ครั้งที่ 101
พระราหุล ผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระราหุลเป็นพุทธชิโนรสองค์เดียวของพระบรมศาสดา พระนางพิมพาหรือยโสธราเป็นพระมารดา เมื่อพระราหุลประสูติเพียงวันเดียว พระราชบิดาก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์มุ่งพระโพธิญาณ พระราหุลเจริญเติบโตขึ้นด้วยการถนอมเลี้ยงของพระมารดาและพระประยูรญาติมิได้เคยเห็นสมเด็จพระราชบิดาเลย จนกระทั่งพระชนมายุ 7 พรรษา
เมื่อพระศาสดาได้ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเสด็จมาโปรดพระญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ ณ นิโครธารามที่พระญาติสร้างถวาย พร้อมด้วยพระสาวกอรหันต์หมู่ใหญ่
พระนางพิมพาหรือยโสธรา พระราชมารดาของกุมารน้อยราหุลตรัสกับพระราหุลว่า สมบัติทั้งปวงในนครกบิลพัสดุ์นี้เป็นของสมเด็จพระราชบิดา แต่พระองค์ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ขอให้ลูกไปขอสมบัติต่อพระราชบิดา
พระราหุลไปเฝ้าพระตถาคตเจ้า ณ นิโครธารามทูลขอโลกียสมบัติ พระทศพลทรงพิจารณาว่าโลกียสมบัติเป็นของไม่ ยั่งยืน เจือด้วยโทษให้ความสุขเล็กน้อยให้ทุกข์มาก เราควรให้ธรรมสมบัติหรือโลกุตตรสมบัติแก่ราหุล ช่วยให้เขาพ้นทุกข์
ทรงดำริฉะนี้แล้ว จึงรับสั่งให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์บรรพชาสามเณร แก่พระราหุล จัดเป็นสามเณรรูปแรกของศาสนานี้
เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็มิได้มีทิฐิมานะว่าเราเป็นโอรสของพระศาสดาผู้ทรงเป็นใหญ่ในหมู่สงฆ์ แต่สามเณรราหุลกลับเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน ใคร่ต่อการศึกษาเคารพพระโอวาทของพระศาสดาและคำตักเตือนสั่งสอนของภิกษุทั้งหลายไม่อิ่มไม่เบื่อต่อการรับโอวาท
บางวันสามเณรจะกอบทรายขึ้นเต็มกอบ หรือกำทรายขึ้นเต็มกำแล้วปรารถนาว่า 'วันนี้ ขอเราพึงได้รับโอวาท หรืออนุสาสน์จากสำนักของพระทศพลเจ้าหรือจากสำนักของอุปัชฌายอาจารย์เท่าจำนวนเม็ดทรายนี้เถิด'
ท่านได้รับการยกย่องจากศาสดาว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านเป็นผู้รักการศึกษา ใคร่ต่อการศึกษา นอกจากนี้ท่านยังเป็น ผู้ว่าง่าย ไม่ถือตัว ดังเรื่องต่อไปนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน (ผู้ที่ไม่ใช่ภิกษุ) แล้ว ภิกษุทั้งหลายเกรงจะล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติแล้ว จึงไม่กล้าให้อนุปสัมบันนอนในห้องเดียวกันอีกเลยแม้แต่สามเณรราหุล พุทธชิโนรสเองก็ไม่ได้รับการยกเว้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับสามเณรราหุลว่า 'อาวุโสราหุล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทแล้ว บัดนี้ท่านจงหาที่พักของท่านเองเถิด'
ก่อนแต่กาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ ภิกษุทั้งหลายได้สงเคราะห์สามเณรราหุลเป็นอย่างดีเพราะเคารพในพระพุทธองค์ 1 และเพราะสามเณรราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา เป็นผู้สอนง่าย
บางรูปจัดเตียงน้อยๆ ให้สามเณรราหุลนอน ให้จีวรสำหรับหนุนศีรษะ แต่เมื่อพระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้แล้ว ไม่มีภิกษุรูปใด ให้สามเณรราหุลพักในที่พักของตนเลย เพราะกลัวจะล่วงสิกขาบท
ฝ่ายสามเณรราหุลเป็นผู้มีการศึกษาดีแล้ว มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นนิสัย มีความอดทนอย่างดีเยี่ยม ท่านมิได้เข้าไปหา พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่าเป็นพระบิดา มิได้ไปยังสำนักของพระสารีบุตรด้วยคิดว่าเป็นอุปัชฌายะ มิได้ไปยังสำนักของพระมหาโมคคัลลานะด้วยคิดว่าเป็นอาจารย์ และมิได้ไปยังสำนักของพระอานนท์ด้วยคิดว่าเป็นพระเจ้าอาของตน
สามเณรราหุลเข้าไปพักที่วัจกุฎี อันเป็นที่ถ่ายพระบังคนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประดุจเข้าไปยังวิมานพรหมมิได้นึกรังเกียจแม้แต่น้อย
ตามปกติ พระทวารพระวัจกุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าปิดสนิทอยู่เสมอ มีพื้นเรียบร้อยอบด้วยเครื่องหอมประดับด้วยพวงมาลาอันหอมตามประทีปไว้ตลอดคืน
สามเณรราหุลเข้าไปอาศัยอยู่ในพระวัจกุฎีนั้นเพราะเกรงใจภิกษุทั้งหลายไม่กล้าไปขออาศัยภิกษุรูปใด และเพราะสามเณร ใคร่ต่อการศึกษาเคารพต่อโอวาท
บางคราวภิกษุต้องการจะทดลองท่าน พอเห็นท่านเดินมาก็เอาไม้กวาดบ้าง หยากเยื่อบ้างทิ้งออกไปข้างนอก เมื่อสามเณรราหุลเดินมาถึงภิกษุเหล่านั้นพูดกันว่า อาวุโส นี่ใครทิ้งไม้กวาดและหยากเยื่อไว้ ภิกษุพวกนั้นพากันพูดว่า ท่านราหุลเดินมาทางนี้
สามเณรราหุล ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำ แต่มิได้ปริปากพูดเลยว่า 'ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องนี้ รีบเก็บไม้กวาดและหยากเยื่อแล้วไปให้ภิกษุ ทั้งหลายอดโทษว่า ขอท่านทั้งหลายจงอดโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด สามเณรราหุลใคร่ต่อการศึกษาและเคารพต่อโอวาทถึงปานนี้
ก่อนอรุณรุ่งวันนั้น พระบรมศาสดาเสด็จมาประทับยืนหน้าพระทวารพระวัจกุฎีทรงกระแอมขึ้น สามเณรราหุลก็กระแอมรับ พระศาสดาตรัสถามว่า
'ใครนั่น?'
'ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระเจ้าข้า'
'ราหุล! ทำไมมานอนอยู่นี่?'
'ไม่มีที่อื่นพัก พระเจ้าข้า' สามเณรราหุลทูลตอบ
เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายสงเคราะห์ข้าพระองค์ได้ แต่เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทแล้ว ภิกษุทั้งหลายกลัวต้องอาบัติ จึงไม่กล้าอนุญาตให้ข้าพระองค์นอนในที่อยู่ของตนๆ ที่นี่ไม่เป็นที่คับแคบและไม่เบียดเสียดกับใครพระเจ้าข้าง'
พระทศพลทรงสดับดังนั้น ทรงเกิดความสังเวชว่า
'ภิกษุทั้งหลายทิ้งราหุลได้ถึงเพียงนี้ เมื่อให้กุลบุตรทั้งหลายอื่นบวชจะทอดทิ้งเขาสักเพียงใด ไม่ควรเลย'
พระตถาคตเจ้ารับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแต่เช้า ตรัสถามพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรว่า
'สารีบุตร ท่านทราบหรือไม่ว่า สามเณรราหุลสัทธิวิหาริกของท่านนอนที่ไหน เมื่อคืนนี้?'
'ไม่ทราบ พระเจ้าข้า' พระสารีบุตรทูล
'สารีบุตร! เมื่อคืนนี้ราหุลนอนในวัจกุฎีของเรา ดูก่อนสารีบุตร เมื่อพวกเธอทอดทิ้งราหุลได้อย่างนี้ เมื่อให้กุลบุตรเหล่าอื่นบวชจะทำอย่างไรกัน คนที่บวชในศาสนาก็ไม่มีที่พึ่ง'
อาศัยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม (อนุบัญญัติ) ว่า'ตั้งแต่นี้ต่อไป ภิกษุทั้งหลายจงให้อนุปสัมบันนอนในสำนักของตน (ในที่มุงบังเดียวกัน) วันหนึ่งหรือสองวัน ในวันที่สามจึงให้หาที่อยู่เองภายนอก'ดังนี้
เย็นวันนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาสรรเสริญคุณของสามเณรราหุลว่า 'สามเณรราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา เมื่อภิกษุทั้งหลายไม่ยอมให้นอนในสำนักของตน จะโต้เถียงคัดค้านสักคำเดียวก็มิได้ว่า เราเป็นโอรสของพระทศพล ท่านเป็นใคร ท่านนั่นแหละจงออกไปให้พ้นจากเสนาสนะนี้ แต่ไปอาศัยอยู่ในพระวัจกุฎีของพระผู้มีพระภาค สามเณรราหุลมีคุณน่าอัศจรรย์'
พระศาสดาเสด็จมายังธรรมสภา ทรงทราบเรื่องที่ภิกษุสนทนากันแล้วตรัสว่า สามเณรราหุลเคยเป็นผู้ว่าง่ายใคร่ต่อการศึกษามานานแล้ว แม้สมัยที่เป็นลูกเนื้อก็เป็นผู้ว่าง่าย ใคร่ต่อการศึกษาอย่างนี้ ได้ปลอดภัยจากบ่วงนายพรานแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายขอร้องให้ทรงเล่าเรื่องนั้นพระศาสดาจึงตรัสว่า
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดเนื้อ มีหมู่เนื้อเป็นบริวารเป็นอันมากอาศัยอยู่ในป่า ครั้งนั้นนางเนื้อน้องสาวของ พระโพธิสัตว์ได้พาลูกน้องมาฝากให้เรียนมฤคมายากับพระโพธิสัตว์ผู้เป็นลุง ลูกเนื้อตั้งใจเรียนอย่างดีมาเรียนไม่เคยขาด และมาตามเวลาที่พระโพธิสัตว์สั่ง ศึกษามฤคมายาจนสำเร็จ
วันหนึ่งลูกเนื้อไปติดบ่วงนายพรานจึงร้องขึ้น หมู่เนื้อพากันวิ่งไปบอกมารดาของลูกเนื้อ แม่เนื้อจึงรีบไปหาพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพี่ชาย แล้วถามว่า ท่านให้หลานชายของท่านเรียนมฤคมายาแล้วหรือ? ผู้เป็นลุงของลูกเนื้อตอบว่า ลูกของเธอเรียนมฤคมายาดีแล้ว อย่าวิตกเลย อีกสักครู่หลานชายของฉันจะสลัดบ่วงหนีมาจนได้ ดังนี้แล้วกล่าวว่า
'ฉันให้เนื้อหลานชายผู้มีเท้า 8 กีบ นอนสามท่า ดื่มน้ำเฉพาะเวลาเที่ยงคืน มีมายาเป็นอเนก หลานชายของฉันเป็นสัตว์ฉลาด รู้จักอดกลั้นลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ในช่องนาสิกเบื้องบน นอนแนบชิดอยู่กับพื้นดินนำมาลวงนายพรานด้วยมฤคมายา หรืออุบาย 6 อย่าง'
ลูกเนื้อที่ติดบ่วงอยู่นั้น มิได้ดิ้นรนกระสับกระส่าย เหยียดเท้านอนตะแคงติดพื้นดิน เอาเท้าถีบดินให้กระจายไปคุ้ยฝุ่นและหญ้าให้หลุดถอน ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนหัวตก แลบลิ้น น้ำลายไหล ตะเบ็งลมให้ท้องพอง ทำตาทั้งสองให้ช้อนขึ้นค้างอยู่ ระบายลมหายใจเข้าออกทางช่องนาสิกเบื้องล่าง อัดลมทางช่องนาสิกเบื้องบน ทำตัวให้แข็ง แสดงอาการว่าตายแล้ว แมลงวันพากันมาตอมฝูงกาพากันมาจับกลุ่มอยู่ใกล้ๆ
นายพรานมาเห็นแล้วเอามืดตบท้องลูกเนื้อพลางคิดว่า 'เนื้อตัวนี้คงติดบ่วงแล้วตั้งแต่เช้า บัดนี้ขึ้นพองแล้ว' เขาแก้เชือกบ่วงออก ตั้งใจจะแล่ตรงนั้น จึงไปเที่ยวหาใบไม้กิ่งไม้มารอง
ลูกเนื้อได้ทีลุกยืนขึ้น สลัดกายเหยียดออก วิ่งไปหามารดาโดยเร็ว ทำความชื่นชมโสมนัสให้แก่ มารดา ลุง และเนื้ออื่นๆ เป็นอันมาก
การตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามโอวาทของผู้ใหญ่ทำตนให้ปลอดภัยอย่างนี้
พระราหุล ผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระราหุลเป็นพุทธชิโนรสองค์เดียวของพระบรมศาสดา พระนางพิมพาหรือยโสธราเป็นพระมารดา เมื่อพระราหุลประสูติเพียงวันเดียว พระราชบิดาก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์มุ่งพระโพธิญาณ พระราหุลเจริญเติบโตขึ้นด้วยการถนอมเลี้ยงของพระมารดาและพระประยูรญาติมิได้เคยเห็นสมเด็จพระราชบิดาเลย จนกระทั่งพระชนมายุ 7 พรรษา
เมื่อพระศาสดาได้ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเสด็จมาโปรดพระญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ ณ นิโครธารามที่พระญาติสร้างถวาย พร้อมด้วยพระสาวกอรหันต์หมู่ใหญ่
พระนางพิมพาหรือยโสธรา พระราชมารดาของกุมารน้อยราหุลตรัสกับพระราหุลว่า สมบัติทั้งปวงในนครกบิลพัสดุ์นี้เป็นของสมเด็จพระราชบิดา แต่พระองค์ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ขอให้ลูกไปขอสมบัติต่อพระราชบิดา
พระราหุลไปเฝ้าพระตถาคตเจ้า ณ นิโครธารามทูลขอโลกียสมบัติ พระทศพลทรงพิจารณาว่าโลกียสมบัติเป็นของไม่ ยั่งยืน เจือด้วยโทษให้ความสุขเล็กน้อยให้ทุกข์มาก เราควรให้ธรรมสมบัติหรือโลกุตตรสมบัติแก่ราหุล ช่วยให้เขาพ้นทุกข์
ทรงดำริฉะนี้แล้ว จึงรับสั่งให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์บรรพชาสามเณร แก่พระราหุล จัดเป็นสามเณรรูปแรกของศาสนานี้
เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็มิได้มีทิฐิมานะว่าเราเป็นโอรสของพระศาสดาผู้ทรงเป็นใหญ่ในหมู่สงฆ์ แต่สามเณรราหุลกลับเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน ใคร่ต่อการศึกษาเคารพพระโอวาทของพระศาสดาและคำตักเตือนสั่งสอนของภิกษุทั้งหลายไม่อิ่มไม่เบื่อต่อการรับโอวาท
บางวันสามเณรจะกอบทรายขึ้นเต็มกอบ หรือกำทรายขึ้นเต็มกำแล้วปรารถนาว่า 'วันนี้ ขอเราพึงได้รับโอวาท หรืออนุสาสน์จากสำนักของพระทศพลเจ้าหรือจากสำนักของอุปัชฌายอาจารย์เท่าจำนวนเม็ดทรายนี้เถิด'
ท่านได้รับการยกย่องจากศาสดาว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านเป็นผู้รักการศึกษา ใคร่ต่อการศึกษา นอกจากนี้ท่านยังเป็น ผู้ว่าง่าย ไม่ถือตัว ดังเรื่องต่อไปนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน (ผู้ที่ไม่ใช่ภิกษุ) แล้ว ภิกษุทั้งหลายเกรงจะล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติแล้ว จึงไม่กล้าให้อนุปสัมบันนอนในห้องเดียวกันอีกเลยแม้แต่สามเณรราหุล พุทธชิโนรสเองก็ไม่ได้รับการยกเว้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับสามเณรราหุลว่า 'อาวุโสราหุล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทแล้ว บัดนี้ท่านจงหาที่พักของท่านเองเถิด'
ก่อนแต่กาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ ภิกษุทั้งหลายได้สงเคราะห์สามเณรราหุลเป็นอย่างดีเพราะเคารพในพระพุทธองค์ 1 และเพราะสามเณรราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา เป็นผู้สอนง่าย
บางรูปจัดเตียงน้อยๆ ให้สามเณรราหุลนอน ให้จีวรสำหรับหนุนศีรษะ แต่เมื่อพระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้แล้ว ไม่มีภิกษุรูปใด ให้สามเณรราหุลพักในที่พักของตนเลย เพราะกลัวจะล่วงสิกขาบท
ฝ่ายสามเณรราหุลเป็นผู้มีการศึกษาดีแล้ว มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นนิสัย มีความอดทนอย่างดีเยี่ยม ท่านมิได้เข้าไปหา พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่าเป็นพระบิดา มิได้ไปยังสำนักของพระสารีบุตรด้วยคิดว่าเป็นอุปัชฌายะ มิได้ไปยังสำนักของพระมหาโมคคัลลานะด้วยคิดว่าเป็นอาจารย์ และมิได้ไปยังสำนักของพระอานนท์ด้วยคิดว่าเป็นพระเจ้าอาของตน
สามเณรราหุลเข้าไปพักที่วัจกุฎี อันเป็นที่ถ่ายพระบังคนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประดุจเข้าไปยังวิมานพรหมมิได้นึกรังเกียจแม้แต่น้อย
ตามปกติ พระทวารพระวัจกุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าปิดสนิทอยู่เสมอ มีพื้นเรียบร้อยอบด้วยเครื่องหอมประดับด้วยพวงมาลาอันหอมตามประทีปไว้ตลอดคืน
สามเณรราหุลเข้าไปอาศัยอยู่ในพระวัจกุฎีนั้นเพราะเกรงใจภิกษุทั้งหลายไม่กล้าไปขออาศัยภิกษุรูปใด และเพราะสามเณร ใคร่ต่อการศึกษาเคารพต่อโอวาท
บางคราวภิกษุต้องการจะทดลองท่าน พอเห็นท่านเดินมาก็เอาไม้กวาดบ้าง หยากเยื่อบ้างทิ้งออกไปข้างนอก เมื่อสามเณรราหุลเดินมาถึงภิกษุเหล่านั้นพูดกันว่า อาวุโส นี่ใครทิ้งไม้กวาดและหยากเยื่อไว้ ภิกษุพวกนั้นพากันพูดว่า ท่านราหุลเดินมาทางนี้
สามเณรราหุล ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำ แต่มิได้ปริปากพูดเลยว่า 'ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องนี้ รีบเก็บไม้กวาดและหยากเยื่อแล้วไปให้ภิกษุ ทั้งหลายอดโทษว่า ขอท่านทั้งหลายจงอดโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด สามเณรราหุลใคร่ต่อการศึกษาและเคารพต่อโอวาทถึงปานนี้
ก่อนอรุณรุ่งวันนั้น พระบรมศาสดาเสด็จมาประทับยืนหน้าพระทวารพระวัจกุฎีทรงกระแอมขึ้น สามเณรราหุลก็กระแอมรับ พระศาสดาตรัสถามว่า
'ใครนั่น?'
'ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระเจ้าข้า'
'ราหุล! ทำไมมานอนอยู่นี่?'
'ไม่มีที่อื่นพัก พระเจ้าข้า' สามเณรราหุลทูลตอบ
เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายสงเคราะห์ข้าพระองค์ได้ แต่เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทแล้ว ภิกษุทั้งหลายกลัวต้องอาบัติ จึงไม่กล้าอนุญาตให้ข้าพระองค์นอนในที่อยู่ของตนๆ ที่นี่ไม่เป็นที่คับแคบและไม่เบียดเสียดกับใครพระเจ้าข้าง'
พระทศพลทรงสดับดังนั้น ทรงเกิดความสังเวชว่า
'ภิกษุทั้งหลายทิ้งราหุลได้ถึงเพียงนี้ เมื่อให้กุลบุตรทั้งหลายอื่นบวชจะทอดทิ้งเขาสักเพียงใด ไม่ควรเลย'
พระตถาคตเจ้ารับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแต่เช้า ตรัสถามพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรว่า
'สารีบุตร ท่านทราบหรือไม่ว่า สามเณรราหุลสัทธิวิหาริกของท่านนอนที่ไหน เมื่อคืนนี้?'
'ไม่ทราบ พระเจ้าข้า' พระสารีบุตรทูล
'สารีบุตร! เมื่อคืนนี้ราหุลนอนในวัจกุฎีของเรา ดูก่อนสารีบุตร เมื่อพวกเธอทอดทิ้งราหุลได้อย่างนี้ เมื่อให้กุลบุตรเหล่าอื่นบวชจะทำอย่างไรกัน คนที่บวชในศาสนาก็ไม่มีที่พึ่ง'
อาศัยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม (อนุบัญญัติ) ว่า'ตั้งแต่นี้ต่อไป ภิกษุทั้งหลายจงให้อนุปสัมบันนอนในสำนักของตน (ในที่มุงบังเดียวกัน) วันหนึ่งหรือสองวัน ในวันที่สามจึงให้หาที่อยู่เองภายนอก'ดังนี้
เย็นวันนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาสรรเสริญคุณของสามเณรราหุลว่า 'สามเณรราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา เมื่อภิกษุทั้งหลายไม่ยอมให้นอนในสำนักของตน จะโต้เถียงคัดค้านสักคำเดียวก็มิได้ว่า เราเป็นโอรสของพระทศพล ท่านเป็นใคร ท่านนั่นแหละจงออกไปให้พ้นจากเสนาสนะนี้ แต่ไปอาศัยอยู่ในพระวัจกุฎีของพระผู้มีพระภาค สามเณรราหุลมีคุณน่าอัศจรรย์'
พระศาสดาเสด็จมายังธรรมสภา ทรงทราบเรื่องที่ภิกษุสนทนากันแล้วตรัสว่า สามเณรราหุลเคยเป็นผู้ว่าง่ายใคร่ต่อการศึกษามานานแล้ว แม้สมัยที่เป็นลูกเนื้อก็เป็นผู้ว่าง่าย ใคร่ต่อการศึกษาอย่างนี้ ได้ปลอดภัยจากบ่วงนายพรานแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายขอร้องให้ทรงเล่าเรื่องนั้นพระศาสดาจึงตรัสว่า
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดเนื้อ มีหมู่เนื้อเป็นบริวารเป็นอันมากอาศัยอยู่ในป่า ครั้งนั้นนางเนื้อน้องสาวของ พระโพธิสัตว์ได้พาลูกน้องมาฝากให้เรียนมฤคมายากับพระโพธิสัตว์ผู้เป็นลุง ลูกเนื้อตั้งใจเรียนอย่างดีมาเรียนไม่เคยขาด และมาตามเวลาที่พระโพธิสัตว์สั่ง ศึกษามฤคมายาจนสำเร็จ
วันหนึ่งลูกเนื้อไปติดบ่วงนายพรานจึงร้องขึ้น หมู่เนื้อพากันวิ่งไปบอกมารดาของลูกเนื้อ แม่เนื้อจึงรีบไปหาพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพี่ชาย แล้วถามว่า ท่านให้หลานชายของท่านเรียนมฤคมายาแล้วหรือ? ผู้เป็นลุงของลูกเนื้อตอบว่า ลูกของเธอเรียนมฤคมายาดีแล้ว อย่าวิตกเลย อีกสักครู่หลานชายของฉันจะสลัดบ่วงหนีมาจนได้ ดังนี้แล้วกล่าวว่า
'ฉันให้เนื้อหลานชายผู้มีเท้า 8 กีบ นอนสามท่า ดื่มน้ำเฉพาะเวลาเที่ยงคืน มีมายาเป็นอเนก หลานชายของฉันเป็นสัตว์ฉลาด รู้จักอดกลั้นลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ในช่องนาสิกเบื้องบน นอนแนบชิดอยู่กับพื้นดินนำมาลวงนายพรานด้วยมฤคมายา หรืออุบาย 6 อย่าง'
ลูกเนื้อที่ติดบ่วงอยู่นั้น มิได้ดิ้นรนกระสับกระส่าย เหยียดเท้านอนตะแคงติดพื้นดิน เอาเท้าถีบดินให้กระจายไปคุ้ยฝุ่นและหญ้าให้หลุดถอน ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนหัวตก แลบลิ้น น้ำลายไหล ตะเบ็งลมให้ท้องพอง ทำตาทั้งสองให้ช้อนขึ้นค้างอยู่ ระบายลมหายใจเข้าออกทางช่องนาสิกเบื้องล่าง อัดลมทางช่องนาสิกเบื้องบน ทำตัวให้แข็ง แสดงอาการว่าตายแล้ว แมลงวันพากันมาตอมฝูงกาพากันมาจับกลุ่มอยู่ใกล้ๆ
นายพรานมาเห็นแล้วเอามืดตบท้องลูกเนื้อพลางคิดว่า 'เนื้อตัวนี้คงติดบ่วงแล้วตั้งแต่เช้า บัดนี้ขึ้นพองแล้ว' เขาแก้เชือกบ่วงออก ตั้งใจจะแล่ตรงนั้น จึงไปเที่ยวหาใบไม้กิ่งไม้มารอง
ลูกเนื้อได้ทีลุกยืนขึ้น สลัดกายเหยียดออก วิ่งไปหามารดาโดยเร็ว ทำความชื่นชมโสมนัสให้แก่ มารดา ลุง และเนื้ออื่นๆ เป็นอันมาก
การตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามโอวาทของผู้ใหญ่ทำตนให้ปลอดภัยอย่างนี้