เมื่อทราบความหมายแห่ง “ นโม” คือ ความนอบน้อม, ความเคารพ ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่นี้จักได้พรรณนาถึงมงคลอันเกิดจาก “นโม” สืบไป
เมื่อพิจารณา “นโม” ในความหมายว่า ความนอบน้อม, ความเคารพ พบว่า ผู้สามารถปฏิบัติตนจนเกิดนโมธรรมในจิตใจ และแสดงนโมธรรมให้ปรากฎทางกาย วาจา ย่อมเป็นผู้มีความเคารพ มีความถ่อมตน ซึ่งตรงกับลักษณะแห่งมงคลที่ ๒๒, ๒๓ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มงคลสูตร ความว่า
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบพระคาถาที่ ๗ ว่า ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นฯ
พระอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายความพระคาถานี้ไว้ใน ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ดังนี้
บทว่า คารวะ ได้แก่ ความเป็นผู้หนัก [การณ์] บทว่า ความประพฤติถ่อมตนได้แก่ ความประพฤติถ่อมตน
ความเคารพ การทำความเคารพ ความเป็นผู้มีความเคารพตามสมควรในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระตถาคต อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว เป็นต้น เป็นผู้ควรประกอบความเคารพ ชื่อว่า คารวะ
คารวะนี้นั้น เพราะเหตุที่เป็นเหตุแห่งการไปสุคติ เป็นต้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า บุคคลกระทำความเคารพผู้ที่ควรเคารพ สักการะผู้ที่ควรสักการะ นับถือผู้ที่ควรนับถือ บูชาผู้ที่ควรบูชา เพราะกรรมนั้นที่ยึดถือไว้บริบูรณ์อย่างนี้ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ถ้าเขาไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หากเขามาเกิดเป็น มนุษย์ ก็จะเป็นผู้มีตระกูลสูงในประเทศที่กลับมาเกิด ดังนี้ และเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในหิรีมาสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม ๗ ประการเหล่านี้ มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในธรรม มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ถึงพร้อม ด้วยหิริและโอตตัปปะ มีความเคารพ ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น จึงตรัสว่าเป็นมงคล
ความเป็นผู้มีใจลดต่ำ ความเป็นผู้มีความประพฤติไม่ลำพอง ชื่อว่า ความถ่อมตน บุคคลประกอบด้วยความเป็น ผู้ถ่อมตนอันใด กำจัดมานะได้ กำจัดความกระด้างได้ เป็นเสมือนผ้าเช็ดเท้า เสมอด้วยโคอุสุภะเขาขาด และเสมอด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว ย่อมเป็นผู้ละเอียดอ่อนละมุน ละไม ผ่องแผ้วด้วยสุข ความเป็นผู้ถ่อมตน อันนี้เป็นความถ่อมตน ความถ่อมตนนี้นั้น ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุได้คุณ มียศเป็นต้น อนึ่ง ตรัสไว้ใน สิงคาลกสูตร ว่า ผู้มีความถ่อมตน ไม่กระด้าง คนเช่นนั้นย่อมได้ยศ ดังนี้ เป็นต้น
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) วัด มกุฏกษัตริยาราม ทรงพรรณนาขยายความเรื่อง ความ เคารพ และ ความประพฤติถ่อมตน ไม่เย่อหยิ่ง ในคารวาทิมังคลกถา ไว้ดังนี้
“ความเคารพ นั้น ได้แก่ กิริยาอาการที่ยกย่องเชิดชูซึ่งบุคคล หรือสิ่งที่ควรยกย่องเชิดชู อันเป็นอาการตรงกันข้ามกับความดูหมิ่นเหยียดหยาม เช่น การไหว้ การกราบ การนบนอบอ่อนน้อม การต้อนรับ การสำรวมกิริยาให้สงบ และความเอื้อเฟื้อเอาใจใส่ ซึ่งเป็นอาการที่แสดงให้เห็นน้ำใจว่าตั้งใจยกย่องเชิดชูให้สมแก่ฐานะ
ความเคารพนี้เป็นคุณสมบัติของหมู่ชนที่เจริญ ดังจะเห็นได้ในหมู่ชนที่เจริญแล้ว ย่อมมีความเคารพกันเป็นระเบียบ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในโลก หาบุคคลผู้มีคุณธรรมเสมอพระองค์ไม่ได้เลย กระนั้นก็ยังทรงเคารพในธรรมที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว ด้วยทรงเห็นว่า ความไม่มีที่เคารพเชื่อถือเป็นความลำบาก ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ความเคารพเป็นคุณธรรมที่จำเป็นยิ่งสำหรับโลก คือประชุมชน ในชุมนุมใดที่ไม่มีความเคารพ ไม่ควรส้องเสพ ชุมนุมนั้น เพราะไม่ใช่สถานที่มีความเจริญ
สิ่งที่ควรเคารพนั้น โดยย่อมี ๒ คือ บุคคล และ ธรรม
บุคคลที่ควรเคารพนั้นได้แก่ผู้ใหญ่ คือผู้เจริญกว่าโดยคุณความดี โดยวัยอายุ และโดยชาติกำเนิดสูง เช่นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ครู อาจารย์ มารดาบิดา ญาติผู้ใหญ่ พระมหากษัตริย์ ตลอดถึงพระราชวงศ์
ธรรม ที่ควรเคารพนั้นจำแนกเป็น ๒ คือ คุณความดี ๑ หน้าที่ ๑
ผู้ใดรู้จักบุคคลและธรรมที่ควรเคารพ แล้วปฏิบัติตนเป็น คนมีสัมมานะคารวะตามสมควรแก่บุคคลและธรรมนั้นๆย่อมเป็นผู้งดงามด้วยกิริยามารยาท เป็นที่รักของผู้ใหญ่ เป็นที่สรรเสริญของบัณฑิต และย่อมบรรลุความเจริญ เช่นบุตรผู้มีความเคารพอ่อนน้อมไหว้กราบบิดามารดาของตน เชื่อฟังคำสอนของท่าน ประพฤติตามโดยเคารพทั้งต่อหน้าและลับหลัง ก็ย่อมเป็นเหตุให้บิดามารดารักใคร่เมตตากรุณามาก และเป็นผู้มีความประพฤติดี อันเป็น ทางเจริญแก่ตนเองในภายหน้า
บุคคลผู้นับถือพระพุทธศาสนา มีความเคารพนับถือบูชาในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ด้วยน้ำใจเลื่อมใส เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์ และปฏิบัติตามธรรมคือพระโอวาทที่พระองค์ประทานไว้ เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต ปฏิบัติดีตามจริยาของพระสงฆ์ ย่อมเป็นผู้เจริญด้วยคุณธรรม มีศีลเป็นต้น ทำตนให้บริสุทธิ์สะอาดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ เช่นนี้ ย่อมได้ความสุขสงบและความเย็นใจ เพราะความปฏิบัติบริสุทธิ์ของตนเอง
คุณความดีนั้น ได้แก่ความสุจริตและความเที่ยงตรง เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเคารพอย่างยิ่ง
บุคคลผู้เคารพต่อความสุจริต ย่อมเป็นผู้มีความละอาย ใจ ไม่กล้าฝ่าฝืนประพฤติละเมิด ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
ผู้เคารพต่อความเที่ยงตรง ย่อมเป็นผู้เที่ยงธรรมในหน้าที่ ไม่ประพฤติลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความกลัว เพราะความเขลา เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเป็นผู้เจริญด้วยความดี เป็นที่ไว้วางใจของผู้อื่น การงาน ที่ทำย่อมปราศจากโทษ เป็นไปเพื่อความเจริญแก่ตนแก่ หมู่
ความเคารพต่อสุจริตธรรม และความเที่ยงตรงนี้ เป็นยอดของความเคารพ เป็นหลักธรรมของผู้เป็นประมุข แห่งหมู่ชน
หน้าที่นั้น ได้แก่ กิจการที่รับมอบหมายให้ทำ บุคคลผู้ มีความเคารพต่อหน้าที่ของตน ตั้งใจกระทำให้บริบูรณ์ไม่ บกพร่อง ผู้เคารพต่อหน้าที่ของผู้อื่น โดยให้ความสะดวก แก่เขา เพื่อทำหน้าที่ให้สำเร็จโดยชอบ คือผู้ใหญ่กับผู้น้อย หรือผู้เสมอกัน ต่างเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ของกันและกัน ด้วยเห็นว่ามีความสำคัญเนื่องกันและเท่ากัน ที่จะต้องให้สำเร็จด้วยกัน ไม่ดูดายในหน้าที่ของกัน และไม่ขัดขวางผู้ปฏิบัติ เช่นนี้แล เรียกว่า เคารพต่อหน้าที่ของตน และของท่าน
แม้เป็นผู้ใหญ่ก็ต้องรู้จักเคารพต่อหน้าที่ของผู้น้อย ไม่ควรดูหมิ่น เห็นว่าตำแหน่งหน้าที่เล็กน้อยไม่สำคัญ เพราะหน้าที่ทั้งหลายย่อมเนื่องถึงกัน ถ้าส่วนน้อยไม่สะดวก ก็ย่อมถ่วงส่วนใหญ่ให้ล่าช้าลงตามกัน ถ้าส่วนน้อยสะดวก ส่วนใหญ่ก็สำเร็จรวดเร็วทันประสงค์
ความเจริญก้าวหน้าของหมู่ชนเป็นผลที่สำเร็จมาแต่กิจการ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประกอบ กิจการนั้นๆ เคารพปฏิบัติหน้าที่ของตน ของท่าน โดยความพร้อมเพรียงแล้ว ก็เจริญ เร็ว ถ้าขาดความเคารพต่อหน้าที่เสียแล้ว ก็ไม่เจริญ หรือเจริญล่าช้า เพราะฉะนั้น ความเคารพ ต่อหน้าที่ จึงจัดว่าเป็นทางเจริญประการหนึ่ง
อนึ่ง ความเคารพ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคี พร้อมเพรียงกัน เพราะฉะนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในอปริหานิยธรรมสูตรทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่าย คฤหัสถ์ มีใจความว่า ภิกษุทั้งหลายยังสักการะนับถือบูชา ภิกษุผู้เป็นเถระ บวชมานาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำของหมู่ จักเชื่อฟังถ้อยคำของท่านอยู่เพียงไร ก็พึงหวังความเจริญได้ ไม่มีเสื่อม
ในฝ่ายคฤหัสถ์เล่า ถ้ายังเคารพท่านผู้ใหญ่โดยอายุ โดยคุณความดี โดยตำแหน่งหน้าที่ อยู่เพียงไร ก็พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียวกัน โดยนัยนี้ ในทางปกครอง ลูกเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ศิษย์เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ทหารเคารพเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเหนือตน พลเมืองเคารพกฎหมายบ้านเมือง และพระสงฆ์เคารพพระธรรมวินัยของพระศาสดา ไม่ละเมิด ย่อมเป็นทางเจริญแก่ตัวเองและวงศ์ตระกูลหมู่คณะ แก่ชาติและพระศาสนา
เพราะฉะนั้น ความเคารพ จึงจัดว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ประการหนึ่ง
ความไม่เย่อหยิ่งนั้น ได้แก่ความประพฤติอ่อนน้อมและ อ่อนโยนไม่ถือตัว ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น จัดว่าเป็นมงคล เพราะทำบุคคลผู้ไม่เย่อหยิ่งให้เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นมีเมตตากรุณา หวังความสุขความเจริญให้ ผู้ใดเป็นที่ รักของชนมาก ผู้นั้นย่อมได้รับความสะดวกในกิจการทั้งปวง นำตนไปสู่ความเจริญด้วยอิสริยยศและบริวารสมบัติโดยสวัสดี
ส่วนความเย่อหยิ่ง ย่อมให้ผลตรงข้าม เป็นทางเสื่อม คือเสื่อมความรักความนับถือ เสื่อมจากญาติมิตร และทรัพย์ยศ เหตุที่ให้เกิดความเย่อหยิ่งนั้น ได้แก่ชาติตระกูล และทรัพย์ เป็นต้น เพราะนั้น พระทศพลจึงตรัสว่า
ชาติถทฺโธ ธนถทฺโธโคตฺตถทฺโธ จ โย นโร
สญฺาติมติมญฺเญติ ตํ ปราภวโต มุขํ
นรชนใดหยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะทรัพย์ และหยิ่งเพราะโคตร ย่อมดูหมิ่นญาติของตนเอง ความหยิ่งนั้นเป็นทางของผู้เสื่อม ดังนี้
เพราะฉะนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติและทรัพย์เป็นต้น จึงควรระวัง เพราะชาติและทรัพย์เป็นต้น เป็นเหตุให้ลืมตน เกิดความเย่อหยิ่งได้
ความไม่เย่อหยิ่งย่อมเป็นทางเจริญดังกล่าวแล้ว จึงจัดว่าเป็นมงคลอันสูงสุดประการหนึ่ง....”
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) ทรงเน้นถึงความสำคัญของความเคารพ ในการบรรยาย เรื่อง หลักแห่งความเป็นชาติไว้ดังนี้
“....ขนบธรรมเนียมที่ดีอันเป็นประเพณีของชาติไทย ที่มีมาแต่อดีตกาลนั้นมากมาย จะยกตัวอย่างที่เป็นข้อสำคัญ เช่น ขนบธรรมเนียมการแสดงความนับถือ หรือความเคารพ ขนบธรรมเนียมในการช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนบ้าน ขนบธรรมเนียมในการยึดเหนี่ยวน้ำใจให้รักใคร่ มีไมตรีกัน ในระหว่างเพื่อนบ้าน ขนบธรรมเนียมในการเล่นตรุษสงกรานต์ เพื่อความรื่นเริง เหล่านี้ล้วนเป็นของดี เป็นเครื่องสมานสามัคคีทั้งนั้น ซึ่งในบัดนี้มักจะจางหายไปเสียมาก
....ความเคารพกัน ได้แก่ การแสดงอาการนบนอบอ่อนน้อมต่อกัน ในระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ผู้เสมอกัน เมื่อ ผู้น้อยทำความเคารพต่อผู้ใหญ่ ไม่แสดงอาการกระด้าง เย่อหยิ่ง ก็เป็นเหตุให้ผู้ใหญ่รักใคร่เอ็นดูกรุณาปราณีหวังความเจริญแก่ผู้น้อย เช่นให้พรให้อายุยืน เป็นต้น ฝ่ายผู้ ใหญ่ เมื่อแสดงอาการอ่อนน้อมต่อผู้น้อย ด้วยหน้าตายิ้มแย้ม ทักทายปราศรัย หรือรับไหว้ ไม่แสดงอาการเฉยเมย ไม่เอาใจใส่ ก็เป็นเหตุให้ผู้น้อยรักใคร่นับถือ ไม่เบื่อหน่ายในการที่จะทำความเคารพ คนเสมอกัน ชั้นเดียวกันแสดงอาการเคารพต่อกัน ก็เป็นเหตุให้รักใคร่สนิทสนมกัน เพราะฉะนั้น ความเคารพ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ยึดเหนี่ยวน้ำใจคนให้สนิทสนมกลมเกลียวกันได้ทุกชั้น
ขนบธรรมเนียมในการแสดงความเคารพของชาติไทย ที่ได้ถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีสืบมา ที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ก็ คือ การไหว้ และการกราบ ....
นอกจากการไหว้และการกราบแล้ว ธรรมเนียมไทยเรายังมีอาการแสดงความเคารพอีกหลายอย่าง เท่าที่นึกรวบรวมได้คือ
๑. สำรวมกายวาจา ไม่คะนอง ต่อหน้าผู้ที่เคารพ
๒. นั่งหรือยืนโดยเรียบร้อย เมื่ออยู่ต่อหน้า
๓. ไม่นั่งสูงกว่า
๔. ไม่ยืนค้ำศีรษะหรือข้ามกาย
๕. ไม่เอื้อในที่สูง
๖. ไม่เหยียดเท้าให้
ส่วนธรรมเนียมการเคารพของไทย อันเนื่องด้วยพระ พุทธศาสนาที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในหมู่ชนที่มีการศึกษาดีแล้ว มีอยู่ ๔ ประการคือ
๑. ลุกขึ้นยืนรับ
๒. หลีกทางให้
๓. ให้ที่นั่ง
๔. ไหว้หรือกราบ ในราชการใช้คำนับ
ในพระพุทธศาสนา ถือการยืนเป็นการเคารพ เช่น เห็นผู้ใหญ่มา ลุกขึ้นยืนแสดงความเคารพท่าน ใน ๔ ประการนี้ เลือกใช้ตามสมควรแก่โอกาส มิใช่ใช้พร้อมกันทั้ง ๔ อย่าง ในคราวเดียว
ระเบียบแบบแผนแห่งการเคารพนบนอบที่มีอยู่คู่กับ ชาติ เป็นเครื่องวัดภูมิชั้นแห่งความเจริญของชาติ เพราะชาติเจริญแล้วทั้งหลาย ย่อมมีแบบแผนแห่งการเคารพนบนอบตั้งไว้เป็นระเบียบ และนำสืบกันมาด้วยการปฏิบัติ โดยเคร่งครัด เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องช่วยกันรักษา ไม่ปล่อยไปตามยถากรรม....”
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 95 ต.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
เมื่อพิจารณา “นโม” ในความหมายว่า ความนอบน้อม, ความเคารพ พบว่า ผู้สามารถปฏิบัติตนจนเกิดนโมธรรมในจิตใจ และแสดงนโมธรรมให้ปรากฎทางกาย วาจา ย่อมเป็นผู้มีความเคารพ มีความถ่อมตน ซึ่งตรงกับลักษณะแห่งมงคลที่ ๒๒, ๒๓ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มงคลสูตร ความว่า
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบพระคาถาที่ ๗ ว่า ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นฯ
พระอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายความพระคาถานี้ไว้ใน ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะ ดังนี้
บทว่า คารวะ ได้แก่ ความเป็นผู้หนัก [การณ์] บทว่า ความประพฤติถ่อมตนได้แก่ ความประพฤติถ่อมตน
ความเคารพ การทำความเคารพ ความเป็นผู้มีความเคารพตามสมควรในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระตถาคต อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว เป็นต้น เป็นผู้ควรประกอบความเคารพ ชื่อว่า คารวะ
คารวะนี้นั้น เพราะเหตุที่เป็นเหตุแห่งการไปสุคติ เป็นต้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า บุคคลกระทำความเคารพผู้ที่ควรเคารพ สักการะผู้ที่ควรสักการะ นับถือผู้ที่ควรนับถือ บูชาผู้ที่ควรบูชา เพราะกรรมนั้นที่ยึดถือไว้บริบูรณ์อย่างนี้ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ถ้าเขาไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หากเขามาเกิดเป็น มนุษย์ ก็จะเป็นผู้มีตระกูลสูงในประเทศที่กลับมาเกิด ดังนี้ และเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในหิรีมาสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม ๗ ประการเหล่านี้ มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในธรรม มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ถึงพร้อม ด้วยหิริและโอตตัปปะ มีความเคารพ ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น จึงตรัสว่าเป็นมงคล
ความเป็นผู้มีใจลดต่ำ ความเป็นผู้มีความประพฤติไม่ลำพอง ชื่อว่า ความถ่อมตน บุคคลประกอบด้วยความเป็น ผู้ถ่อมตนอันใด กำจัดมานะได้ กำจัดความกระด้างได้ เป็นเสมือนผ้าเช็ดเท้า เสมอด้วยโคอุสุภะเขาขาด และเสมอด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว ย่อมเป็นผู้ละเอียดอ่อนละมุน ละไม ผ่องแผ้วด้วยสุข ความเป็นผู้ถ่อมตน อันนี้เป็นความถ่อมตน ความถ่อมตนนี้นั้น ตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุได้คุณ มียศเป็นต้น อนึ่ง ตรัสไว้ใน สิงคาลกสูตร ว่า ผู้มีความถ่อมตน ไม่กระด้าง คนเช่นนั้นย่อมได้ยศ ดังนี้ เป็นต้น
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) วัด มกุฏกษัตริยาราม ทรงพรรณนาขยายความเรื่อง ความ เคารพ และ ความประพฤติถ่อมตน ไม่เย่อหยิ่ง ในคารวาทิมังคลกถา ไว้ดังนี้
“ความเคารพ นั้น ได้แก่ กิริยาอาการที่ยกย่องเชิดชูซึ่งบุคคล หรือสิ่งที่ควรยกย่องเชิดชู อันเป็นอาการตรงกันข้ามกับความดูหมิ่นเหยียดหยาม เช่น การไหว้ การกราบ การนบนอบอ่อนน้อม การต้อนรับ การสำรวมกิริยาให้สงบ และความเอื้อเฟื้อเอาใจใส่ ซึ่งเป็นอาการที่แสดงให้เห็นน้ำใจว่าตั้งใจยกย่องเชิดชูให้สมแก่ฐานะ
ความเคารพนี้เป็นคุณสมบัติของหมู่ชนที่เจริญ ดังจะเห็นได้ในหมู่ชนที่เจริญแล้ว ย่อมมีความเคารพกันเป็นระเบียบ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในโลก หาบุคคลผู้มีคุณธรรมเสมอพระองค์ไม่ได้เลย กระนั้นก็ยังทรงเคารพในธรรมที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว ด้วยทรงเห็นว่า ความไม่มีที่เคารพเชื่อถือเป็นความลำบาก ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ความเคารพเป็นคุณธรรมที่จำเป็นยิ่งสำหรับโลก คือประชุมชน ในชุมนุมใดที่ไม่มีความเคารพ ไม่ควรส้องเสพ ชุมนุมนั้น เพราะไม่ใช่สถานที่มีความเจริญ
สิ่งที่ควรเคารพนั้น โดยย่อมี ๒ คือ บุคคล และ ธรรม
บุคคลที่ควรเคารพนั้นได้แก่ผู้ใหญ่ คือผู้เจริญกว่าโดยคุณความดี โดยวัยอายุ และโดยชาติกำเนิดสูง เช่นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ครู อาจารย์ มารดาบิดา ญาติผู้ใหญ่ พระมหากษัตริย์ ตลอดถึงพระราชวงศ์
ธรรม ที่ควรเคารพนั้นจำแนกเป็น ๒ คือ คุณความดี ๑ หน้าที่ ๑
ผู้ใดรู้จักบุคคลและธรรมที่ควรเคารพ แล้วปฏิบัติตนเป็น คนมีสัมมานะคารวะตามสมควรแก่บุคคลและธรรมนั้นๆย่อมเป็นผู้งดงามด้วยกิริยามารยาท เป็นที่รักของผู้ใหญ่ เป็นที่สรรเสริญของบัณฑิต และย่อมบรรลุความเจริญ เช่นบุตรผู้มีความเคารพอ่อนน้อมไหว้กราบบิดามารดาของตน เชื่อฟังคำสอนของท่าน ประพฤติตามโดยเคารพทั้งต่อหน้าและลับหลัง ก็ย่อมเป็นเหตุให้บิดามารดารักใคร่เมตตากรุณามาก และเป็นผู้มีความประพฤติดี อันเป็น ทางเจริญแก่ตนเองในภายหน้า
บุคคลผู้นับถือพระพุทธศาสนา มีความเคารพนับถือบูชาในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ด้วยน้ำใจเลื่อมใส เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์ และปฏิบัติตามธรรมคือพระโอวาทที่พระองค์ประทานไว้ เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต ปฏิบัติดีตามจริยาของพระสงฆ์ ย่อมเป็นผู้เจริญด้วยคุณธรรม มีศีลเป็นต้น ทำตนให้บริสุทธิ์สะอาดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ เช่นนี้ ย่อมได้ความสุขสงบและความเย็นใจ เพราะความปฏิบัติบริสุทธิ์ของตนเอง
คุณความดีนั้น ได้แก่ความสุจริตและความเที่ยงตรง เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเคารพอย่างยิ่ง
บุคคลผู้เคารพต่อความสุจริต ย่อมเป็นผู้มีความละอาย ใจ ไม่กล้าฝ่าฝืนประพฤติละเมิด ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
ผู้เคารพต่อความเที่ยงตรง ย่อมเป็นผู้เที่ยงธรรมในหน้าที่ ไม่ประพฤติลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความกลัว เพราะความเขลา เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเป็นผู้เจริญด้วยความดี เป็นที่ไว้วางใจของผู้อื่น การงาน ที่ทำย่อมปราศจากโทษ เป็นไปเพื่อความเจริญแก่ตนแก่ หมู่
ความเคารพต่อสุจริตธรรม และความเที่ยงตรงนี้ เป็นยอดของความเคารพ เป็นหลักธรรมของผู้เป็นประมุข แห่งหมู่ชน
หน้าที่นั้น ได้แก่ กิจการที่รับมอบหมายให้ทำ บุคคลผู้ มีความเคารพต่อหน้าที่ของตน ตั้งใจกระทำให้บริบูรณ์ไม่ บกพร่อง ผู้เคารพต่อหน้าที่ของผู้อื่น โดยให้ความสะดวก แก่เขา เพื่อทำหน้าที่ให้สำเร็จโดยชอบ คือผู้ใหญ่กับผู้น้อย หรือผู้เสมอกัน ต่างเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ของกันและกัน ด้วยเห็นว่ามีความสำคัญเนื่องกันและเท่ากัน ที่จะต้องให้สำเร็จด้วยกัน ไม่ดูดายในหน้าที่ของกัน และไม่ขัดขวางผู้ปฏิบัติ เช่นนี้แล เรียกว่า เคารพต่อหน้าที่ของตน และของท่าน
แม้เป็นผู้ใหญ่ก็ต้องรู้จักเคารพต่อหน้าที่ของผู้น้อย ไม่ควรดูหมิ่น เห็นว่าตำแหน่งหน้าที่เล็กน้อยไม่สำคัญ เพราะหน้าที่ทั้งหลายย่อมเนื่องถึงกัน ถ้าส่วนน้อยไม่สะดวก ก็ย่อมถ่วงส่วนใหญ่ให้ล่าช้าลงตามกัน ถ้าส่วนน้อยสะดวก ส่วนใหญ่ก็สำเร็จรวดเร็วทันประสงค์
ความเจริญก้าวหน้าของหมู่ชนเป็นผลที่สำเร็จมาแต่กิจการ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประกอบ กิจการนั้นๆ เคารพปฏิบัติหน้าที่ของตน ของท่าน โดยความพร้อมเพรียงแล้ว ก็เจริญ เร็ว ถ้าขาดความเคารพต่อหน้าที่เสียแล้ว ก็ไม่เจริญ หรือเจริญล่าช้า เพราะฉะนั้น ความเคารพ ต่อหน้าที่ จึงจัดว่าเป็นทางเจริญประการหนึ่ง
อนึ่ง ความเคารพ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคี พร้อมเพรียงกัน เพราะฉะนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในอปริหานิยธรรมสูตรทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่าย คฤหัสถ์ มีใจความว่า ภิกษุทั้งหลายยังสักการะนับถือบูชา ภิกษุผู้เป็นเถระ บวชมานาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำของหมู่ จักเชื่อฟังถ้อยคำของท่านอยู่เพียงไร ก็พึงหวังความเจริญได้ ไม่มีเสื่อม
ในฝ่ายคฤหัสถ์เล่า ถ้ายังเคารพท่านผู้ใหญ่โดยอายุ โดยคุณความดี โดยตำแหน่งหน้าที่ อยู่เพียงไร ก็พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียวกัน โดยนัยนี้ ในทางปกครอง ลูกเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ศิษย์เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ทหารเคารพเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเหนือตน พลเมืองเคารพกฎหมายบ้านเมือง และพระสงฆ์เคารพพระธรรมวินัยของพระศาสดา ไม่ละเมิด ย่อมเป็นทางเจริญแก่ตัวเองและวงศ์ตระกูลหมู่คณะ แก่ชาติและพระศาสนา
เพราะฉะนั้น ความเคารพ จึงจัดว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ประการหนึ่ง
ความไม่เย่อหยิ่งนั้น ได้แก่ความประพฤติอ่อนน้อมและ อ่อนโยนไม่ถือตัว ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น จัดว่าเป็นมงคล เพราะทำบุคคลผู้ไม่เย่อหยิ่งให้เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นมีเมตตากรุณา หวังความสุขความเจริญให้ ผู้ใดเป็นที่ รักของชนมาก ผู้นั้นย่อมได้รับความสะดวกในกิจการทั้งปวง นำตนไปสู่ความเจริญด้วยอิสริยยศและบริวารสมบัติโดยสวัสดี
ส่วนความเย่อหยิ่ง ย่อมให้ผลตรงข้าม เป็นทางเสื่อม คือเสื่อมความรักความนับถือ เสื่อมจากญาติมิตร และทรัพย์ยศ เหตุที่ให้เกิดความเย่อหยิ่งนั้น ได้แก่ชาติตระกูล และทรัพย์ เป็นต้น เพราะนั้น พระทศพลจึงตรัสว่า
ชาติถทฺโธ ธนถทฺโธโคตฺตถทฺโธ จ โย นโร
สญฺาติมติมญฺเญติ ตํ ปราภวโต มุขํ
นรชนใดหยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะทรัพย์ และหยิ่งเพราะโคตร ย่อมดูหมิ่นญาติของตนเอง ความหยิ่งนั้นเป็นทางของผู้เสื่อม ดังนี้
เพราะฉะนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติและทรัพย์เป็นต้น จึงควรระวัง เพราะชาติและทรัพย์เป็นต้น เป็นเหตุให้ลืมตน เกิดความเย่อหยิ่งได้
ความไม่เย่อหยิ่งย่อมเป็นทางเจริญดังกล่าวแล้ว จึงจัดว่าเป็นมงคลอันสูงสุดประการหนึ่ง....”
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) ทรงเน้นถึงความสำคัญของความเคารพ ในการบรรยาย เรื่อง หลักแห่งความเป็นชาติไว้ดังนี้
“....ขนบธรรมเนียมที่ดีอันเป็นประเพณีของชาติไทย ที่มีมาแต่อดีตกาลนั้นมากมาย จะยกตัวอย่างที่เป็นข้อสำคัญ เช่น ขนบธรรมเนียมการแสดงความนับถือ หรือความเคารพ ขนบธรรมเนียมในการช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนบ้าน ขนบธรรมเนียมในการยึดเหนี่ยวน้ำใจให้รักใคร่ มีไมตรีกัน ในระหว่างเพื่อนบ้าน ขนบธรรมเนียมในการเล่นตรุษสงกรานต์ เพื่อความรื่นเริง เหล่านี้ล้วนเป็นของดี เป็นเครื่องสมานสามัคคีทั้งนั้น ซึ่งในบัดนี้มักจะจางหายไปเสียมาก
....ความเคารพกัน ได้แก่ การแสดงอาการนบนอบอ่อนน้อมต่อกัน ในระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ผู้เสมอกัน เมื่อ ผู้น้อยทำความเคารพต่อผู้ใหญ่ ไม่แสดงอาการกระด้าง เย่อหยิ่ง ก็เป็นเหตุให้ผู้ใหญ่รักใคร่เอ็นดูกรุณาปราณีหวังความเจริญแก่ผู้น้อย เช่นให้พรให้อายุยืน เป็นต้น ฝ่ายผู้ ใหญ่ เมื่อแสดงอาการอ่อนน้อมต่อผู้น้อย ด้วยหน้าตายิ้มแย้ม ทักทายปราศรัย หรือรับไหว้ ไม่แสดงอาการเฉยเมย ไม่เอาใจใส่ ก็เป็นเหตุให้ผู้น้อยรักใคร่นับถือ ไม่เบื่อหน่ายในการที่จะทำความเคารพ คนเสมอกัน ชั้นเดียวกันแสดงอาการเคารพต่อกัน ก็เป็นเหตุให้รักใคร่สนิทสนมกัน เพราะฉะนั้น ความเคารพ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ยึดเหนี่ยวน้ำใจคนให้สนิทสนมกลมเกลียวกันได้ทุกชั้น
ขนบธรรมเนียมในการแสดงความเคารพของชาติไทย ที่ได้ถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีสืบมา ที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ก็ คือ การไหว้ และการกราบ ....
นอกจากการไหว้และการกราบแล้ว ธรรมเนียมไทยเรายังมีอาการแสดงความเคารพอีกหลายอย่าง เท่าที่นึกรวบรวมได้คือ
๑. สำรวมกายวาจา ไม่คะนอง ต่อหน้าผู้ที่เคารพ
๒. นั่งหรือยืนโดยเรียบร้อย เมื่ออยู่ต่อหน้า
๓. ไม่นั่งสูงกว่า
๔. ไม่ยืนค้ำศีรษะหรือข้ามกาย
๕. ไม่เอื้อในที่สูง
๖. ไม่เหยียดเท้าให้
ส่วนธรรมเนียมการเคารพของไทย อันเนื่องด้วยพระ พุทธศาสนาที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในหมู่ชนที่มีการศึกษาดีแล้ว มีอยู่ ๔ ประการคือ
๑. ลุกขึ้นยืนรับ
๒. หลีกทางให้
๓. ให้ที่นั่ง
๔. ไหว้หรือกราบ ในราชการใช้คำนับ
ในพระพุทธศาสนา ถือการยืนเป็นการเคารพ เช่น เห็นผู้ใหญ่มา ลุกขึ้นยืนแสดงความเคารพท่าน ใน ๔ ประการนี้ เลือกใช้ตามสมควรแก่โอกาส มิใช่ใช้พร้อมกันทั้ง ๔ อย่าง ในคราวเดียว
ระเบียบแบบแผนแห่งการเคารพนบนอบที่มีอยู่คู่กับ ชาติ เป็นเครื่องวัดภูมิชั้นแห่งความเจริญของชาติ เพราะชาติเจริญแล้วทั้งหลาย ย่อมมีแบบแผนแห่งการเคารพนบนอบตั้งไว้เป็นระเบียบ และนำสืบกันมาด้วยการปฏิบัติ โดยเคร่งครัด เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องช่วยกันรักษา ไม่ปล่อยไปตามยถากรรม....”
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 95 ต.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)