งานสำคัญ (ต่อ)
พระกาฬุทายี ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการทำให้พวก เจ้าศากยะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยที่เมื่อบวชแล้วหลังจากทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์ได้แล้ว ก็เหาะล่วงหน้ามายังเมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อแจ้งข่าวให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบก่อน พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นท่านยืนอยู่ในอากาศ จำไม่ได้ จึงตรัสถาม
“ท่านเป็นใคร มาจากไหน”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร” พระกาฬุทายีถวาย พระพร “อาตมาเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า พระบิดาของอาตมาไม่มีใครเอาชนะได้ ทรงมีพระรัศมี ๖ ประการแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย ทรงหาใครเปรียบมิได้ มหาบพิตร พระองค์เองนั่นแหละเป็นพระบิดาของพระบิดาของอาตมา ฉะนั้นเมื่อว่าโดยศักดิ์แล้ว พระองค์จึงเป็นพระอัยกา(พระเจ้าปู่)ของอาตมา และอาตมาก็คือ พระนัดดา (หลาน) ของพระองค์”
คำถวายพระพรเป็นนัยๆ ของพระกาฬุทายีทำให้พระเจ้า สุทโธทนะจำได้ พระองค์ทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่อดีตราชทูตของพระองค์รักษาสัญญา โดยได้กลับมาแจ้งข่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ทรงทราบจึงตรัสนิมนต์ให้ลงมานั่งบนตั่งในพระราชวัง จากนั้นทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดภัตตาหารมาใส่บาตร พระกาฬุทายีครั้นรับประเคนภัตตาหารนั้นแล้วก็แสดงท่าจะทูลลา
พระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นพระกาฬุทายีแสดงอาการดังนั้น ก็ทรงทราบได้ทันทีว่าพระเถระจะไปฉันภัตตาหารที่อื่น จึงตรัสถามถึงที่ที่จะไป
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร” พระกาฬุทายีถวาย พระพร “อาตมาประสงค์จะไปฉันภัตตาหารในสำนักของพระพุทธเจ้า”
“พระพุทธเจ้าที่อยู่ที่ไหน พระคุณเจ้า” พระเจ้าสุทโธทนะ ตรัสถาม
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขณะนี้พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จพุทธดำเนินมาตามเส้นทางจากแคว้นมคธสู่เมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อทรงเยี่ยมมหาบพิตร”
ระยะทางจากเมืองราชคฤห์ถึงเมืองกบิลพัสุดุ์ไกลได้ ๖๐ โยชน์ พระพุทธเจ้าทรงพาพระสาวก ๒๐,๐๐๐ รูป เดินทางได้วันละ ๑ โยชน์(ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) และวันนี้นับเป็นวันแรกที่พระองค์ทรงพาพระสาวกออกเดินทาง
ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทรงทราบว่าพระกาฬุทายีจะนำภัตตาหารไปถวายพระพุทธเจ้า จึงตรัสบอกให้ท่านฉันภัตตาหารนั้นก่อน พระกาฬุทายีทำตามพระราชประสงค์ จากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะได้รับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดภัตตาหารอีกชุดหนึ่งถวายให้พระกาฬุทายีนำไปถวายพระพุทธเจ้า
“ตราบใดที่พระลูกเจ้าของโยมยังเสด็จมาไม่ถึง ขอพระคุณเจ้าจงนำอาหารจากพระราชวังนี้ไปถวายได้ทุกวัน”
พระเจ้าสุทโธทนะตรัสปวารณา ฝ่ายพระกาฬุทายีหลังจากฉันภัตตาหารแล้วก็แสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะและบรรดาข้าราชบริพาร คำสอนของท่านส่งผลให้พระเจ้าสุทโธทนะและบรรดาข้าราชบริพารเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ก่อนที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้า พระกาฬุทายียังได้แสดงปาฏิหาริย์อีกส่วนหนึ่งโดยตั้งจิตอธิษฐานให้บาตรที่มีอาหารเต็มอยู่นั้นลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วท่านก็เหาะตามขึ้นไปรับบาตรนั้นแล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้า พระกาฬุทายีนำอาหารไปถวาย พระพุทธเจ้าด้วยวิธีนี้ทุกวัน พระเจ้าสุทโธทนะพร้อมด้วยข้าราชบริพารเห็นเหตุการณ์นี้ตลอด จึงยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้น และพระพุทธเจ้าก็ทรงเสวย พระกระยาหารที่พระกาฬุทายีนำมาถวายจากเมืองกบิลพัสดุ์ทุกวัน จนกระทั่งเสด็จพุทธดำเนินถึง ซึ่งกินเวลา ๖๐ วันพอดี ณ เมืองกบิลพัสดุ์นั่นเอง พระเจ้าสุทโธทนะและพระประยุรญาติทรงถวายการต้อนรับพระพุทธเจ้าและพระสาวกอย่างสมพระเกียรติ โดยทรงนิมนต์ให้เสด็จเข้า ประทับ ณ อุทยานอันรื่นรมย์ ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะและพระประยุรญาติทรงตั้งพระทัยมอบถวายให้เป็นวัดสำหรับพระพุทธเจ้าประทับอยู่กับพระสาวกและมีชื่อปรากฏว่า “นิโครธาราม” (สวนของพระเจ้านิโครธ)
ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่เพื่อโปรดพระประยุรญาติเป็นครั้งแรกนั้น ได้มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นดังนี้
๑. พระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยครั้งแรกแสดงยมกปาฎิหาริย์ เพื่อเป็นการปราบทิฐิมานะของพระประยูรญาติผู้ใหญ่ที่ยังกระด้างกระเดื่อง ด้วยเห็นว่าพระองค์เป็นลูกหลานซึ่งยิ่งใหญ่ไปกว่าตนนั้นไม่ได้ ต่อมาทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา ปาฏิหาริย์ทั้ง ๒ นี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงขณะที่พระประยุรญาติเสด็จมาชุมนุมต้อนรับพระองค์และพระสาวกอยู่ที่วัดนิโครธาราม
กล่าวถึงฝนโบกขรพรรษ ตามรูปศัพท์ชวนให้สันนิษฐานว่า ฝนที่ตกลงมาเหมือนน้ำบนใบบัวคือ ไม่เปียกผู้ไม่ประสงค์จะให้เปียก เหมือนใบบัวไม่มีน้ำเปียกติดอยู่ ท่านพรรณนาลักษณะไว้ ๔ ประการ คือ
๑.มีสีแดงดังเท้านกพิราบ
๒.เปียกเฉพาะผู้ที่ต้องการให้เปียก
๓.เม็ดฝนนี้ไม่ติดกาย เมื่อถูกกายแล้วก็หล่นลงพื้นดิน
๔.ไม่เจิ่งนองอยู่บนพื้นดิน เมื่อตกลงมาแล้วก็ซึมหายไปในแผ่นดินทันที
๒. พระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาเวสสันดรชาดก โดยทรงแสดงหลังจากทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกแล้ว เพราะฝนโบกขรพรรษมีหยาดน้ำเย็นซึ่งทำให้พระประยูรญาติต่างชุ่มชื่นพระทัย เพื่อเป็นการสนับสนุนความรู้สึกของพระประยุรญาติ พระองค์จึงทรงแสดงเวสสันดรชาดกขึ้นตามลำดับและจบด้วยยกเหตุการณ์ตอนที่กษัตริย์ ๖ พระองค์ได้กลับมาพบกันเมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรมาตรัสเล่า ซึ่งกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้น คือ พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระกุมารีกัณหา พระกุมารชาลี พระราชบิดา พระราชมารดา ซึ่งได้พลัดพรากจากกันแล้วได้กลับมาพบอีก ทุกพระองค์ทรงดีพระทัยมากจนถึงวิสัญญีภาพ(สลบ) ทรงฟื้นรู้สึกพระองค์ต่อเมื่อได้มีฝนโบกขรพรรษตกลงมาต้องพระวรกาย
๓. พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุอนาคามิผล โดยหลังจากทรงแสดงเวสสันดรชาดกโปรดพระพุทธบิดาและพระประยุรญาติแล้ว รุ่งขึ้นเช้า พระพุทธเจ้าก็เสด็จออกบิณฑบาตไปตามถนนในเมืองกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบจึงรีบเสด็จไปห้าม โดยทรงอ้างว่าไม่ใช่ประเพณี ไม่ ใช่วัตรปฏิบัติของบรรดาเจ้าศากยะที่ต้องออกมาขอเขากิน แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ใช่ประเพณีของบรรดาเจ้าศากยะก็จริง แต่ว่าเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าที่ต้องออกบิณฑบาต จากนั้นได้ตรัสธรรมโปรดพระพุทธบิดาว่า
ภิกษุไม่พึงประมาทในการลุกขึ้นรับอาหารที่ประตูบ้าน
พึงประพฤติหน้าที่(ธรรม)ให้สุจริต
ไม่พึงประพฤติหน้าที่ให้ทุจริต
เพราะผู้ที่ประพฤติหน้าที่ได้สุจริตเป็นปรกติ
ย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
พระเจ้าสุทโธทนะทรงตั้งพระทัยสดับธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงนั้น ทรงพิจารณาตามอย่างพินิจพิเคราะห์ จนเกิดความรู้แจ้ง ละความถือพระองค์ลงได้ จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล บัดนี้ พระองค์ทรงหมดความสงสัยในพระรัตนตรัย ตรงกันข้ามทรงเชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ประเสริฐจริง ควรแก่สักการะ จึงทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสาวกให้รับภัตตาหารในพระราชวังในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันที่ ๒ ที่ได้เสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์
วันที่ ๒ นั้นเอง เมื่อเสวยพระกระยาหารแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโปรดอีก จากการที่ทรงสดับพระธรรม เทศนากัณฑ์นี้ พระนางมหาปชาบดีโคตมี (พระน้านาง) ก็ได้ บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนพระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุสกทาคามิผล วันที่ ๔ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปาลชาดกโปรดอีก พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับพระธรรมเทศนากัณฑ์ นี้ก็ได้บรรลุอนาคามิผล และการบรรลุอนาคามิผลนี้ได้เป็น ปัจจัยให้พระองค์ได้บรรลุอรหัตผลคราวจะสวรรคตในเวลา ต่อมา
๔. พระนางยโสธราทรงบรรลุโสดาปัตติผล ในวันที่ ๔ อันเป็นวันเดียวกับที่ทรงโปรดพระพุทธบิดาให้ได้บรรลุอนาคามิผลนั้น พระพุทธเจ้าทรงโปรดพระนางยโสธราให้ได้บรรลุโสดาปัตติผลด้วย โดยได้เสด็จไปยังปราสาทของพระนาง แล้วตรัสจันทกินนรีชาดกให้ได้สดับจนพระนางคลายความเศร้าโศกจากการที่ถูกทอดทิ้ง และเกิดความเข้าพระทัยว่าความพลัดพรากจากกันเป็นของธรรมดา พระนางเข้าพระทัยได้ดังนี้ จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล
๕. วันที่ ๕ พระพุทธเจ้าเสด็จไปงานอภิเษกสมรสของเจ้าชายนันทะกับเจ้าหญิงชนบทกัลยาณีและทรงนำเจ้าชายนันทะออกผนวช
๖. วันที่ ๗ ทรงให้พระสารีบุตรบวชให้เจ้าชายราหุล
๗. ขณะที่ประทับอยู่ที่นิโครธารามนั้น พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เจ้าชายศากยะพระองค์อื่น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าพระเมฆิยะกับพระนาคิตะน่าจะได้บวชในครั้งนั้น รวมทั้งพระมหาอุทายีซึ่งเป็นคนวรรณะพราหมณ์ด้วย เหตุการณ์ทั้งหมดดังว่ามานี้ นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ต่อไปแล้วจะเห็นว่าพระสาวกที่มีบทบาทสำคัญช่วยให้ความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นได้ก็คือ พระกาฬุทายีนั่นเอง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 98 ม.ค. 52 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)
พระกาฬุทายี ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการทำให้พวก เจ้าศากยะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยที่เมื่อบวชแล้วหลังจากทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์ได้แล้ว ก็เหาะล่วงหน้ามายังเมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อแจ้งข่าวให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบก่อน พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นท่านยืนอยู่ในอากาศ จำไม่ได้ จึงตรัสถาม
“ท่านเป็นใคร มาจากไหน”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร” พระกาฬุทายีถวาย พระพร “อาตมาเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า พระบิดาของอาตมาไม่มีใครเอาชนะได้ ทรงมีพระรัศมี ๖ ประการแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย ทรงหาใครเปรียบมิได้ มหาบพิตร พระองค์เองนั่นแหละเป็นพระบิดาของพระบิดาของอาตมา ฉะนั้นเมื่อว่าโดยศักดิ์แล้ว พระองค์จึงเป็นพระอัยกา(พระเจ้าปู่)ของอาตมา และอาตมาก็คือ พระนัดดา (หลาน) ของพระองค์”
คำถวายพระพรเป็นนัยๆ ของพระกาฬุทายีทำให้พระเจ้า สุทโธทนะจำได้ พระองค์ทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่อดีตราชทูตของพระองค์รักษาสัญญา โดยได้กลับมาแจ้งข่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ทรงทราบจึงตรัสนิมนต์ให้ลงมานั่งบนตั่งในพระราชวัง จากนั้นทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดภัตตาหารมาใส่บาตร พระกาฬุทายีครั้นรับประเคนภัตตาหารนั้นแล้วก็แสดงท่าจะทูลลา
พระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นพระกาฬุทายีแสดงอาการดังนั้น ก็ทรงทราบได้ทันทีว่าพระเถระจะไปฉันภัตตาหารที่อื่น จึงตรัสถามถึงที่ที่จะไป
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร” พระกาฬุทายีถวาย พระพร “อาตมาประสงค์จะไปฉันภัตตาหารในสำนักของพระพุทธเจ้า”
“พระพุทธเจ้าที่อยู่ที่ไหน พระคุณเจ้า” พระเจ้าสุทโธทนะ ตรัสถาม
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขณะนี้พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จพุทธดำเนินมาตามเส้นทางจากแคว้นมคธสู่เมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อทรงเยี่ยมมหาบพิตร”
ระยะทางจากเมืองราชคฤห์ถึงเมืองกบิลพัสุดุ์ไกลได้ ๖๐ โยชน์ พระพุทธเจ้าทรงพาพระสาวก ๒๐,๐๐๐ รูป เดินทางได้วันละ ๑ โยชน์(ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) และวันนี้นับเป็นวันแรกที่พระองค์ทรงพาพระสาวกออกเดินทาง
ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทรงทราบว่าพระกาฬุทายีจะนำภัตตาหารไปถวายพระพุทธเจ้า จึงตรัสบอกให้ท่านฉันภัตตาหารนั้นก่อน พระกาฬุทายีทำตามพระราชประสงค์ จากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะได้รับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดภัตตาหารอีกชุดหนึ่งถวายให้พระกาฬุทายีนำไปถวายพระพุทธเจ้า
“ตราบใดที่พระลูกเจ้าของโยมยังเสด็จมาไม่ถึง ขอพระคุณเจ้าจงนำอาหารจากพระราชวังนี้ไปถวายได้ทุกวัน”
พระเจ้าสุทโธทนะตรัสปวารณา ฝ่ายพระกาฬุทายีหลังจากฉันภัตตาหารแล้วก็แสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะและบรรดาข้าราชบริพาร คำสอนของท่านส่งผลให้พระเจ้าสุทโธทนะและบรรดาข้าราชบริพารเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ก่อนที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้า พระกาฬุทายียังได้แสดงปาฏิหาริย์อีกส่วนหนึ่งโดยตั้งจิตอธิษฐานให้บาตรที่มีอาหารเต็มอยู่นั้นลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วท่านก็เหาะตามขึ้นไปรับบาตรนั้นแล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้า พระกาฬุทายีนำอาหารไปถวาย พระพุทธเจ้าด้วยวิธีนี้ทุกวัน พระเจ้าสุทโธทนะพร้อมด้วยข้าราชบริพารเห็นเหตุการณ์นี้ตลอด จึงยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้น และพระพุทธเจ้าก็ทรงเสวย พระกระยาหารที่พระกาฬุทายีนำมาถวายจากเมืองกบิลพัสดุ์ทุกวัน จนกระทั่งเสด็จพุทธดำเนินถึง ซึ่งกินเวลา ๖๐ วันพอดี ณ เมืองกบิลพัสดุ์นั่นเอง พระเจ้าสุทโธทนะและพระประยุรญาติทรงถวายการต้อนรับพระพุทธเจ้าและพระสาวกอย่างสมพระเกียรติ โดยทรงนิมนต์ให้เสด็จเข้า ประทับ ณ อุทยานอันรื่นรมย์ ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะและพระประยุรญาติทรงตั้งพระทัยมอบถวายให้เป็นวัดสำหรับพระพุทธเจ้าประทับอยู่กับพระสาวกและมีชื่อปรากฏว่า “นิโครธาราม” (สวนของพระเจ้านิโครธ)
ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่เพื่อโปรดพระประยุรญาติเป็นครั้งแรกนั้น ได้มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นดังนี้
๑. พระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยครั้งแรกแสดงยมกปาฎิหาริย์ เพื่อเป็นการปราบทิฐิมานะของพระประยูรญาติผู้ใหญ่ที่ยังกระด้างกระเดื่อง ด้วยเห็นว่าพระองค์เป็นลูกหลานซึ่งยิ่งใหญ่ไปกว่าตนนั้นไม่ได้ ต่อมาทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา ปาฏิหาริย์ทั้ง ๒ นี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงขณะที่พระประยุรญาติเสด็จมาชุมนุมต้อนรับพระองค์และพระสาวกอยู่ที่วัดนิโครธาราม
กล่าวถึงฝนโบกขรพรรษ ตามรูปศัพท์ชวนให้สันนิษฐานว่า ฝนที่ตกลงมาเหมือนน้ำบนใบบัวคือ ไม่เปียกผู้ไม่ประสงค์จะให้เปียก เหมือนใบบัวไม่มีน้ำเปียกติดอยู่ ท่านพรรณนาลักษณะไว้ ๔ ประการ คือ
๑.มีสีแดงดังเท้านกพิราบ
๒.เปียกเฉพาะผู้ที่ต้องการให้เปียก
๓.เม็ดฝนนี้ไม่ติดกาย เมื่อถูกกายแล้วก็หล่นลงพื้นดิน
๔.ไม่เจิ่งนองอยู่บนพื้นดิน เมื่อตกลงมาแล้วก็ซึมหายไปในแผ่นดินทันที
๒. พระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาเวสสันดรชาดก โดยทรงแสดงหลังจากทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกแล้ว เพราะฝนโบกขรพรรษมีหยาดน้ำเย็นซึ่งทำให้พระประยูรญาติต่างชุ่มชื่นพระทัย เพื่อเป็นการสนับสนุนความรู้สึกของพระประยุรญาติ พระองค์จึงทรงแสดงเวสสันดรชาดกขึ้นตามลำดับและจบด้วยยกเหตุการณ์ตอนที่กษัตริย์ ๖ พระองค์ได้กลับมาพบกันเมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรมาตรัสเล่า ซึ่งกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้น คือ พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระกุมารีกัณหา พระกุมารชาลี พระราชบิดา พระราชมารดา ซึ่งได้พลัดพรากจากกันแล้วได้กลับมาพบอีก ทุกพระองค์ทรงดีพระทัยมากจนถึงวิสัญญีภาพ(สลบ) ทรงฟื้นรู้สึกพระองค์ต่อเมื่อได้มีฝนโบกขรพรรษตกลงมาต้องพระวรกาย
๓. พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุอนาคามิผล โดยหลังจากทรงแสดงเวสสันดรชาดกโปรดพระพุทธบิดาและพระประยุรญาติแล้ว รุ่งขึ้นเช้า พระพุทธเจ้าก็เสด็จออกบิณฑบาตไปตามถนนในเมืองกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบจึงรีบเสด็จไปห้าม โดยทรงอ้างว่าไม่ใช่ประเพณี ไม่ ใช่วัตรปฏิบัติของบรรดาเจ้าศากยะที่ต้องออกมาขอเขากิน แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ใช่ประเพณีของบรรดาเจ้าศากยะก็จริง แต่ว่าเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าที่ต้องออกบิณฑบาต จากนั้นได้ตรัสธรรมโปรดพระพุทธบิดาว่า
ภิกษุไม่พึงประมาทในการลุกขึ้นรับอาหารที่ประตูบ้าน
พึงประพฤติหน้าที่(ธรรม)ให้สุจริต
ไม่พึงประพฤติหน้าที่ให้ทุจริต
เพราะผู้ที่ประพฤติหน้าที่ได้สุจริตเป็นปรกติ
ย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
พระเจ้าสุทโธทนะทรงตั้งพระทัยสดับธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงนั้น ทรงพิจารณาตามอย่างพินิจพิเคราะห์ จนเกิดความรู้แจ้ง ละความถือพระองค์ลงได้ จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล บัดนี้ พระองค์ทรงหมดความสงสัยในพระรัตนตรัย ตรงกันข้ามทรงเชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ประเสริฐจริง ควรแก่สักการะ จึงทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสาวกให้รับภัตตาหารในพระราชวังในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันที่ ๒ ที่ได้เสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์
วันที่ ๒ นั้นเอง เมื่อเสวยพระกระยาหารแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโปรดอีก จากการที่ทรงสดับพระธรรม เทศนากัณฑ์นี้ พระนางมหาปชาบดีโคตมี (พระน้านาง) ก็ได้ บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนพระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุสกทาคามิผล วันที่ ๔ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปาลชาดกโปรดอีก พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับพระธรรมเทศนากัณฑ์ นี้ก็ได้บรรลุอนาคามิผล และการบรรลุอนาคามิผลนี้ได้เป็น ปัจจัยให้พระองค์ได้บรรลุอรหัตผลคราวจะสวรรคตในเวลา ต่อมา
๔. พระนางยโสธราทรงบรรลุโสดาปัตติผล ในวันที่ ๔ อันเป็นวันเดียวกับที่ทรงโปรดพระพุทธบิดาให้ได้บรรลุอนาคามิผลนั้น พระพุทธเจ้าทรงโปรดพระนางยโสธราให้ได้บรรลุโสดาปัตติผลด้วย โดยได้เสด็จไปยังปราสาทของพระนาง แล้วตรัสจันทกินนรีชาดกให้ได้สดับจนพระนางคลายความเศร้าโศกจากการที่ถูกทอดทิ้ง และเกิดความเข้าพระทัยว่าความพลัดพรากจากกันเป็นของธรรมดา พระนางเข้าพระทัยได้ดังนี้ จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล
๕. วันที่ ๕ พระพุทธเจ้าเสด็จไปงานอภิเษกสมรสของเจ้าชายนันทะกับเจ้าหญิงชนบทกัลยาณีและทรงนำเจ้าชายนันทะออกผนวช
๖. วันที่ ๗ ทรงให้พระสารีบุตรบวชให้เจ้าชายราหุล
๗. ขณะที่ประทับอยู่ที่นิโครธารามนั้น พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เจ้าชายศากยะพระองค์อื่น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าพระเมฆิยะกับพระนาคิตะน่าจะได้บวชในครั้งนั้น รวมทั้งพระมหาอุทายีซึ่งเป็นคนวรรณะพราหมณ์ด้วย เหตุการณ์ทั้งหมดดังว่ามานี้ นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ต่อไปแล้วจะเห็นว่าพระสาวกที่มีบทบาทสำคัญช่วยให้ความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นได้ก็คือ พระกาฬุทายีนั่นเอง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 98 ม.ค. 52 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)