล่าว มีสัญญาณอันตรายเกิดขึ้นหรือไม่ หากพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าว อย่าตื่นตระหนก หรือมองว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจ ควรจะปรับตัว ปรับใจ มองสัญญาณเตือนอย่างมีสติ และคิดตามถึงเหตุผลของประโยคและพฤติกรรมเหล่านั้น ว่าอะไรทำให้เขาพูดอย่างนั้น เกิดอะไรขึ้น และเบื้องต้นมีอะไรให้ช่วยเหลือหรือไม่ ต้องแสดงให้เขาได้รับรู้ว่า เราเข้าใจในทุกข์ที่เขามีอยู่ และพร้อมจะยื่นมือให้ความช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ
หากปัญหานั้นรุนแรง เขาก็จะเข้าถึงระบบบริการรักษาด้วยทางเลือกที่หลากหลาย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบางครอบครัว หรือคนใกล้ชิด มักต่อว่า หรือตำหนิ เช่น ทำไมโง่อย่างนี้ เรื่องแค่นี้ต้องตายเลยเหรอ รวมทั้งไม่ได้คุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น คิดว่าได้ระบายออกมาแล้ว ด้วยการพูดว่าจะฆ่าตัวตาย แล้วไม่ทำอะไรต่อ จึงยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก
ท้ายสุด ขอย้ำว่า การฆ่าตัวตายเกิดได้ทุกช่วงเวลา และทุกช่วงวัย แต่สามารถป้องกันได้ สิ่งสำคัญของการป้องกัน คือ เมื่อพบสัญญาณเตือนคนใกล้ชิดเสี่ยงฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตนเอง ให้รีบช่วยเหลือทันที เขาเหล่านั้นต้องการความเห็นอกเห็นใจ ต้องการคนเข้าใจความรู้สึก ให้คุยปลอบใจหรือรับฟังในสิ่งที่เขาเล่า แสดงให้เห็นว่า ยังมีคนเข้าใจ ใส่ใจ และอยู่เคียงข้างเขา
หากปัญหานั้น เราและเขายังไม่เห็นทางออก ก็สามารถเลือกใช้บริการรับคำปรึกษา จากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือรีบพาไปพบแพทย์โดยทันที
การฆ่าตัวตาย เป็นการแสดงความอับจนพ่ายแพ้หมดหนทางแก้ไข หมดทางออกอย่างอื่น สิ้นหนทางแล้ว เมื่อฆ่าตัวก็เป็นการทำลายตัว เมื่อทำลายตัวก็เป็นการทำลายประโยชน์ทุกอย่างที่พึงได้ในชีวิต
ในบางกลุ่มบางหมู่เห็นว่า การฆ่าตัวตายในบางกรณีเป็นเกียรติสูง แต่ทางพระพุทธศาสนาแสดงว่าเป็นโมฆกรรม คือกรรมที่เปล่าประโยชน์ เรียกผู้ทำว่า “คนเปล่า” เท่ากับว่าตายเปล่าๆ ควรจะอยู่ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ ก็หมดโอกาส
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 178 ตุลาคม 2558 โดย กองบรรณาธิการ)
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เหตุการณ์การฆ่าตัวตายในหลายๆครั้ง สิ่งที่มักพบเสมอ คือ ผู้ที่ทำร้ายตนเองหลายราย ก่อนตัดสินใจลงมือกระทำ จะส่งสัญญาณเตือนบอกเหตุให้แก่ครอบครัว และบุคคลใกล้ชิดอยู่เสมอ
แต่ผู้ที่ได้รับสัญญาณเตือนนั้น มักไม่เข้าใจ หรือแปลความหมายไม่ถูกต้อง กลับมองว่าเป็นเรื่องปกติ เรียกร้องความสนใจ ทำให้ละเลย ไม่ใส่ใจ หรือแม้จะสังเกตเห็น แต่ก็ไม่กล้าพอ และขาดความรู้ที่จะเข้าไปดูแลช่วยเหลือ เหล่านี้จึงล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนที่นำมาสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด
ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว การมีความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตสัญญาณเตือน และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น จึงมีความสำคัญ ซึ่งถ้าได้นำไปปฏิบัติ ย่อมช่วยให้สังคมและครอบครัว ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
สำหรับวิธีสังเกตหรือประเมินว่า กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองหรือไม่ ได้แก่
• กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติชีวิต และไม่สามารถปรับตัวต่อการแก้ไขปัญหาในชีวิตได้
• มีอารมณ์หรือบุคลิกแบบหุนหันพลันแล่น แบบก้าวร้าวรุนแรง
• กำลังประสบกับความผิดหวัง ล้มเหลวด้านการงาน การเงิน การเรียน
• สูญเสียคนรัก คนในครอบครัว
• เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือโรคจิตเวชบางชนิด เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิต ทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย
• ติดสุรา ยาเสพติด
• มีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย หรือตนเองเคยมีประวัติทำร้ายตัวเองมาก่อนภายใน 1 ปี
ฯลฯ
เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ที่ฆ่าตัวตายหลายราย มักมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งสาเหตุประกอบกัน ก่อนการลงมือ
และด้วยความรู้สึกสุดท้ายที่จะขอความช่วยเหลือ หรือเพื่อการบอกลา มักมีการแสดงออกให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเห็นสัญญาณ เช่น
• ชอบบ่นตัดพ้อ โพสต์ หรือเขียนข้อความ ในทำนองเปรยๆว่า อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ชีวิตไม่มีค่า ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจ ไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไร ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ
• มีพฤติกรรมเก็บตัว พูดน้อยลง แยกตัวออกจากครอบครัว และเพื่อนฝูง
• มีการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด เป็นต้น
สัญญาณเตือนเหล่านี้ คนใกล้ชิดและสังคมไม่ควรละเลย ควรยื่นมือให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าวไปจากสังคมไทย อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า สัญญาณที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือ ไม่ใช่การเรียกร้องความสนใจ ผู้ใกล้ชิดจึงต้องเปลี่ยนทัศนคติตัวเอง อย่ามองว่าการฆ่าตัวตายเป็นการเรียกร้องความสนใจ แต่มันคือ call for help ที่เขาพยายามร้องขอความช่วยเหลืออีกครั้ง เป็นการบอกกล่าวแทนคำพูดเพื่อให้ช่วย เพราะเขาเหล่านั้นหาทางแก้ไขไม่ได้แล้ว ไม่พบเห็นประตูทางออกของปัญหา จึงเลือกวิธีนี้เพื่อยุติปัญหา
ดังนั้น ทุกคนควรที่จะช่วยกันสังเกตว่า ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยงดังกล่าว มีสัญญาณอันตรายเกิดขึ้นหรือไม่ หากพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าว อย่าตื่นตระหนก หรือมองว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจ ควรจะปรับตัว ปรับใจ มองสัญญาณเตือนอย่างมีสติ และคิดตามถึงเหตุผลของประโยคและพฤติกรรมเหล่านั้น ว่าอะไรทำให้เขาพูดอย่างนั้น เกิดอะไรขึ้น และเบื้องต้นมีอะไรให้ช่วยเหลือหรือไม่ ต้องแสดงให้เขาได้รับรู้ว่า เราเข้าใจในทุกข์ที่เขามีอยู่ และพร้อมจะยื่นมือให้ความช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ
หากปัญหานั้นรุนแรง เขาก็จะเข้าถึงระบบบริการรักษาด้วยทางเลือกที่หลากหลาย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบางครอบครัว หรือคนใกล้ชิด มักต่อว่า หรือตำหนิ เช่น ทำไมโง่อย่างนี้ เรื่องแค่นี้ต้องตายเลยเหรอ รวมทั้งไม่ได้คุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น คิดว่าได้ระบายออกมาแล้ว ด้วยการพูดว่าจะฆ่าตัวตาย แล้วไม่ทำอะไรต่อ จึงยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก
ท้ายสุด ขอย้ำว่า การฆ่าตัวตายเกิดได้ทุกช่วงเวลา และทุกช่วงวัย แต่สามารถป้องกันได้ สิ่งสำคัญของการป้องกัน คือ เมื่อพบสัญญาณเตือนคนใกล้ชิดเสี่ยงฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตนเอง ให้รีบช่วยเหลือทันที เขาเหล่านั้นต้องการความเห็นอกเห็นใจ ต้องการคนเข้าใจความรู้สึก ให้คุยปลอบใจหรือรับฟังในสิ่งที่เขาเล่า แสดงให้เห็นว่า ยังมีคนเข้าใจ ใส่ใจ และอยู่เคียงข้างเขา
หากปัญหานั้น เราและเขายังไม่เห็นทางออก ก็สามารถเลือกใช้บริการรับคำปรึกษา จากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือรีบพาไปพบแพทย์โดยทันที
การฆ่าตัวตาย เป็นการแสดงความอับจนพ่ายแพ้หมดหนทางแก้ไข หมดทางออกอย่างอื่น สิ้นหนทางแล้ว เมื่อฆ่าตัวก็เป็นการทำลายตัว เมื่อทำลายตัวก็เป็นการทำลายประโยชน์ทุกอย่างที่พึงได้ในชีวิต
ในบางกลุ่มบางหมู่เห็นว่า การฆ่าตัวตายในบางกรณีเป็นเกียรติสูง แต่ทางพระพุทธศาสนาแสดงว่าเป็นโมฆกรรม คือกรรมที่เปล่าประโยชน์ เรียกผู้ทำว่า “คนเปล่า” เท่ากับว่าตายเปล่าๆ ควรจะอยู่ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ ก็หมดโอกาส
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 178 ตุลาคม 2558 โดย กองบรรณาธิการ)