งานสำคัญ (ต่อ)
พระนันทะ ไม่มีกล่าวไว้แน่ชัดว่า ท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แต่น่าสังเกตว่า ท่านรูปร่างคล้ายพระพุทธเจ้า เตี้ยกว่าพระพุทธองค์เพียง ๔ นิ้วเท่านั้น และใช้จีวรขนาดเท่ากับจีวรของพระพุทธเจ้า ด้วยเวลาพระสาวกรูปอื่นๆ เห็นท่านเดินมาแต่ไกลจะรีบเตรียมต้อนรับและปูลาดอาสนะไว้ถวายเหมือนอย่างต้อนรับพระพุทธเจ้า ด้วยสำคัญผิดคิดว่าท่านคือพระพุทธเจ้า
จากข้อสังเกตนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านคงมีบุคลิกสง่างาม เป็นที่น่าเลื่อมใสแก่ผู้ที่พบเห็น
พระราหุล ไม่มีกล่าวไว้แน่ชัดว่าท่านได้มีบทบาทอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แต่มีวัตรปฏิบัติส่วนตัวของท่านที่น่าเผยแพร่ในที่นี้ ๒ ประการ ซึ่งนอกเหนือจากความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาแล้วก็มีดังนี้
๑. ความเป็นผู้ว่าง่าย เรื่องมีอยู่ว่า คราวหนึ่งมีการฟังธรรมะกันตอนกลางคืน โดยพระผู้ใหญ่ต่างผลัดกันแสดง เมื่อเลิกฟังธรรมแล้ว พระผู้ใหญ่ต่างกลับที่อยู่ของตน คงมีแต่พระผู้น้อย สามเณร และคณะอุบาสกเหลืออยู่ในโรงฟังธรรมเท่านั้น เนื่องจากเป็นเวลาค่ำคืน การเดินทางลำบาก พระผู้น้อย สามเณร และคณะอุบาสก เหล่านั้นจึงพักรวมกันในที่นั้นเอง พระและสามเณรไม่ระวัง นอนปล่อยตัวตามสบาย มีทั้งกรน ทั้งละเมอ ทั้งนอนดิ้นและน้ำลายไหล คณะอุบาสกเห็นอาการดังนั้นแล้ว พากันตำหนิและนำความกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ ทราบ พระพุทธเจ้าเจ้าจึงตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ แล้วบัญญัติสิกขาบทห้ามไม่ให้พระนอนร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่พระ (คือ สามเณร และคณะอุบาสก รวมทั้งนักบวชอื่นๆ นอกพระพุทธศาสนาด้วย)
พระราหุล ขณะนั้นยังเป็นสามเณรและรวมอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มาร่วมฟังธรรมด้วย ดังนั้นเมื่อมีพุทธบัญญัติ นี้ พระจึงให้ท่านแยกออกไปนอนต่างหากนอกโรงฟังธรรม ท่านปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข แต่เมื่อออกมาหาที่นอนไม่ได้ ท่านจึงหลบไปนอนในวัจกุฎี(ส้วม)ของพระพุทธเจ้า เช้ามืดพระพุทธเจ้าเสด็จมาหมายจะเข้าวัจกุฎีพระราหุลได้ยินเสียงกระแอมของพระพุทธเจ้า จึงรีบออก มาถวายบังคมพระพุทธเจ้าได้ตรัสถามว่า
“ราหุล ทำไมเธอจึงมานอนที่นี่”
พระราหุลจึงได้กราบทูลให้ทราบ พระพุทธเจ้าทรงสลดพระทัยโดยทรงดำริว่า หากเป็นเช่นนี้ในภายภาคหน้า พวกสามเณรจะลำบาก จะถูกทอดทิ้งไม่มีใครสนใจ ต่อมาจึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสถามพระสารีบุตร
“สารีบุตร เธอรู้ไหมว่า เมื่อคืนนี้ราหุลนอนที่ไหน”
“ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระสารีบุตรทูลตอบ
พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าให้ฟัง แล้วตรัสตำหนิพระสาวก ในที่ประชุมสงฆ์ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ขนาดตถาคตยังอยู่ พวกเธอยังพากัน ทอดทิ้งสามเณรกันถึงขนาดนี้แล้ว ต่อไปภายหน้าเล่า เมื่อตถาคตนิพพานแล้วจะมีใคร ดูแลสามเณร”
จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมต่อจากที่ได้ทรงบัญญัติแล้ว โดยทรงอนุญาตว่า “ภิกษุนอนร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่พระได้ ๓ คืน ถ้าเกินจากนั้นไปต้องอาบัติปาจิตตีย์”
พระพุทธพจน์นี้มีความหมายว่า ให้พระนอนร่วมกับผู้ที่มิใช่พระได้เพียง ๓ คืนพอถึงคืนที่ ๔ ให้เว้นเสียคืนหนึ่ง จากนั้นให้กลับมานอนร่วมกันได้อีก และให้นับเป็นคืนที่ ๑ ใหม่ ไปจนถึงคืนที่ ๓ พอคืนที่ ๔ ก็ให้เว้นเสียคืนหนึ่ง ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะแยกกันนอนได้โดยเด็ดขาด
ความเป็นผู้ว่าง่ายของพระราหุลครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว พระสาวกได้นำมาพูดคุยกันในโรงฟังธรรม เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าได้ตรัส ถึงอดีตชาติของท่าน
๒. ความกตัญญู เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่นั้น พระมารดา คือ พระนางยโสธรา ซึ่งบัดนี้ได้ออก บวชเป็นภิกษุณีแล้วเกิดประชวรด้วยพระโรคลม พระราหุลได้ไปเยี่ยมพระมารดา ครั้นได้ทราบว่าประชวรก็ห่วง ใย ยิ่งได้ทราบว่าพระมารดาประชวรถึงขั้นไม่สามารถลุกขึ้นได้ ยิ่งทำให้ใจเสีย เกรงว่าพระมารดาจะสิ้นพระชนม์
พระราหุลเมื่อไปเยี่ยมพระมารดาแล้ว ทราบว่าพระโรคลมจะสงบได้ด้วยการได้เสวยน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวด จึงรับอาสาจะหามาถวาย พระราหุลรู้สึกหนักใจ มาก เพราะไม่รู้วาจะหายาดังกล่าวมาถวายพระมารดาได้แต่ไหน แต่ที่รับปากจะหามานั้นก็เป็นด้วยความรักความห่วงใยในพระมารดา ตามปกติเมื่อมีเรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือ พระราหุลจะระลึกถึงบุคคลสำคัญ ๔ คน คือ พระสารีบุตร(พระอุปัชฌาย์) พระมหาโมคคัลลานะ(พระอาจารย์) พระอานนท์(พระเจ้าอา) และพระพุทธเจ้า (พระพุทธบิดา) ครั้นระลึกได้ดังนี้ ท่านจึงไปหาพระสารีบุตร แล้วแจ้งความประสงค์ให้ทราบ
พระสารีบุตรมองดูสัทธิวิหาริกด้วยความกรุณา แล้วปลอบใจว่า
“ราหุล อย่าวิตกไปเลย รอไว้พรุ่งนี้ก่อน คงจะหาได้”
รุ่งเช้า ท่านได้พาพระราหุลเข้าไปในเมืองสาวัตถีแล้วให้ท่านพักอยู่ ณ โรงฉันแห่งหนึ่ง ส่วนตัวพระเถระเองได้เข้าไปในพระราชวังเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล และโดยที่ยังมิทันได้ถวายพระพรให้ทรงทราบถึงเหตุที่มา พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงปรุงน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดถวาย เมื่อได้น้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดนั้นแล้ว พระเถระก็ถวายพระพรลากลับออกมาหาพระราหุล ซึ่งนั่งคอยอยู่ด้วยความวิตกกังวล
“ราหุล นี่น้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดที่เธอต้องการ” พระสารีบุตรบอกพร้อมกับส่งให้
ครั้นได้แล้ว พระราหุลก็รีบนำไปถวายพระมารดา พระมารดาได้เสวยแล้วไม่นานนักก็หายประชวร ซึ่งทำให้พระราหุลพระปิโยรสสบายพระทัยขึ้น
วัตรปฏิบัติของพระราหุลดังกล่าวมานี้ แม้จะเป็นเรื่อง ส่วนตัว แต่ก็เป็นเรื่องที่นักศึกษาธรรมะควรให้ความสนใจ และนำไปเผยแพร่ เพราะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน จึงถือเป็นการเผยแพร่พระศาสนาส่วนหนึ่งที่ได้จากวัตรปฏิบัติของพระราหุล
พระเมฆิยะ พระนาคิตะ พระมหาอุทายี ไม่มีกล่าวไว้แน่ชัดว่าท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มีกล่าวได้แต่ว่าในระยะเวลาช่วงปฐมโพธิกาล (๒๐ พรรษาแรกของพระพุทธเจ้า) พระพุทธเจ้าไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ พระสาวกต่างผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ถวายการอุปัฏฐาก ซึ่งในจำนวนนี้ก็มี พระเมฆิยะ พระนาคิตะ รวมอยู่ด้วย
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 99 ก.พ. 52 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)
พระนันทะ ไม่มีกล่าวไว้แน่ชัดว่า ท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แต่น่าสังเกตว่า ท่านรูปร่างคล้ายพระพุทธเจ้า เตี้ยกว่าพระพุทธองค์เพียง ๔ นิ้วเท่านั้น และใช้จีวรขนาดเท่ากับจีวรของพระพุทธเจ้า ด้วยเวลาพระสาวกรูปอื่นๆ เห็นท่านเดินมาแต่ไกลจะรีบเตรียมต้อนรับและปูลาดอาสนะไว้ถวายเหมือนอย่างต้อนรับพระพุทธเจ้า ด้วยสำคัญผิดคิดว่าท่านคือพระพุทธเจ้า
จากข้อสังเกตนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านคงมีบุคลิกสง่างาม เป็นที่น่าเลื่อมใสแก่ผู้ที่พบเห็น
พระราหุล ไม่มีกล่าวไว้แน่ชัดว่าท่านได้มีบทบาทอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แต่มีวัตรปฏิบัติส่วนตัวของท่านที่น่าเผยแพร่ในที่นี้ ๒ ประการ ซึ่งนอกเหนือจากความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาแล้วก็มีดังนี้
๑. ความเป็นผู้ว่าง่าย เรื่องมีอยู่ว่า คราวหนึ่งมีการฟังธรรมะกันตอนกลางคืน โดยพระผู้ใหญ่ต่างผลัดกันแสดง เมื่อเลิกฟังธรรมแล้ว พระผู้ใหญ่ต่างกลับที่อยู่ของตน คงมีแต่พระผู้น้อย สามเณร และคณะอุบาสกเหลืออยู่ในโรงฟังธรรมเท่านั้น เนื่องจากเป็นเวลาค่ำคืน การเดินทางลำบาก พระผู้น้อย สามเณร และคณะอุบาสก เหล่านั้นจึงพักรวมกันในที่นั้นเอง พระและสามเณรไม่ระวัง นอนปล่อยตัวตามสบาย มีทั้งกรน ทั้งละเมอ ทั้งนอนดิ้นและน้ำลายไหล คณะอุบาสกเห็นอาการดังนั้นแล้ว พากันตำหนิและนำความกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ ทราบ พระพุทธเจ้าเจ้าจึงตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ แล้วบัญญัติสิกขาบทห้ามไม่ให้พระนอนร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่พระ (คือ สามเณร และคณะอุบาสก รวมทั้งนักบวชอื่นๆ นอกพระพุทธศาสนาด้วย)
พระราหุล ขณะนั้นยังเป็นสามเณรและรวมอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มาร่วมฟังธรรมด้วย ดังนั้นเมื่อมีพุทธบัญญัติ นี้ พระจึงให้ท่านแยกออกไปนอนต่างหากนอกโรงฟังธรรม ท่านปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข แต่เมื่อออกมาหาที่นอนไม่ได้ ท่านจึงหลบไปนอนในวัจกุฎี(ส้วม)ของพระพุทธเจ้า เช้ามืดพระพุทธเจ้าเสด็จมาหมายจะเข้าวัจกุฎีพระราหุลได้ยินเสียงกระแอมของพระพุทธเจ้า จึงรีบออก มาถวายบังคมพระพุทธเจ้าได้ตรัสถามว่า
“ราหุล ทำไมเธอจึงมานอนที่นี่”
พระราหุลจึงได้กราบทูลให้ทราบ พระพุทธเจ้าทรงสลดพระทัยโดยทรงดำริว่า หากเป็นเช่นนี้ในภายภาคหน้า พวกสามเณรจะลำบาก จะถูกทอดทิ้งไม่มีใครสนใจ ต่อมาจึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสถามพระสารีบุตร
“สารีบุตร เธอรู้ไหมว่า เมื่อคืนนี้ราหุลนอนที่ไหน”
“ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระสารีบุตรทูลตอบ
พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าให้ฟัง แล้วตรัสตำหนิพระสาวก ในที่ประชุมสงฆ์ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ขนาดตถาคตยังอยู่ พวกเธอยังพากัน ทอดทิ้งสามเณรกันถึงขนาดนี้แล้ว ต่อไปภายหน้าเล่า เมื่อตถาคตนิพพานแล้วจะมีใคร ดูแลสามเณร”
จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมต่อจากที่ได้ทรงบัญญัติแล้ว โดยทรงอนุญาตว่า “ภิกษุนอนร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่พระได้ ๓ คืน ถ้าเกินจากนั้นไปต้องอาบัติปาจิตตีย์”
พระพุทธพจน์นี้มีความหมายว่า ให้พระนอนร่วมกับผู้ที่มิใช่พระได้เพียง ๓ คืนพอถึงคืนที่ ๔ ให้เว้นเสียคืนหนึ่ง จากนั้นให้กลับมานอนร่วมกันได้อีก และให้นับเป็นคืนที่ ๑ ใหม่ ไปจนถึงคืนที่ ๓ พอคืนที่ ๔ ก็ให้เว้นเสียคืนหนึ่ง ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะแยกกันนอนได้โดยเด็ดขาด
ความเป็นผู้ว่าง่ายของพระราหุลครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว พระสาวกได้นำมาพูดคุยกันในโรงฟังธรรม เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าได้ตรัส ถึงอดีตชาติของท่าน
๒. ความกตัญญู เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่นั้น พระมารดา คือ พระนางยโสธรา ซึ่งบัดนี้ได้ออก บวชเป็นภิกษุณีแล้วเกิดประชวรด้วยพระโรคลม พระราหุลได้ไปเยี่ยมพระมารดา ครั้นได้ทราบว่าประชวรก็ห่วง ใย ยิ่งได้ทราบว่าพระมารดาประชวรถึงขั้นไม่สามารถลุกขึ้นได้ ยิ่งทำให้ใจเสีย เกรงว่าพระมารดาจะสิ้นพระชนม์
พระราหุลเมื่อไปเยี่ยมพระมารดาแล้ว ทราบว่าพระโรคลมจะสงบได้ด้วยการได้เสวยน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวด จึงรับอาสาจะหามาถวาย พระราหุลรู้สึกหนักใจ มาก เพราะไม่รู้วาจะหายาดังกล่าวมาถวายพระมารดาได้แต่ไหน แต่ที่รับปากจะหามานั้นก็เป็นด้วยความรักความห่วงใยในพระมารดา ตามปกติเมื่อมีเรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือ พระราหุลจะระลึกถึงบุคคลสำคัญ ๔ คน คือ พระสารีบุตร(พระอุปัชฌาย์) พระมหาโมคคัลลานะ(พระอาจารย์) พระอานนท์(พระเจ้าอา) และพระพุทธเจ้า (พระพุทธบิดา) ครั้นระลึกได้ดังนี้ ท่านจึงไปหาพระสารีบุตร แล้วแจ้งความประสงค์ให้ทราบ
พระสารีบุตรมองดูสัทธิวิหาริกด้วยความกรุณา แล้วปลอบใจว่า
“ราหุล อย่าวิตกไปเลย รอไว้พรุ่งนี้ก่อน คงจะหาได้”
รุ่งเช้า ท่านได้พาพระราหุลเข้าไปในเมืองสาวัตถีแล้วให้ท่านพักอยู่ ณ โรงฉันแห่งหนึ่ง ส่วนตัวพระเถระเองได้เข้าไปในพระราชวังเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล และโดยที่ยังมิทันได้ถวายพระพรให้ทรงทราบถึงเหตุที่มา พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงปรุงน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดถวาย เมื่อได้น้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดนั้นแล้ว พระเถระก็ถวายพระพรลากลับออกมาหาพระราหุล ซึ่งนั่งคอยอยู่ด้วยความวิตกกังวล
“ราหุล นี่น้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดที่เธอต้องการ” พระสารีบุตรบอกพร้อมกับส่งให้
ครั้นได้แล้ว พระราหุลก็รีบนำไปถวายพระมารดา พระมารดาได้เสวยแล้วไม่นานนักก็หายประชวร ซึ่งทำให้พระราหุลพระปิโยรสสบายพระทัยขึ้น
วัตรปฏิบัติของพระราหุลดังกล่าวมานี้ แม้จะเป็นเรื่อง ส่วนตัว แต่ก็เป็นเรื่องที่นักศึกษาธรรมะควรให้ความสนใจ และนำไปเผยแพร่ เพราะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน จึงถือเป็นการเผยแพร่พระศาสนาส่วนหนึ่งที่ได้จากวัตรปฏิบัติของพระราหุล
พระเมฆิยะ พระนาคิตะ พระมหาอุทายี ไม่มีกล่าวไว้แน่ชัดว่าท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มีกล่าวได้แต่ว่าในระยะเวลาช่วงปฐมโพธิกาล (๒๐ พรรษาแรกของพระพุทธเจ้า) พระพุทธเจ้าไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ พระสาวกต่างผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ถวายการอุปัฏฐาก ซึ่งในจำนวนนี้ก็มี พระเมฆิยะ พระนาคิตะ รวมอยู่ด้วย
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 99 ก.พ. 52 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)