จริตที่ใช้จำแนกอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานมีเพียง ๒ จริต คือตัณหาจริตกับทิฏฐิจริต
ผู้มีตัณหาจริตมีลักษณะเป็นคนโลภมาก คือมีความติดใจแรงกล้าในอารมณ์ทั้งหลาย ทั้ง (๑) กามคุณอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฎฐัพพะ วันหนึ่งๆมัก สนใจแต่เรื่องของสวยของงาม หรือชอบ ความสนุกสนานเพลิดเพลินต่างๆ และ (๒) อารมณ์อันละเอียดประณีตยิ่งขึ้นไปคือรูปารมณ์และอรูปปารมณ์ ซึ่งอารมณ์ ๒ อย่างนี้เป็นอารมณ์ของผู้เจริญรูปฌานและอรูปฌานพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือติดใจในความสุขความสงบใจนั่นเอง
ผู้มีทิฏฐิจริตมีลักษณะเป็นคนคิดมาก คือมีความติดใจแรงกล้าและยึดถือความคิดความเห็นของตนเป็นใหญ่ ชอบคิด ชอบวิพากษ์วิจารณ์ ชอบให้ค่าและตัดสินผู้อื่นว่าอย่างนี้ถูก อย่างนี้ผิด อย่างนี้ควร อย่างนี้ไม่ควร เป็นต้น ตลอดจนมีความยึดมั่นแรงกล้าในลัทธิอุดมการณ์ต่างๆ
แท้จริงทุกคนมีจริตผสม คือมีทั้งตัณหา และทิฏฐิ เพียงแต่ให้สังเกตว่าสัดส่วนใด มากกว่ากัน แล้วเลือกอารมณ์ของวิปัสสนา ที่เหมาะกับจริตของตน คือถ้าเป็นคนที่เด่นด้วยตัณหาจริต ก็ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานและเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะกายและเวทนาจะแสดงความไม่น่าติดใจให้เห็นอยู่เสมอๆ คือเห็นว่ากายนี้หาความสวยงามไม่ได้จริง ไม่ควรติดใจ และเวทนาก็หาความสุขไม่ได้จริง ไม่ควรติดใจ แต่ถ้าเป็นคนที่เด่นด้วยทิฏฐิจริต ก็ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะจิตและธรรมจะแสดงความไม่น่าติดใจให้เห็นอยู่เสมอๆ คือเห็นว่าจิตใจเป็นของไม่เที่ยง แปรปรวนอยู่เสมอ จะไปยึดถือความคิดเห็นอะไรนักหนา จะไปกำหนดมาตรฐานให้คนอื่นทำไมนักหนา กระทั่งจิตตนเองยังเปลี่ยนแปลงอยู่ทั้งวัน หาความแน่นอนอะไรไม่ได้เลย ส่วนธรรมทั้งหลายก็แสดงความเป็นอนัตตาอยู่ตลอดเวลา คือในขันธ์ ๕ นี้ ไม่มีอะไรเลยที่บังคับควบคุมได้ตามใจปรารถนา ความยึดมั่นจริงจังในความคิดความเห็นจึงเป็นสิ่งที่หาสาระไม่ได้ เพราะกระทั่งจิตตนเองหรือขันธ์ของตน ก็ยังยึดถือเอาเป็นจริงจังไม่ได้เลย จะไปกะเกณฑ์วุ่นวายให้ขันธ์ ของคนอื่นและของตนเองต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้อย่างไรกัน
เมื่อจำแนกจริตสำหรับการเลือกอารมณ์ ของวิปัสสนากรรมฐานได้แล้ว จึงพิจารณาจริตสำหรับการเลือกอารมณ์ของสมถกรรมฐานต่อไป
กายและเวทนาเป็นอารมณ์วิปัสสนาที่เหมาะสมสำหรับผู้เป็นสมถยานิก ดังนั้นผู้ที่จะตามรู้กายและเวทนาจำเป็นต้องทำสมถะให้ได้ความสงบและตั้งมั่นในระดับลึก คือระดับอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ส่วนจิตและธรรมเป็นอารมณ์วิปัสสนาที่เหมาะสมสำหรับผู้เป็นวิปัสสนายานิก ดังนั้น ผู้ที่จะตามรู้จิตและธรรมจึงต้องการความตั้งมั่นของจิตเพียงแค่ระดับขณิกสมาธิเท่านั้น
อารมณ์ของกรรมฐานแต่ละชนิดให้ผลเป็นความสงบในระดับที่ต่างๆกัน เช่น พุทธานุสติให้ความสงบระดับอุปจารสมาธิ ส่วนอานาปานสติให้ความสงบในระดับอัปปนาสมาธิ เป็นต้น ผู้สนใจเรื่องนี้สามารถ ศึกษาได้จากคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ หรือคัมภีร์ อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ ส่วนประเด็นที่ผู้เขียนต้องการบอกเล่ามีเพียงแค่ว่า ถ้าจะตามรู้กายและเวทนาก็ควรทำจิตให้สงบจนมีจิตเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงค่อยตามรู้กายและเวทนาด้วยจิตที่ตั้งมั่นดีแล้ว จะเห็นว่ากายและเวทนาเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่ตัวเราของเรา และเห็นว่าจิตเป็นผู้รู้กายและเวทนา และอยู่ต่างหากจากกายและเวทนา จิตที่ตั้งมั่นในการรู้กายและเวทนานี้ ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านเรียกว่า “จิตผู้รู้” การรู้กาย และเวทนาเป็นการใช้สมาธินำปัญญา คือทำความสงบจนจิตตั้งมั่นเสียก่อน แล้วค่อย เจริญปัญญาด้วยการตามรู้กายและเวทนาในภายหลัง ส่วนผู้ที่จะตามรู้จิตและธรรม ให้ใช้สติปัญญาตามรู้ตามสังเกตสภาวะของจิตและธรรมไปได้เลย เมื่อสติเกิดขึ้นรู้ จิตและธรรมแล้ว ขณิกสมาธิจะเกิดขึ้นเอง คือจิตเกิดความตั้งมั่น รู้ ตื่น และเบิกบานชั่วขณะโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วอัปปนาสมาธิจึงค่อยเกิดขึ้นเองในเวลาที่จะบรรลุมรรคญาณ นี้เป็นการใช้ปัญญานำสมาธิ
๕.๑.๓ การศึกษาพระปริยัติสัทธรรม เมื่อรู้จริตในการเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานของตนแล้ว ต่อไปก็ต้องศึกษาพระปริยัติธรรมเพื่อให้รู้วิธีเจริญ สมถะและวิปัสสนาที่เหมาะสมสำหรับตนเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมนี้สามารถ กระทำได้ด้วยการศึกษาธรรมอย่างเป็นระบบ เช่น การศึกษาพระอภิธรรม เป็นต้น หรือจะศึกษาจากคำสอนของครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติก็ได้ แต่ในกรณีหลังนี้ เราควรมีความรู้ขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนาอยู่บ้างแล้ว จึงจะจำแนกได้ว่า ครูบาอาจารย์ของเราสอนได้ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้หรือไม่ ดังนั้นแม้ไม่ต้องการศึกษาพระปริยัติธรรมมากนัก แต่อย่างน้อยก็ควรศึกษาไว้บ้าง ในเรื่องเกี่ยวกับ (๑) อริยสัจจ์ (๒) กิจ ในอริยสัจจ์ (๓) รูปนาม (๔) สมถะ และ (๕) วิปัสสนา เป็นต้น
ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติธรรม เราควรทำ ความเข้าใจหลักการและวิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อน ไม่ใช่จู่ๆก็จะลงมือปฏิบัติเอาตามใจชอบ หรือพอมีศรัทธาในครูบาอาจารย์ฝ่ายปฏิบัติท่านใด ก็มอบกายถวาย ชีวิตเข้าไปศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยทันทีเพียงเพราะความเชื่อว่า “น่าจะดี” แท้จริงแล้ว เราไม่ควรเชื่ออะไรง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าเชื่อเพียงความคิดความเห็นของตนเองว่าการปฏิบัติควรจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าเชื่ออาจารย์ อย่าเชื่อคำเล่าลือตามๆกัน ฯลฯ พึงระลึกเสมอว่า เราไม่ใช่พระพุทธเจ้า จึงไม่สามารถค้นพบอริยมรรคได้ด้วยตนเอง และพวกเราเคารพศรัทธาในพระพุทธเจ้า เราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เราจึงต้องศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี
พระปริยัติธรรมเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ การศึกษาพระปริยัติธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระไตรปิฎก จะช่วยให้เราได้ฟังธรรมที่ เที่ยงตรงที่สุด เสมือนการได้เข้าเฝ้าเฉพาะ พระพักตร์ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกในครั้งพุทธกาลหรือใกล้เคียงพุทธกาล แม้คัมภีร์ในชั้นที่รองลงมาก็น่าศึกษาเพราะมีประโยชน์มาก เพียงแต่ต้องรู้จักเลือกเฟ้นบ้าง
การศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นการพอก พูนสุตตมยปัญญาและจินตามยปัญญาเพื่อให้รู้หนทางปฏิบัติธรรมจนได้มาซึ่งภาวนามยปัญญา
สุตตมยปัญญา หมายถึงความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เกิดขึ้นด้วยการอ่านและการฟัง ขอย้ำคำว่า “ต้องเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า” ซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ส่วนคำสอนของท่านผู้อื่นถ้าสอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงจะใช้ได้ ดังนั้นเราต้องจำแนกให้ออกว่า อันใดเป็นคำสอน ของพระพุทธเจ้า อันใดเป็นคำสอนของท่านผู้อื่นที่ขยายความ หรือตีความ หรืออันใดบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้า ไปหลงอ่านและฟังคำสอนที่ผิดพลาด นอก จากจะไม่ได้สุตตมยปัญญาแล้ว ยังจะเกิดโทษคือเพิ่มมิจฉาทิฏฐิมากขึ้นเสียอีก
จินตามยปัญญา หมายถึงความรู้ความ เข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เกิดขึ้นด้วยการพิจารณาใคร่ครวญอย่างมีความแยบคายสมเหตุสมผล หรือมีโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่คิดฟุ้งซ่านเอาตามใจชอบ หรือคิดไปในทางที่ขัดหรือแย้งกับหลักธรรมขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งไม่ใช่คิดในเรื่องที่เกินวิสัยที่จะคิดได้ด้วย
ภาวนามยปัญญา หมายถึงความรู้ความ เข้าใจในธรรมที่เกิดขึ้นด้วยการเจริญวิปัสสนาหรือการตามรู้กายตามรู้จิตใจตามความเป็นจริง และความรู้ความเข้าใจนั้นจะต้องตรงหรือสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย
เนื่องจากคำสอนของพระพุทธเจ้ามีอยู่มาก แม้จะศึกษาไม่ได้ทั้งหมด อย่างน้อยเพื่อนนักปฏิบัติก็ควรสนใจศึกษาเพื่อให้ทราบหนทางปฏิบัติที่ถูกต้องก็พอแล้ว หลักธรรมที่ควรสนใจเป็นพิเศษได้แก่ หลักธรรมเรื่องอริยสัจจ์ กิจในอริยสัจจ์ อารมณ์ปรมัตถ์ คือรูปนาม และวิธีการเจริญสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนา เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือประทีปส่องธรรม)
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 97 ธ.ค. 51 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
ผู้มีตัณหาจริตมีลักษณะเป็นคนโลภมาก คือมีความติดใจแรงกล้าในอารมณ์ทั้งหลาย ทั้ง (๑) กามคุณอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฎฐัพพะ วันหนึ่งๆมัก สนใจแต่เรื่องของสวยของงาม หรือชอบ ความสนุกสนานเพลิดเพลินต่างๆ และ (๒) อารมณ์อันละเอียดประณีตยิ่งขึ้นไปคือรูปารมณ์และอรูปปารมณ์ ซึ่งอารมณ์ ๒ อย่างนี้เป็นอารมณ์ของผู้เจริญรูปฌานและอรูปฌานพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือติดใจในความสุขความสงบใจนั่นเอง
ผู้มีทิฏฐิจริตมีลักษณะเป็นคนคิดมาก คือมีความติดใจแรงกล้าและยึดถือความคิดความเห็นของตนเป็นใหญ่ ชอบคิด ชอบวิพากษ์วิจารณ์ ชอบให้ค่าและตัดสินผู้อื่นว่าอย่างนี้ถูก อย่างนี้ผิด อย่างนี้ควร อย่างนี้ไม่ควร เป็นต้น ตลอดจนมีความยึดมั่นแรงกล้าในลัทธิอุดมการณ์ต่างๆ
แท้จริงทุกคนมีจริตผสม คือมีทั้งตัณหา และทิฏฐิ เพียงแต่ให้สังเกตว่าสัดส่วนใด มากกว่ากัน แล้วเลือกอารมณ์ของวิปัสสนา ที่เหมาะกับจริตของตน คือถ้าเป็นคนที่เด่นด้วยตัณหาจริต ก็ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานและเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะกายและเวทนาจะแสดงความไม่น่าติดใจให้เห็นอยู่เสมอๆ คือเห็นว่ากายนี้หาความสวยงามไม่ได้จริง ไม่ควรติดใจ และเวทนาก็หาความสุขไม่ได้จริง ไม่ควรติดใจ แต่ถ้าเป็นคนที่เด่นด้วยทิฏฐิจริต ก็ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะจิตและธรรมจะแสดงความไม่น่าติดใจให้เห็นอยู่เสมอๆ คือเห็นว่าจิตใจเป็นของไม่เที่ยง แปรปรวนอยู่เสมอ จะไปยึดถือความคิดเห็นอะไรนักหนา จะไปกำหนดมาตรฐานให้คนอื่นทำไมนักหนา กระทั่งจิตตนเองยังเปลี่ยนแปลงอยู่ทั้งวัน หาความแน่นอนอะไรไม่ได้เลย ส่วนธรรมทั้งหลายก็แสดงความเป็นอนัตตาอยู่ตลอดเวลา คือในขันธ์ ๕ นี้ ไม่มีอะไรเลยที่บังคับควบคุมได้ตามใจปรารถนา ความยึดมั่นจริงจังในความคิดความเห็นจึงเป็นสิ่งที่หาสาระไม่ได้ เพราะกระทั่งจิตตนเองหรือขันธ์ของตน ก็ยังยึดถือเอาเป็นจริงจังไม่ได้เลย จะไปกะเกณฑ์วุ่นวายให้ขันธ์ ของคนอื่นและของตนเองต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้อย่างไรกัน
เมื่อจำแนกจริตสำหรับการเลือกอารมณ์ ของวิปัสสนากรรมฐานได้แล้ว จึงพิจารณาจริตสำหรับการเลือกอารมณ์ของสมถกรรมฐานต่อไป
กายและเวทนาเป็นอารมณ์วิปัสสนาที่เหมาะสมสำหรับผู้เป็นสมถยานิก ดังนั้นผู้ที่จะตามรู้กายและเวทนาจำเป็นต้องทำสมถะให้ได้ความสงบและตั้งมั่นในระดับลึก คือระดับอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ส่วนจิตและธรรมเป็นอารมณ์วิปัสสนาที่เหมาะสมสำหรับผู้เป็นวิปัสสนายานิก ดังนั้น ผู้ที่จะตามรู้จิตและธรรมจึงต้องการความตั้งมั่นของจิตเพียงแค่ระดับขณิกสมาธิเท่านั้น
อารมณ์ของกรรมฐานแต่ละชนิดให้ผลเป็นความสงบในระดับที่ต่างๆกัน เช่น พุทธานุสติให้ความสงบระดับอุปจารสมาธิ ส่วนอานาปานสติให้ความสงบในระดับอัปปนาสมาธิ เป็นต้น ผู้สนใจเรื่องนี้สามารถ ศึกษาได้จากคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ หรือคัมภีร์ อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ ส่วนประเด็นที่ผู้เขียนต้องการบอกเล่ามีเพียงแค่ว่า ถ้าจะตามรู้กายและเวทนาก็ควรทำจิตให้สงบจนมีจิตเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงค่อยตามรู้กายและเวทนาด้วยจิตที่ตั้งมั่นดีแล้ว จะเห็นว่ากายและเวทนาเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่ตัวเราของเรา และเห็นว่าจิตเป็นผู้รู้กายและเวทนา และอยู่ต่างหากจากกายและเวทนา จิตที่ตั้งมั่นในการรู้กายและเวทนานี้ ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านเรียกว่า “จิตผู้รู้” การรู้กาย และเวทนาเป็นการใช้สมาธินำปัญญา คือทำความสงบจนจิตตั้งมั่นเสียก่อน แล้วค่อย เจริญปัญญาด้วยการตามรู้กายและเวทนาในภายหลัง ส่วนผู้ที่จะตามรู้จิตและธรรม ให้ใช้สติปัญญาตามรู้ตามสังเกตสภาวะของจิตและธรรมไปได้เลย เมื่อสติเกิดขึ้นรู้ จิตและธรรมแล้ว ขณิกสมาธิจะเกิดขึ้นเอง คือจิตเกิดความตั้งมั่น รู้ ตื่น และเบิกบานชั่วขณะโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วอัปปนาสมาธิจึงค่อยเกิดขึ้นเองในเวลาที่จะบรรลุมรรคญาณ นี้เป็นการใช้ปัญญานำสมาธิ
๕.๑.๓ การศึกษาพระปริยัติสัทธรรม เมื่อรู้จริตในการเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานของตนแล้ว ต่อไปก็ต้องศึกษาพระปริยัติธรรมเพื่อให้รู้วิธีเจริญ สมถะและวิปัสสนาที่เหมาะสมสำหรับตนเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมนี้สามารถ กระทำได้ด้วยการศึกษาธรรมอย่างเป็นระบบ เช่น การศึกษาพระอภิธรรม เป็นต้น หรือจะศึกษาจากคำสอนของครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติก็ได้ แต่ในกรณีหลังนี้ เราควรมีความรู้ขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนาอยู่บ้างแล้ว จึงจะจำแนกได้ว่า ครูบาอาจารย์ของเราสอนได้ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้หรือไม่ ดังนั้นแม้ไม่ต้องการศึกษาพระปริยัติธรรมมากนัก แต่อย่างน้อยก็ควรศึกษาไว้บ้าง ในเรื่องเกี่ยวกับ (๑) อริยสัจจ์ (๒) กิจ ในอริยสัจจ์ (๓) รูปนาม (๔) สมถะ และ (๕) วิปัสสนา เป็นต้น
ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติธรรม เราควรทำ ความเข้าใจหลักการและวิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อน ไม่ใช่จู่ๆก็จะลงมือปฏิบัติเอาตามใจชอบ หรือพอมีศรัทธาในครูบาอาจารย์ฝ่ายปฏิบัติท่านใด ก็มอบกายถวาย ชีวิตเข้าไปศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยทันทีเพียงเพราะความเชื่อว่า “น่าจะดี” แท้จริงแล้ว เราไม่ควรเชื่ออะไรง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าเชื่อเพียงความคิดความเห็นของตนเองว่าการปฏิบัติควรจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าเชื่ออาจารย์ อย่าเชื่อคำเล่าลือตามๆกัน ฯลฯ พึงระลึกเสมอว่า เราไม่ใช่พระพุทธเจ้า จึงไม่สามารถค้นพบอริยมรรคได้ด้วยตนเอง และพวกเราเคารพศรัทธาในพระพุทธเจ้า เราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เราจึงต้องศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี
พระปริยัติธรรมเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ การศึกษาพระปริยัติธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระไตรปิฎก จะช่วยให้เราได้ฟังธรรมที่ เที่ยงตรงที่สุด เสมือนการได้เข้าเฝ้าเฉพาะ พระพักตร์ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกในครั้งพุทธกาลหรือใกล้เคียงพุทธกาล แม้คัมภีร์ในชั้นที่รองลงมาก็น่าศึกษาเพราะมีประโยชน์มาก เพียงแต่ต้องรู้จักเลือกเฟ้นบ้าง
การศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นการพอก พูนสุตตมยปัญญาและจินตามยปัญญาเพื่อให้รู้หนทางปฏิบัติธรรมจนได้มาซึ่งภาวนามยปัญญา
สุตตมยปัญญา หมายถึงความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เกิดขึ้นด้วยการอ่านและการฟัง ขอย้ำคำว่า “ต้องเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า” ซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ส่วนคำสอนของท่านผู้อื่นถ้าสอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงจะใช้ได้ ดังนั้นเราต้องจำแนกให้ออกว่า อันใดเป็นคำสอน ของพระพุทธเจ้า อันใดเป็นคำสอนของท่านผู้อื่นที่ขยายความ หรือตีความ หรืออันใดบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้า ไปหลงอ่านและฟังคำสอนที่ผิดพลาด นอก จากจะไม่ได้สุตตมยปัญญาแล้ว ยังจะเกิดโทษคือเพิ่มมิจฉาทิฏฐิมากขึ้นเสียอีก
จินตามยปัญญา หมายถึงความรู้ความ เข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เกิดขึ้นด้วยการพิจารณาใคร่ครวญอย่างมีความแยบคายสมเหตุสมผล หรือมีโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่คิดฟุ้งซ่านเอาตามใจชอบ หรือคิดไปในทางที่ขัดหรือแย้งกับหลักธรรมขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งไม่ใช่คิดในเรื่องที่เกินวิสัยที่จะคิดได้ด้วย
ภาวนามยปัญญา หมายถึงความรู้ความ เข้าใจในธรรมที่เกิดขึ้นด้วยการเจริญวิปัสสนาหรือการตามรู้กายตามรู้จิตใจตามความเป็นจริง และความรู้ความเข้าใจนั้นจะต้องตรงหรือสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย
เนื่องจากคำสอนของพระพุทธเจ้ามีอยู่มาก แม้จะศึกษาไม่ได้ทั้งหมด อย่างน้อยเพื่อนนักปฏิบัติก็ควรสนใจศึกษาเพื่อให้ทราบหนทางปฏิบัติที่ถูกต้องก็พอแล้ว หลักธรรมที่ควรสนใจเป็นพิเศษได้แก่ หลักธรรมเรื่องอริยสัจจ์ กิจในอริยสัจจ์ อารมณ์ปรมัตถ์ คือรูปนาม และวิธีการเจริญสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนา เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือประทีปส่องธรรม)
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 97 ธ.ค. 51 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)