“หลวงตาครับ บ้านเมืองเราจะเป็นอย่างไรบ้างครับ”
“ทำไมล่ะโยม คิดอย่างไรจึงถามอาตมาเช่นนี้”
“ก็ผมเห็นมันวุ่นวายไปหมด ทั้งแบ่งสีแบ่งข้าง ปล่อยข่าวลือทำลายกันสารพัด เมื่อเดือนก่อนภาคเหนือแผ่นดินไหว ภาคใต้ก็น้ำท่วม เด็กสอบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โอย..อ่านข่าวแล้วก็กลุ้มครับ”
“กลุ้มทำไมล่ะ”
“ก็ใจมันห่วงบ้านห่วงเมืองซิครับ ห่วงในหลวงด้วย กลัวเรื่องราวต่างๆไปรบกวนพระราชหฤทัยให้พระอาการประชวรแย่ลงไปอีก นี่แค่คิดนะครับ ยังเครียดเลย”
“เครียดทำไมล่ะโยม”
“อ้าว หลวงตา.. ก็เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันกระทบถึงผมด้วยซิครับ”
“กระทบอย่างไร แจงให้ฟังหน่อยสิ”
“อย่างนี้หลวงตา เรื่องแบ่งสีแบ่งข้าง ผมก็อึดอัดเวลาคุยกับเพื่อนฝูง เมื่อก่อนนี้ก็คุยสรวลเสเฮฮากันปกติ เดี๋ยวนี้ความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน ที่เคยรักกันก็แตกแยกกัน ที่ทำงานก็ขลุกขลักพอควร พอทำงานไปได้สักหน่อย เผลอคุยเรื่องการเมืองนิด เป็นเหตุให้งานเกือบพังนะหลวงตา แล้วเรื่องข่าวลืออีก ลือได้ลือดี สารพัดเรื่อง ทำงานก็ห่วงลูกๆ ต้องคอยเช็คตลอด กลัวว่าเดี๋ยวเกิดเรื่อง ตามข่าวลือก็แย่เลย เนี่ยะ..กระทบตรงๆ เลยครับ”
“อ้าว แล้วแผ่นดินไหว น้ำท่วม ไปกระทบกับเราได้อย่างไร”
“เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็สงสารนะครับ แหมก็คนไทยด้วยกัน ไม่ห่วงกันได้อย่างไรล่ะครับ”
“แล้วไปรู้ได้อย่างไร ว่าในหลวงท่านจะทรงเครียดกับเรื่องเหล่านี้”
“โถ หลวงตา ผมยังห่วงลูกๆ ของผมขนาดนี้ ท่านเป็นพ่อของแผ่นดินจะไม่ทรงเครียดมากกว่าผมหรือครับ”
“แล้วโยมจะช่วยท่านได้อย่างไรล่ะ”
“ก็เพราะผมคิดไม่ออกนี่ซิครับ จึงกลุ้มใจมาหาหลวงตานี่ไง คิดว่าหลวงตาคงจะหาทางออกให้ผมได้ หลวงตาเป็น สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ของผมนะครับ”
“แล้วจะให้ช่วยอย่างไร”
“อ้าว.. หลวงตาถามผม ผมจะตอบอย่างไรล่ะครับ แหมอุตส่าห์มาหา ไม่ให้ความคิดเห็นอะไรเลยหรือครับ”
“โยม เรื่องที่โยมกลุ้มใจนี่ มันอยู่ในบ้านหรือนอกบ้านล่ะ”
“นอกบ้านครับ แต่มันมีผลต่อในบ้านด้วยนะหลวงตา เมียผม ลูกผม ก็ชอบนำเรื่องพวกนี้มาคุย มาถามผมเรื่อย ผมก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร หวังพึ่งหลวงตาจริงๆ ครับ”
“เรื่องนอกบ้าน ก็ควรเอาไว้นอกบ้านซิ เอาเข้าบ้านก็วุ่นวายแน่นอน จำได้ไหม เวลามานั่งสมาธิที่กุฎีนี่ หลวงตาสอนว่าอย่างไร”
“หลวงตาสอนว่า ให้หยุดคิดเรื่องต่างๆ แล้วนั่งกำหนดลมหายใจ พุท-โธ ครับ”
“แล้วเป็นอย่างไรบ้าง”
“ก็หยุดคิดได้นิดหน่อย แล้วก็อดคิดเรื่องต่างๆ ไม่ได้ครับ “
“แล้วเป็นอย่างไรอีก”
“ก็เบื่อสิครับ ไม่อยากนั่งสมาธิอีกเลย”
“ช่วงที่คิดเรื่อยเปื่อยอยู่นั้นล่ะ เบื่อไหม”
“ไม่รู้สิครับ แต่เผลอไปหน่อยเดียว ก็นั่งได้เกือบครึ่งชั่วโมง”
“ได้ประโยชน์ไหม เวลาคิดเรื่องอื่น ในขณะที่ต้องหยุดคิดน่ะ”
“ไม่ได้อะไรเลยหลวงตา ฟุ้งซ่านไปเรื่อย เดี๋ยวเรื่องนี้เรื่องโน้นสารพัด ผมก็รู้ครับว่าทำไม่ถูก แต่มันก็อดคิดไม่ได้ สมองมันมีไว้สำหรับคิดไม่ใช่หรือครับหลวงตา”
“อาตมาไม่ได้บอกว่าผิด แต่ไม่รู้สึกตัวหรือว่าขณะที่คิดอยู่นั้นน่ะ ไม่ได้สนใจในร่างกายเราเลย ทั้งไม่ใส่ใจในคำภาวนา พุท-โธ เลย”
“เออ...จริงครับหลวงตา บางทีมันก็เพลินไป ไม่รู้เลยว่ากำลังนั่งสมาธิอยู่ ต้องแก้ไขอย่างไรครับ”
“โยมคิดแต่ละเรื่องนั้น จบเป็นเรื่องๆไหม”
“ไม่ครับ..คิดเรื่องนี้นิดเรื่องนั้นหน่อย มีเป็นสิบๆเรื่องเลยครับ ปกติผมก็ไม่เคยคิดได้มากมายขนาดนี่เล้ยนะหลวงตา แต่ไม่รู้ทำไมเวลามานั่งสมาธิกับหลวงตา จึงคิดได้เยอะแยะเลยครับ“
“โยม.. ธรรมชาติของคนเรา เวลามันหยุดนิ่งเฉยไม่คิดนี่ มันสั้น จิตใจของคนเราชอบคิดมาแต่อ้อนแต่ออกแล้ว โยมสังเกตคนที่นั่งใจลอยสิ นั่นเขาก็กำลังคิดเรื่องราวอยู่ นั่งนิ่งได้นานเลยนะ แต่พอให้นั่งอย่างนั้นโดยไม่คิด กลับทำไม่ได้ แบบที่โยมว่ามานั้นล่ะ พูดภาษาพระแบบชาวบ้านฟังง่าย นั่งสมาธิโดยไม่คิด เรียกว่าสมถะ นั่งสมาธิแล้วคิดไปเป็นเรื่องๆ จนจบเรื่อง เรียกว่าวิปัสสนา อย่างโยมพูดมานี่ มันสมถะนิด แล้วโดดไปหาวิปัสสนาเลย แต่วิปัสสนาของโยมไม่ได้ประโยชน์ต่อตนเอง เพราะไม่คิดให้จบเป็นเรื่องๆ ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดของเรื่องที่คิด โยมคิดไปตามความทรงจำที่ผ่านพบเรื่องนั้นๆ มา ทำให้โยมมีเรื่องมากมายในใจที่คิด ขณะนั่งสมาธิที่นี่ ลองตรองดูสิว่าจริงไหม”
“โอ..จริงครับ หลวงตาพูดถูก เรื่องที่ผมคิดนั้น อ่านบ้าง ฟังบ้าง กังวลบ้าง สารพัด ผมจึงเอามาคิดมากมายเลย จะแก้ไขอย่างไรดีครับหลวงตา”
“แก้ไขไม่ยากหรอก เวลานั่งสมาธิมีเรื่องให้คิดปรากฏ ก็คิดให้จบเป็นเรื่องๆ แล้วจะรู้ว่าทุกเรื่องไม่มีอะไรที่มาเกี่ยวพันกับเราเลย เราเอาตัวของเราไปผูกยึดติดกับมันเอง เมื่อสามารถรู้ได้อย่างนี้ ต่อไปมันก็หยุดคิดเรื่อยเปื่อยได้ จิตใจก็จะรู้จักคิดตริตรองเป็นเรื่องๆ คิดให้จบในคราเดียว แล้วจิตใจมันก็ไม่คิดเรื่องนั้นอีก เมื่อคล่องขึ้นอีก จิตใจก็เบื่อหน่ายเรื่องเหล่านี้ ก็ไม่นำมาคิดอีก คราวนี้ล่ะสงบแน่นอน
เมื่อสงบมากขึ้น ก็อาจจะมีการคิดเรื่องราวขึ้นมาใหม่ แต่คราวนี้จะเห็นรายละเอียดในเรื่องนั้นมากขึ้น จนที่สุดก็จะเห็นสัจธรรมในเรื่องนั้นว่า ในโลกนี้ทุกเรื่องราวล้วนแต่ไม่จีรังยั่งยืน ไม่เป็นไปตามอำนาจของความคิดคาดคะเนของเราเลย แล้วเราจะมัวโง่มานั่งคิดถึงเรื่องเหล่านี้ทำไม แค่นี้ก็จะทำให้ไม่มีเรื่องไหนในโลกมาทำให้กลุ้มใจได้เลย ฟังแล้ว ลองไปตริตรองพิจารณาดูนะว่าจะเป็นจริงอย่างหลวงตาพูดไหม”
“มันยากหรือเปล่าครับหลวงตา”
“โลกนี้ไม่มีอะไรยากไม่มีอะไรง่ายหรอก ถ้าตั้งใจจะเรียนรู้ ทุกอย่างก็จะเป็นตามครรลองของมันเอง”
“หลวงตากำลังสอนผมไม่ให้ไปยุ่งเรื่องการบ้านการเมืองหรือครับ”
“ก็เราไม่สามารถแก้ไขเรื่องเหล่านั้นได้ เราจะมามัวคิดให้กลุ้มใจทำไม ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องเขาจัดการไม่ดีกว่าหรือ ผลจะออกมาอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขาเหล่านั้น ถ้าเราไปเก็บมาคิด เราก็ประสาทเสีย จริตเสีย เผลอๆ อาจเส้นโลหิตในสมองแตกก็ได้นะ“
“แต่ผมห่วงในหลวงนะครับหลวงตา ห่วงว่าประเทศไทยจะพบความหายนะ พระพุทธศาสนาจะแย่ลงนะครับ ผมผิดหรือครับหลวงตา ที่กังวลใจในสิ่งเหล่านี้”
“ไม่ผิดหรอก แต่เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เราจะเก็บมาคิดทำไมให้เสียเวลา ทำไมไม่เอาเวลาไปทำให้ครอบครัวของเราอยู่อย่างเป็นสุขสบายตามธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ถ้าเราทำได้ และมีครอบครัวอื่นทำตาม ปัญหาสังคมที่เราคิดไว้ก็หมดไปเอง”
“จริงครับหลวงตา ถ้าผมเป็นอะไรไป ครอบครัวแย่เลย ถ้าครอบครัวของผมดี อยู่กันอย่างมีความสุขพอสมควรแก่ฐานะ ครอบครัวผมก็ไม่สร้างปัญหาให้สังคม ถ้าทุกครอบครัวเหมือนครอบครัวผม ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะทุกคนต้องมีพระธรรมอยู่ในจิตใจ จริงๆด้วยครับหลวงตา”
“โยม เราเป็นพสกนิกรในแผ่นดินไทย หน้าที่เราก็ต้องทำให้ดีที่สุด สิ่งใดเป็นส่วนภาษี เป็นสิทธิหน้าที่ของเราตามกฎหมาย เราก็ต้องทำให้ถูก ให้ครอบครัวของเราทำให้ถูกกฎหมาย ปัญหาเหล่านั้นก็จะไม่มากระทบครอบ ครัวของเรา เมื่อทุกคนช่วยกันครองตนในทำนองคลองธรรม ข่าวลือเรื่องไม่จริงทั้งหลายก็ไม่มีเกิดขึ้นในสังคมของเรา ประเทศเราก็จะเป็นเหมือนเมื่อก่อน คือมีแต่รอยยิ้มที่แจ่มใสเสมอเลยไปใช่ไหม”
“ใช่ครับ”
“ในหลวงทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ วันนั้นทรงตั้งพระราชปณิธานเป็น พระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ตลอดเวลา ที่ผ่านมาพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการตามพระราชปณิธานนี้ เราจึงได้รับความสุขสบายโดยไม่ รู้ตัวเสมอมา พระองค์เป็นบุรพการีของคนไทยทุกคน
สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร) ทรงสอน ไว้ว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี ถ้าโยมทำความดีในครอบครัว ทำให้ครอบครัวอยู่กันโดยธรรม ได้รับสุขประโยชน์ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ โยมก็ได้ช่วยแบ่งเบาพระราชภาระของในหลวงแล้ว ถึงวันฉัตรมงคล ก็ทำความดีถวายพระองค์ท่านให้มากขึ้นกว่าวันธรรมดา”
“ครับ”
“โยมเห็นนาข้าวที่ข้างวัดไหม”
“เห็นครับ งามดีนะครับหลวงพ่อ”
“นั่นน่ะข้าวหลวงนะโยม อาตมาไปขอมาจากพระราชครูพราหมณ์ ที่ทำพิธีพืชมงคล เอามาปลูกทำพันธุ์แจกชาวบ้านแถวนี้ ให้เขาเอาไปปลูกเป็นมงคล โยมรู้ไหม ถ้าฝนตกในวันพืชมงคล ปีนั้นฝนจะตกดี ทำนาได้สบาย แต่เดี๋ยวนี้ธรรมชาติมันวิปริตไป ก็เพราะความเห็นแก่ตัวของพวกโลภมาก ที่ตัดไม้ทำลายป่า รุกที่ป่าต้นน้ำ น้ำจึงท่วมไร้เหตุผล แผ่นดินไหวบ่อยขึ้น นี่ล่ะฝีมือคนทั้งนั้น อาตมาเองเมื่อถึงวันพืชมงคลก็จะระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านเสมอ ระบบชลประทานที่ทำให้นาข้าวสามารถปลูกได้ ๒-๓ ครั้งก็เพราะพระองค์ อาตมามีอาหารบิณฑบาตฉันได้ทุกวัน ก็เพราะพระองค์ นี่ล่ะบุรพการีของอาตมา”
“แสดงว่าชาวบ้านแถววัดนี่ ก็มีความเป็นอยู่ดีสิครับ จึงใส่บาตรหลวงตาได้ทุกวัน”
“ที่ชุมชนบ้านนี้ยังรักษาจารีตประเพณีไว้เหนียวแน่น ก็เพราะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง เพราะความเคารพเทิดทูนพระองค์ ชาวบ้านจึงไม่พยายามทำสิ่งที่จะรบกวนเบื้องพระยุคลบาท และไม่ใส่ใจในข่าวลือเรื่องต่างๆ ที่จะบ่อนทำลายความจงรักภักดีที่มีต่อพระองค์ท่าน เขาต่างทำหน้าที่ของตนให้ตรงตามธรรม ดูแลครอบครัวและชุมชนให้อยู่ในกรอบของจารีตประเพณี นี่ล่ะคือความสุขแบบไทยเดิม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความคิดที่ตรงตามธรรมเสมอกัน ช่วยกันเมื่องานมี เขาอยู่กันอย่างนี้ ปลูกฝังกันมาอย่างนี้ เรื่องที่ลูกหลานทำทุจริตติดสินบน หนีทหาร โกงภาษี ที่นี่ไม่มี ไปดูได้เลยนะ อย่าเชื่อที่หลวงตาพูด เดี๋ยวจะไม่เป็นไปตามกาลามสูตร”
“ผมรู้แล้วครับหลวงตา ก็เพราะความดีงามของคนใน บ้านนี้ล่ะครับ ผมจึงมาเป็นเขยบ้านนี้ไงหลวงตา”
“รู้ไหม ทำไมหลวงตาจึงระลึกถึงวันพืชมงคลเสมอ”
“หลวงตาบอกแล้วไม่ใช่หรือครับ”
“นั่นเป็นปัจจุบัน ในอดีตกาล เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อพระชนมายุได้ ๗ พรรษา วันพืชมงคลของกรุงกบิลพัสดุ์ ในปีนั้น พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จทำนาหลวง แล้วให้เจ้าชายโดยเสด็จด้วย แต่ทรงให้เจ้าชายรอที่ใต้ร่มไม้ เจ้าชาย สิทธัตถะเลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจจนเป็นญาณ แม้พระอาทิตย์จะเคลื่อนคล้อยไปตามสภาวะ แต่เงาของร่มไม้ไม่เคลื่อนไปตามพระอาทิตย์ ยังคงบังแดดให้เจ้าชายที่นั่งสมาธิอยู่ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตร พระองค์ทรงปลื้มปีติในพระราชหฤทัย ทรงทำความเคารพพระราชโอรสเป็นวาระที่ ๒ โดยไม่รู้พระองค์ แล้วการนั่งสมาธิครั้งนี้ ก็ส่งผลให้เจ้าชายสิทธัตถะที่บำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง ๖ ปี ได้นำไปปฏิบัติอีกครั้งในวันเพ็ญวิสาขะ อันนำผลให้เจ้าชายสิทธัตถะเปลี่ยนพระฐานะเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในรุ่งอรุณนั้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงระลึกถึงมหามงคลกาลประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จึงทรงให้จัดพิธีวิสาขบูชา มาแต่สมัยของพระองค์ บุรพชนของเราก็โดยเสด็จพระองค์ท่าน จัดพิธีวิสาขบูชาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้”
“โอ้โห หลวงตา นี่เกี่ยวพันกันหมดเลยหรือครับนี่”
“ใช่..เด็กรุ่นนี้ไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องในอดีต ประเทศชาติจึงวุ่นวายอย่างที่โยมกล่าวมาไงล่ะ”
“ผมเข้าใจแล้วครับหลวงตา ถ้าผมทำครอบครัวให้อยู่ในทำนองคลองธรรม รักษาจารีตประเพณี ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า ในหลวง ปัญหาทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นก็จะหมดไป ลูกหลานก็จะมีภูมิคุ้มกันให้อยู่อย่างมีความสุข สามารถดำเนินรอยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้ โอ..ทำไมผมนี่โง่จังเลย นี่ดีนะครับที่หลวงตาเป็นคุณพระช่วยของผม”
“โยมรู้ไหมว่า คุณพระช่วยนี่ มีที่มาอย่างไร”
“ไม่ทราบครับ”
“มีเรื่องเล่าในพระไตรปิฎกว่า มีนางพราหมณีชื่อธนัญชานี เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เมื่อนางทำท่าจะหกล้มหรือทำสิ่งใดพลาด นางมักจะอุทานว่า นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น) เมื่อพระสงฆ์นำมาเทศน์สอนชาวบ้าน ก็จำคำอุทานสืบกันมา แต่กลายเป็นคุณพระช่วยเมื่อไรก็ไม่รู้นะ”
“สำหรับผมนะครับ คุณพระช่วย ก็คือหลวงตาครับ”
“คิดแบบนั้นไม่ค่อยจะดีนะ โยมต้องคิดว่าเป็นคุณพระรัตนตรัยเหมือนนางธนัญชานี และคิดว่าเป็นคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย โยมจะได้รู้ว่านี่คือคุณของบุรพการีชน ผู้ได้ทำคุณแก่เราแล้ว แต่นั้นโยมก็จะได้แสดงกตัญญูกตเวที ตอบแทนคุณท่าน ให้เป็นตัวอย่างแก่ลูกหลาน ให้ลูกหลานได้เห็นการทำความดี คนดีก็จะมีมากขึ้นในบ้านเมือง นี่ล่ะคุณพระช่วยจริงๆ”
“ครับ ผมจะคิดอย่างหลวงตาบอก อ้าว..หลวงตาทำผมหายกลุ้มใจโดยไม่รู้ตัวเลย กราบขอบพระคุณหลวงตามากนะครับ นี่ถ้าคุณพระไม่ช่วย ผมแย่เลยครับ ลาล่ะครับ”
“เจริญพรโยม”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 126 พฤษภาคม 2554 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
“ทำไมล่ะโยม คิดอย่างไรจึงถามอาตมาเช่นนี้”
“ก็ผมเห็นมันวุ่นวายไปหมด ทั้งแบ่งสีแบ่งข้าง ปล่อยข่าวลือทำลายกันสารพัด เมื่อเดือนก่อนภาคเหนือแผ่นดินไหว ภาคใต้ก็น้ำท่วม เด็กสอบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โอย..อ่านข่าวแล้วก็กลุ้มครับ”
“กลุ้มทำไมล่ะ”
“ก็ใจมันห่วงบ้านห่วงเมืองซิครับ ห่วงในหลวงด้วย กลัวเรื่องราวต่างๆไปรบกวนพระราชหฤทัยให้พระอาการประชวรแย่ลงไปอีก นี่แค่คิดนะครับ ยังเครียดเลย”
“เครียดทำไมล่ะโยม”
“อ้าว หลวงตา.. ก็เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันกระทบถึงผมด้วยซิครับ”
“กระทบอย่างไร แจงให้ฟังหน่อยสิ”
“อย่างนี้หลวงตา เรื่องแบ่งสีแบ่งข้าง ผมก็อึดอัดเวลาคุยกับเพื่อนฝูง เมื่อก่อนนี้ก็คุยสรวลเสเฮฮากันปกติ เดี๋ยวนี้ความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน ที่เคยรักกันก็แตกแยกกัน ที่ทำงานก็ขลุกขลักพอควร พอทำงานไปได้สักหน่อย เผลอคุยเรื่องการเมืองนิด เป็นเหตุให้งานเกือบพังนะหลวงตา แล้วเรื่องข่าวลืออีก ลือได้ลือดี สารพัดเรื่อง ทำงานก็ห่วงลูกๆ ต้องคอยเช็คตลอด กลัวว่าเดี๋ยวเกิดเรื่อง ตามข่าวลือก็แย่เลย เนี่ยะ..กระทบตรงๆ เลยครับ”
“อ้าว แล้วแผ่นดินไหว น้ำท่วม ไปกระทบกับเราได้อย่างไร”
“เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็สงสารนะครับ แหมก็คนไทยด้วยกัน ไม่ห่วงกันได้อย่างไรล่ะครับ”
“แล้วไปรู้ได้อย่างไร ว่าในหลวงท่านจะทรงเครียดกับเรื่องเหล่านี้”
“โถ หลวงตา ผมยังห่วงลูกๆ ของผมขนาดนี้ ท่านเป็นพ่อของแผ่นดินจะไม่ทรงเครียดมากกว่าผมหรือครับ”
“แล้วโยมจะช่วยท่านได้อย่างไรล่ะ”
“ก็เพราะผมคิดไม่ออกนี่ซิครับ จึงกลุ้มใจมาหาหลวงตานี่ไง คิดว่าหลวงตาคงจะหาทางออกให้ผมได้ หลวงตาเป็น สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ของผมนะครับ”
“แล้วจะให้ช่วยอย่างไร”
“อ้าว.. หลวงตาถามผม ผมจะตอบอย่างไรล่ะครับ แหมอุตส่าห์มาหา ไม่ให้ความคิดเห็นอะไรเลยหรือครับ”
“โยม เรื่องที่โยมกลุ้มใจนี่ มันอยู่ในบ้านหรือนอกบ้านล่ะ”
“นอกบ้านครับ แต่มันมีผลต่อในบ้านด้วยนะหลวงตา เมียผม ลูกผม ก็ชอบนำเรื่องพวกนี้มาคุย มาถามผมเรื่อย ผมก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร หวังพึ่งหลวงตาจริงๆ ครับ”
“เรื่องนอกบ้าน ก็ควรเอาไว้นอกบ้านซิ เอาเข้าบ้านก็วุ่นวายแน่นอน จำได้ไหม เวลามานั่งสมาธิที่กุฎีนี่ หลวงตาสอนว่าอย่างไร”
“หลวงตาสอนว่า ให้หยุดคิดเรื่องต่างๆ แล้วนั่งกำหนดลมหายใจ พุท-โธ ครับ”
“แล้วเป็นอย่างไรบ้าง”
“ก็หยุดคิดได้นิดหน่อย แล้วก็อดคิดเรื่องต่างๆ ไม่ได้ครับ “
“แล้วเป็นอย่างไรอีก”
“ก็เบื่อสิครับ ไม่อยากนั่งสมาธิอีกเลย”
“ช่วงที่คิดเรื่อยเปื่อยอยู่นั้นล่ะ เบื่อไหม”
“ไม่รู้สิครับ แต่เผลอไปหน่อยเดียว ก็นั่งได้เกือบครึ่งชั่วโมง”
“ได้ประโยชน์ไหม เวลาคิดเรื่องอื่น ในขณะที่ต้องหยุดคิดน่ะ”
“ไม่ได้อะไรเลยหลวงตา ฟุ้งซ่านไปเรื่อย เดี๋ยวเรื่องนี้เรื่องโน้นสารพัด ผมก็รู้ครับว่าทำไม่ถูก แต่มันก็อดคิดไม่ได้ สมองมันมีไว้สำหรับคิดไม่ใช่หรือครับหลวงตา”
“อาตมาไม่ได้บอกว่าผิด แต่ไม่รู้สึกตัวหรือว่าขณะที่คิดอยู่นั้นน่ะ ไม่ได้สนใจในร่างกายเราเลย ทั้งไม่ใส่ใจในคำภาวนา พุท-โธ เลย”
“เออ...จริงครับหลวงตา บางทีมันก็เพลินไป ไม่รู้เลยว่ากำลังนั่งสมาธิอยู่ ต้องแก้ไขอย่างไรครับ”
“โยมคิดแต่ละเรื่องนั้น จบเป็นเรื่องๆไหม”
“ไม่ครับ..คิดเรื่องนี้นิดเรื่องนั้นหน่อย มีเป็นสิบๆเรื่องเลยครับ ปกติผมก็ไม่เคยคิดได้มากมายขนาดนี่เล้ยนะหลวงตา แต่ไม่รู้ทำไมเวลามานั่งสมาธิกับหลวงตา จึงคิดได้เยอะแยะเลยครับ“
“โยม.. ธรรมชาติของคนเรา เวลามันหยุดนิ่งเฉยไม่คิดนี่ มันสั้น จิตใจของคนเราชอบคิดมาแต่อ้อนแต่ออกแล้ว โยมสังเกตคนที่นั่งใจลอยสิ นั่นเขาก็กำลังคิดเรื่องราวอยู่ นั่งนิ่งได้นานเลยนะ แต่พอให้นั่งอย่างนั้นโดยไม่คิด กลับทำไม่ได้ แบบที่โยมว่ามานั้นล่ะ พูดภาษาพระแบบชาวบ้านฟังง่าย นั่งสมาธิโดยไม่คิด เรียกว่าสมถะ นั่งสมาธิแล้วคิดไปเป็นเรื่องๆ จนจบเรื่อง เรียกว่าวิปัสสนา อย่างโยมพูดมานี่ มันสมถะนิด แล้วโดดไปหาวิปัสสนาเลย แต่วิปัสสนาของโยมไม่ได้ประโยชน์ต่อตนเอง เพราะไม่คิดให้จบเป็นเรื่องๆ ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดของเรื่องที่คิด โยมคิดไปตามความทรงจำที่ผ่านพบเรื่องนั้นๆ มา ทำให้โยมมีเรื่องมากมายในใจที่คิด ขณะนั่งสมาธิที่นี่ ลองตรองดูสิว่าจริงไหม”
“โอ..จริงครับ หลวงตาพูดถูก เรื่องที่ผมคิดนั้น อ่านบ้าง ฟังบ้าง กังวลบ้าง สารพัด ผมจึงเอามาคิดมากมายเลย จะแก้ไขอย่างไรดีครับหลวงตา”
“แก้ไขไม่ยากหรอก เวลานั่งสมาธิมีเรื่องให้คิดปรากฏ ก็คิดให้จบเป็นเรื่องๆ แล้วจะรู้ว่าทุกเรื่องไม่มีอะไรที่มาเกี่ยวพันกับเราเลย เราเอาตัวของเราไปผูกยึดติดกับมันเอง เมื่อสามารถรู้ได้อย่างนี้ ต่อไปมันก็หยุดคิดเรื่อยเปื่อยได้ จิตใจก็จะรู้จักคิดตริตรองเป็นเรื่องๆ คิดให้จบในคราเดียว แล้วจิตใจมันก็ไม่คิดเรื่องนั้นอีก เมื่อคล่องขึ้นอีก จิตใจก็เบื่อหน่ายเรื่องเหล่านี้ ก็ไม่นำมาคิดอีก คราวนี้ล่ะสงบแน่นอน
เมื่อสงบมากขึ้น ก็อาจจะมีการคิดเรื่องราวขึ้นมาใหม่ แต่คราวนี้จะเห็นรายละเอียดในเรื่องนั้นมากขึ้น จนที่สุดก็จะเห็นสัจธรรมในเรื่องนั้นว่า ในโลกนี้ทุกเรื่องราวล้วนแต่ไม่จีรังยั่งยืน ไม่เป็นไปตามอำนาจของความคิดคาดคะเนของเราเลย แล้วเราจะมัวโง่มานั่งคิดถึงเรื่องเหล่านี้ทำไม แค่นี้ก็จะทำให้ไม่มีเรื่องไหนในโลกมาทำให้กลุ้มใจได้เลย ฟังแล้ว ลองไปตริตรองพิจารณาดูนะว่าจะเป็นจริงอย่างหลวงตาพูดไหม”
“มันยากหรือเปล่าครับหลวงตา”
“โลกนี้ไม่มีอะไรยากไม่มีอะไรง่ายหรอก ถ้าตั้งใจจะเรียนรู้ ทุกอย่างก็จะเป็นตามครรลองของมันเอง”
“หลวงตากำลังสอนผมไม่ให้ไปยุ่งเรื่องการบ้านการเมืองหรือครับ”
“ก็เราไม่สามารถแก้ไขเรื่องเหล่านั้นได้ เราจะมามัวคิดให้กลุ้มใจทำไม ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องเขาจัดการไม่ดีกว่าหรือ ผลจะออกมาอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขาเหล่านั้น ถ้าเราไปเก็บมาคิด เราก็ประสาทเสีย จริตเสีย เผลอๆ อาจเส้นโลหิตในสมองแตกก็ได้นะ“
“แต่ผมห่วงในหลวงนะครับหลวงตา ห่วงว่าประเทศไทยจะพบความหายนะ พระพุทธศาสนาจะแย่ลงนะครับ ผมผิดหรือครับหลวงตา ที่กังวลใจในสิ่งเหล่านี้”
“ไม่ผิดหรอก แต่เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เราจะเก็บมาคิดทำไมให้เสียเวลา ทำไมไม่เอาเวลาไปทำให้ครอบครัวของเราอยู่อย่างเป็นสุขสบายตามธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ถ้าเราทำได้ และมีครอบครัวอื่นทำตาม ปัญหาสังคมที่เราคิดไว้ก็หมดไปเอง”
“จริงครับหลวงตา ถ้าผมเป็นอะไรไป ครอบครัวแย่เลย ถ้าครอบครัวของผมดี อยู่กันอย่างมีความสุขพอสมควรแก่ฐานะ ครอบครัวผมก็ไม่สร้างปัญหาให้สังคม ถ้าทุกครอบครัวเหมือนครอบครัวผม ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะทุกคนต้องมีพระธรรมอยู่ในจิตใจ จริงๆด้วยครับหลวงตา”
“โยม เราเป็นพสกนิกรในแผ่นดินไทย หน้าที่เราก็ต้องทำให้ดีที่สุด สิ่งใดเป็นส่วนภาษี เป็นสิทธิหน้าที่ของเราตามกฎหมาย เราก็ต้องทำให้ถูก ให้ครอบครัวของเราทำให้ถูกกฎหมาย ปัญหาเหล่านั้นก็จะไม่มากระทบครอบ ครัวของเรา เมื่อทุกคนช่วยกันครองตนในทำนองคลองธรรม ข่าวลือเรื่องไม่จริงทั้งหลายก็ไม่มีเกิดขึ้นในสังคมของเรา ประเทศเราก็จะเป็นเหมือนเมื่อก่อน คือมีแต่รอยยิ้มที่แจ่มใสเสมอเลยไปใช่ไหม”
“ใช่ครับ”
“ในหลวงทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ วันนั้นทรงตั้งพระราชปณิธานเป็น พระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ตลอดเวลา ที่ผ่านมาพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการตามพระราชปณิธานนี้ เราจึงได้รับความสุขสบายโดยไม่ รู้ตัวเสมอมา พระองค์เป็นบุรพการีของคนไทยทุกคน
สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร) ทรงสอน ไว้ว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี ถ้าโยมทำความดีในครอบครัว ทำให้ครอบครัวอยู่กันโดยธรรม ได้รับสุขประโยชน์ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ โยมก็ได้ช่วยแบ่งเบาพระราชภาระของในหลวงแล้ว ถึงวันฉัตรมงคล ก็ทำความดีถวายพระองค์ท่านให้มากขึ้นกว่าวันธรรมดา”
“ครับ”
“โยมเห็นนาข้าวที่ข้างวัดไหม”
“เห็นครับ งามดีนะครับหลวงพ่อ”
“นั่นน่ะข้าวหลวงนะโยม อาตมาไปขอมาจากพระราชครูพราหมณ์ ที่ทำพิธีพืชมงคล เอามาปลูกทำพันธุ์แจกชาวบ้านแถวนี้ ให้เขาเอาไปปลูกเป็นมงคล โยมรู้ไหม ถ้าฝนตกในวันพืชมงคล ปีนั้นฝนจะตกดี ทำนาได้สบาย แต่เดี๋ยวนี้ธรรมชาติมันวิปริตไป ก็เพราะความเห็นแก่ตัวของพวกโลภมาก ที่ตัดไม้ทำลายป่า รุกที่ป่าต้นน้ำ น้ำจึงท่วมไร้เหตุผล แผ่นดินไหวบ่อยขึ้น นี่ล่ะฝีมือคนทั้งนั้น อาตมาเองเมื่อถึงวันพืชมงคลก็จะระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านเสมอ ระบบชลประทานที่ทำให้นาข้าวสามารถปลูกได้ ๒-๓ ครั้งก็เพราะพระองค์ อาตมามีอาหารบิณฑบาตฉันได้ทุกวัน ก็เพราะพระองค์ นี่ล่ะบุรพการีของอาตมา”
“แสดงว่าชาวบ้านแถววัดนี่ ก็มีความเป็นอยู่ดีสิครับ จึงใส่บาตรหลวงตาได้ทุกวัน”
“ที่ชุมชนบ้านนี้ยังรักษาจารีตประเพณีไว้เหนียวแน่น ก็เพราะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง เพราะความเคารพเทิดทูนพระองค์ ชาวบ้านจึงไม่พยายามทำสิ่งที่จะรบกวนเบื้องพระยุคลบาท และไม่ใส่ใจในข่าวลือเรื่องต่างๆ ที่จะบ่อนทำลายความจงรักภักดีที่มีต่อพระองค์ท่าน เขาต่างทำหน้าที่ของตนให้ตรงตามธรรม ดูแลครอบครัวและชุมชนให้อยู่ในกรอบของจารีตประเพณี นี่ล่ะคือความสุขแบบไทยเดิม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความคิดที่ตรงตามธรรมเสมอกัน ช่วยกันเมื่องานมี เขาอยู่กันอย่างนี้ ปลูกฝังกันมาอย่างนี้ เรื่องที่ลูกหลานทำทุจริตติดสินบน หนีทหาร โกงภาษี ที่นี่ไม่มี ไปดูได้เลยนะ อย่าเชื่อที่หลวงตาพูด เดี๋ยวจะไม่เป็นไปตามกาลามสูตร”
“ผมรู้แล้วครับหลวงตา ก็เพราะความดีงามของคนใน บ้านนี้ล่ะครับ ผมจึงมาเป็นเขยบ้านนี้ไงหลวงตา”
“รู้ไหม ทำไมหลวงตาจึงระลึกถึงวันพืชมงคลเสมอ”
“หลวงตาบอกแล้วไม่ใช่หรือครับ”
“นั่นเป็นปัจจุบัน ในอดีตกาล เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อพระชนมายุได้ ๗ พรรษา วันพืชมงคลของกรุงกบิลพัสดุ์ ในปีนั้น พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จทำนาหลวง แล้วให้เจ้าชายโดยเสด็จด้วย แต่ทรงให้เจ้าชายรอที่ใต้ร่มไม้ เจ้าชาย สิทธัตถะเลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจจนเป็นญาณ แม้พระอาทิตย์จะเคลื่อนคล้อยไปตามสภาวะ แต่เงาของร่มไม้ไม่เคลื่อนไปตามพระอาทิตย์ ยังคงบังแดดให้เจ้าชายที่นั่งสมาธิอยู่ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตร พระองค์ทรงปลื้มปีติในพระราชหฤทัย ทรงทำความเคารพพระราชโอรสเป็นวาระที่ ๒ โดยไม่รู้พระองค์ แล้วการนั่งสมาธิครั้งนี้ ก็ส่งผลให้เจ้าชายสิทธัตถะที่บำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง ๖ ปี ได้นำไปปฏิบัติอีกครั้งในวันเพ็ญวิสาขะ อันนำผลให้เจ้าชายสิทธัตถะเปลี่ยนพระฐานะเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในรุ่งอรุณนั้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงระลึกถึงมหามงคลกาลประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จึงทรงให้จัดพิธีวิสาขบูชา มาแต่สมัยของพระองค์ บุรพชนของเราก็โดยเสด็จพระองค์ท่าน จัดพิธีวิสาขบูชาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้”
“โอ้โห หลวงตา นี่เกี่ยวพันกันหมดเลยหรือครับนี่”
“ใช่..เด็กรุ่นนี้ไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องในอดีต ประเทศชาติจึงวุ่นวายอย่างที่โยมกล่าวมาไงล่ะ”
“ผมเข้าใจแล้วครับหลวงตา ถ้าผมทำครอบครัวให้อยู่ในทำนองคลองธรรม รักษาจารีตประเพณี ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า ในหลวง ปัญหาทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นก็จะหมดไป ลูกหลานก็จะมีภูมิคุ้มกันให้อยู่อย่างมีความสุข สามารถดำเนินรอยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้ โอ..ทำไมผมนี่โง่จังเลย นี่ดีนะครับที่หลวงตาเป็นคุณพระช่วยของผม”
“โยมรู้ไหมว่า คุณพระช่วยนี่ มีที่มาอย่างไร”
“ไม่ทราบครับ”
“มีเรื่องเล่าในพระไตรปิฎกว่า มีนางพราหมณีชื่อธนัญชานี เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เมื่อนางทำท่าจะหกล้มหรือทำสิ่งใดพลาด นางมักจะอุทานว่า นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น) เมื่อพระสงฆ์นำมาเทศน์สอนชาวบ้าน ก็จำคำอุทานสืบกันมา แต่กลายเป็นคุณพระช่วยเมื่อไรก็ไม่รู้นะ”
“สำหรับผมนะครับ คุณพระช่วย ก็คือหลวงตาครับ”
“คิดแบบนั้นไม่ค่อยจะดีนะ โยมต้องคิดว่าเป็นคุณพระรัตนตรัยเหมือนนางธนัญชานี และคิดว่าเป็นคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย โยมจะได้รู้ว่านี่คือคุณของบุรพการีชน ผู้ได้ทำคุณแก่เราแล้ว แต่นั้นโยมก็จะได้แสดงกตัญญูกตเวที ตอบแทนคุณท่าน ให้เป็นตัวอย่างแก่ลูกหลาน ให้ลูกหลานได้เห็นการทำความดี คนดีก็จะมีมากขึ้นในบ้านเมือง นี่ล่ะคุณพระช่วยจริงๆ”
“ครับ ผมจะคิดอย่างหลวงตาบอก อ้าว..หลวงตาทำผมหายกลุ้มใจโดยไม่รู้ตัวเลย กราบขอบพระคุณหลวงตามากนะครับ นี่ถ้าคุณพระไม่ช่วย ผมแย่เลยครับ ลาล่ะครับ”
“เจริญพรโยม”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 126 พฤษภาคม 2554 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)