อานิสงส์แห่งความเคารพและความนอบน้อม พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘ ความว่า
ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู ได้ยินว่า อายุวัฒนกุมารพึงตาย ในวันที่ ๗ บัดนี้ อายุวัฒนกุมารนั้น (ดำรงอยู่ ๑๒๐ ปี) อันอุบาสก ๕๐๐ คนแวดล้อมเที่ยวไป เหตุเครื่องเจริญอายุของสัตว์เหล่านี้ เห็นจะมี”
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ?”
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ด้วยเรื่องชื่อนี้”
จึงตรัสว่า“ภิกษุทั้งหลาย อายุเจริญอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ก็สัตว์เหล่านี้ไหว้ท่านผู้มีพระคุณ ย่อมเจริญด้วยเหตุ ๔ ประการ พ้นจากอันตราย ดำรงอยู่จนตลอดอายุทีเดียว” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :
อภิวาทนสีลิสฺสนิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ
ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์
บทว่า อภิวาทนสีลิสฺส คือ ผู้ไหว้เป็นปกติ ได้แก่ผู้ขวนขวายกิจคือการไหว้เนืองๆ
บทว่า วุฑฺฒาปจายิโน ความว่า แก่คฤหัสถ์ผู้อ่อนน้อม หรือผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ แม้ในภิกษุหนุ่มและสามเณรบวชในวันนั้น ก็หรือแก่บรรพชิตผู้อ่อนน้อมหรือผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ในท่านผู้แก่กว่าโดยบรรพชาหรือโดยอุปสมบท (หรือ)ในท่านผู้เจริญด้วยคุณ
บทว่า จตฺตาโร ธมฺมา ความว่า เมื่ออายุเจริญอยู่ อายุนั้นย่อมเจริญสิ้นกาลเท่าใด ธรรมทั้งหลายแม้นอกนี้ ก็เจริญสิ้นกาลเท่านั้นเหมือนกัน ด้วยว่าผู้ใดทำกุศลที่ยังอายุ ๕๐ ปี ให้เป็นไป อันตรายแห่งชีวิตของผู้นั้นพึงเกิดขึ้นแม้ในกาลมีอายุ ๒๕ ปี อันตรายนั้นย่อมระงับเสียได้ ด้วยความเป็นผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้นั้นย่อมดำรงอยู่ได้จนตลอดอายุทีเดียว แม้วรรณะเป็นต้นของผู้นั้น ย่อมเจริญพร้อมกับอายุแล นัยแม้ยิ่งกว่านี้ ก็อย่างนี้แล ก็ชื่อว่าการเจริญแห่งอายุ ที่เป็นไปโดยไม่มีอันตราย หามีไม่
เพราะความซาบซึ้งที่เกิดจากนโมธรรมของบุรพชนไทย ทำให้บรรพกษัตริย์ผู้ชำนาญในพระธรรมวินัย และบัณฑิตในราชสำนัก ได้พร้อมเพรียงกันพิจารณานำความเคารพ ที่นำให้เกิดความนอบน้อม มาจัดตั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม เพื่อแสดงออกถึงมโนวิญญาณที่บอกให้สาธารณชนทั้งหลายรู้ว่านี่คือคุณลักษณะของความเป็นไทย
ต่อมาเจ้าพระยาเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ได้รวบรวมจริยาวัตรที่ดีงาม ควรเป็นคุณสมบัติ ของผู้ดีในสังคมไทย มาแต่งเป็นหนังสือ “สมบัติผู้ดี” โดยท่านให้คำจำกัดความคำว่า “ผู้ดี” หมายถึงบุคคลผู้มีความประพฤติดี ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางความคิด คือ ทำดี พูดดี คิดดี ซึ่งจะขอนำมาเสนอเฉพาะภาคที่ ๓ คือ “ผู้ดีย่อมมีสัมมาคารวะ” ดังนี้
กายจริยา คือ การทำดีทางกาย ได้แก่
(๑)ย่อมนั่งด้วยกิริยาสุภาพเฉพาะหน้าผู้ใหญ่
(๒)ย่อมไม่ขึ้นหน้าผ่านผู้ใหญ่
(๓)ย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่
(๔)ย่อมแหวกที่หรือให้ที่นั่งอันสมควรแก่ผู้ใหญ่หรือผู้หญิง
(๕)ย่อมไม่ทัดหรือคาบบุหรี่ คาบกล้อง และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น
(๖)ย่อมเปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น
(๗)ย่อมเปิดหมวกในที่เคารพ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่ว่าแห่งศาสนาใด
(๘)ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน
(๙)ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน
(๑๐)ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน
(๑๑)ผู้เห็นก่อนโดยมากย่อมเคารพก่อน
(๑๒)แม้ผู้ใดเคารพตนก่อน ย่อมต้องตอบเขาทุกคน ไม่เฉยเสีย
วจีจริยา คือ การทำดีทางวาจา ได้แก่
(๑)ย่อมไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่
(๒)ย่อมไม่กล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟังแก่ผู้ฟัง
(๓)ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่นแก่ตัวเขา
(๔)เมื่อจะขอทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ย่อมต้องขออนุญาต ตัวเขาก่อน
(๕)เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใดแก่บุคคลใด ควรออกวาจาขอโทษเสมอ
(๖)เมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ
มโนจริยา คือ การทำดีทางใจ ได้แก่
(๑)ย่อมเคารพยำเกรงบิดามารดาและอาจารย์
(๒)ย่อมนับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่
(๓)ย่อมมีความอ่อนหวานแก่ผู้น้อย
ปัจฉิมบท แห่งความหมายของ “นโม” จักได้กล่าวถึงความไม่เคารพ อันเป็นเหตุนำให้บุคคลไม่มีนโมธรรมในตน ตามความแห่งพระไตรปิฎก มิลินทปัญหา และบุพพสิกขาวรรณา ดังนี้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เสขพลวรรคที่ ๑ สูตรที่ ๙ อคารวสูตรที่ ๑ แสดงไว้ดังนี้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒.เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓.เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔.เป็นผู้เกียจคร้าน ๕.เป็นผู้มีปัญญาทราม ย่อมเป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้ง มั่นในพระสัทธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ คือ ๑.เป็นผู้มีศรัทธา ๒.เป็นผู้มีหิริ ๓.เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔.เป็นผู้ปรารภความเพียร ๕.เป็นผู้มีปัญญา ย่อมเป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม”
พระอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายความหมายแห่งอคารวะ ว่า ไม่มีความเคารพ ไม่มีที่ยำเกรง คือไม่มีผู้ใหญ่ ไม่ประพฤติอ่อนน้อม
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงอธิบายถึง ศรัทธา, หิริ, โอตัปปะ, ความเพียร, ปัญญา ไว้ในการบรรยายธรรมอบรมจิต ตอน เสขะปฏิปทา ๑๕ ความว่า
• ศรัทธา
ศรัทธา คือความเชื่อ และความเชื่อในพุทธศาสนานี้ ต้องการความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ที่เป็นญาณสัมปยุต ประกอบด้วยญาณคือความหยั่งรู้ ซึ่งเรียกว่าเป็นความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ คือว่าเลือกเชื่อเฉพาะสิ่งที่ควร เชื่อ และจะมีศรัทธาดั่งนี้ได้ก็ต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ญาณพิจารณา ให้รู้ว่าอะไรควรเชื่อ อะไรไม่ควรเชื่อ และสำหรับ พุทธศาสนิกชน ศรัทธาที่ต้องการเป็นข้อสำคัญในฐานะ เป็นพุทธสาวก ก็คือตถาคตโพธิสัทธา ความเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตพุทธเจ้า ซึ่งความเชื่อดั่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการที่มาเจริญพุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และให้รู้จักพระพุทธคุณดังที่สวดกันอยู่ว่า อิติปิโส ภควา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ เป็นต้น ดั่งที่กำลังแสดงอยู่นี้ ระลึกถึงพระพุทธคุณให้มีความเข้าใจซาบซึ้งในพระพุทธคุณ แม้บทใดบทหนึ่ง เมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะทำให้ได้ตถาคตโพธิสัทธามากขึ้นๆ และก็จะทำให้ได้ศรัทธาในธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
เพราะฉะนั้น พระอาจารย์จึงได้แนะนำศรัทธาอีก ๓ ข้อไว้ ก็คือ กรรมสัทธา ความเชื่อในกรรม วิปากสัทธา ความเชื่อในผลของกรรม กัมมัสสกตาสัทธา ความเชื่อในความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน เมื่อมีศรัทธาอัน มีลักษณะดังกล่าวนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ให้ปลูกศรัทธาให้มีขึ้น
ฉะนั้นแม้ข้อศรัทธานี้ ก็เป็นข้อที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องมาพิจารณา ดูที่ศรัทธาคือความเชื่อของตน ว่าเป็นไปถูกตามที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์ให้เชื่อหรือไม่ ถ้าหากว่ายังไม่เข้าในหลักของศรัทธาตามที่กล่าวมานี้ ก็ชื่อว่ายังไม่เข้าหลักของศรัทธา ตามที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์ ยังเป็นศรัทธาอาจจะเป็นของตนเองที่มีมาตามสันดาน หรือว่าจากคำแนะนำของผู้อื่นที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า
ฉะนั้นแม้ข้อศรัทธานี้ ก็ต้องเป็นข้อที่ทุกๆคนจะต้องปรับปรุง แก้ไขปฏิบัติศรัทธาของตนให้ถูกให้ตรง อันนับว่าเป็นอันดับแรก และเมื่อมีศรัทธาตรงแล้วก็จะทำให้เป็นที่ตั้งของกุศลธรรมทั้งหลายอื่นๆ ต่อไป
• หิริ โอตตัปปะ
หิริ ความละอายใจต่อความชั่ว โอตตัปปะ ความเกรง กลัวต่อความชั่ว ก็คือต่อผลของความชั่ว หิริโอตตัปปะนี้ท่านแสดงว่าเป็นเหตุใกล้ของศีล เมื่อมีหิริโอตตัปปะอยู่ ก็ย่อมจะทำให้มีศีลได้ ศีลก็จะมีสืบจากหิริโอตตัปปะ เพราะฉะนั้น หิริโอตตัปปะนี้จึงเป็นธรรมะสำคัญ จนถึงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่าเป็นโลกบาล คือเป็นธรรมะ ที่คุ้มครองโลก
• ความเพียร
เพียรปฏิบัติในการละส่วนที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เพียรภาวนาอันหมายถึงว่าอบรมทำให้มีให้เป็นขึ้น ในส่วนที่เป็นกุศลธรรมทั้งหลาย
• ปัญญา
ปัญญา คือความรู้รอบคอบตามเหตุตามผล ตามความ เป็นจริง หรือว่ารู้ความจริงตามเหตุและผล
มิลินทปัญหา ได้กล่าวถึงความเคารพในสมณทุสสีล คีหิทุสสีลปัญหา ที่พระเจ้ามิลินท์ถามเป็นปัญหาที่ ๔ เรื่อง สมณะทุศีลคฤหัสถ์ทุศีล กับพระนาคเสน มีความว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน คฤหัสถ์ทุศีล กับสมณะทุศีล ต่างกันอย่างไร คนทั้งสองนี้มีคติเสมอกัน มีวิบากเสมอกันหรืออย่างไร ?”
“ขอถวายพระพร คุณธรรม ๑๐ ประการของสมณะทุศีล ทำให้ดียิ่งกว่าคฤหัสถ์ทุศีล และทำให้การถวายทานของชาวบ้าน มีผลมากได้ด้วยเหตุ ๑๐ ประการอีก
คุณธรรม ๑๐ ประการ
๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า
๒. ความเคารพในพระธรรม
๓. ความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์
๕. ความพยายามเล่าเรียน
๖. ความมากไปด้วยการฟัง
๗. ความเคารพต่อที่ประชุม
๘. ความเป็นผู้มุ่งต่อความเพียร
๙. ยังรักษาไว้ซึ่งเพศภิกษุ
๑๐. ยังรู้จักปกปิดความชั่วของตัวไปด้วยความละอาย เหมือนกับหญิงที่มีสามีลักลอบทำความชั่ว ด้วยกลัวผู้อื่นจะรู้เห็นฉะนั้น
เหตุ ๑๐ ประการ เหตุ ๑๐ ประการ ที่ทำให้การถวายทานของชาวบ้านมีผลมากนั้น คืออะไร บ้าง คือ
๑. ความทรงไว้ซึ่งเกราะ คือกาสาวพัสตร์อันบุคคลไม่ควรฆ่า
๒. ความทรงไว้ซึ่งเพศภิกษุ
๓. ความเข้าถึงซึ่งการกระทำกิจวัตรของสงฆ์
๔. ความนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
๕. ความอบรมนิสัย ในทางความเพียร
๖. ความแสวงหาซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระชินวร
๗. การแสดงซึ่งธรรมอันประเสริฐ
๘. การถือพระธรรมเป็นเกราะ เป็นคติ เป็นที่พึ่งในเบื้องหน้า
๙. มีความเห็นตรงแน่วแน่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศ
๑๐. การถือมั่นซึ่งอุโบสถ
ขอถวายพระพร สมณะทุศีล ถึงมีศีลวิบัติแล้ว ก็ยังทำทานของทายกผู้ถวายให้บริสุทธิ์ได้ เปรียบเหมือนน้ำอันชำระล้างซึ่งโคลน เลน ฝุ่นละออง เหงื่อไคลให้หายไปได้ หรือเปรียบเหมือนน้ำร้อน ถึงจะร้อน ก็ยังดับไฟกองใหญ่ได้ หรือเปรียบเหมือนโภชนะ อันกำจัดความหิวได้ฉะนั้น
ข้อนี้ สมกับที่สมเด็จพระชินสีห์ได้ตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่า
“ผู้มีศีลมีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแล้ว ให้ทานของที่ได้มาโดยชอบแก่ผู้ทุศีล การถวายทานของเขานั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ดังนี้ ขอถวายพระพร”
พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสสรรเสริญว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กระทำปัญหาที่โยมถาม ให้มีรสไม่รู้จักตายให้เป็นของควรฟัง ด้วยอุปมา เหตุการณ์หลายอย่าง เหมือนพ่อครัว หรือลูกมือของพ่อครัวผู้ฉลาด ได้เนื้อมาเพียงก้อนเดียว ก็ตกแต่งอาหารได้หลายอย่าง เพื่อถวายแก่พระราชาฉันนั้น”
พระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด) วัดบรมนิวาส ได้พรรณนาถึงความเคารพ ความไม่เคารพ ไว้ในหนังสือบุพพสิกขาวรรณณา ตอน คารวาคารวากถา ความว่า
จักแสดงในคารวาคารวะ ความไม่เคารพและความเคารพ ความไม่เคารพ มี ๖ คือ ไม่เคารพในพระพุทธเจ้า ไม่เคารพในพระธรรม ไม่เคารพในพระสงฆ์ ไม่เคารพในสิกขา ไม่เคารพในอัปปมาท ไม่เคารพในปฏิสันถาร เป็น ๖
ผู้ใด เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ไม่ไปสู่ที่อุปัฏฐาก เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ไม่ไปสู่ที่เจดีย์ เพื่ออุปัฏฐาก และไม่ไหว้ซึ่งเจดีย์ หรือซึ่งโพธิ และกั้นร่ม สวม รองเท้า เที่ยวเดินในลานเจดีย์ ก็ดี พึงรู้เถิดว่า ความเคารพในพระพุทธเจ้าแห่งผู้นั้นไม่มี
ก็แลผู้ใดเป็นผู้อาจอยู่แท้ และไม่ไปสู่ที่ฟังธรรม ไม่ว่าขานซึ่งสรภัญญะ ไม่กล่าวธรรมกถา และทำลายธรรมสวนะไปก็ดี หรือฟุ้งซ่าน หรือไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่ในโรง ธรรม ก็ดี ดังนี้ พึงรู้เถิดว่า ความเคารพในพระธรรมแห่ง ผู้นั้นไม่มี
ผู้ใดไม่ตั้งไว้เฉพาะซึ่งการทำความยำเกรงในพระเถระ และภิกษุหนุ่ม และภิกษุท่ามกลาง ก็ดี และแสดงความเป็นคนคะนองกาย ในที่ทั้งหลาย เป็นต้นว่า โรงอุโบสถและวิตักกมาลก คือที่ยืนคลุมผ้า จะไปบิณฑบาต และไม่ไหว้ตามลำดับผู้เฒ่า ดังนี้พึงรู้เถิดว่า ความเคารพในพระสงฆ์แห่งผู้นั้นไม่มี
ก็แลผู้ไม่สมาทานศึกษาเลย ซึ่ง สิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ พึงรู้เถิดว่า เป็นผู้ไม่เคารพในสิกขา
ผู้ตั้งอยู่ในความประมาท อยู่ปราศจากสติแท้ ไม่ยังอัปปมาท ลักษณะให้เจริญนี้ พึงรู้เถิดว่า เป็นผู้ไม่เคารพในอัปปมาท
ผู้ไม่ทำเลยซึ่งปฏิสันถารทั้ง ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยอามิส และธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม นี้แลพึงรู้เถิดว่า เป็นผู้ไม่เคารพในปฏิสันถาร
ความเคารพมี ๖ คือ เคารพในพระพุทธเจ้า เคารพใน พระธรรม เคารพในพระสงฆ์ เคารพในสิกขา เคารพในอัปปมาท เคารพในปฏิสันถาร เป็น ๖
เนื้อความในเคารพ ๖ นี้ พึงรู้โดยพิสดาร โดยปริยาย แปลกจากอคารวะ ซึ่งกล่าวในพระสูตรว่า ความไม่เคารพ เป็นไปเพื่อความเสื่อม ความเคารพเป็นไปเพื่อความ เจริญแล้วนั้นเถิด
สาธุชนพุทธบริษัทเมื่อได้ทราบความหมายแห่ง “นโม” คือ ความเคารพ ที่นำให้เกิดความนอบน้อมแล้ว ก็พึงศึกษาถึงบุคคลที่กล่าวคำว่า “นโม” ตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎกสืบไป จักได้ทราบถึงเหตุแห่งการกล่าวที่สอดคล้องกับความหมายของคำว่า “นโม” อันจักนำให้ได้น้อมนำ “นโม” มาเป็นธรรมปฏิบัติ นำชีวิตให้พบสันติสุขราบรื่นเหมือนบรรพชนไทยต่อไป
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 97 ธ.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู ได้ยินว่า อายุวัฒนกุมารพึงตาย ในวันที่ ๗ บัดนี้ อายุวัฒนกุมารนั้น (ดำรงอยู่ ๑๒๐ ปี) อันอุบาสก ๕๐๐ คนแวดล้อมเที่ยวไป เหตุเครื่องเจริญอายุของสัตว์เหล่านี้ เห็นจะมี”
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ?”
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ด้วยเรื่องชื่อนี้”
จึงตรัสว่า“ภิกษุทั้งหลาย อายุเจริญอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ก็สัตว์เหล่านี้ไหว้ท่านผู้มีพระคุณ ย่อมเจริญด้วยเหตุ ๔ ประการ พ้นจากอันตราย ดำรงอยู่จนตลอดอายุทีเดียว” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :
อภิวาทนสีลิสฺสนิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ
ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์
บทว่า อภิวาทนสีลิสฺส คือ ผู้ไหว้เป็นปกติ ได้แก่ผู้ขวนขวายกิจคือการไหว้เนืองๆ
บทว่า วุฑฺฒาปจายิโน ความว่า แก่คฤหัสถ์ผู้อ่อนน้อม หรือผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ แม้ในภิกษุหนุ่มและสามเณรบวชในวันนั้น ก็หรือแก่บรรพชิตผู้อ่อนน้อมหรือผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ในท่านผู้แก่กว่าโดยบรรพชาหรือโดยอุปสมบท (หรือ)ในท่านผู้เจริญด้วยคุณ
บทว่า จตฺตาโร ธมฺมา ความว่า เมื่ออายุเจริญอยู่ อายุนั้นย่อมเจริญสิ้นกาลเท่าใด ธรรมทั้งหลายแม้นอกนี้ ก็เจริญสิ้นกาลเท่านั้นเหมือนกัน ด้วยว่าผู้ใดทำกุศลที่ยังอายุ ๕๐ ปี ให้เป็นไป อันตรายแห่งชีวิตของผู้นั้นพึงเกิดขึ้นแม้ในกาลมีอายุ ๒๕ ปี อันตรายนั้นย่อมระงับเสียได้ ด้วยความเป็นผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้นั้นย่อมดำรงอยู่ได้จนตลอดอายุทีเดียว แม้วรรณะเป็นต้นของผู้นั้น ย่อมเจริญพร้อมกับอายุแล นัยแม้ยิ่งกว่านี้ ก็อย่างนี้แล ก็ชื่อว่าการเจริญแห่งอายุ ที่เป็นไปโดยไม่มีอันตราย หามีไม่
เพราะความซาบซึ้งที่เกิดจากนโมธรรมของบุรพชนไทย ทำให้บรรพกษัตริย์ผู้ชำนาญในพระธรรมวินัย และบัณฑิตในราชสำนัก ได้พร้อมเพรียงกันพิจารณานำความเคารพ ที่นำให้เกิดความนอบน้อม มาจัดตั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม เพื่อแสดงออกถึงมโนวิญญาณที่บอกให้สาธารณชนทั้งหลายรู้ว่านี่คือคุณลักษณะของความเป็นไทย
ต่อมาเจ้าพระยาเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ได้รวบรวมจริยาวัตรที่ดีงาม ควรเป็นคุณสมบัติ ของผู้ดีในสังคมไทย มาแต่งเป็นหนังสือ “สมบัติผู้ดี” โดยท่านให้คำจำกัดความคำว่า “ผู้ดี” หมายถึงบุคคลผู้มีความประพฤติดี ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางความคิด คือ ทำดี พูดดี คิดดี ซึ่งจะขอนำมาเสนอเฉพาะภาคที่ ๓ คือ “ผู้ดีย่อมมีสัมมาคารวะ” ดังนี้
กายจริยา คือ การทำดีทางกาย ได้แก่
(๑)ย่อมนั่งด้วยกิริยาสุภาพเฉพาะหน้าผู้ใหญ่
(๒)ย่อมไม่ขึ้นหน้าผ่านผู้ใหญ่
(๓)ย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่
(๔)ย่อมแหวกที่หรือให้ที่นั่งอันสมควรแก่ผู้ใหญ่หรือผู้หญิง
(๕)ย่อมไม่ทัดหรือคาบบุหรี่ คาบกล้อง และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น
(๖)ย่อมเปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น
(๗)ย่อมเปิดหมวกในที่เคารพ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่ว่าแห่งศาสนาใด
(๘)ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน
(๙)ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน
(๑๐)ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน
(๑๑)ผู้เห็นก่อนโดยมากย่อมเคารพก่อน
(๑๒)แม้ผู้ใดเคารพตนก่อน ย่อมต้องตอบเขาทุกคน ไม่เฉยเสีย
วจีจริยา คือ การทำดีทางวาจา ได้แก่
(๑)ย่อมไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่
(๒)ย่อมไม่กล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟังแก่ผู้ฟัง
(๓)ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่นแก่ตัวเขา
(๔)เมื่อจะขอทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ย่อมต้องขออนุญาต ตัวเขาก่อน
(๕)เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใดแก่บุคคลใด ควรออกวาจาขอโทษเสมอ
(๖)เมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ
มโนจริยา คือ การทำดีทางใจ ได้แก่
(๑)ย่อมเคารพยำเกรงบิดามารดาและอาจารย์
(๒)ย่อมนับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่
(๓)ย่อมมีความอ่อนหวานแก่ผู้น้อย
ปัจฉิมบท แห่งความหมายของ “นโม” จักได้กล่าวถึงความไม่เคารพ อันเป็นเหตุนำให้บุคคลไม่มีนโมธรรมในตน ตามความแห่งพระไตรปิฎก มิลินทปัญหา และบุพพสิกขาวรรณา ดังนี้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เสขพลวรรคที่ ๑ สูตรที่ ๙ อคารวสูตรที่ ๑ แสดงไว้ดังนี้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒.เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓.เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔.เป็นผู้เกียจคร้าน ๕.เป็นผู้มีปัญญาทราม ย่อมเป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้ง มั่นในพระสัทธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ คือ ๑.เป็นผู้มีศรัทธา ๒.เป็นผู้มีหิริ ๓.เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔.เป็นผู้ปรารภความเพียร ๕.เป็นผู้มีปัญญา ย่อมเป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม”
พระอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายความหมายแห่งอคารวะ ว่า ไม่มีความเคารพ ไม่มีที่ยำเกรง คือไม่มีผู้ใหญ่ ไม่ประพฤติอ่อนน้อม
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงอธิบายถึง ศรัทธา, หิริ, โอตัปปะ, ความเพียร, ปัญญา ไว้ในการบรรยายธรรมอบรมจิต ตอน เสขะปฏิปทา ๑๕ ความว่า
• ศรัทธา
ศรัทธา คือความเชื่อ และความเชื่อในพุทธศาสนานี้ ต้องการความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ที่เป็นญาณสัมปยุต ประกอบด้วยญาณคือความหยั่งรู้ ซึ่งเรียกว่าเป็นความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ คือว่าเลือกเชื่อเฉพาะสิ่งที่ควร เชื่อ และจะมีศรัทธาดั่งนี้ได้ก็ต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ญาณพิจารณา ให้รู้ว่าอะไรควรเชื่อ อะไรไม่ควรเชื่อ และสำหรับ พุทธศาสนิกชน ศรัทธาที่ต้องการเป็นข้อสำคัญในฐานะ เป็นพุทธสาวก ก็คือตถาคตโพธิสัทธา ความเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตพุทธเจ้า ซึ่งความเชื่อดั่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการที่มาเจริญพุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และให้รู้จักพระพุทธคุณดังที่สวดกันอยู่ว่า อิติปิโส ภควา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ เป็นต้น ดั่งที่กำลังแสดงอยู่นี้ ระลึกถึงพระพุทธคุณให้มีความเข้าใจซาบซึ้งในพระพุทธคุณ แม้บทใดบทหนึ่ง เมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะทำให้ได้ตถาคตโพธิสัทธามากขึ้นๆ และก็จะทำให้ได้ศรัทธาในธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
เพราะฉะนั้น พระอาจารย์จึงได้แนะนำศรัทธาอีก ๓ ข้อไว้ ก็คือ กรรมสัทธา ความเชื่อในกรรม วิปากสัทธา ความเชื่อในผลของกรรม กัมมัสสกตาสัทธา ความเชื่อในความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน เมื่อมีศรัทธาอัน มีลักษณะดังกล่าวนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ให้ปลูกศรัทธาให้มีขึ้น
ฉะนั้นแม้ข้อศรัทธานี้ ก็เป็นข้อที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องมาพิจารณา ดูที่ศรัทธาคือความเชื่อของตน ว่าเป็นไปถูกตามที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์ให้เชื่อหรือไม่ ถ้าหากว่ายังไม่เข้าในหลักของศรัทธาตามที่กล่าวมานี้ ก็ชื่อว่ายังไม่เข้าหลักของศรัทธา ตามที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์ ยังเป็นศรัทธาอาจจะเป็นของตนเองที่มีมาตามสันดาน หรือว่าจากคำแนะนำของผู้อื่นที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า
ฉะนั้นแม้ข้อศรัทธานี้ ก็ต้องเป็นข้อที่ทุกๆคนจะต้องปรับปรุง แก้ไขปฏิบัติศรัทธาของตนให้ถูกให้ตรง อันนับว่าเป็นอันดับแรก และเมื่อมีศรัทธาตรงแล้วก็จะทำให้เป็นที่ตั้งของกุศลธรรมทั้งหลายอื่นๆ ต่อไป
• หิริ โอตตัปปะ
หิริ ความละอายใจต่อความชั่ว โอตตัปปะ ความเกรง กลัวต่อความชั่ว ก็คือต่อผลของความชั่ว หิริโอตตัปปะนี้ท่านแสดงว่าเป็นเหตุใกล้ของศีล เมื่อมีหิริโอตตัปปะอยู่ ก็ย่อมจะทำให้มีศีลได้ ศีลก็จะมีสืบจากหิริโอตตัปปะ เพราะฉะนั้น หิริโอตตัปปะนี้จึงเป็นธรรมะสำคัญ จนถึงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่าเป็นโลกบาล คือเป็นธรรมะ ที่คุ้มครองโลก
• ความเพียร
เพียรปฏิบัติในการละส่วนที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เพียรภาวนาอันหมายถึงว่าอบรมทำให้มีให้เป็นขึ้น ในส่วนที่เป็นกุศลธรรมทั้งหลาย
• ปัญญา
ปัญญา คือความรู้รอบคอบตามเหตุตามผล ตามความ เป็นจริง หรือว่ารู้ความจริงตามเหตุและผล
มิลินทปัญหา ได้กล่าวถึงความเคารพในสมณทุสสีล คีหิทุสสีลปัญหา ที่พระเจ้ามิลินท์ถามเป็นปัญหาที่ ๔ เรื่อง สมณะทุศีลคฤหัสถ์ทุศีล กับพระนาคเสน มีความว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน คฤหัสถ์ทุศีล กับสมณะทุศีล ต่างกันอย่างไร คนทั้งสองนี้มีคติเสมอกัน มีวิบากเสมอกันหรืออย่างไร ?”
“ขอถวายพระพร คุณธรรม ๑๐ ประการของสมณะทุศีล ทำให้ดียิ่งกว่าคฤหัสถ์ทุศีล และทำให้การถวายทานของชาวบ้าน มีผลมากได้ด้วยเหตุ ๑๐ ประการอีก
คุณธรรม ๑๐ ประการ
๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า
๒. ความเคารพในพระธรรม
๓. ความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์
๕. ความพยายามเล่าเรียน
๖. ความมากไปด้วยการฟัง
๗. ความเคารพต่อที่ประชุม
๘. ความเป็นผู้มุ่งต่อความเพียร
๙. ยังรักษาไว้ซึ่งเพศภิกษุ
๑๐. ยังรู้จักปกปิดความชั่วของตัวไปด้วยความละอาย เหมือนกับหญิงที่มีสามีลักลอบทำความชั่ว ด้วยกลัวผู้อื่นจะรู้เห็นฉะนั้น
เหตุ ๑๐ ประการ เหตุ ๑๐ ประการ ที่ทำให้การถวายทานของชาวบ้านมีผลมากนั้น คืออะไร บ้าง คือ
๑. ความทรงไว้ซึ่งเกราะ คือกาสาวพัสตร์อันบุคคลไม่ควรฆ่า
๒. ความทรงไว้ซึ่งเพศภิกษุ
๓. ความเข้าถึงซึ่งการกระทำกิจวัตรของสงฆ์
๔. ความนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
๕. ความอบรมนิสัย ในทางความเพียร
๖. ความแสวงหาซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระชินวร
๗. การแสดงซึ่งธรรมอันประเสริฐ
๘. การถือพระธรรมเป็นเกราะ เป็นคติ เป็นที่พึ่งในเบื้องหน้า
๙. มีความเห็นตรงแน่วแน่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศ
๑๐. การถือมั่นซึ่งอุโบสถ
ขอถวายพระพร สมณะทุศีล ถึงมีศีลวิบัติแล้ว ก็ยังทำทานของทายกผู้ถวายให้บริสุทธิ์ได้ เปรียบเหมือนน้ำอันชำระล้างซึ่งโคลน เลน ฝุ่นละออง เหงื่อไคลให้หายไปได้ หรือเปรียบเหมือนน้ำร้อน ถึงจะร้อน ก็ยังดับไฟกองใหญ่ได้ หรือเปรียบเหมือนโภชนะ อันกำจัดความหิวได้ฉะนั้น
ข้อนี้ สมกับที่สมเด็จพระชินสีห์ได้ตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่า
“ผู้มีศีลมีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแล้ว ให้ทานของที่ได้มาโดยชอบแก่ผู้ทุศีล การถวายทานของเขานั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ดังนี้ ขอถวายพระพร”
พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสสรรเสริญว่า
“ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กระทำปัญหาที่โยมถาม ให้มีรสไม่รู้จักตายให้เป็นของควรฟัง ด้วยอุปมา เหตุการณ์หลายอย่าง เหมือนพ่อครัว หรือลูกมือของพ่อครัวผู้ฉลาด ได้เนื้อมาเพียงก้อนเดียว ก็ตกแต่งอาหารได้หลายอย่าง เพื่อถวายแก่พระราชาฉันนั้น”
พระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด) วัดบรมนิวาส ได้พรรณนาถึงความเคารพ ความไม่เคารพ ไว้ในหนังสือบุพพสิกขาวรรณณา ตอน คารวาคารวากถา ความว่า
จักแสดงในคารวาคารวะ ความไม่เคารพและความเคารพ ความไม่เคารพ มี ๖ คือ ไม่เคารพในพระพุทธเจ้า ไม่เคารพในพระธรรม ไม่เคารพในพระสงฆ์ ไม่เคารพในสิกขา ไม่เคารพในอัปปมาท ไม่เคารพในปฏิสันถาร เป็น ๖
ผู้ใด เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ไม่ไปสู่ที่อุปัฏฐาก เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ไม่ไปสู่ที่เจดีย์ เพื่ออุปัฏฐาก และไม่ไหว้ซึ่งเจดีย์ หรือซึ่งโพธิ และกั้นร่ม สวม รองเท้า เที่ยวเดินในลานเจดีย์ ก็ดี พึงรู้เถิดว่า ความเคารพในพระพุทธเจ้าแห่งผู้นั้นไม่มี
ก็แลผู้ใดเป็นผู้อาจอยู่แท้ และไม่ไปสู่ที่ฟังธรรม ไม่ว่าขานซึ่งสรภัญญะ ไม่กล่าวธรรมกถา และทำลายธรรมสวนะไปก็ดี หรือฟุ้งซ่าน หรือไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่ในโรง ธรรม ก็ดี ดังนี้ พึงรู้เถิดว่า ความเคารพในพระธรรมแห่ง ผู้นั้นไม่มี
ผู้ใดไม่ตั้งไว้เฉพาะซึ่งการทำความยำเกรงในพระเถระ และภิกษุหนุ่ม และภิกษุท่ามกลาง ก็ดี และแสดงความเป็นคนคะนองกาย ในที่ทั้งหลาย เป็นต้นว่า โรงอุโบสถและวิตักกมาลก คือที่ยืนคลุมผ้า จะไปบิณฑบาต และไม่ไหว้ตามลำดับผู้เฒ่า ดังนี้พึงรู้เถิดว่า ความเคารพในพระสงฆ์แห่งผู้นั้นไม่มี
ก็แลผู้ไม่สมาทานศึกษาเลย ซึ่ง สิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ พึงรู้เถิดว่า เป็นผู้ไม่เคารพในสิกขา
ผู้ตั้งอยู่ในความประมาท อยู่ปราศจากสติแท้ ไม่ยังอัปปมาท ลักษณะให้เจริญนี้ พึงรู้เถิดว่า เป็นผู้ไม่เคารพในอัปปมาท
ผู้ไม่ทำเลยซึ่งปฏิสันถารทั้ง ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยอามิส และธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม นี้แลพึงรู้เถิดว่า เป็นผู้ไม่เคารพในปฏิสันถาร
ความเคารพมี ๖ คือ เคารพในพระพุทธเจ้า เคารพใน พระธรรม เคารพในพระสงฆ์ เคารพในสิกขา เคารพในอัปปมาท เคารพในปฏิสันถาร เป็น ๖
เนื้อความในเคารพ ๖ นี้ พึงรู้โดยพิสดาร โดยปริยาย แปลกจากอคารวะ ซึ่งกล่าวในพระสูตรว่า ความไม่เคารพ เป็นไปเพื่อความเสื่อม ความเคารพเป็นไปเพื่อความ เจริญแล้วนั้นเถิด
สาธุชนพุทธบริษัทเมื่อได้ทราบความหมายแห่ง “นโม” คือ ความเคารพ ที่นำให้เกิดความนอบน้อมแล้ว ก็พึงศึกษาถึงบุคคลที่กล่าวคำว่า “นโม” ตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎกสืบไป จักได้ทราบถึงเหตุแห่งการกล่าวที่สอดคล้องกับความหมายของคำว่า “นโม” อันจักนำให้ได้น้อมนำ “นโม” มาเป็นธรรมปฏิบัติ นำชีวิตให้พบสันติสุขราบรื่นเหมือนบรรพชนไทยต่อไป
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 97 ธ.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)