• สมาธิบำบัดโรค(ต่อ)
ระดับของสมาธิ
ความตั้งมั่นของจิต มี 3 ระดับ
1. ขณิกสมาธิ (Momentary concentration) เป็นสมาธิขั้นต้น ยังไม่ แนบแน่นกับอารมณ์มากนัก แต่ก็สามารถนำมาใช้ทำกิจการงานในชีวิตประจำวัน และใช้สมาธิชนิดนี้ในการฝึกเจริญสติ หรือที่เรียกว่า “วิปัสสนา” ต่อไปได้
2.อุปจารสมาธิ (Access concentration) สมาธิชนิดนี้เริ่มแน่วแน่แล้ว มีกำลังสามารถระงับนิวรณ์ได้ เกือบจะเข้าสู่ระดับฌาน
3.อัปปนาสมาธิ (Attainment comcentration) เป็นสมาธิที่แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียว เป็นสมาธิในระดับฌาน ซึ่งการทำสมาธิแบบสมถะจะได้สูงสุดถึงระดับนี้
ลักษณะของจิตที่มีสมาธิ
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตโต) ได้อธิบายไว้ในหนังสือพุทธธรรมว่า
“จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดี มีสมรรถภาพสูงนั้น มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1.แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหล พุ่งไปในทิศทางเดียวย่อมมีกำลังแรงกว่า น้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป
2.ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระหรือบึงน้ำใหญ่ที่มีน้ำนิ่ง ไม่เป็นลมพัด ต้องไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว
3.ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆ ได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่น ละอองที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด
4.นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่ การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย
จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่งสมาธิขั้นฌาน พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า จิตประกอบด้วยองค์ 8
องค์ 8 นั้นท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ 1.ตั้งมั่น 2.บริสุทธิ์ 3.ผ่องใส 4.โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา 5.ปราศจากสิ่งเศร้าหมอง 6.นุ่มนวล 7.ควรแก่การงาน 8.อยู่ตัวไม่วอกแวกหวั่นไหว ท่านว่าเป็นจิตที่มีองค์ประกอบเหมาะแก่การเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาใช้งานทางปัญญา พิจารณาให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทาง สร้างพลังจิตให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้ตามที่กล่าวมานี้ มีข้อควรย้ำว่าลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วยก็คือ ความควรแก่งานหรือเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมดีเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง และโดยนัยนี้ จึงควรย้ำเพิ่มไว้อีกด้วยว่า สมาธิที่ถูกต้องไม่ใช่ อาการที่จิตหมดความรู้สึกปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โล่งโปร่ง หลุดออกจากสิ่งบด บังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของ ตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบานอยู่ พร้อมที่จะใช้ปัญญา”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ธรรมอันนำความสุขมาให้ยิ่งไปกว่าสมาธิย่อมไม่มี ผู้มีจิตมั่นย่อมไม่เบียดเบียนทั้งคนอื่นและตนเอง”
สมาธิมีประโยชน์อย่างมาก พอจะสรุปได้ดังนี้
1.ประโยชน์ในแง่ของการปฏิบัติธรรม สมาธิเป็นพื้นฐานสำหรับการเจริญสติปัฏฐาน หรือวิปัสสนา เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง
2.ประโยชน์ในแง่ของการสร้างพลังจิตแสดงฤทธิ์ได้ คือ การฝึกจิตให้มีพลังอภิญญา เป็นสมาธิที่ลึกถึงระดับฌาน ทำให้เกิดหูทิพย์ ตาทิพย์ ทายใจคนได้ ระลึกชาติได้
3.ประโยชน์ในแง่การพัฒนาสุขภาพ จิตและบุคลิกภาพ ทำให้เป็นคนมีสุขภาพ จิตดี สงบ หนักแน่น ใจเย็น ไม่หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน นุ่มนวล เปลี่ยนคนหยาบกระด้างเป็นคนนุ่มนวล มีความคิดไปในทางบวก ทางสร้างสรรค์ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี หรือที่สมัยนี้เรียกว่า มีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotion Intelligence)
4.ประโยชน์ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ในเวลาที่เราเครียดจากการทำงาน มีความวิตกกังวล นอนไม่หลับ ถ้าเราฝึกสมาธิเป็นประจำ อาการเหล่านี้ก็ หายไป หรือใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ถ้าเรามีสมาธิจดจ่ออยู่กับการเรียนได้ติดต่อกัน ใจไม่นึกคิดฟุ้งซ่านออกไป ก็ช่วยให้เราเรียนหนังสือได้ดี นอกจากนั้นสมาธิยังทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ทำให้หายจากโรคต่างๆได้ ดังที่ได้กล่าวมาในตอนต้นๆอย่างมากมายแล้ว และโดยเหตุที่ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกกันไม่ออก เมื่อร่างกายมีโรค ใจก็อ่อนแอเศร้าหมองไปด้วย ในทางตรงกันข้ามเมื่อจิตใจมีความเครียดวิตกกังวลมากๆ เข้า ก็ทำให้เกิดโรคทางกายตามมาได้ ดังนั้นการบริหารกายบริหารจิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 92 ก.ค. 51 โดยนพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)
ระดับของสมาธิ
ความตั้งมั่นของจิต มี 3 ระดับ
1. ขณิกสมาธิ (Momentary concentration) เป็นสมาธิขั้นต้น ยังไม่ แนบแน่นกับอารมณ์มากนัก แต่ก็สามารถนำมาใช้ทำกิจการงานในชีวิตประจำวัน และใช้สมาธิชนิดนี้ในการฝึกเจริญสติ หรือที่เรียกว่า “วิปัสสนา” ต่อไปได้
2.อุปจารสมาธิ (Access concentration) สมาธิชนิดนี้เริ่มแน่วแน่แล้ว มีกำลังสามารถระงับนิวรณ์ได้ เกือบจะเข้าสู่ระดับฌาน
3.อัปปนาสมาธิ (Attainment comcentration) เป็นสมาธิที่แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียว เป็นสมาธิในระดับฌาน ซึ่งการทำสมาธิแบบสมถะจะได้สูงสุดถึงระดับนี้
ลักษณะของจิตที่มีสมาธิ
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตโต) ได้อธิบายไว้ในหนังสือพุทธธรรมว่า
“จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดี มีสมรรถภาพสูงนั้น มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1.แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหล พุ่งไปในทิศทางเดียวย่อมมีกำลังแรงกว่า น้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป
2.ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระหรือบึงน้ำใหญ่ที่มีน้ำนิ่ง ไม่เป็นลมพัด ต้องไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว
3.ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆ ได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่น ละอองที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด
4.นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่ การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย
จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่งสมาธิขั้นฌาน พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า จิตประกอบด้วยองค์ 8
องค์ 8 นั้นท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ 1.ตั้งมั่น 2.บริสุทธิ์ 3.ผ่องใส 4.โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา 5.ปราศจากสิ่งเศร้าหมอง 6.นุ่มนวล 7.ควรแก่การงาน 8.อยู่ตัวไม่วอกแวกหวั่นไหว ท่านว่าเป็นจิตที่มีองค์ประกอบเหมาะแก่การเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาใช้งานทางปัญญา พิจารณาให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทาง สร้างพลังจิตให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้ตามที่กล่าวมานี้ มีข้อควรย้ำว่าลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วยก็คือ ความควรแก่งานหรือเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมดีเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง และโดยนัยนี้ จึงควรย้ำเพิ่มไว้อีกด้วยว่า สมาธิที่ถูกต้องไม่ใช่ อาการที่จิตหมดความรู้สึกปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โล่งโปร่ง หลุดออกจากสิ่งบด บังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของ ตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบานอยู่ พร้อมที่จะใช้ปัญญา”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ธรรมอันนำความสุขมาให้ยิ่งไปกว่าสมาธิย่อมไม่มี ผู้มีจิตมั่นย่อมไม่เบียดเบียนทั้งคนอื่นและตนเอง”
สมาธิมีประโยชน์อย่างมาก พอจะสรุปได้ดังนี้
1.ประโยชน์ในแง่ของการปฏิบัติธรรม สมาธิเป็นพื้นฐานสำหรับการเจริญสติปัฏฐาน หรือวิปัสสนา เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง
2.ประโยชน์ในแง่ของการสร้างพลังจิตแสดงฤทธิ์ได้ คือ การฝึกจิตให้มีพลังอภิญญา เป็นสมาธิที่ลึกถึงระดับฌาน ทำให้เกิดหูทิพย์ ตาทิพย์ ทายใจคนได้ ระลึกชาติได้
3.ประโยชน์ในแง่การพัฒนาสุขภาพ จิตและบุคลิกภาพ ทำให้เป็นคนมีสุขภาพ จิตดี สงบ หนักแน่น ใจเย็น ไม่หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน นุ่มนวล เปลี่ยนคนหยาบกระด้างเป็นคนนุ่มนวล มีความคิดไปในทางบวก ทางสร้างสรรค์ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี หรือที่สมัยนี้เรียกว่า มีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotion Intelligence)
4.ประโยชน์ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ในเวลาที่เราเครียดจากการทำงาน มีความวิตกกังวล นอนไม่หลับ ถ้าเราฝึกสมาธิเป็นประจำ อาการเหล่านี้ก็ หายไป หรือใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ถ้าเรามีสมาธิจดจ่ออยู่กับการเรียนได้ติดต่อกัน ใจไม่นึกคิดฟุ้งซ่านออกไป ก็ช่วยให้เราเรียนหนังสือได้ดี นอกจากนั้นสมาธิยังทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ทำให้หายจากโรคต่างๆได้ ดังที่ได้กล่าวมาในตอนต้นๆอย่างมากมายแล้ว และโดยเหตุที่ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกกันไม่ออก เมื่อร่างกายมีโรค ใจก็อ่อนแอเศร้าหมองไปด้วย ในทางตรงกันข้ามเมื่อจิตใจมีความเครียดวิตกกังวลมากๆ เข้า ก็ทำให้เกิดโรคทางกายตามมาได้ ดังนั้นการบริหารกายบริหารจิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 92 ก.ค. 51 โดยนพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)