“ท่านอาจารย์ครับ ทำไมเมียผมดูจู้จี้จังครับ นี่ลูกก็โตแล้ว ยังไม่เลิกบ่นเลยครับ”
“อ้าว เจอหน้าก็บ่นเรื่องเมียเลยรึ มาด้วยกันยังบ่นให้อาตมาฟังอีก”
“ไม่บ่นให้ท่านอาจารย์ฟัง ผมก็อึดอัดซิครับ ตอนแรก ว่าจะมาคนเดียว แต่พระอาจารย์ตั้งกฎไว้ว่าถ้าจะมาปรึกษาเรื่องครอบครัว ต้องมาพร้อมกัน ผมก็ต้องพาภรรยามาด้วย อ้าว..เป๊ป ทำไมเงียบล่ะ ไม่พูดอะไรเลย ผิดกับตอนออกจากบ้านมานี่ บ่นไม่หยุดเลย”
“พี่โยนี่ ถือโอกาสเลยนะ ถือว่าอยู่กับท่านอาจารย์ ฟ้องใหญ่ ใครกันแน่ที่ผิด เดี๋ยว..เถอะ “
“เห็นมั้ยครับ นี่ยังไม่วายจะบ่นว่าผมอีก เฮ้อ..กลุ้มใจจริงๆ เนี่ยะลูกคนโตก็จะเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ไม่รู้จะบ่นไปทำไม น่าเบื่อจริงๆนะครับ”
“เบื่อฉันเหรอพี่โย ทีอยู่บ้านละก็ไม่กล้าพูด”
“เอ้า..พอเถอะ หยุดเถียงกันได้แล้ว เห็นแก่อาตมาบ้างนะ มาเข้าเรื่องดีกว่า คราวนี้เรื่องอะไรอีกล่ะ”
“ก็เรื่องเจเจ ลูกคนโตน่ะครับ ตอนสอบไม่ติดก็มาขอให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิษฐานให้ บอกว่าติดอะไรก็ได้ ขอให้ได้เข้ามหาวิทยาลัยก็พอ นี่ลูกสอบได้สัตวศาสตร์ ก็บ่น อยากได้คณะอื่นอีก ผมก็กลุ้มใจเลย ไม่รู้จะทำไง ก็พามาหาท่านอาจารย์นี่ล่ะครับ”
“อ้อ.. เจเจ สอบได้สัตวศาสตร์หรือ?”
“คะแนนแอดมิชชั่นถึงครับ นี่ก็จะรอสอบสัมภาษณ์วันสองวันนี้ละครับ เป๊ปเขาเครียดยิ่งกว่าลูกอีก ไปค้นหารายละเอียดมาให้ลูกอ่านเพียบเลยครับ กลัวไม่ได้”
“ไหนบ่นว่าอยากได้คณะอื่นไง”
“ไม่ใช่อย่างพี่โยว่าหรอกค่ะ พี่โยนี่ พูดไปเรื่อย เป๊ปเสียหายนะ ท่านอาจารย์ดูซิคะ ตั้งแต่ลูกสมัครสอบแล้ว ไม่ยอมช่วยอะไรเลย อ้างว่ามาดูแลท่านอาจารย์ตลอด นี่ก็ให้หนูพาลูกไปสอบสัมภาษณ์ด้วย หนูก็ต้องช่วยลูกหาข้อมูลที่อาจารย์จะถามในวันสอบสัมภาษณ์ ผิดหรือคะ”
“นี่เป๊ป..ลูกโตแล้ว ต้องให้รู้จักทำเองบ้างซิ อะไรๆก็ทำให้หมด แล้วเมื่อไรเขาจะโตล่ะ”
“ตกลงว่า..จะมาปรึกษาอาตมาหรือมาทะเลาะกันให้อาตมาดูล่ะ”
“พี่โยนี่ เห็นไหม..ท่านอาจารย์ดุแล้ว เงียบเถอะ ฟังท่านว่าดีกว่า นิมนต์ค่ะท่าน “
“กฎที่กุฎีนี้ว่าอย่างไร”
“มาปรึกษาเรื่องครอบครัว ต้องนั่งสมาธิ เอามือจับกันไว้ จนกว่าท่านอาจารย์จะอนุญาตให้ลืมตาครับ”
“แล้วทำหรือยังล่ะ?”
“ครับ..เป๊ป มานั่งนี่ แล้วเอามือมา ฉันจับมือเธอเอง กำหนดพุท-โธ ไว้อย่างเดียวนะ หลับตาได้แล้ว เดี๋ยวท่านอาจารย์จะสอนเอง”
...............๓๐ นาที ผ่านไป.............
“เอ้าลืมตาได้ เป็นไงบ้าง มือเมียเหมือนเดิมมั้ย”
“เหมือนอย่างไรครับ?”
“เหมือนวันแรกที่เราจับมือเขามั้ย ตอนที่เริ่มจีบกันใหม่ๆน่ะ”
“โอย..จะเหมือนได้ไงท่านอาจารย์ แก่แล้วมือไม้ก็เหี่ยวหมดแล้ว”
“อาตมาไม่ได้ถามว่ามือเหมือนเดิมหรือเปล่า”
“ถ้างั้น..ท่านถามเรื่องอะไรครับ”
“อาตมาถามถึงความรู้สึกไง ความรู้สึกที่ได้สัมผัสมือเมียครั้งแรกน่ะ จำได้ไหม”
“ใครจะจำได้ล่ะครับ เกือบ ๑๘ ปีแล้วนะครับ “
“แน่ใจหรือ ที่ตอบมาน่ะ”
“เอ..เอาอย่างนี้ดีกว่า เดี๋ยวผมจับใหม่ เป๊ป..ขอจับมือเธออีกครั้งซิ...เออ..ไม่เหมือนครับ ไม่นิ่มน่าประทับใจเหมือนคราวนั้นเลยครับท่าน”
“โย.. เวลาพูดอะไรนี่ ทบทวนก่อนนะ ว่าสิ่งใดควรพูด สิ่งใดไม่ควรพูด พูดแล้วทำลายความรู้สึกที่ดีของเมีย ก็อย่าไปพูด พูดแล้วบันเทิงหู พาให้เมียสุขใจก็ควรพูด สอนไม่ค่อยจำเลยนะเรานี่ รู้มั้ยว่า ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด หลังพูดเราเป็นคนรับกรรมของการพูดนั้น จำไว้บ้างซิ”
“แหม..ท่านอาจารย์ ผมก็พูดแหย่เมียเล่นน่ะครับ ท่านอย่าไปจริงจังเลย ความรู้สึกตอนนี้กับตอนแรกเหมือนกันครับ ผมรักเป๊ปตอนนั้นมากแค่ไหน ตอนนี้มากกว่านั้นเยอะครับ”
“แน่ใจนะที่ตอบมาน่ะ”
“แน่ใจครับ ผมมันนิสัยเสียที่ชอบพูดแหย่เขาบ่อยน่ะครับ ไม่อยากให้เครียด แต่เขาไม่ค่อยรับมุกเลย เครียดบ่อยไปเดี๋ยวเป็นความดันนะเธอ”
“นี่พี่โย ท่านอาจารย์กำลังสอนอยู่ ทำเล่นอีกแล้ว”
“ปล่อยไปเถอะเป๊ป โยก็นิสัยอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว ไม่รู้รึ”
“รู้ค่ะ แต่มันอดไม่ได้นี่คะ”
“พอกันผัวเมียคู่นี้”
“เห็นไหมพี่โย โดนจนได้ ทำไมไม่ขอโทษท่านล่ะ”
“ไม่ต้องหรอก ธรรมชาติของพวกเธอเป็นอย่างนี้ อย่าไปฝืนเลย ทำปกติ แต่ต้องอยู่ในกฎระเบียบบ้าง จะได้มีสติรู้ตัว ทำอะไรต่อกันจะได้รอบคอบมากขึ้น เหมือนนั่งสมาธินี่ ถ้าไม่กำหนดลมหายใจไว้ในคำภาวนาว่า พุท-โธ เดี๋ยวก็สารพัดเรื่องที่จะเข้ามารบกวนในจิตใจ ทำให้เบื่อเร็ว ไม่อยากนั่งสมาธิ ไม่สงบ ยิ่งจับมือกันด้วย ก็อยากจะเหวี่ยงทิ้งไปเลย ใช่ไหม”
“ท่านพูดเหมือนตาเห็นเลยนะครับ”
“เห็นมาหลายครอบครัวแล้ว ก็รู้ว่าจะเป็นอย่างไร โย..ตอนยกขันหมากไปสู่ขอเป๊ป ใช้ทองกี่บาทเงินกี่แสนล่ะ”
“ตอนนั้นเพิ่งทำงานใหม่ๆทอง ๑๒ บาท เงิน ๒๐๐,๐๐๐ ครับ”
“แพงเหมือนกันนะ แล้วตอนนี้ถ้าให้ยกขันหมากไปใหม่ล่ะ จะใช้เท่าไหร่”
“ตอนนี้ทองแพงมากนะครับ บาทละ ๒๐,๐๐๐ ต้นๆ เอาแค่ ๖ บาทก็พอ เงินก็เท่าเดิมครับ หรือเพิ่มอีกสักเท่าตัวดีครับ”
“คิดเองซิ ถามอาตมาได้ไง คนไม่เคยแต่งงาน จะไปรู้ได้อย่างไรล่ะ “
“เท่าไรดีเป๊ป”
“นี่..ท่านอาจารย์ถาม ยังตอบโยกโย้อีก”
“เอาล่ะ..ไม่เป็นไร อาตมาขอถามหน่อยว่า เราแต่งเมียมานี่ ก็ต้องมีงานแต่งงาน มีสินสอดทองหมั้น ใช่ไหม”
“ครับ”
“แล้วทำไมไม่คิดว่าภรรยาน่าจะมีมูลค่าเพิ่มบ้างล่ะ สินสอดทองหมั้นก็น่าจะเพิ่มขึ้นมากๆนะ”
“ผมให้เขาหมดเลยครับ ทุกอย่างที่มี ผมยกให้เขาหมด”
“ประชดหรือเปล่า”
“เปล่าครับ ผมมานั่งย้อนคิดตามที่ท่านบอกเมื่อครู่ ความจริงผมก็ผิดนะครับ ที่ปล่อยให้เป๊ปดูแลลูกคนเดียว แต่ผมก็อยากให้ลูกมีความเข้มแข็ง ช่วยเหลือตัวเองได้ เหมือนกับผมสมัยที่เข้ากรุงเทพใหม่ๆน่ะครับ”
“เป๊ปล่ะว่าไง”
“พี่โยเขาก็ดีค่ะท่านอาจารย์ รับผิดชอบดูแลเรื่องอาหารการกินทุกอย่าง ซักผ้าให้ลูก คอยติดตามดูลูกทุกอย่างเลย หนูก็ผิดด้วยค่ะ ใจร้อนไปหน่อย เลยมาวุ่นวายท่าน”
“ชีวิตสามีภรรยา เป็นชีวิตที่ต้องแบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน ทำความพอใจซึ่งกันและกัน อะลุ้มอล่วยในทุกเรื่องราว เอาใจเขามาใส่ใจเรา มองมุมเขาบ้าง ชีวิตครอบครัวก็ไม่มีปัญหา ความสมดุลของชีวิตสามีภรรยา ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จักรักษาครอบครัวให้มีความมั่นคง และสามารถดำรงสืบไปจนถึงวาระสุดท้าย
ถ้าเรามานึกถึงความตายที่จะมาถึง เราก็รู้ว่าความเหงา ความโดดเดี่ยวเดียวดายของผู้ที่ยังอยู่ มันทรมานมาก เราก็จะได้ประคองชีวิตคู่ให้มีความราบรื่น ฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการไปได้ ด้วยความสามัคคีที่ให้แก่กัน นี่ล่ะที่ต้องให้นั่งสมาธิจับมือกัน จะได้มีเวลาย้อนนึกถึงวันแรกที่ตกลงปลงใจจะเป็นคู่ชีวิตกัน ยามสุขก็ร่วมกันสุข ยามทุกข์ก็ร่วมกันทุกข์ แบ่งปันทุกสิ่งที่มีให้กันและกัน ครอบครัวก็มีความเข้มแข็ง ทำให้การดำรงอยู่อย่างมีความสุขตลอดไป”
“ครับท่าน”
“การเลี้ยงลูกก็เหมือนกัน ถ้าเรามาตั้งกฎเกณฑ์อย่างบังคับให้ลูก เราก็เป็นทุกข์ ลูกก็ไม่มีความสุข โบราณจึงสอนให้เราใช้พระเดชพระคุณกับลูก ทั้งการดุการว่ากล่าว ก็ต้องทำเพื่อให้ลูกรู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร ถึงเวลาให้กำลังใจ ก็ต้องให้ตามความสามารถ
ถ้ามีลูกมากกว่า ๑ คน ก็ต้องไม่ทำให้เกิดอคติในการเลี้ยงลูก อยากให้ลูกขยันเรียน ก็ต้องปลูกฝังแต่ยังเล็ก แล้วประคองให้ลูกสามารถพัฒนาตนเองไปสู่จุดหมายของชีวิตด้วยความอบอุ่นจากเรา ลูกก็เหมือนเราตอนเด็กๆ เรายังทำไม่ได้ดังใจพ่อแม่ ลูกจะไปทำได้ดังใจเราได้อย่างไร อย่าไปเอาเรื่องของเราในอดีตมากำหนดชีวิตลูก ชีวิตใครจะเป็นอย่างไรกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตก็กำหนดให้อยู่แล้ว
หมั่นคอยดูแลให้คำแนะนำคำปรึกษา ค่อยๆ ปรับไป ลูกอาจดีกว่าที่คิดก็ได้ ตอนนี้เขาโตพอที่จะกำหนดชีวิตเขาแล้ว เราได้แต่เป็นพี่เลี้ยงเท่านั้น คิดอย่างนี้ก็พอสามารถให้ครอบครัวมีความสุขได้แล้ว”
“ฟังไว้เป๊ป จะได้ปรับปรุงตัวเอง”
“เราด้วยนะโย อย่าไปว่าแต่เป๊ปเขา”
“ครับ”
“เป๊ปรู้มั้ย.. พระพุทธเจ้าทรงพรรณนาลักษณะภรรยา ไว้ ๗ ประการ คือ ๑. ภริยาผู้มีจิตดูหมิ่นสามี เขาเรียกว่า ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๒. ภริยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์สามี เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยโจร ๓. ภริยาปากร้าย กล่าวคำหยาบ ข่มขี่สามี ผู้ขยันขันแข็ง เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยนาย ๔. ภริยาอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยมารดา ๕. ภริยามีความเคารพในสามีของตน เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยพี่สาว ๖. ภริยาเห็นสามีแล้วชื่นชมยินดีสามีเหมือนเพื่อน เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยเพื่อน ๗. ภริยาอดทนสามี เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยทาสี
ภริยาพวกที่ ๑, ๒, ๓ ล้วนแต่เป็นคนทุศีลหยาบช้า เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก ชีวิตครอบครัวมีปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนกายใจอยู่เสมอ บ้านจึงเหมือนนรก
ส่วนภริยาพวกที่ ๔, ๕, ๖ และ ๗ เพราะตั้งอยู่ในศีล ถนอมความรักไว้ยั่งยืน เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติสวรรค์ ชีวิตครอบครัวมีแต่ความสมานไมตรี สุขใจตลอดเวลา บ้านเป็นเหมือนสวรรค์...เลือกเอานะเป๊ป จะเป็นภรรยาแบบไหน”
“หนูก็ต้องเอาแบบ ๔ อย่างหลังสิคะ ครอบครัวจะได้มีความสุขตลอดไป”
“อยากเป็นภรรยาที่ดี ก็ต้องอดทน ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนตามหลักธรรม คือ รู้จักจัดแจงงานบ้านให้เรียบร้อยดี ๑ รู้จักสงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจสามี ๑ รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ ๑ ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง ๑ ทำได้อย่างนี้ ก็หมดปัญหาในบ้านแล้ว”
“โยล่ะ..อยากได้ภรรยาแบบไหน”
“อยากได้แบบที่ ๖ ครับ อยากให้เป๊ปเห็นผม แล้วชื่นชมยินดี เหมือนเพื่อนรักครับ”
“แล้วอยากเป็นสามีแบบไหนล่ะ”
“ผมอยากอนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลแก่ภรรยาครับ”
“อยากเป็นสามีที่ดี ต้องอดทนเหมือนกัน แล้วต้องรู้จักยกย่องให้เกียรติภรรยา ๑ โดยไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามภรรยา ๑ โดยไม่ประพฤตินอกใจภรรยา ๑ โดยมอบความเป็นใหญ่ในงานเรือนให้ภรรยา ๑ หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญแก่ภรรยาตามโอกาส ๑ ทำได้อย่างนี้ เป๊บไม่มีบ่นหรอก”
“ครับ”
“แล้วเป๊ปอยากเป็นส่วนไหนของช้างล่ะ”
“เป็นช้างเท้าหลังค่ะ แม่สอนมาแต่เด็กแล้วว่าต้องเป็นช้างเท้าหลัง หนูก็ไม่รู้เหตุผล”
“ถ้าเปรียบครอบครัวเป็นช้าง การเคลื่อนตัวของช้างจะเริ่มจากเท้าหลังก่อน ก็คือครอบครัวจะดำเนินไปได้ ก็ด้วยบทบาทหน้าที่ของภรรยา จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้สามีหมั่นประกอบกิจการหาทุนทรัพย์มาเพื่อจับจ่ายใช้สอยในกิจการของครอบครัว โบราณจึงสอนให้ภรรยาเป็น ช้างเท้าหลัง จะได้รู้จักประมาณตน ทำตัวให้สามีรักใคร่เอ็นดู ทำครอบครัวให้อบอุ่น ลองทำดูแล้วจะรู้ว่าความสุขในชีวิตครอบครัวสร้างได้ง่ายเพียงใด”
“ครับ/ค่ะ”
“มีอะไรอีกมั้ย”
“ไม่มีแล้วครับ”
“เอ้า.. งั้นเตรียมรับพร แล้วกลับบ้านได้ ลูกรออยู่”
“กราบนมัสการลาท่านอาจารย์ครับ/ค่ะ”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 127 มิถุนายน 2554 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
“อ้าว เจอหน้าก็บ่นเรื่องเมียเลยรึ มาด้วยกันยังบ่นให้อาตมาฟังอีก”
“ไม่บ่นให้ท่านอาจารย์ฟัง ผมก็อึดอัดซิครับ ตอนแรก ว่าจะมาคนเดียว แต่พระอาจารย์ตั้งกฎไว้ว่าถ้าจะมาปรึกษาเรื่องครอบครัว ต้องมาพร้อมกัน ผมก็ต้องพาภรรยามาด้วย อ้าว..เป๊ป ทำไมเงียบล่ะ ไม่พูดอะไรเลย ผิดกับตอนออกจากบ้านมานี่ บ่นไม่หยุดเลย”
“พี่โยนี่ ถือโอกาสเลยนะ ถือว่าอยู่กับท่านอาจารย์ ฟ้องใหญ่ ใครกันแน่ที่ผิด เดี๋ยว..เถอะ “
“เห็นมั้ยครับ นี่ยังไม่วายจะบ่นว่าผมอีก เฮ้อ..กลุ้มใจจริงๆ เนี่ยะลูกคนโตก็จะเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ไม่รู้จะบ่นไปทำไม น่าเบื่อจริงๆนะครับ”
“เบื่อฉันเหรอพี่โย ทีอยู่บ้านละก็ไม่กล้าพูด”
“เอ้า..พอเถอะ หยุดเถียงกันได้แล้ว เห็นแก่อาตมาบ้างนะ มาเข้าเรื่องดีกว่า คราวนี้เรื่องอะไรอีกล่ะ”
“ก็เรื่องเจเจ ลูกคนโตน่ะครับ ตอนสอบไม่ติดก็มาขอให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิษฐานให้ บอกว่าติดอะไรก็ได้ ขอให้ได้เข้ามหาวิทยาลัยก็พอ นี่ลูกสอบได้สัตวศาสตร์ ก็บ่น อยากได้คณะอื่นอีก ผมก็กลุ้มใจเลย ไม่รู้จะทำไง ก็พามาหาท่านอาจารย์นี่ล่ะครับ”
“อ้อ.. เจเจ สอบได้สัตวศาสตร์หรือ?”
“คะแนนแอดมิชชั่นถึงครับ นี่ก็จะรอสอบสัมภาษณ์วันสองวันนี้ละครับ เป๊ปเขาเครียดยิ่งกว่าลูกอีก ไปค้นหารายละเอียดมาให้ลูกอ่านเพียบเลยครับ กลัวไม่ได้”
“ไหนบ่นว่าอยากได้คณะอื่นไง”
“ไม่ใช่อย่างพี่โยว่าหรอกค่ะ พี่โยนี่ พูดไปเรื่อย เป๊ปเสียหายนะ ท่านอาจารย์ดูซิคะ ตั้งแต่ลูกสมัครสอบแล้ว ไม่ยอมช่วยอะไรเลย อ้างว่ามาดูแลท่านอาจารย์ตลอด นี่ก็ให้หนูพาลูกไปสอบสัมภาษณ์ด้วย หนูก็ต้องช่วยลูกหาข้อมูลที่อาจารย์จะถามในวันสอบสัมภาษณ์ ผิดหรือคะ”
“นี่เป๊ป..ลูกโตแล้ว ต้องให้รู้จักทำเองบ้างซิ อะไรๆก็ทำให้หมด แล้วเมื่อไรเขาจะโตล่ะ”
“ตกลงว่า..จะมาปรึกษาอาตมาหรือมาทะเลาะกันให้อาตมาดูล่ะ”
“พี่โยนี่ เห็นไหม..ท่านอาจารย์ดุแล้ว เงียบเถอะ ฟังท่านว่าดีกว่า นิมนต์ค่ะท่าน “
“กฎที่กุฎีนี้ว่าอย่างไร”
“มาปรึกษาเรื่องครอบครัว ต้องนั่งสมาธิ เอามือจับกันไว้ จนกว่าท่านอาจารย์จะอนุญาตให้ลืมตาครับ”
“แล้วทำหรือยังล่ะ?”
“ครับ..เป๊ป มานั่งนี่ แล้วเอามือมา ฉันจับมือเธอเอง กำหนดพุท-โธ ไว้อย่างเดียวนะ หลับตาได้แล้ว เดี๋ยวท่านอาจารย์จะสอนเอง”
...............๓๐ นาที ผ่านไป.............
“เอ้าลืมตาได้ เป็นไงบ้าง มือเมียเหมือนเดิมมั้ย”
“เหมือนอย่างไรครับ?”
“เหมือนวันแรกที่เราจับมือเขามั้ย ตอนที่เริ่มจีบกันใหม่ๆน่ะ”
“โอย..จะเหมือนได้ไงท่านอาจารย์ แก่แล้วมือไม้ก็เหี่ยวหมดแล้ว”
“อาตมาไม่ได้ถามว่ามือเหมือนเดิมหรือเปล่า”
“ถ้างั้น..ท่านถามเรื่องอะไรครับ”
“อาตมาถามถึงความรู้สึกไง ความรู้สึกที่ได้สัมผัสมือเมียครั้งแรกน่ะ จำได้ไหม”
“ใครจะจำได้ล่ะครับ เกือบ ๑๘ ปีแล้วนะครับ “
“แน่ใจหรือ ที่ตอบมาน่ะ”
“เอ..เอาอย่างนี้ดีกว่า เดี๋ยวผมจับใหม่ เป๊ป..ขอจับมือเธออีกครั้งซิ...เออ..ไม่เหมือนครับ ไม่นิ่มน่าประทับใจเหมือนคราวนั้นเลยครับท่าน”
“โย.. เวลาพูดอะไรนี่ ทบทวนก่อนนะ ว่าสิ่งใดควรพูด สิ่งใดไม่ควรพูด พูดแล้วทำลายความรู้สึกที่ดีของเมีย ก็อย่าไปพูด พูดแล้วบันเทิงหู พาให้เมียสุขใจก็ควรพูด สอนไม่ค่อยจำเลยนะเรานี่ รู้มั้ยว่า ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด หลังพูดเราเป็นคนรับกรรมของการพูดนั้น จำไว้บ้างซิ”
“แหม..ท่านอาจารย์ ผมก็พูดแหย่เมียเล่นน่ะครับ ท่านอย่าไปจริงจังเลย ความรู้สึกตอนนี้กับตอนแรกเหมือนกันครับ ผมรักเป๊ปตอนนั้นมากแค่ไหน ตอนนี้มากกว่านั้นเยอะครับ”
“แน่ใจนะที่ตอบมาน่ะ”
“แน่ใจครับ ผมมันนิสัยเสียที่ชอบพูดแหย่เขาบ่อยน่ะครับ ไม่อยากให้เครียด แต่เขาไม่ค่อยรับมุกเลย เครียดบ่อยไปเดี๋ยวเป็นความดันนะเธอ”
“นี่พี่โย ท่านอาจารย์กำลังสอนอยู่ ทำเล่นอีกแล้ว”
“ปล่อยไปเถอะเป๊ป โยก็นิสัยอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว ไม่รู้รึ”
“รู้ค่ะ แต่มันอดไม่ได้นี่คะ”
“พอกันผัวเมียคู่นี้”
“เห็นไหมพี่โย โดนจนได้ ทำไมไม่ขอโทษท่านล่ะ”
“ไม่ต้องหรอก ธรรมชาติของพวกเธอเป็นอย่างนี้ อย่าไปฝืนเลย ทำปกติ แต่ต้องอยู่ในกฎระเบียบบ้าง จะได้มีสติรู้ตัว ทำอะไรต่อกันจะได้รอบคอบมากขึ้น เหมือนนั่งสมาธินี่ ถ้าไม่กำหนดลมหายใจไว้ในคำภาวนาว่า พุท-โธ เดี๋ยวก็สารพัดเรื่องที่จะเข้ามารบกวนในจิตใจ ทำให้เบื่อเร็ว ไม่อยากนั่งสมาธิ ไม่สงบ ยิ่งจับมือกันด้วย ก็อยากจะเหวี่ยงทิ้งไปเลย ใช่ไหม”
“ท่านพูดเหมือนตาเห็นเลยนะครับ”
“เห็นมาหลายครอบครัวแล้ว ก็รู้ว่าจะเป็นอย่างไร โย..ตอนยกขันหมากไปสู่ขอเป๊ป ใช้ทองกี่บาทเงินกี่แสนล่ะ”
“ตอนนั้นเพิ่งทำงานใหม่ๆทอง ๑๒ บาท เงิน ๒๐๐,๐๐๐ ครับ”
“แพงเหมือนกันนะ แล้วตอนนี้ถ้าให้ยกขันหมากไปใหม่ล่ะ จะใช้เท่าไหร่”
“ตอนนี้ทองแพงมากนะครับ บาทละ ๒๐,๐๐๐ ต้นๆ เอาแค่ ๖ บาทก็พอ เงินก็เท่าเดิมครับ หรือเพิ่มอีกสักเท่าตัวดีครับ”
“คิดเองซิ ถามอาตมาได้ไง คนไม่เคยแต่งงาน จะไปรู้ได้อย่างไรล่ะ “
“เท่าไรดีเป๊ป”
“นี่..ท่านอาจารย์ถาม ยังตอบโยกโย้อีก”
“เอาล่ะ..ไม่เป็นไร อาตมาขอถามหน่อยว่า เราแต่งเมียมานี่ ก็ต้องมีงานแต่งงาน มีสินสอดทองหมั้น ใช่ไหม”
“ครับ”
“แล้วทำไมไม่คิดว่าภรรยาน่าจะมีมูลค่าเพิ่มบ้างล่ะ สินสอดทองหมั้นก็น่าจะเพิ่มขึ้นมากๆนะ”
“ผมให้เขาหมดเลยครับ ทุกอย่างที่มี ผมยกให้เขาหมด”
“ประชดหรือเปล่า”
“เปล่าครับ ผมมานั่งย้อนคิดตามที่ท่านบอกเมื่อครู่ ความจริงผมก็ผิดนะครับ ที่ปล่อยให้เป๊ปดูแลลูกคนเดียว แต่ผมก็อยากให้ลูกมีความเข้มแข็ง ช่วยเหลือตัวเองได้ เหมือนกับผมสมัยที่เข้ากรุงเทพใหม่ๆน่ะครับ”
“เป๊ปล่ะว่าไง”
“พี่โยเขาก็ดีค่ะท่านอาจารย์ รับผิดชอบดูแลเรื่องอาหารการกินทุกอย่าง ซักผ้าให้ลูก คอยติดตามดูลูกทุกอย่างเลย หนูก็ผิดด้วยค่ะ ใจร้อนไปหน่อย เลยมาวุ่นวายท่าน”
“ชีวิตสามีภรรยา เป็นชีวิตที่ต้องแบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน ทำความพอใจซึ่งกันและกัน อะลุ้มอล่วยในทุกเรื่องราว เอาใจเขามาใส่ใจเรา มองมุมเขาบ้าง ชีวิตครอบครัวก็ไม่มีปัญหา ความสมดุลของชีวิตสามีภรรยา ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จักรักษาครอบครัวให้มีความมั่นคง และสามารถดำรงสืบไปจนถึงวาระสุดท้าย
ถ้าเรามานึกถึงความตายที่จะมาถึง เราก็รู้ว่าความเหงา ความโดดเดี่ยวเดียวดายของผู้ที่ยังอยู่ มันทรมานมาก เราก็จะได้ประคองชีวิตคู่ให้มีความราบรื่น ฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการไปได้ ด้วยความสามัคคีที่ให้แก่กัน นี่ล่ะที่ต้องให้นั่งสมาธิจับมือกัน จะได้มีเวลาย้อนนึกถึงวันแรกที่ตกลงปลงใจจะเป็นคู่ชีวิตกัน ยามสุขก็ร่วมกันสุข ยามทุกข์ก็ร่วมกันทุกข์ แบ่งปันทุกสิ่งที่มีให้กันและกัน ครอบครัวก็มีความเข้มแข็ง ทำให้การดำรงอยู่อย่างมีความสุขตลอดไป”
“ครับท่าน”
“การเลี้ยงลูกก็เหมือนกัน ถ้าเรามาตั้งกฎเกณฑ์อย่างบังคับให้ลูก เราก็เป็นทุกข์ ลูกก็ไม่มีความสุข โบราณจึงสอนให้เราใช้พระเดชพระคุณกับลูก ทั้งการดุการว่ากล่าว ก็ต้องทำเพื่อให้ลูกรู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร ถึงเวลาให้กำลังใจ ก็ต้องให้ตามความสามารถ
ถ้ามีลูกมากกว่า ๑ คน ก็ต้องไม่ทำให้เกิดอคติในการเลี้ยงลูก อยากให้ลูกขยันเรียน ก็ต้องปลูกฝังแต่ยังเล็ก แล้วประคองให้ลูกสามารถพัฒนาตนเองไปสู่จุดหมายของชีวิตด้วยความอบอุ่นจากเรา ลูกก็เหมือนเราตอนเด็กๆ เรายังทำไม่ได้ดังใจพ่อแม่ ลูกจะไปทำได้ดังใจเราได้อย่างไร อย่าไปเอาเรื่องของเราในอดีตมากำหนดชีวิตลูก ชีวิตใครจะเป็นอย่างไรกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตก็กำหนดให้อยู่แล้ว
หมั่นคอยดูแลให้คำแนะนำคำปรึกษา ค่อยๆ ปรับไป ลูกอาจดีกว่าที่คิดก็ได้ ตอนนี้เขาโตพอที่จะกำหนดชีวิตเขาแล้ว เราได้แต่เป็นพี่เลี้ยงเท่านั้น คิดอย่างนี้ก็พอสามารถให้ครอบครัวมีความสุขได้แล้ว”
“ฟังไว้เป๊ป จะได้ปรับปรุงตัวเอง”
“เราด้วยนะโย อย่าไปว่าแต่เป๊ปเขา”
“ครับ”
“เป๊ปรู้มั้ย.. พระพุทธเจ้าทรงพรรณนาลักษณะภรรยา ไว้ ๗ ประการ คือ ๑. ภริยาผู้มีจิตดูหมิ่นสามี เขาเรียกว่า ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๒. ภริยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์สามี เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยโจร ๓. ภริยาปากร้าย กล่าวคำหยาบ ข่มขี่สามี ผู้ขยันขันแข็ง เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยนาย ๔. ภริยาอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยมารดา ๕. ภริยามีความเคารพในสามีของตน เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยพี่สาว ๖. ภริยาเห็นสามีแล้วชื่นชมยินดีสามีเหมือนเพื่อน เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยเพื่อน ๗. ภริยาอดทนสามี เรียกว่า ภริยาเสมอด้วยทาสี
ภริยาพวกที่ ๑, ๒, ๓ ล้วนแต่เป็นคนทุศีลหยาบช้า เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก ชีวิตครอบครัวมีปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนกายใจอยู่เสมอ บ้านจึงเหมือนนรก
ส่วนภริยาพวกที่ ๔, ๕, ๖ และ ๗ เพราะตั้งอยู่ในศีล ถนอมความรักไว้ยั่งยืน เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติสวรรค์ ชีวิตครอบครัวมีแต่ความสมานไมตรี สุขใจตลอดเวลา บ้านเป็นเหมือนสวรรค์...เลือกเอานะเป๊ป จะเป็นภรรยาแบบไหน”
“หนูก็ต้องเอาแบบ ๔ อย่างหลังสิคะ ครอบครัวจะได้มีความสุขตลอดไป”
“อยากเป็นภรรยาที่ดี ก็ต้องอดทน ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนตามหลักธรรม คือ รู้จักจัดแจงงานบ้านให้เรียบร้อยดี ๑ รู้จักสงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจสามี ๑ รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ ๑ ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง ๑ ทำได้อย่างนี้ ก็หมดปัญหาในบ้านแล้ว”
“โยล่ะ..อยากได้ภรรยาแบบไหน”
“อยากได้แบบที่ ๖ ครับ อยากให้เป๊ปเห็นผม แล้วชื่นชมยินดี เหมือนเพื่อนรักครับ”
“แล้วอยากเป็นสามีแบบไหนล่ะ”
“ผมอยากอนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลแก่ภรรยาครับ”
“อยากเป็นสามีที่ดี ต้องอดทนเหมือนกัน แล้วต้องรู้จักยกย่องให้เกียรติภรรยา ๑ โดยไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามภรรยา ๑ โดยไม่ประพฤตินอกใจภรรยา ๑ โดยมอบความเป็นใหญ่ในงานเรือนให้ภรรยา ๑ หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญแก่ภรรยาตามโอกาส ๑ ทำได้อย่างนี้ เป๊บไม่มีบ่นหรอก”
“ครับ”
“แล้วเป๊ปอยากเป็นส่วนไหนของช้างล่ะ”
“เป็นช้างเท้าหลังค่ะ แม่สอนมาแต่เด็กแล้วว่าต้องเป็นช้างเท้าหลัง หนูก็ไม่รู้เหตุผล”
“ถ้าเปรียบครอบครัวเป็นช้าง การเคลื่อนตัวของช้างจะเริ่มจากเท้าหลังก่อน ก็คือครอบครัวจะดำเนินไปได้ ก็ด้วยบทบาทหน้าที่ของภรรยา จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้สามีหมั่นประกอบกิจการหาทุนทรัพย์มาเพื่อจับจ่ายใช้สอยในกิจการของครอบครัว โบราณจึงสอนให้ภรรยาเป็น ช้างเท้าหลัง จะได้รู้จักประมาณตน ทำตัวให้สามีรักใคร่เอ็นดู ทำครอบครัวให้อบอุ่น ลองทำดูแล้วจะรู้ว่าความสุขในชีวิตครอบครัวสร้างได้ง่ายเพียงใด”
“ครับ/ค่ะ”
“มีอะไรอีกมั้ย”
“ไม่มีแล้วครับ”
“เอ้า.. งั้นเตรียมรับพร แล้วกลับบ้านได้ ลูกรออยู่”
“กราบนมัสการลาท่านอาจารย์ครับ/ค่ะ”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 127 มิถุนายน 2554 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)