พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสาโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้อธิบายเรื่องการเคารพในพระธรรม ในพระธรรมเทศนา คารวาทิกถา พอสรุปได้ดังนี้
“...คารวาทิกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภถึงความเคารพในพระธรรมเป็นข้อใหญ่ ใจความสำคัญเรื่องนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆพระองค์ ย่อมเป็นแบบเดียวกันหมด ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าที่จะเคารพสิ่งอื่นไม่มี นอกจากพระธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าเคารพพระธรรมอย่างเดียว คือ เมื่อได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ตั้งพระทัยแน่แน่ว สิ่งอื่นนอกจากพระธรรมที่ตถาคตจะเคารพนั้นไม่มี ประเพณีพระพุทธเจ้าแต่ก่อนๆ ก็แบบเดียวกัน เมื่อได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ก็เคารพพระธรรมอย่างเดียวเท่านั้น
การเคารพต่อพระธรรมเราต้องเข้าใจเสียให้ชัด วันนี้จะชี้แจงแสดงให้แจ่มแจ้งว่า การเคารพทำท่าไหนอย่างไรกัน
ความเคารพของเราท่านทั้งหลายในบัดนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ เมื่อเด็กๆ เล็กๆ ก็เคารพต่อพ่อแม่ เพราะได้นมจากพ่อแม่เลี้ยงอัตภาพให้เป็นไป หายหิว เคารพต่อพ่อแม่ก็เพื่อจะกินนมเท่านั้นเอง ยังไม่รู้เรื่องเดียงสาอันใด เคารพแม่จะรับนมเท่านั้น ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ อยากได้ผ้าเครื่องนุ่งห่ม พ่อแม่ให้ ก็เคารพพ่อแม่อีก เมื่อพ่อแม่ให้ผ้าเครื่องนุ่งห่มก็เคารพ เพราะอยากได้ผ้านุ่งห่มเท่านั้นจึงได้เคารพ
ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับขึ้นไป การอยากได้มันก็มากออกไป อาหารเครื่องเลี้ยงท้องอีก อยากได้อาหารเครื่องเลี้ยงท้องหิว ได้จากพ่อแม่ หิวเวลาใดก็เคารพพ่อแม่อีก เคารพเพื่อจะกินอาหารเท่านั้น ไม่ได้ เคารพเรื่องอื่น แล้วก็ต่อมาจะต้องการสิ่งใดเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ ต่างว่าเด็กหญิงเด็กชายก็มีนิสัยดี อยากจะเล่าเรียนศึกษา ก็ต้องอ้อนวอนพ่อแม่ เคารพพ่อแม่อีก เพื่อจะได้ทุนค่าเล่าเรียนศึกษา เคารพเท่านั้นไม่ได้เคารพเรื่องอื่น
ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ เมื่อได้เล่าเรียนศึกษาสำเร็จแล้ว จะครองเรือนจะทำการสมรสก็ต้องเคารพพ่อแม่อีก เอาเงินเอาทองจากพ่อแม่ เคารพเพื่อ จะเอาเงินเอาทองไปแต่งงานเท่านั้น ไม่ได้เคารพเรื่องอื่น เมื่อต้องภัยได้ทุกข์ใดๆ ก็คิดถึงพ่อแม่ เพราะจะให้พ่อแม่ช่วยเหลือแก้ไข เคารพพ่อแม่ก็เพื่อจะให้พ่อแม่ช่วยแก้ไขเพื่อให้ตัวเป็นสุขสบายเท่านั้น
การเคารพเหล่านี้พระพุทธเจ้าก็ได้ทำมาแล้วแต่เด็กๆมาเราก็ได้ทำมาแล้วแต่เด็กๆ การเคารพเหล่านี้ เคารพอย่างเด็กๆ ปราศจากปัญญา
เคารพที่มีปัญญากัน พ่อบ้านก็เคารพแม่บ้าน แม่บ้านก็เคารพพ่อบ้าน เพื่อต้องการให้ความสุขซึ่งกันและกัน เคารพต้องการให้ความสุขนั่นเอง ต้องการเอา ความสุขนั่นเอง หรือต้องภัยได้ทุกข์ใดๆ ไม่มีใครจะช่วยเหลือ พ่อบ้านก็คิดถึงแม่บ้าน แม่บ้านก็คิดถึงพ่อ บ้าน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้าช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ได้ ก็ต้องเลิกกัน เลิกเคารพกัน เลิกนับถือกัน ต้องแยกจากกัน นี่ความเคารพกัน เป็นอย่างนี้
การเคารพเหล่านี้เป็นการเคารพสามัญทั่วโลกเป็นอยู่อย่างนี้ การเคารพของพระพุทธเจ้า ที่ว่าท่านเป็นผู้ เคารพในพระสัทธรรม การเคารพทั้งหลายที่ท่านได้ผ่านมาแล้วมากน้อยเท่าใด นอกจากเคารพในธรรมแล้วไม่ประเสริฐเลิศกว่า นี่ประเสริฐเลิศกว่า ท่านถึงปล่อยความเคารพ วางความเคารพอื่นเสียทั้งหมด เคารพในพระสัทธรรมทีเดียว
การเคารพในพระสัทธรรม ท่านก็แนะนำ วางตำรับตำราไว้ให้เป็นเนติแบบแผนของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในยุคนี้และตั้งแต่ครั้งพุทธกาลนั้นมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ และต่อไปในภายหน้า...
คำว่า เคารพสัทธรรม เป็นข้อที่ลึกล้ำนัก คำว่า เคารพ ทำกันอย่างไร ทำกันท่าไหน ทำกันไม่ถูก ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทำไม่ถูก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย พระพุทธเจ้ากว่าจะเคารพพระสัทธรรมถูก ต้องสร้างบารมี ๔ อสงไขยแสนมหากัป ๘ อสงไขยแสน มหากัป ๑๖ อสงไขยแสนมหากัป กว่าจะทำความเคารพในพระสัทธรรมถูก กว่าจะปลงใจลงไปเคารพในพระสัทธรรมอย่างเดียว ไม่เคารพอื่นต่อไป กว่าจะถูกลงไปดังนี้ ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย
บัดนี้เรามาประสบพบพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าบอกแล้ว เราเชื่อพระพุทธเจ้ากันละว่า จะเคารพธรรมตามเสด็จพระพุทธเจ้า เหมือนพระพุทธเจ้า แล้วท่านย้ำไว้ในท้ายพระสูตรนี้ว่า บุคคลผู้รักตน ผู้มุ่งหวังประโยชน์แก่ตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพสัทธรรม ถ้าเคารพสัทธรรม ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย พระพุทธเจ้าท่านเคารพพระสัทธรรม ท่านก็เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ในชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล เป็นใหญ่กว่าหมดทั้งนั้น ท่านเคารพสัทธรรม ถ้าไม่เคารพสัทธรรมละก็ ด้อย เป็นใหญ่กับเขาไม่ได้ ถ้าเคารพสัทธรรมละก็ ไม่ด้อย เป็นใหญ่กับเขาได้ เราจะต้องรู้จักพระสัทธรรมและรู้จักท่าเคารพ นี้เป็นข้อสำคัญ
พระสัทธรรมคืออะไร เราจะเคารพ เราจะทำท่าไหน ข้อนี้แหละเป็นของยากนักล่ะ...
...ที่พระพุทธเจ้าท่านเคารพพระสัทธรรมท่านทำ ท่าไหนล่ะ ทีนี้ถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านจะทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเคารพพระสัทธรรม เราจะเคารพบ้าง จะทำเป็นตัวอย่าง เอาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เราจะเคารพบ้าง พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ทำ ท่าไหน ท่านเอาใจของท่านนั่นแหละ...สอดส่องมองดูทีเดียวว่า ประเพณีของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแล้วนับถืออะไร เคารพอะไร เคารพอะไรบ้าง ไปดูหมด ไปดูตลอดหมด ทุกพระองค์เหมือนกันหมด แบบเดียวกันหมด ใจของท่านมาติดอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านี้ทั้งนั้น
ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า กำเนิดดวงธรรมที่ทำให้พระพุทธเจ้า หยุดอยู่นี้เอง ติดแน่นไม่ถอยถอนล่ะ อินฺทขีลูปโม เหมือนอย่างกับเสาเขื่อน ปักอยู่ในน้ำ ถ้าลมพัดมาแต่ทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ไม่เขยื้อน หรือไม่ขยับ ปพฺพตูปโม เหมือนอย่างภูเขา ลมพัดมา แต่ทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ใจไม่เขยื้อน แน่นเป๋งเชียว แน่นกั๊กทีเดียว นั่นแหละใจ แน่นอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านั่นแหละ นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน
ท่านเป็นผู้เคารพพระสัทธรรม เมื่อท่านเห็นเช่นนั้น บัดนี้จะเคารพใคร ไม่มีแล้วที่เราจะเคารพ ในมนุษย์โลกทั้งหมดต่ำกว่าเราทั้งนั้น ในเทวโลก พรหมโลก อรูปพรหมต่ำกว่าเราทั้งนั้น ตลอดไม่มีแล้วในภพทั้ง ๓ จะหาเสมอเราไม่มี สูงกว่าเราไม่มี เราสูงกว่าทั้งนั้น ที่เป็น อย่างเรา ไม่มี เราสูงกว่าทั้งนั้น พระองค์ก็ตั้งพระทัย วางพระทัยหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่นเอง ที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั้นนั่นแหละ กลางดวงอย่าง นั้น และสมด้วยบาลีว่า เย จ สมฺพุทฺธา อตีตา พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ในอดีตที่เป็นไปล่วงแล้วมากน้อยเท่าไรไม่ว่า เย จ พุทฺธา อนาคตา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดซึ่งยังความโศกของมหาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ นี่พระสิทธัตถกุมารองค์นี้แหละ สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพพระสัทธรรมทั้งสิ้นแบบเดียวกัน ใจหยุดอยู่แบบเดียวกันหมด ใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านั่นแหละ ไม่ไปอื่นเลยแต่นิดหนึ่ง ติดแน่นเลยทีเดียว ไม่เผลอทีเดียว เรียกว่าท่านไม่เผลอจากดวงธรรมนั้นทีเดียว นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน เคารพสัทธรรม
เมื่อท่านเคารพสัทธรรมแน่นหนาอยู่อย่างขนาดนี้แล้ว ไม่คลาดเคลื่อน ท่านจึงได้เตือนพวกเราว่า วิหาสุํ พระพุทธเจ้ามากน้อยเท่าใดที่มีอยู่แล้วเป็นอดีต วิหรนฺติ จ พระพุทธเจ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ อถาปิ วิหริสฺสนฺติ อนึ่ง พระพุทธเจ้าที่จะมีในอนาคตกาลภายภาค เบื้องหน้าต่อไป เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ข้อนี้เป็นธรรมดา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายต้องใจติดอย่างนี้แบบเดียว กัน....
...ตั้งแต่เป็นพระพุทธเจ้าแล้วไม่ได้ถอยจากการหยุดเลย กลางของกลางอย่างนี้เรื่อยไป ท่านจึงถึงซึ่งความเป็นใหญ่ เราต้องไหว้บูชาขนาดนี้ เราก็ต้องเดินแบบนี้ซิ เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพุทธศาสนา เดินแบบนี้ไม่ได้ ก็ใช้ไม่ได้ ไม่ถูก ไม่ถูกเป้าหมายใจดำ ไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่นับถือพระพุทธเจ้า ไม่บูชาพระพุทธเจ้า
ท่านถึงได้กล่าวเป็นบทไว้ว่า คำที่เรียกว่าธรรม คือ ทำดี ไม่ใช่ทำชั่ว ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้ว่า อุโภ สภาวา สภาพทั้งสอง ธมฺโม จ คือธรรมด้วย อธมฺโม จ คือไม่ใช่ธรรมด้วย น สมวิปากิโน มีผลไม่เสมอกัน หามีผลเสมอกันไม่ อธมฺโม นิรยํ เนติ อธรรมที่ไม่ใช่ธรรม ย่อมนำสัตว์ไปสู่นรก ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ สิ่งที่เป็นธรรม สภาพที่เป็นธรรม ยังสัตว์ให้ถึงซึ่งสุคติ ไม่เหมือน กันอย่างนี้
เมื่อรู้จักสภาพที่ไม่เป็นธรรม ถ้าว่าเราอยู่เสียกับธรรมเช่นนี้แล้ว สภาพที่ไม่เป็นธรรมก็ไม่เข้ามาเจือปนได้ ไม่สามารถทำอะไรกับเราได้ เราอยู่เสียกับธรรมเรื่อย ไป ไม่ออกจากธรรม ไม่ถอนจากธรรมทีเดียว สภาพที่ไม่ใช่ธรรมก็มาทำอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นบาปอกุศล ที่เป็นชั่วร้ายมาทำอะไรไม่ได้ เราอยู่กับธรรมเรื่อยไป อยู่กับฝ่ายดีฝ่ายเดียว เมื่ออยู่ฝ่ายดีฝ่ายเดียว แตกกายทำลายขันธ์ กายก็ไม่มีเสีย วาจาก็ไม่มีเสีย ใจก็ไม่มีเสีย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า นรกไม่มีทีเดียว นี่ขั้นต่ำไม่ไปนรกทีเดียว เมื่อรู้จักหลักอันนี้ ต้องปฏิบัติให้ถูกส่วน ให้ถูกในธรรมอยู่เสมอ...
เรื่องนี้พระจอมไตรเมื่อมีพระชนม์อยู่ก็สอนอย่างนั้น ถึงแม้จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว โอวาทของพระองค์ก็ยังทรงปรากฏอยู่ว่า อุกาส โย ปน ภิกฺขุเราขอโอกาส ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยรูปใด ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติธรรมตามธรรม อันได้แก่ ใจหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว ก็ให้เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-กายรูปพรหม ละเอียด กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด กายธรรม-กายธรรมละเอียด โสดา-โสดาละเอียด สกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด อรหัต-อรหัตละเอียด ก็ปฏิบัติตามธรรมอย่างนี้ ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติตามธรรมอย่างนี้ สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติชอบยิ่ง ให้ชอบหนักขึ้นไป ยิ่งหนักขึ้นไปไม่ถอยกลับ เหมือนพระบรมศาสดาดังนั้น ให้เป็นตัวอย่าง ดังนั้น อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรมไม่ขาดสาย อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรม ไม่ให้หลีกเลี่ยง ไม่ให้หลีกเลี่ยงจาก ธรรมไปได้ ให้ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ตลอดไป นี่เรียกว่า อนุธมฺมจารี โส ภิกฺขุ ผู้ศึกษาในธรรมวินัยนั้น สกฺกโรติ ได้ชื่อว่าสักการะ ครุกโรติ ได้ชื่อว่าเคารพ มาเนติ ได้ชื่อว่านับถือ ปูเชติ ได้ชื่อว่าบูชา ตถาคตํ ซึ่งเราผู้ตถาคต ปรมาย ปูชาย ปฏิปตฺติปูชาย ด้วยปฏิบัติบูชา ด้วยการบูชาเป็นอย่างยิ่ง นี่ประสงค์อย่างนี้ ให้ได้จริงอย่างนี้
ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ละก็นั่นแหละ เคารพพระสัทธรรมแท้ๆ แน่วแน่ล่ะ คนนั้นน่ะเป็นอายุพระศาสนา เป็นกำลังพระศาสนาทีเดียว เป็นตัวอย่างอันดีของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในยุคนี้และต่อไปในภายหน้าทีเดียว ได้ชื่อว่าทำตนของตนให้เป็นกระสวน เป็นเนติแบบแผนทีเดียว ไม่เสียทีที่พ่อแม่อาบน้ำ ป้อนข้าว อุ้มท้องมา ไม่เสียทีเปล่า แม้จะทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าก็ไม่หนักเศียรเกล้าเปล่า จะอาบน้ำป้อนข้าว ก็ไม่เหนื่อยยากลำบากเปล่า ได้ผลจริงจังอย่างนี้ เหตุนี้เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต อุบาสกอุบาสิกา เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว อย่าเอาใจไปจรดอื่น ให้จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ขั้นต้น จนกระทั่งถึงพระอรหัตขั้นสุดท้าย ๑๘ กายนี้ แล้วก็หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต อย่าถอยกลับ นิ่งแน่นอยู่นั่น นั่นแหละถูกเป้าหมายใจดำทางพระพุทธศาสนา...”
ในภาษาบาลี ความเคารพ จะใช้ศัพท์ว่า คารวะ ดังนั้นจะขอนำคำนิยามของ คารวะ ตามที่ตรวจพบในภาษาไทยมาแสดงไว้ดังนี้
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้คำนิยาม คารวะ ไว้ดังนี้
คารวะ [คาระ-] น. ความเคารพ, ความนับถือ. ก.แสดงความเคารพ. (ป.)
พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ให้คำนิยาม คารวะ ไว้ดังนี้
คารวะ คำแปล [คา-ระ-วะ] (มค. คารว) น. การแสดงความเคารพ, ความนับถือ. คารวะ ๖ น. ที่ควรเคารพ ๖ ประการมี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระ-สงฆเจ้า การศึกษา ความไม่ประมาท และการปฏิสันถารต้อนรับปราศรัย.
พจนานุกรรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) ให้คำนิยาม คารวะ ไว้ดังนี้
คารวะ แปลว่า ความเคารพ, ความตระหนัก, ความเชิดชูให้ลอยเด่น, ความเอื้อเฟื้อ. นัยว่ามาจากคำว่า ครุ แผลงเป็น คารวะ และ เคารพ
คารวะ หมายถึง การแสดงเคารพนับถือด้วยความตระหนักในคุณความดี นอบน้อม ยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง ตลอดถึงความเอื้อเฟื้อ ยินดีพอใจที่จะอนุวัตรปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ เรียกเต็มว่า คารวธรรม
ในพระพุทธศาสนา กำหนดบุคคลและสิ่งที่ควรเคารพ ควรเอื้อเฟื้อ ไว้ ๖ อย่าง คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา อัปปมาทะ และ ปฏิสันถาร
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้คำนิยาม คารวธรรม ไว้ดังนี้
คารวธรรม ๖ ธรรมคือความเคารพ การถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพึงใส่ใจและปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจังมี ๖ ประการ คือ ๑.สัตถุคารวตา ความเคารพในพระศาสดา หรือพุทธคารวตา ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒.ธัมมคารวตา ความเคารพในพระธรรม ๓.สังฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์ ๔.สิกขาคารวตา ความเคารพในการศึกษา ๕.อัปปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท ๖.ปฏิสันถารคารวตา ความเคารพในการปฏิสันถาร
เมื่อพิจารณาความหมายของ เคารพ-คารวะ ย่อมพบว่ามีความหมายเหมือนกัน แต่ในการใช้ภาษาไทย มีข้อน่าพิจารณาคือ การแสดงความเคารพมักจะนำมาใช้ในกรณีที่เกี่ยวกับสิ่งสักการะสูงสุดของชีวิต อันได้แก่บุรพการีชน เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ พระพุทธเจ้า และผู้มีพระคุณต่อตนเอง หรือสิ่งของ เช่น พระพุทธรูป ธงชาติ เป็นต้น การแสดงการคารวะ มักใช้ในกรณีที่เกี่ยวกับบุคคลที่เสมอกันโดยวัย โดยตำแหน่งหน้าที่ นี่ก็คือ ลักษณะอันเป็นเสน่ห์ของภาษาไทย ที่ควรจะศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อให้การใช้ภาษาไทยได้เป็นไปอย่างงดงาม สามารถแสดงภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดของบรรพชน อันมีพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นปฐม ให้ดำรงอยู่สืบไป นานเท่านาน
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 93 ส.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
“...คารวาทิกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภถึงความเคารพในพระธรรมเป็นข้อใหญ่ ใจความสำคัญเรื่องนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆพระองค์ ย่อมเป็นแบบเดียวกันหมด ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าที่จะเคารพสิ่งอื่นไม่มี นอกจากพระธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าเคารพพระธรรมอย่างเดียว คือ เมื่อได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ตั้งพระทัยแน่แน่ว สิ่งอื่นนอกจากพระธรรมที่ตถาคตจะเคารพนั้นไม่มี ประเพณีพระพุทธเจ้าแต่ก่อนๆ ก็แบบเดียวกัน เมื่อได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ก็เคารพพระธรรมอย่างเดียวเท่านั้น
การเคารพต่อพระธรรมเราต้องเข้าใจเสียให้ชัด วันนี้จะชี้แจงแสดงให้แจ่มแจ้งว่า การเคารพทำท่าไหนอย่างไรกัน
ความเคารพของเราท่านทั้งหลายในบัดนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ เมื่อเด็กๆ เล็กๆ ก็เคารพต่อพ่อแม่ เพราะได้นมจากพ่อแม่เลี้ยงอัตภาพให้เป็นไป หายหิว เคารพต่อพ่อแม่ก็เพื่อจะกินนมเท่านั้นเอง ยังไม่รู้เรื่องเดียงสาอันใด เคารพแม่จะรับนมเท่านั้น ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ อยากได้ผ้าเครื่องนุ่งห่ม พ่อแม่ให้ ก็เคารพพ่อแม่อีก เมื่อพ่อแม่ให้ผ้าเครื่องนุ่งห่มก็เคารพ เพราะอยากได้ผ้านุ่งห่มเท่านั้นจึงได้เคารพ
ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับขึ้นไป การอยากได้มันก็มากออกไป อาหารเครื่องเลี้ยงท้องอีก อยากได้อาหารเครื่องเลี้ยงท้องหิว ได้จากพ่อแม่ หิวเวลาใดก็เคารพพ่อแม่อีก เคารพเพื่อจะกินอาหารเท่านั้น ไม่ได้ เคารพเรื่องอื่น แล้วก็ต่อมาจะต้องการสิ่งใดเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ ต่างว่าเด็กหญิงเด็กชายก็มีนิสัยดี อยากจะเล่าเรียนศึกษา ก็ต้องอ้อนวอนพ่อแม่ เคารพพ่อแม่อีก เพื่อจะได้ทุนค่าเล่าเรียนศึกษา เคารพเท่านั้นไม่ได้เคารพเรื่องอื่น
ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ เมื่อได้เล่าเรียนศึกษาสำเร็จแล้ว จะครองเรือนจะทำการสมรสก็ต้องเคารพพ่อแม่อีก เอาเงินเอาทองจากพ่อแม่ เคารพเพื่อ จะเอาเงินเอาทองไปแต่งงานเท่านั้น ไม่ได้เคารพเรื่องอื่น เมื่อต้องภัยได้ทุกข์ใดๆ ก็คิดถึงพ่อแม่ เพราะจะให้พ่อแม่ช่วยเหลือแก้ไข เคารพพ่อแม่ก็เพื่อจะให้พ่อแม่ช่วยแก้ไขเพื่อให้ตัวเป็นสุขสบายเท่านั้น
การเคารพเหล่านี้พระพุทธเจ้าก็ได้ทำมาแล้วแต่เด็กๆมาเราก็ได้ทำมาแล้วแต่เด็กๆ การเคารพเหล่านี้ เคารพอย่างเด็กๆ ปราศจากปัญญา
เคารพที่มีปัญญากัน พ่อบ้านก็เคารพแม่บ้าน แม่บ้านก็เคารพพ่อบ้าน เพื่อต้องการให้ความสุขซึ่งกันและกัน เคารพต้องการให้ความสุขนั่นเอง ต้องการเอา ความสุขนั่นเอง หรือต้องภัยได้ทุกข์ใดๆ ไม่มีใครจะช่วยเหลือ พ่อบ้านก็คิดถึงแม่บ้าน แม่บ้านก็คิดถึงพ่อ บ้าน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้าช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ได้ ก็ต้องเลิกกัน เลิกเคารพกัน เลิกนับถือกัน ต้องแยกจากกัน นี่ความเคารพกัน เป็นอย่างนี้
การเคารพเหล่านี้เป็นการเคารพสามัญทั่วโลกเป็นอยู่อย่างนี้ การเคารพของพระพุทธเจ้า ที่ว่าท่านเป็นผู้ เคารพในพระสัทธรรม การเคารพทั้งหลายที่ท่านได้ผ่านมาแล้วมากน้อยเท่าใด นอกจากเคารพในธรรมแล้วไม่ประเสริฐเลิศกว่า นี่ประเสริฐเลิศกว่า ท่านถึงปล่อยความเคารพ วางความเคารพอื่นเสียทั้งหมด เคารพในพระสัทธรรมทีเดียว
การเคารพในพระสัทธรรม ท่านก็แนะนำ วางตำรับตำราไว้ให้เป็นเนติแบบแผนของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในยุคนี้และตั้งแต่ครั้งพุทธกาลนั้นมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ และต่อไปในภายหน้า...
คำว่า เคารพสัทธรรม เป็นข้อที่ลึกล้ำนัก คำว่า เคารพ ทำกันอย่างไร ทำกันท่าไหน ทำกันไม่ถูก ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทำไม่ถูก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย พระพุทธเจ้ากว่าจะเคารพพระสัทธรรมถูก ต้องสร้างบารมี ๔ อสงไขยแสนมหากัป ๘ อสงไขยแสน มหากัป ๑๖ อสงไขยแสนมหากัป กว่าจะทำความเคารพในพระสัทธรรมถูก กว่าจะปลงใจลงไปเคารพในพระสัทธรรมอย่างเดียว ไม่เคารพอื่นต่อไป กว่าจะถูกลงไปดังนี้ ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย
บัดนี้เรามาประสบพบพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าบอกแล้ว เราเชื่อพระพุทธเจ้ากันละว่า จะเคารพธรรมตามเสด็จพระพุทธเจ้า เหมือนพระพุทธเจ้า แล้วท่านย้ำไว้ในท้ายพระสูตรนี้ว่า บุคคลผู้รักตน ผู้มุ่งหวังประโยชน์แก่ตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพสัทธรรม ถ้าเคารพสัทธรรม ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย พระพุทธเจ้าท่านเคารพพระสัทธรรม ท่านก็เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ในชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล เป็นใหญ่กว่าหมดทั้งนั้น ท่านเคารพสัทธรรม ถ้าไม่เคารพสัทธรรมละก็ ด้อย เป็นใหญ่กับเขาไม่ได้ ถ้าเคารพสัทธรรมละก็ ไม่ด้อย เป็นใหญ่กับเขาได้ เราจะต้องรู้จักพระสัทธรรมและรู้จักท่าเคารพ นี้เป็นข้อสำคัญ
พระสัทธรรมคืออะไร เราจะเคารพ เราจะทำท่าไหน ข้อนี้แหละเป็นของยากนักล่ะ...
...ที่พระพุทธเจ้าท่านเคารพพระสัทธรรมท่านทำ ท่าไหนล่ะ ทีนี้ถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านจะทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเคารพพระสัทธรรม เราจะเคารพบ้าง จะทำเป็นตัวอย่าง เอาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เราจะเคารพบ้าง พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ทำ ท่าไหน ท่านเอาใจของท่านนั่นแหละ...สอดส่องมองดูทีเดียวว่า ประเพณีของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแล้วนับถืออะไร เคารพอะไร เคารพอะไรบ้าง ไปดูหมด ไปดูตลอดหมด ทุกพระองค์เหมือนกันหมด แบบเดียวกันหมด ใจของท่านมาติดอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านี้ทั้งนั้น
ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า กำเนิดดวงธรรมที่ทำให้พระพุทธเจ้า หยุดอยู่นี้เอง ติดแน่นไม่ถอยถอนล่ะ อินฺทขีลูปโม เหมือนอย่างกับเสาเขื่อน ปักอยู่ในน้ำ ถ้าลมพัดมาแต่ทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ไม่เขยื้อน หรือไม่ขยับ ปพฺพตูปโม เหมือนอย่างภูเขา ลมพัดมา แต่ทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ใจไม่เขยื้อน แน่นเป๋งเชียว แน่นกั๊กทีเดียว นั่นแหละใจ แน่นอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านั่นแหละ นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน
ท่านเป็นผู้เคารพพระสัทธรรม เมื่อท่านเห็นเช่นนั้น บัดนี้จะเคารพใคร ไม่มีแล้วที่เราจะเคารพ ในมนุษย์โลกทั้งหมดต่ำกว่าเราทั้งนั้น ในเทวโลก พรหมโลก อรูปพรหมต่ำกว่าเราทั้งนั้น ตลอดไม่มีแล้วในภพทั้ง ๓ จะหาเสมอเราไม่มี สูงกว่าเราไม่มี เราสูงกว่าทั้งนั้น ที่เป็น อย่างเรา ไม่มี เราสูงกว่าทั้งนั้น พระองค์ก็ตั้งพระทัย วางพระทัยหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่นเอง ที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั้นนั่นแหละ กลางดวงอย่าง นั้น และสมด้วยบาลีว่า เย จ สมฺพุทฺธา อตีตา พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ในอดีตที่เป็นไปล่วงแล้วมากน้อยเท่าไรไม่ว่า เย จ พุทฺธา อนาคตา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดซึ่งยังความโศกของมหาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ นี่พระสิทธัตถกุมารองค์นี้แหละ สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพพระสัทธรรมทั้งสิ้นแบบเดียวกัน ใจหยุดอยู่แบบเดียวกันหมด ใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านั่นแหละ ไม่ไปอื่นเลยแต่นิดหนึ่ง ติดแน่นเลยทีเดียว ไม่เผลอทีเดียว เรียกว่าท่านไม่เผลอจากดวงธรรมนั้นทีเดียว นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน เคารพสัทธรรม
เมื่อท่านเคารพสัทธรรมแน่นหนาอยู่อย่างขนาดนี้แล้ว ไม่คลาดเคลื่อน ท่านจึงได้เตือนพวกเราว่า วิหาสุํ พระพุทธเจ้ามากน้อยเท่าใดที่มีอยู่แล้วเป็นอดีต วิหรนฺติ จ พระพุทธเจ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ อถาปิ วิหริสฺสนฺติ อนึ่ง พระพุทธเจ้าที่จะมีในอนาคตกาลภายภาค เบื้องหน้าต่อไป เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ข้อนี้เป็นธรรมดา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายต้องใจติดอย่างนี้แบบเดียว กัน....
...ตั้งแต่เป็นพระพุทธเจ้าแล้วไม่ได้ถอยจากการหยุดเลย กลางของกลางอย่างนี้เรื่อยไป ท่านจึงถึงซึ่งความเป็นใหญ่ เราต้องไหว้บูชาขนาดนี้ เราก็ต้องเดินแบบนี้ซิ เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพุทธศาสนา เดินแบบนี้ไม่ได้ ก็ใช้ไม่ได้ ไม่ถูก ไม่ถูกเป้าหมายใจดำ ไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่นับถือพระพุทธเจ้า ไม่บูชาพระพุทธเจ้า
ท่านถึงได้กล่าวเป็นบทไว้ว่า คำที่เรียกว่าธรรม คือ ทำดี ไม่ใช่ทำชั่ว ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้ว่า อุโภ สภาวา สภาพทั้งสอง ธมฺโม จ คือธรรมด้วย อธมฺโม จ คือไม่ใช่ธรรมด้วย น สมวิปากิโน มีผลไม่เสมอกัน หามีผลเสมอกันไม่ อธมฺโม นิรยํ เนติ อธรรมที่ไม่ใช่ธรรม ย่อมนำสัตว์ไปสู่นรก ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ สิ่งที่เป็นธรรม สภาพที่เป็นธรรม ยังสัตว์ให้ถึงซึ่งสุคติ ไม่เหมือน กันอย่างนี้
เมื่อรู้จักสภาพที่ไม่เป็นธรรม ถ้าว่าเราอยู่เสียกับธรรมเช่นนี้แล้ว สภาพที่ไม่เป็นธรรมก็ไม่เข้ามาเจือปนได้ ไม่สามารถทำอะไรกับเราได้ เราอยู่เสียกับธรรมเรื่อย ไป ไม่ออกจากธรรม ไม่ถอนจากธรรมทีเดียว สภาพที่ไม่ใช่ธรรมก็มาทำอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นบาปอกุศล ที่เป็นชั่วร้ายมาทำอะไรไม่ได้ เราอยู่กับธรรมเรื่อยไป อยู่กับฝ่ายดีฝ่ายเดียว เมื่ออยู่ฝ่ายดีฝ่ายเดียว แตกกายทำลายขันธ์ กายก็ไม่มีเสีย วาจาก็ไม่มีเสีย ใจก็ไม่มีเสีย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า นรกไม่มีทีเดียว นี่ขั้นต่ำไม่ไปนรกทีเดียว เมื่อรู้จักหลักอันนี้ ต้องปฏิบัติให้ถูกส่วน ให้ถูกในธรรมอยู่เสมอ...
เรื่องนี้พระจอมไตรเมื่อมีพระชนม์อยู่ก็สอนอย่างนั้น ถึงแม้จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว โอวาทของพระองค์ก็ยังทรงปรากฏอยู่ว่า อุกาส โย ปน ภิกฺขุเราขอโอกาส ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยรูปใด ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติธรรมตามธรรม อันได้แก่ ใจหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว ก็ให้เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-กายรูปพรหม ละเอียด กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด กายธรรม-กายธรรมละเอียด โสดา-โสดาละเอียด สกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด อรหัต-อรหัตละเอียด ก็ปฏิบัติตามธรรมอย่างนี้ ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติตามธรรมอย่างนี้ สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติชอบยิ่ง ให้ชอบหนักขึ้นไป ยิ่งหนักขึ้นไปไม่ถอยกลับ เหมือนพระบรมศาสดาดังนั้น ให้เป็นตัวอย่าง ดังนั้น อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรมไม่ขาดสาย อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรม ไม่ให้หลีกเลี่ยง ไม่ให้หลีกเลี่ยงจาก ธรรมไปได้ ให้ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ตลอดไป นี่เรียกว่า อนุธมฺมจารี โส ภิกฺขุ ผู้ศึกษาในธรรมวินัยนั้น สกฺกโรติ ได้ชื่อว่าสักการะ ครุกโรติ ได้ชื่อว่าเคารพ มาเนติ ได้ชื่อว่านับถือ ปูเชติ ได้ชื่อว่าบูชา ตถาคตํ ซึ่งเราผู้ตถาคต ปรมาย ปูชาย ปฏิปตฺติปูชาย ด้วยปฏิบัติบูชา ด้วยการบูชาเป็นอย่างยิ่ง นี่ประสงค์อย่างนี้ ให้ได้จริงอย่างนี้
ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ละก็นั่นแหละ เคารพพระสัทธรรมแท้ๆ แน่วแน่ล่ะ คนนั้นน่ะเป็นอายุพระศาสนา เป็นกำลังพระศาสนาทีเดียว เป็นตัวอย่างอันดีของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในยุคนี้และต่อไปในภายหน้าทีเดียว ได้ชื่อว่าทำตนของตนให้เป็นกระสวน เป็นเนติแบบแผนทีเดียว ไม่เสียทีที่พ่อแม่อาบน้ำ ป้อนข้าว อุ้มท้องมา ไม่เสียทีเปล่า แม้จะทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าก็ไม่หนักเศียรเกล้าเปล่า จะอาบน้ำป้อนข้าว ก็ไม่เหนื่อยยากลำบากเปล่า ได้ผลจริงจังอย่างนี้ เหตุนี้เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต อุบาสกอุบาสิกา เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว อย่าเอาใจไปจรดอื่น ให้จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ขั้นต้น จนกระทั่งถึงพระอรหัตขั้นสุดท้าย ๑๘ กายนี้ แล้วก็หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต อย่าถอยกลับ นิ่งแน่นอยู่นั่น นั่นแหละถูกเป้าหมายใจดำทางพระพุทธศาสนา...”
ในภาษาบาลี ความเคารพ จะใช้ศัพท์ว่า คารวะ ดังนั้นจะขอนำคำนิยามของ คารวะ ตามที่ตรวจพบในภาษาไทยมาแสดงไว้ดังนี้
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้คำนิยาม คารวะ ไว้ดังนี้
คารวะ [คาระ-] น. ความเคารพ, ความนับถือ. ก.แสดงความเคารพ. (ป.)
พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ให้คำนิยาม คารวะ ไว้ดังนี้
คารวะ คำแปล [คา-ระ-วะ] (มค. คารว) น. การแสดงความเคารพ, ความนับถือ. คารวะ ๖ น. ที่ควรเคารพ ๖ ประการมี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระ-สงฆเจ้า การศึกษา ความไม่ประมาท และการปฏิสันถารต้อนรับปราศรัย.
พจนานุกรรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) ให้คำนิยาม คารวะ ไว้ดังนี้
คารวะ แปลว่า ความเคารพ, ความตระหนัก, ความเชิดชูให้ลอยเด่น, ความเอื้อเฟื้อ. นัยว่ามาจากคำว่า ครุ แผลงเป็น คารวะ และ เคารพ
คารวะ หมายถึง การแสดงเคารพนับถือด้วยความตระหนักในคุณความดี นอบน้อม ยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง ตลอดถึงความเอื้อเฟื้อ ยินดีพอใจที่จะอนุวัตรปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ เรียกเต็มว่า คารวธรรม
ในพระพุทธศาสนา กำหนดบุคคลและสิ่งที่ควรเคารพ ควรเอื้อเฟื้อ ไว้ ๖ อย่าง คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา อัปปมาทะ และ ปฏิสันถาร
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้คำนิยาม คารวธรรม ไว้ดังนี้
คารวธรรม ๖ ธรรมคือความเคารพ การถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพึงใส่ใจและปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจังมี ๖ ประการ คือ ๑.สัตถุคารวตา ความเคารพในพระศาสดา หรือพุทธคารวตา ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒.ธัมมคารวตา ความเคารพในพระธรรม ๓.สังฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์ ๔.สิกขาคารวตา ความเคารพในการศึกษา ๕.อัปปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท ๖.ปฏิสันถารคารวตา ความเคารพในการปฏิสันถาร
เมื่อพิจารณาความหมายของ เคารพ-คารวะ ย่อมพบว่ามีความหมายเหมือนกัน แต่ในการใช้ภาษาไทย มีข้อน่าพิจารณาคือ การแสดงความเคารพมักจะนำมาใช้ในกรณีที่เกี่ยวกับสิ่งสักการะสูงสุดของชีวิต อันได้แก่บุรพการีชน เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ พระพุทธเจ้า และผู้มีพระคุณต่อตนเอง หรือสิ่งของ เช่น พระพุทธรูป ธงชาติ เป็นต้น การแสดงการคารวะ มักใช้ในกรณีที่เกี่ยวกับบุคคลที่เสมอกันโดยวัย โดยตำแหน่งหน้าที่ นี่ก็คือ ลักษณะอันเป็นเสน่ห์ของภาษาไทย ที่ควรจะศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อให้การใช้ภาษาไทยได้เป็นไปอย่างงดงาม สามารถแสดงภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดของบรรพชน อันมีพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นปฐม ให้ดำรงอยู่สืบไป นานเท่านาน
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 93 ส.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)