วันที่ ๑๔ ตุลาคม นี้ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันออกพรรษา ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เพราะนอกจากจะมีการทำบุญกุศลถือศีลภาวนา ตามประเพณีนิยมของชาวพุทธแล้ว วันออกพรรษานี้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘วันมหาปวารณา’ ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือน ได้ทำ ‘ปวารณา’ คือ การยอมตนให้มีการว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน แทนการสวดพระปาฏิโมกข์
มูลเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติการทำปวารณาไว้ มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งเมื่อออกพรรษาแล้ว พระภิกษุที่อยู่จำพรรษาในแคว้นโกศลพวกหนึ่งได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสถามถึงการปฏิบัติธรรมและทุกข์สุขในระหว่างการจำพรรษาแก่ภิกษุเหล่านี้ ซึ่งภิกษุเหล่านั้นก็ได้กราบทูลถึงการปฏิบัติธรรมของพวก ตนนั้นเป็นไปด้วยดีโดยตลอด เพราะพวกตน สมาทานมูควัตร คือ ทำกติกากันว่าตลอดเวลา ๓ เดือนที่อยู่จำพรรษา จะไม่มีการพูดคุยหรือสนทนากัน จะประพฤติตนเป็นคนใบ้ เมื่อประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็จะใช้ ภาษาใบ้ด้วยการชี้มือแสดงความหมาย การทะเลาะหรือ วิวาทไม่ได้เกิดขึ้นเลย อยู่ร่วมกันโดยไม่มีทุกข์ร้อนใดๆ และคิดว่าความประพฤติของพวกตนคงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าเป็นแน่
แต่เป็นการเข้าใจผิดมหันต์ เพราะแทนที่พระพุทธองค์จะทรงตรัสสรรเสริญถึงการประพฤติธรรมของพวกภิกษุเหล่านั้น พระองค์ทรงตำหนิว่า การปฏิพฤติมูควัตร คือความเป็นคนใบ้ เป็นการประพฤติเหมือนสัตว์เดรัจฉาน เพราะ สัตว์ทั้งหลายที่รวมกันมันไม่พูดจากัน ต่างคนต่างอยู่ ไม่รับ รู้ทุกข์สุขของกันและกัน แต่พวกเธอเป็นภิกษุ เป็นมนุษย์ จะต้องมีการอบรมสั่งสอนซึ่งกันและกัน จะต้องรับรู้ทุกข์สุขของกันและกัน การประพฤติตนเป็นคนใบ้ จะต่างอะไรกับความเป็นอยู่ของสัตว์ ซึ่งหาสาระอะไรไม่ได้เลย
ครั้นแล้วพระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษา ๓ เดือน กระทำปวารณาแก่กันและกัน คือให้ว่ากล่าวตักเตือนกันในความประพฤติปฏิบัติของความเป็นภิกษุ โดยภิกษุผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้กล่าวปวารณาแก่ สงฆ์ก่อนเป็นอันดับแรก แล้วผู้มีอาวุโสรองลงมาจึงกล่าว คำปวารณาตามลำดับจนครบทุกรูป
คำกล่าวปวารณานี้มีว่า “ข้าพเจ้า ขอปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย”
คำปวารณาที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นภาษาของชาววัดชาวบ้านทั่วๆ ไปอาจไม่เข้าใจ โดยเฉพาะคำว่า “ข้าพเจ้าเห็น อยู่ จักทำคืนเสีย” ความหมายก็คือ เมื่อข้าพเจ้าพิจารณา แล้วว่าผิดจริง ก็จะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีกต่อไป
อนึ่ง ในการทักท้วงหรือตักเตือนนั้น จะต้องทำด้วยจิตกรุณาหรือมีเมตตาจิตต่อกันอย่างแท้จริง มิได้ทักท้วงเพื่อหวังว่า ผู้ถูกทักท้วงตักเตือนจะเสียหน้าหรือให้ได้รับความอับอาย แต่ทำเพื่อให้ผู้ถูกทักท้วงตักเตือนประพฤติตนให้สมกับเพศภาวะที่เป็นอยู่ ทั้งเกิดความยินดีในคำทักท้วงและตักเตือนนั้น
สังฆกรรมอันเนื่องด้วยการทำปวารณานี้ ถือเป็นกิจสำคัญของพระสงฆ์ที่ต้องทำเป็นประจำทุกปีในวันออก พรรษา ทุกวัดวาอารามทั่วประเทศ และในต่างประเทศหรือ ทั่วโลกที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ก็จะทำปวารณา พร้อมกันในวันนี้ ถ้าเราสามารถรวบรวมเสียงปวารณาให้ มารวมอยู่ในจุดเดียวกันได้ เสียงนี้จะดังกึกก้องไม่น้อยเลย ฉะนั้นเราจึงเรียกวันออกพรรษาว่า ‘วันมหาปวารณา’
เราท่านทั้งหลายที่เป็นชาวพุทธ น่าที่จะนำหลักการปวารณาของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง เพื่อจะได้มีการปรับปรุงแก้ไขความผิดความบกพร่องในการดำเนินชีวิตให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น เป็นการแก้หรือป้องกันความผิดพลาดไม่ให้เกิดได้ เพราะปกติคนเราโดยส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง หรือแม้จะมองเห็นบ้างก็มักให้อภัยตนเอง แต่ถ้าโทษหรือความผิดของคนอื่นนั้นมองเห็นง่าย และพูดได้เป็นฉากๆ ไม่รู้จบ เรื่องบางเรื่องแม้จะรู้ว่าผิด แต่ก็พยายามพูดให้เห็นว่าตนผิดแค่นิดเดียวไม่ได้ผิดทั้งหมด
มีเรื่องเล่ากันว่า มีนักโทษคนหนึ่งถูกถามว่าไปทำอะไรมาจึงติดคุก นักโทษคนนั้นตอบว่า “เขาหาว่าไปขโมยควาย แต่ความจริงผมขโมยเชือก” ผู้ถามจึงถามต่อไปว่า “แค่ขโมยเชือกถึงกับติดคุกเชียวหรือ?” นักโทษตอบแบบอายๆ ว่า “แต่ปลายเชือกมันติดอยู่กับจมูกควาย พอถือเชือกมา ควายมันเดินตามมา เขาเลยหาว่าขโมยควาย”
หรือบางคนถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด แต่กลับพูดว่าตนไม่ผิด ไอ้ที่ผิดนั้นมีคนไปเขียนกฎหมายดักหน้าเอาไว้ ก็เลยมีการดิ้นรนจะให้มีการแก้ไขกฎหมายกันขึ้นมา แต่ถูกประชาชนต่อต้านไม่ ให้แก้กฎหมาย ก็เลยปักหลักยันกันอยู่จนทุกวันนี้
เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้จักนำเอาหลักปวารณาของพระพุทธศาสนามาใช้ในทุกภาคส่วนของสังคมได้ จะทำให้สังคม มีการพัฒนาไปในแนวทางที่ดี โดยนำไปใช้ครอบครัว พ่อแม่ ลูก ปวารณาต่อกัน ในสถานการศึกษา ครู อาจารย์ ศิษย์ปวารณาต่อกัน ผู้บังคับบัญชาปวารณาต่อผู้ใต้ผู้บังคับ บัญชา ตลอดจนผู้บริหารประเทศรู้จักปวารณาตนที่จะให้ประชาชนมีสิทธิ์ในการแสดงออกทางความคิด ท้วงติง ตักเตือนการบริหารงานของรัฐบาล ให้ดำเนินไปตามความถูกต้องและเป็นธรรมแก่คนทั้งชาติ ไม่ใช่บริหารประเทศ เพราะผลประโยชน์ของพรรคการเมือง หัวหน้าพรรคการ เมือง หรือของกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่ง โดยเฉพาะส.ส.ที่ได้รับมอบอำนาจให้มาทำหน้าที่แทนประชาชนในสภา เกิดสมาทานมูควัตร ปิดปากเงียบ แล้วยกมือสนับสนุนอย่าง เดียว ประเทศเกิดวิกฤตแน่
หลักใหญ่ใจความสำคัญของการปวารณานั้น คือ ผู้ตักเตือนท้วงติงและผู้ถูกตักเตือนท้วงติง ต้องมีจิตเมตตากรุณาต่อกัน ไม่ตักเตือนท้วงติงเพราะอคติใดๆ การแก้ไขปัญหาจึงจะเกิดขึ้นได้
ก็หวังว่า ‘วันมหาปวารณา’ จะทำให้ท่านผู้อ่านได้ข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มขึ้นจากการทำบุญตักบาตร ถือศีลฟังธรรม เป็นปัจจัยเสริมในการดำเนินชีวิตต่อไป
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 95 ต.ค. 51 โดยธมฺมจรถ)
มูลเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติการทำปวารณาไว้ มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งเมื่อออกพรรษาแล้ว พระภิกษุที่อยู่จำพรรษาในแคว้นโกศลพวกหนึ่งได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสถามถึงการปฏิบัติธรรมและทุกข์สุขในระหว่างการจำพรรษาแก่ภิกษุเหล่านี้ ซึ่งภิกษุเหล่านั้นก็ได้กราบทูลถึงการปฏิบัติธรรมของพวก ตนนั้นเป็นไปด้วยดีโดยตลอด เพราะพวกตน สมาทานมูควัตร คือ ทำกติกากันว่าตลอดเวลา ๓ เดือนที่อยู่จำพรรษา จะไม่มีการพูดคุยหรือสนทนากัน จะประพฤติตนเป็นคนใบ้ เมื่อประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็จะใช้ ภาษาใบ้ด้วยการชี้มือแสดงความหมาย การทะเลาะหรือ วิวาทไม่ได้เกิดขึ้นเลย อยู่ร่วมกันโดยไม่มีทุกข์ร้อนใดๆ และคิดว่าความประพฤติของพวกตนคงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าเป็นแน่
แต่เป็นการเข้าใจผิดมหันต์ เพราะแทนที่พระพุทธองค์จะทรงตรัสสรรเสริญถึงการประพฤติธรรมของพวกภิกษุเหล่านั้น พระองค์ทรงตำหนิว่า การปฏิพฤติมูควัตร คือความเป็นคนใบ้ เป็นการประพฤติเหมือนสัตว์เดรัจฉาน เพราะ สัตว์ทั้งหลายที่รวมกันมันไม่พูดจากัน ต่างคนต่างอยู่ ไม่รับ รู้ทุกข์สุขของกันและกัน แต่พวกเธอเป็นภิกษุ เป็นมนุษย์ จะต้องมีการอบรมสั่งสอนซึ่งกันและกัน จะต้องรับรู้ทุกข์สุขของกันและกัน การประพฤติตนเป็นคนใบ้ จะต่างอะไรกับความเป็นอยู่ของสัตว์ ซึ่งหาสาระอะไรไม่ได้เลย
ครั้นแล้วพระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษา ๓ เดือน กระทำปวารณาแก่กันและกัน คือให้ว่ากล่าวตักเตือนกันในความประพฤติปฏิบัติของความเป็นภิกษุ โดยภิกษุผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้กล่าวปวารณาแก่ สงฆ์ก่อนเป็นอันดับแรก แล้วผู้มีอาวุโสรองลงมาจึงกล่าว คำปวารณาตามลำดับจนครบทุกรูป
คำกล่าวปวารณานี้มีว่า “ข้าพเจ้า ขอปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย”
คำปวารณาที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นภาษาของชาววัดชาวบ้านทั่วๆ ไปอาจไม่เข้าใจ โดยเฉพาะคำว่า “ข้าพเจ้าเห็น อยู่ จักทำคืนเสีย” ความหมายก็คือ เมื่อข้าพเจ้าพิจารณา แล้วว่าผิดจริง ก็จะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีกต่อไป
อนึ่ง ในการทักท้วงหรือตักเตือนนั้น จะต้องทำด้วยจิตกรุณาหรือมีเมตตาจิตต่อกันอย่างแท้จริง มิได้ทักท้วงเพื่อหวังว่า ผู้ถูกทักท้วงตักเตือนจะเสียหน้าหรือให้ได้รับความอับอาย แต่ทำเพื่อให้ผู้ถูกทักท้วงตักเตือนประพฤติตนให้สมกับเพศภาวะที่เป็นอยู่ ทั้งเกิดความยินดีในคำทักท้วงและตักเตือนนั้น
สังฆกรรมอันเนื่องด้วยการทำปวารณานี้ ถือเป็นกิจสำคัญของพระสงฆ์ที่ต้องทำเป็นประจำทุกปีในวันออก พรรษา ทุกวัดวาอารามทั่วประเทศ และในต่างประเทศหรือ ทั่วโลกที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ก็จะทำปวารณา พร้อมกันในวันนี้ ถ้าเราสามารถรวบรวมเสียงปวารณาให้ มารวมอยู่ในจุดเดียวกันได้ เสียงนี้จะดังกึกก้องไม่น้อยเลย ฉะนั้นเราจึงเรียกวันออกพรรษาว่า ‘วันมหาปวารณา’
เราท่านทั้งหลายที่เป็นชาวพุทธ น่าที่จะนำหลักการปวารณาของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง เพื่อจะได้มีการปรับปรุงแก้ไขความผิดความบกพร่องในการดำเนินชีวิตให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น เป็นการแก้หรือป้องกันความผิดพลาดไม่ให้เกิดได้ เพราะปกติคนเราโดยส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง หรือแม้จะมองเห็นบ้างก็มักให้อภัยตนเอง แต่ถ้าโทษหรือความผิดของคนอื่นนั้นมองเห็นง่าย และพูดได้เป็นฉากๆ ไม่รู้จบ เรื่องบางเรื่องแม้จะรู้ว่าผิด แต่ก็พยายามพูดให้เห็นว่าตนผิดแค่นิดเดียวไม่ได้ผิดทั้งหมด
มีเรื่องเล่ากันว่า มีนักโทษคนหนึ่งถูกถามว่าไปทำอะไรมาจึงติดคุก นักโทษคนนั้นตอบว่า “เขาหาว่าไปขโมยควาย แต่ความจริงผมขโมยเชือก” ผู้ถามจึงถามต่อไปว่า “แค่ขโมยเชือกถึงกับติดคุกเชียวหรือ?” นักโทษตอบแบบอายๆ ว่า “แต่ปลายเชือกมันติดอยู่กับจมูกควาย พอถือเชือกมา ควายมันเดินตามมา เขาเลยหาว่าขโมยควาย”
หรือบางคนถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด แต่กลับพูดว่าตนไม่ผิด ไอ้ที่ผิดนั้นมีคนไปเขียนกฎหมายดักหน้าเอาไว้ ก็เลยมีการดิ้นรนจะให้มีการแก้ไขกฎหมายกันขึ้นมา แต่ถูกประชาชนต่อต้านไม่ ให้แก้กฎหมาย ก็เลยปักหลักยันกันอยู่จนทุกวันนี้
เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้จักนำเอาหลักปวารณาของพระพุทธศาสนามาใช้ในทุกภาคส่วนของสังคมได้ จะทำให้สังคม มีการพัฒนาไปในแนวทางที่ดี โดยนำไปใช้ครอบครัว พ่อแม่ ลูก ปวารณาต่อกัน ในสถานการศึกษา ครู อาจารย์ ศิษย์ปวารณาต่อกัน ผู้บังคับบัญชาปวารณาต่อผู้ใต้ผู้บังคับ บัญชา ตลอดจนผู้บริหารประเทศรู้จักปวารณาตนที่จะให้ประชาชนมีสิทธิ์ในการแสดงออกทางความคิด ท้วงติง ตักเตือนการบริหารงานของรัฐบาล ให้ดำเนินไปตามความถูกต้องและเป็นธรรมแก่คนทั้งชาติ ไม่ใช่บริหารประเทศ เพราะผลประโยชน์ของพรรคการเมือง หัวหน้าพรรคการ เมือง หรือของกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่ง โดยเฉพาะส.ส.ที่ได้รับมอบอำนาจให้มาทำหน้าที่แทนประชาชนในสภา เกิดสมาทานมูควัตร ปิดปากเงียบ แล้วยกมือสนับสนุนอย่าง เดียว ประเทศเกิดวิกฤตแน่
หลักใหญ่ใจความสำคัญของการปวารณานั้น คือ ผู้ตักเตือนท้วงติงและผู้ถูกตักเตือนท้วงติง ต้องมีจิตเมตตากรุณาต่อกัน ไม่ตักเตือนท้วงติงเพราะอคติใดๆ การแก้ไขปัญหาจึงจะเกิดขึ้นได้
ก็หวังว่า ‘วันมหาปวารณา’ จะทำให้ท่านผู้อ่านได้ข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มขึ้นจากการทำบุญตักบาตร ถือศีลฟังธรรม เป็นปัจจัยเสริมในการดำเนินชีวิตต่อไป
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 95 ต.ค. 51 โดยธมฺมจรถ)