• ขออุบายฝึกใจ
ปุจฉา : กราบนมัสการหลวงปู่ครับ ผมอยากทราบอุบายในการฝึกใจ ให้ใจเป็นอิสระ ไม่วิตกกังวล รู้จักปล่อยวาง
วิสัชนา : ที่จริงโดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อทุกข์ที่สุดหรือหนักที่สุด ก็จะรู้จักวางลงเอง แต่เมื่อกว่าจะถึงตอนนั้น เราอาจจะทรมานจนตายเสียก่อนก็ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงวิธีชนะทุกข์ด้วยปัญญา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเจริญสติ สมาธิ และลุถึงปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริงในที่สุด
สรุปก็คือ คุณต้องพยายามฝึกสติให้รู้ตัวในทุกขณะที่ทำ พูด คิด
• หมดสติทางการแพทย์กับทางศาสนา
ปุจฉา : คำว่าหมดสติในทางการแพทย์ กับหมดสติในทางศาสนาเหมือนกันหรือไม่อย่างไร
วิสัชนา : หมดสติในทางการแพทย์ หมายถึง การที่ร่างกายเราไม่มีผลตอบรับทางระบบประสาทสัมผัส คือ ขาดความรู้สึกตัว
แต่ถ้าในความหมายทางพุทธศาสนา คือ การทำความรู้สึกตัวของตัวเองให้เกิดสาระไม่ได้ ทำชีวิตนี้ให้มีสาระไม่ได้ ทำสาระให้เกิดขึ้นในชีวิตนี้ไม่ได้ทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทั้งๆที่ยังมีลมหายใจอยู่ แต่ไร้สาระในการดำรงชีวิต คนอย่างนี้เรียกว่า หมดสติในทางพุทธศาสนา
ส่วนคนมีสติก็คือคนมีสาระ คือ มีลมหายใจ มีชีวิต ได้พลัง ใช้พลัง สร้างสรรสาระ นี่คือกระบวนการของสติในทางพุทธศาสนา
แต่ถ้ามีลมหายใจ มีชีวิต ได้พลัง แต่ไม่ใช้พลังให้เกิดสาระ อย่างนี้ถือว่า “ขาดสติ” ไม่ถึงคำว่า “หมดสติ” ถ้าหมดสติในทางพุทธศาสนาไม่น่าจะมี
คนสลบทางพุทธศาสนาไม่เรียกคนหมดสติ เพราะว่าโดยอำนาจของสติแล้วมันมีองค์ประกอบก็คือ จิต กับ สัญญา คือจิตดวงหนึ่งมันจะมีสัญญากับสติเกิดมาอยู่แล้วไม่มีหมด สติทางพุทธศาสนาไม่มีหมด แม้แต่คุณสลบลงไปทางพุทธศาสนา ก็ไม่ถือว่าหมดสติ เพราะถ้าจิตยังเกิดๆดับๆอยู่ ยังมีเกิดมีดับอยู่ก็คือ มีจิตก็มีสติมีสัญญา และก็ปรากฏปัญญาตัวรู้มีอยู่ในจิตนั้นเหมือนกัน ไม่ถือว่าหมดสติ
สรุป หมดสติทางการแพทย์คือ หมดการตอบรับทางประสาทสัมผัส แต่ทางพุทธศาสนาคือหมดสาระจากการได้มีชีวิต
• สั่งจิตได้หรือไม่
ปุจฉา : เราสามารถสั่งจิตไม่ให้อยากได้ไหมครับ
วิสัชนา : จิตมันไม่ได้อยาก มันไม่มีความอยาก ไม่มีกาม ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีโลภะ มีแต่รับอารมณ์ จำอารมณ์ คิดอารมณ์ รู้อารมณ์ ส่วนโทสะ โมหะ เป็นแขกแปลกหน้าที่จรเข้ามา
การสั่งจิตนี้ไม่ให้อยาก ไม่ยาก แค่ปิดประตู หน้าต่าง ที่เรา อยากแสดงว่า เราเปิดจิต โทษว่าจิตไม่ดี ไม่ได้ แต่ขบวนการ รับ จำ คิด รู้ ของจิตไม่ดี จิตนี้ไม่มีอะไร ที่มีอะไรเพราะเราไปรับอะไรเข้ามา
ปัญญา สติ สมาธิ จะทำให้จิตตั้งมั่น แข็งแรง จะรู้จักเลือก ว่า แขกนี้ควรรับ แขกนี้ไม่ควรรับ เหมือนบ้านไม่มีประตู ส่วนใหญ่อยากเข้า ไม่อยากออก เพราะนายประตูอ่อนแอ พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราสร้างสติ สมาธิ ให้แข็งแรง เพื่อให้มีปัญญา ใครจะเข้าต้องคัดกรอง ใครจะออกต้องแยกแยะ
มีแต่เรือน ไม่มีประตู แถมไม่มียามเฝ้าประตู เลยทำให้แขกรวมกับจิต จิตรวมกับแขก ปนกันไปแยกไม่ออก
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 136 เมษายน 2555 โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)
ปุจฉา : กราบนมัสการหลวงปู่ครับ ผมอยากทราบอุบายในการฝึกใจ ให้ใจเป็นอิสระ ไม่วิตกกังวล รู้จักปล่อยวาง
วิสัชนา : ที่จริงโดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อทุกข์ที่สุดหรือหนักที่สุด ก็จะรู้จักวางลงเอง แต่เมื่อกว่าจะถึงตอนนั้น เราอาจจะทรมานจนตายเสียก่อนก็ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงวิธีชนะทุกข์ด้วยปัญญา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการเจริญสติ สมาธิ และลุถึงปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริงในที่สุด
สรุปก็คือ คุณต้องพยายามฝึกสติให้รู้ตัวในทุกขณะที่ทำ พูด คิด
• หมดสติทางการแพทย์กับทางศาสนา
ปุจฉา : คำว่าหมดสติในทางการแพทย์ กับหมดสติในทางศาสนาเหมือนกันหรือไม่อย่างไร
วิสัชนา : หมดสติในทางการแพทย์ หมายถึง การที่ร่างกายเราไม่มีผลตอบรับทางระบบประสาทสัมผัส คือ ขาดความรู้สึกตัว
แต่ถ้าในความหมายทางพุทธศาสนา คือ การทำความรู้สึกตัวของตัวเองให้เกิดสาระไม่ได้ ทำชีวิตนี้ให้มีสาระไม่ได้ ทำสาระให้เกิดขึ้นในชีวิตนี้ไม่ได้ทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทั้งๆที่ยังมีลมหายใจอยู่ แต่ไร้สาระในการดำรงชีวิต คนอย่างนี้เรียกว่า หมดสติในทางพุทธศาสนา
ส่วนคนมีสติก็คือคนมีสาระ คือ มีลมหายใจ มีชีวิต ได้พลัง ใช้พลัง สร้างสรรสาระ นี่คือกระบวนการของสติในทางพุทธศาสนา
แต่ถ้ามีลมหายใจ มีชีวิต ได้พลัง แต่ไม่ใช้พลังให้เกิดสาระ อย่างนี้ถือว่า “ขาดสติ” ไม่ถึงคำว่า “หมดสติ” ถ้าหมดสติในทางพุทธศาสนาไม่น่าจะมี
คนสลบทางพุทธศาสนาไม่เรียกคนหมดสติ เพราะว่าโดยอำนาจของสติแล้วมันมีองค์ประกอบก็คือ จิต กับ สัญญา คือจิตดวงหนึ่งมันจะมีสัญญากับสติเกิดมาอยู่แล้วไม่มีหมด สติทางพุทธศาสนาไม่มีหมด แม้แต่คุณสลบลงไปทางพุทธศาสนา ก็ไม่ถือว่าหมดสติ เพราะถ้าจิตยังเกิดๆดับๆอยู่ ยังมีเกิดมีดับอยู่ก็คือ มีจิตก็มีสติมีสัญญา และก็ปรากฏปัญญาตัวรู้มีอยู่ในจิตนั้นเหมือนกัน ไม่ถือว่าหมดสติ
สรุป หมดสติทางการแพทย์คือ หมดการตอบรับทางประสาทสัมผัส แต่ทางพุทธศาสนาคือหมดสาระจากการได้มีชีวิต
• สั่งจิตได้หรือไม่
ปุจฉา : เราสามารถสั่งจิตไม่ให้อยากได้ไหมครับ
วิสัชนา : จิตมันไม่ได้อยาก มันไม่มีความอยาก ไม่มีกาม ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีโลภะ มีแต่รับอารมณ์ จำอารมณ์ คิดอารมณ์ รู้อารมณ์ ส่วนโทสะ โมหะ เป็นแขกแปลกหน้าที่จรเข้ามา
การสั่งจิตนี้ไม่ให้อยาก ไม่ยาก แค่ปิดประตู หน้าต่าง ที่เรา อยากแสดงว่า เราเปิดจิต โทษว่าจิตไม่ดี ไม่ได้ แต่ขบวนการ รับ จำ คิด รู้ ของจิตไม่ดี จิตนี้ไม่มีอะไร ที่มีอะไรเพราะเราไปรับอะไรเข้ามา
ปัญญา สติ สมาธิ จะทำให้จิตตั้งมั่น แข็งแรง จะรู้จักเลือก ว่า แขกนี้ควรรับ แขกนี้ไม่ควรรับ เหมือนบ้านไม่มีประตู ส่วนใหญ่อยากเข้า ไม่อยากออก เพราะนายประตูอ่อนแอ พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราสร้างสติ สมาธิ ให้แข็งแรง เพื่อให้มีปัญญา ใครจะเข้าต้องคัดกรอง ใครจะออกต้องแยกแยะ
มีแต่เรือน ไม่มีประตู แถมไม่มียามเฝ้าประตู เลยทำให้แขกรวมกับจิต จิตรวมกับแขก ปนกันไปแยกไม่ออก
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 136 เมษายน 2555 โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)