• นโม (ต่อ)
แต่นี้จะพรรณนาความแห่ง ‘นโม’ ในความหมายว่า การเคารพ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้คำนิยาม “เคารพ” ไว้ดังนี้
เคารพ เป็นคำกริยา แปลว่า แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ ; ไม่ล่วงเกิน, ไม่ล่วงละเมิด, เช่น เคารพสิทธิของผู้อื่น. (ภาษาสันสกฤต ใช้ว่า “เคารว” ส่วนบาลีใช้ว่า “คารว”)
คารพ เป็นคำนาม แปลว่า ความเคารพ, ความนับถือ. (บาลี ใช้ว่า “คารว”)
พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ให้คำนิยาม “เคารพ” ไว้ดังนี้
เคารพ เป็นคำกริยา แปลว่า แสดง, แสดงความนอบน้อมนับถือ, วิธีแสดง ความเคารพตามระเบียบศาสนา มี ๕ อย่าง คือ ๑.อภิวาท-กราบ ๒.นมัสการ-ไหว้ ๓.อัญชลี-พนมมือ ๔.อุฏฐานะ-ลุกยืน ๕.สามีจิกรรม-แสดงกิริยาอ่อนน้อม (หลักฐานทางบาลีเข้าใจว่า อภิวาทคือยืนไหว้)
ขออัญเชิญ บทพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เรื่องการนับถือพระพุทธศาสนา และ ลักษณะการเคารพพระรัตนตรัย มาแสดง เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจ ในความหมายแห่งคำว่า “เคารพ” ดังนี้
การนับถือพระพุทธศาสนา
สาสนมามโก โย จ สิกฺขิตุํ สรณํปิจ อธิบายว่า บุคคลผู้ใดจะนับถือพระพุทธศาสนา พึงศึกษา ให้รู้จักที่พึ่งทั้งสาม คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ชัดให้แน่แล้ว ให้รู้จักคุณพระศาสนาว่า จะนับถือนี้ จะมีประโยชน์อย่างไร
แลบุคคลทุกวันนี้ ถือแต่หยาบๆ ไม่คิดตรึกตรอง ถึงจะนับถือพระศาสนา ก็นับถือตามมารดาบิดาที่ตนถือมา ไม่รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นเป็นอย่างไร เป็นแต่ได้ยินเขาว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่นับถือ ได้ยินเขาว่าให้ข้าวของแก่คนนุ่งเหลือง ห่มเหลือง แล้วได้บุญ ได้ยินเท่านั้น แล้วก็ให้ข้าวของไป ไม่ได้คิดตรึกตรองว่าบุญนั้นเป็นอย่างไร ทำอย่างไรจะได้ บุญ จะนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะนับถือทำไม เพราะเหตุอย่างไรจึงจะต้องนับถือ ไม่ตรึก ไม่ตรองให้รู้ชัดรู้แน่ นับถือไปตามมารดาบิดาเคย นับถือมา นับถืออย่างนั้น จะเรียกว่าเป็นคนนับถือพระศาสนานั้นหามิได้ นับถืออย่างนั้น เรียกว่านับถือตามอย่างมารดาบิดาเท่านั้น เพราะตัวไม่รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแต่ทำตามเขาพูดเขาเล่าต่อๆมา
เหตุดังนั้นจึงว่าใครจะนับถือพระศาสนา ให้ตรึกตรองให้ละเอียด ให้รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พระศาสนาเป็นอย่างนั้น จึงถวายตัวเป็นข้าพระศาสนา รับข้อปฏิบัติ อันจะพ้นความทุกข์ความลำบากนี้
ก็ทำไมจะรู้จักพระพุทธเจ้าเล่า พระพุทธเจ้านั้น ถึงเราจะไม่ได้เห็น ก็แต่ได้ยินมาแต่ในหนังสือหนังหา มีมากกว่ามาก ควรจะเชื่อได้ อันพระพุทธเจ้านั้น แต่ก่อนท่านเป็นสัตว์เหมือนอย่างเรานี่แหละ แต่ทว่าท่านหากมีปัญญาพิจารณาว่าสัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วตาย ถึงซึ่งความลำบากเป็นอันมาก จะทำอย่างไรหนอ เราจึงจะพ้นความลำบากนี้ได้ จึงนึกไปว่าที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย เห็นจะมีอยู่เป็นเที่ยงแท้ เปรียบเหมือนอย่างของร้อน แล้วก็มีเย็นแก้ ไฟมีแล้ว น้ำก็มี ความลำบากมีแล้ว ความสบายก็มีเหมือนกัน
เมื่อพระองค์พิจารณาแล้ว พระองค์ก็สู้อุตส่าห์แสวงหาอุบายที่จะออกจาก ทุกข์ สู้ทำการกุศลมาช้านาน จนถึงพระศาสนาพระพุทธเจ้าทีปังกร ครั้งนั้น ท่านมีบารมีแก่กล้า ควรจะได้พระอรหันต์ รื้อตนออกจากสังสารวัฏฏะได้ แต่หากว่าท่านมีความกรุณาแก่สัตว์ทั้งปวง ท่านมาคิดว่าเราท่องเที่ยว เวียนตาย เวียนเกิดมาในวัฏฏสงสารช้านานนักหนาแล้ว ใครที่จะไม่ได้เป็นพี่น้อง เป็น มารดาบิดากัน นั้นไม่มี คงได้เป็นพี่น้อง เป็นมารดาบิดา หมดทุกคน คนเหล่า นั้นยังจะต้องลำบากอยู่ ตัวเราจะไปเสียคนเดียว นั้นไม่ชอบ จำจะต้องอยู่บอก อุบายที่จะพ้นทุกข์ให้รู้ด้วยกันมากๆ แล้วไปด้วยกัน จึงจะดี
วิสัยที่คนจะบอกอุบายให้คนอื่นพ้นจากทุกข์ได้นั้น มิใช่ง่าย ต่อเมื่อไรมีปัญญาสารพัดรู้ สารพัดเห็น ได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนพระทีปังกรนี้จึง จะได้ ท่านคิดอย่างนี้แล้ว จึงทอดตนลงเป็นสะพานถวายแด่พระพุทธเจ้าทีปังกร กับทั้งหมู่สงฆ์บริวาร แล้วทำความปรารถนาในที่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าว่า ขอให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าทำนายว่า ท่านจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ท่านก็สร้างพระบารมีมาช้านานถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ นับแต่กัปป์นี้ถอยหลังลงไป ท่านมีความกรุณา สู้สละเสียซึ่งอรหัตผลอันจะได้ในชาตินั้น สู้ทนลำบากสร้างพระบารมีมาอย่างนี้ เปรียบเหมือนมนุษย์ที่ติดอยู่ในเรือนจำเป็นอันมาก แลนักโทษคนหนึ่ง เป็นคนมีปัญญา คิดแก้ไข จะหาอุบาย หนีออกจากเรือนจำ ครั้นแสวงหาได้อุบายที่จะออกจากเรือนจำได้แล้ว มาคิดว่า เราจะออกไปคนเดียว ไม่ชอบ คนทั้งหลายที่อยู่ในเรือนจำนั้น แต่ก็ล้วนเป็นเพื่อน ฝูงกันทั้งสิ้น คนเหล่านั้นหารู้ที่จะออกจากเรือนจำไม่ จำเราจะต้องอยู่บอกอุบายให้รู้มากๆก่อน แล้วจึงค่อยไป จึงจะดี เมื่อบุรุษนั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็สู้ทนทุกข์อยู่ในวัฏสงสาร เหมือนคนที่ติดอยู่ในเรือนจำ พระบรมโพธิสัตว์นั้นเหมือนบุรุษที่มีปัญญา สู้ทนลำบากมาช้านาน สิ่งที่เป็นกุศลท่านได้ทำทุกประการ
ครั้นพระบารมีแก่กล้าแล้วในพระชาติเป็นที่สุด ทรงถือกำเนิดในเมืองกบิลพัสดุ์ ในตระกูลกษัตริย์ศากยราช พระญาติทั้งหลายถวายพระนามว่า สิทธัตถะ หรือ สิทธารถ ถ้าเรียกได้โดยโคตรว่า โคตรมะ พระองค์มีพระกายงดงาม ไม่มีใครสู้ได้ เพราะว่าพระองค์ได้สร้างกุศลบารมีไว้มาก
พระองค์ทรงออกบรรพชา ตั้งความเพียร ละเสียซึ่งความชั่วทั้งปวง มีพระสันดานบริสุทธิ์ ไม่มีความชั่ว สารพัดรู้ สารพัดเห็น ไม่ขัด ไม่ข้อง รู้จักกองทุกข์ คืออุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ ประการ รู้เหตุที่ยังกองทุกข์ให้บังเกิด คือ ความโลภที่อยากได้ รู้จักที่ดับกองทุกข์คือพระนิพพาน แลรู้หนทาง คือข้อปฏิบัติที่จะให้ดับกองทุกข์ ท่านรู้เอง เห็นเอง ไม่มีใครเป็นครูเป็นอาจารย์ แต่ ก็รู้ดี รู้ไม่ผิด รู้ที่ชอบ ท่านผู้นี้แลชื่อว่า พระพุทธเจ้า
ส่วนพระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ ต้นไม้มหาโพธิ์ มีในที่ต่างๆนั้น มิใช่พระพุทธเจ้า เป็นแต่เขาทำไว้เป็นที่ไหว้ที่บูชา ไม้มหาโพธิ์นั้น เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าหามิได้ ถ้าจะมีผู้สงสัยว่า ท่านแต่ก่อน ท่านเป็นคนรู้ ท่านว่าไว้ ใครได้ไหว้ ได้บูชา ได้เคารพนับถือ เมื่อของเหล่านั้นไม่เป็นพระเสียแล้ว จะเป็นบุญที่ไหนเล่า ท่านแต่ก่อนๆแต่ล้วนท่านผู้รู้หนังสือหนังหามาก ทำไมท่านจึงไม่ว่าไว้ กลับมาว่าสมัยนี้ ซึ่งเป็นเด็กๆจะรู้อะไร เมื่อคิดเช่นนั้นหาชอบไม่ เพราะว่าได้ตรึกตรองแล้ว
คำที่ว่า ใครได้ไหว้ ได้บูชา ได้เคารพพระพุทธรูป พระเจดีย์ ไม้พระศรีมหาโพธิ์ ได้บุญ นั้นจริงอยู่ ด้วยว่า พระเจดีย์นั้น เมื่อพระพุทธเจ้าใกล้จะปรินิพพาน พระอานนท์ได้ทูลถามว่า ถ้าพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ชนทั้งหลายคิดถึงพระเดชพระคุณ จะบูชาในที่ไหน พระองค์ทรงอนุญาตให้กระทำสถูปเจดีย์ไว้ในที่ประชุมชนไปมา ดังระหว่างถนนใหญ่ทั้งสี่เป็นต้น เพื่อจะได้เป็นที่ไหว้ และกระทำสักการบูชาแห่งชนทั้งปวง ให้ได้เกิดความเลื่อมใสแห่งจิต สั่งสมอนุสสตานุตตริยกุศล และบูชามัยราศีของชนเหล่านั้น ผู้ใดได้กระทำสักการบูชาด้วยธูปเทียน ระเบียบดอกไม้ ของหอม เป็นต้น หรือจะอภิวาทกราบไหว้นมัสการ โดยความระลึกถึงพระพุทธเจ้า หรือกระทำจิตให้เกิดความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัย มีความระลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นต้น ก็จัดเป็นบุญเป็นกุศลไป เพื่อประโยชน์แลความสุขแก่คนเหล่านั้นตามความประสงค์
เพราะเหตุนั้น การที่ไหว้ที่บูชาพระพุทธรูป พระเจดีย์ ไม้พระศรีมหาโพธิ์ ก็เป็นเหตุจะให้เกิดความเลื่อมใสแห่งจิต เป็นพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ระลึกถึงพระคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เมื่อผู้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยแล้ว แลกราบไหว้บูชาเคารพนั้น ก็เป็นเหตุที่จะให้สำเร็จ มรรคผล สุข ประโยชน์ ได้ในปัจจุบันและภพเบื้องหน้าตามประสงค์ก็เป็นบุญ เป็นกุศล ได้อย่างหนึ่ง.....
(พระราชนิพนธ์นี้ ได้ทรงไว้แต่ครั้งทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ยังมิ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ )
ลักษณะการเคารพพระรัตนตรัย
ข้าพระพุทธเจ้า สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้า เจ้ากรุงสยาม เป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ที่สี่ ในพระราชวงศ์ ซึ่งตั้งกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทยา นี้ ขอถวายอภิวันท์นอบน้อมนมัสการด้วย ไตรทวาร นบนอบเคารพแด่พระรัตนตรัย ประชุมสิ่งประเสริฐสามประการนี้ คือพระพุทธผู้ตรัสรู้หนึ่ง พระธรรมหนึ่ง พระสงฆ์หมู่เนื่องกันหนึ่ง พระรัตนะทั้งสามนี้แม้นต่างๆ โดยวัตถุ ก็ย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยเนื้อความ แลข้าพระพุทธเจ้า บัดนี้ เห็นจะเป็นผู้กำจัดอันตรายตัวไปเสียได้ ด้วยผลบุญ ที่สำเร็จด้วยไหว้พระรัตนตรัยนั้นแล้ว
แลบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ได้อยู่ครอบครองราชอาณาจักร แลราชสมบัติในสยามมนุษย์ทั้งหลายนี้ แลได้ทำบูชาแด่ปูชนียวัตถุ คือพระพุทธเจ้าเป็นต้น อยู่ จึงจะขอกล่าววิธีต่างๆ โดยสมควร ในกิจการนมัสการแด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้านั้น ในที่ระลึกถึงพระองค์นั้น มีพระเจดีย์เป็นต้น ด้วยภาษาสยาม พากยภาษา เป็นแต่ว่าจะแสดงวิธีในคำสำหรับเป็นที่ตั้งความทำในใจระลึก แลสวดสาธยาย แลประกาศอุทิศส่วนกุศลแก่เทวดา เป็นต้น ด้วยมาคธิกาภาษาที่เรียกกันโดยมากว่า ภาษาบาลี เพราะว่าภาษานั้นเป็นประมาณ คือ ภาษากลาง ในพระพุทธศาสนธรรม เพื่อจะให้เป็นแบบแผนตำราสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ฤาผู้รับสั่งพระเจ้าแผ่นดิน ผู้จะปฏิบัติทำการบูชาพระพุทธเจ้าในเรือนพระพุทธปฏิมาเจดีย์ หรือในที่ต่างๆ ในการพระราชพิธีนั้นๆ จะให้ท่านผู้ทำพุทธบูชาได้ศึกษาตาม แลทำตามด้วยดีโดยชอบ
ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่า ถ้าท่านผู้จะบูชาวัตถุมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จะได้ตั้งอยู่ตามวิธีที่จะว่าไปนี้แล้ว พระราชกุศลแลสามัญกุศลก็ดี ศรีสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่พระราชวังแลพระนคร แก่พระราชตระกูล แลอำมาตย์ตระกูล แลอาณา ประชาราษฎร์ก็ดี จะเจริญสำเร็จมากกว่าทำโดยการมักง่าย ไม่มีวิธีกำหนดไว้
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 89 เม.ย. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
แต่นี้จะพรรณนาความแห่ง ‘นโม’ ในความหมายว่า การเคารพ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้คำนิยาม “เคารพ” ไว้ดังนี้
เคารพ เป็นคำกริยา แปลว่า แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ ; ไม่ล่วงเกิน, ไม่ล่วงละเมิด, เช่น เคารพสิทธิของผู้อื่น. (ภาษาสันสกฤต ใช้ว่า “เคารว” ส่วนบาลีใช้ว่า “คารว”)
คารพ เป็นคำนาม แปลว่า ความเคารพ, ความนับถือ. (บาลี ใช้ว่า “คารว”)
พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ให้คำนิยาม “เคารพ” ไว้ดังนี้
เคารพ เป็นคำกริยา แปลว่า แสดง, แสดงความนอบน้อมนับถือ, วิธีแสดง ความเคารพตามระเบียบศาสนา มี ๕ อย่าง คือ ๑.อภิวาท-กราบ ๒.นมัสการ-ไหว้ ๓.อัญชลี-พนมมือ ๔.อุฏฐานะ-ลุกยืน ๕.สามีจิกรรม-แสดงกิริยาอ่อนน้อม (หลักฐานทางบาลีเข้าใจว่า อภิวาทคือยืนไหว้)
ขออัญเชิญ บทพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เรื่องการนับถือพระพุทธศาสนา และ ลักษณะการเคารพพระรัตนตรัย มาแสดง เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจ ในความหมายแห่งคำว่า “เคารพ” ดังนี้
การนับถือพระพุทธศาสนา
สาสนมามโก โย จ สิกฺขิตุํ สรณํปิจ อธิบายว่า บุคคลผู้ใดจะนับถือพระพุทธศาสนา พึงศึกษา ให้รู้จักที่พึ่งทั้งสาม คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ชัดให้แน่แล้ว ให้รู้จักคุณพระศาสนาว่า จะนับถือนี้ จะมีประโยชน์อย่างไร
แลบุคคลทุกวันนี้ ถือแต่หยาบๆ ไม่คิดตรึกตรอง ถึงจะนับถือพระศาสนา ก็นับถือตามมารดาบิดาที่ตนถือมา ไม่รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นเป็นอย่างไร เป็นแต่ได้ยินเขาว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่นับถือ ได้ยินเขาว่าให้ข้าวของแก่คนนุ่งเหลือง ห่มเหลือง แล้วได้บุญ ได้ยินเท่านั้น แล้วก็ให้ข้าวของไป ไม่ได้คิดตรึกตรองว่าบุญนั้นเป็นอย่างไร ทำอย่างไรจะได้ บุญ จะนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะนับถือทำไม เพราะเหตุอย่างไรจึงจะต้องนับถือ ไม่ตรึก ไม่ตรองให้รู้ชัดรู้แน่ นับถือไปตามมารดาบิดาเคย นับถือมา นับถืออย่างนั้น จะเรียกว่าเป็นคนนับถือพระศาสนานั้นหามิได้ นับถืออย่างนั้น เรียกว่านับถือตามอย่างมารดาบิดาเท่านั้น เพราะตัวไม่รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแต่ทำตามเขาพูดเขาเล่าต่อๆมา
เหตุดังนั้นจึงว่าใครจะนับถือพระศาสนา ให้ตรึกตรองให้ละเอียด ให้รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พระศาสนาเป็นอย่างนั้น จึงถวายตัวเป็นข้าพระศาสนา รับข้อปฏิบัติ อันจะพ้นความทุกข์ความลำบากนี้
ก็ทำไมจะรู้จักพระพุทธเจ้าเล่า พระพุทธเจ้านั้น ถึงเราจะไม่ได้เห็น ก็แต่ได้ยินมาแต่ในหนังสือหนังหา มีมากกว่ามาก ควรจะเชื่อได้ อันพระพุทธเจ้านั้น แต่ก่อนท่านเป็นสัตว์เหมือนอย่างเรานี่แหละ แต่ทว่าท่านหากมีปัญญาพิจารณาว่าสัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วตาย ถึงซึ่งความลำบากเป็นอันมาก จะทำอย่างไรหนอ เราจึงจะพ้นความลำบากนี้ได้ จึงนึกไปว่าที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย เห็นจะมีอยู่เป็นเที่ยงแท้ เปรียบเหมือนอย่างของร้อน แล้วก็มีเย็นแก้ ไฟมีแล้ว น้ำก็มี ความลำบากมีแล้ว ความสบายก็มีเหมือนกัน
เมื่อพระองค์พิจารณาแล้ว พระองค์ก็สู้อุตส่าห์แสวงหาอุบายที่จะออกจาก ทุกข์ สู้ทำการกุศลมาช้านาน จนถึงพระศาสนาพระพุทธเจ้าทีปังกร ครั้งนั้น ท่านมีบารมีแก่กล้า ควรจะได้พระอรหันต์ รื้อตนออกจากสังสารวัฏฏะได้ แต่หากว่าท่านมีความกรุณาแก่สัตว์ทั้งปวง ท่านมาคิดว่าเราท่องเที่ยว เวียนตาย เวียนเกิดมาในวัฏฏสงสารช้านานนักหนาแล้ว ใครที่จะไม่ได้เป็นพี่น้อง เป็น มารดาบิดากัน นั้นไม่มี คงได้เป็นพี่น้อง เป็นมารดาบิดา หมดทุกคน คนเหล่า นั้นยังจะต้องลำบากอยู่ ตัวเราจะไปเสียคนเดียว นั้นไม่ชอบ จำจะต้องอยู่บอก อุบายที่จะพ้นทุกข์ให้รู้ด้วยกันมากๆ แล้วไปด้วยกัน จึงจะดี
วิสัยที่คนจะบอกอุบายให้คนอื่นพ้นจากทุกข์ได้นั้น มิใช่ง่าย ต่อเมื่อไรมีปัญญาสารพัดรู้ สารพัดเห็น ได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนพระทีปังกรนี้จึง จะได้ ท่านคิดอย่างนี้แล้ว จึงทอดตนลงเป็นสะพานถวายแด่พระพุทธเจ้าทีปังกร กับทั้งหมู่สงฆ์บริวาร แล้วทำความปรารถนาในที่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าว่า ขอให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าทำนายว่า ท่านจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ท่านก็สร้างพระบารมีมาช้านานถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ นับแต่กัปป์นี้ถอยหลังลงไป ท่านมีความกรุณา สู้สละเสียซึ่งอรหัตผลอันจะได้ในชาตินั้น สู้ทนลำบากสร้างพระบารมีมาอย่างนี้ เปรียบเหมือนมนุษย์ที่ติดอยู่ในเรือนจำเป็นอันมาก แลนักโทษคนหนึ่ง เป็นคนมีปัญญา คิดแก้ไข จะหาอุบาย หนีออกจากเรือนจำ ครั้นแสวงหาได้อุบายที่จะออกจากเรือนจำได้แล้ว มาคิดว่า เราจะออกไปคนเดียว ไม่ชอบ คนทั้งหลายที่อยู่ในเรือนจำนั้น แต่ก็ล้วนเป็นเพื่อน ฝูงกันทั้งสิ้น คนเหล่านั้นหารู้ที่จะออกจากเรือนจำไม่ จำเราจะต้องอยู่บอกอุบายให้รู้มากๆก่อน แล้วจึงค่อยไป จึงจะดี เมื่อบุรุษนั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็สู้ทนทุกข์อยู่ในวัฏสงสาร เหมือนคนที่ติดอยู่ในเรือนจำ พระบรมโพธิสัตว์นั้นเหมือนบุรุษที่มีปัญญา สู้ทนลำบากมาช้านาน สิ่งที่เป็นกุศลท่านได้ทำทุกประการ
ครั้นพระบารมีแก่กล้าแล้วในพระชาติเป็นที่สุด ทรงถือกำเนิดในเมืองกบิลพัสดุ์ ในตระกูลกษัตริย์ศากยราช พระญาติทั้งหลายถวายพระนามว่า สิทธัตถะ หรือ สิทธารถ ถ้าเรียกได้โดยโคตรว่า โคตรมะ พระองค์มีพระกายงดงาม ไม่มีใครสู้ได้ เพราะว่าพระองค์ได้สร้างกุศลบารมีไว้มาก
พระองค์ทรงออกบรรพชา ตั้งความเพียร ละเสียซึ่งความชั่วทั้งปวง มีพระสันดานบริสุทธิ์ ไม่มีความชั่ว สารพัดรู้ สารพัดเห็น ไม่ขัด ไม่ข้อง รู้จักกองทุกข์ คืออุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ ประการ รู้เหตุที่ยังกองทุกข์ให้บังเกิด คือ ความโลภที่อยากได้ รู้จักที่ดับกองทุกข์คือพระนิพพาน แลรู้หนทาง คือข้อปฏิบัติที่จะให้ดับกองทุกข์ ท่านรู้เอง เห็นเอง ไม่มีใครเป็นครูเป็นอาจารย์ แต่ ก็รู้ดี รู้ไม่ผิด รู้ที่ชอบ ท่านผู้นี้แลชื่อว่า พระพุทธเจ้า
ส่วนพระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ ต้นไม้มหาโพธิ์ มีในที่ต่างๆนั้น มิใช่พระพุทธเจ้า เป็นแต่เขาทำไว้เป็นที่ไหว้ที่บูชา ไม้มหาโพธิ์นั้น เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าหามิได้ ถ้าจะมีผู้สงสัยว่า ท่านแต่ก่อน ท่านเป็นคนรู้ ท่านว่าไว้ ใครได้ไหว้ ได้บูชา ได้เคารพนับถือ เมื่อของเหล่านั้นไม่เป็นพระเสียแล้ว จะเป็นบุญที่ไหนเล่า ท่านแต่ก่อนๆแต่ล้วนท่านผู้รู้หนังสือหนังหามาก ทำไมท่านจึงไม่ว่าไว้ กลับมาว่าสมัยนี้ ซึ่งเป็นเด็กๆจะรู้อะไร เมื่อคิดเช่นนั้นหาชอบไม่ เพราะว่าได้ตรึกตรองแล้ว
คำที่ว่า ใครได้ไหว้ ได้บูชา ได้เคารพพระพุทธรูป พระเจดีย์ ไม้พระศรีมหาโพธิ์ ได้บุญ นั้นจริงอยู่ ด้วยว่า พระเจดีย์นั้น เมื่อพระพุทธเจ้าใกล้จะปรินิพพาน พระอานนท์ได้ทูลถามว่า ถ้าพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ชนทั้งหลายคิดถึงพระเดชพระคุณ จะบูชาในที่ไหน พระองค์ทรงอนุญาตให้กระทำสถูปเจดีย์ไว้ในที่ประชุมชนไปมา ดังระหว่างถนนใหญ่ทั้งสี่เป็นต้น เพื่อจะได้เป็นที่ไหว้ และกระทำสักการบูชาแห่งชนทั้งปวง ให้ได้เกิดความเลื่อมใสแห่งจิต สั่งสมอนุสสตานุตตริยกุศล และบูชามัยราศีของชนเหล่านั้น ผู้ใดได้กระทำสักการบูชาด้วยธูปเทียน ระเบียบดอกไม้ ของหอม เป็นต้น หรือจะอภิวาทกราบไหว้นมัสการ โดยความระลึกถึงพระพุทธเจ้า หรือกระทำจิตให้เกิดความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัย มีความระลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นต้น ก็จัดเป็นบุญเป็นกุศลไป เพื่อประโยชน์แลความสุขแก่คนเหล่านั้นตามความประสงค์
เพราะเหตุนั้น การที่ไหว้ที่บูชาพระพุทธรูป พระเจดีย์ ไม้พระศรีมหาโพธิ์ ก็เป็นเหตุจะให้เกิดความเลื่อมใสแห่งจิต เป็นพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ระลึกถึงพระคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เมื่อผู้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยแล้ว แลกราบไหว้บูชาเคารพนั้น ก็เป็นเหตุที่จะให้สำเร็จ มรรคผล สุข ประโยชน์ ได้ในปัจจุบันและภพเบื้องหน้าตามประสงค์ก็เป็นบุญ เป็นกุศล ได้อย่างหนึ่ง.....
(พระราชนิพนธ์นี้ ได้ทรงไว้แต่ครั้งทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ยังมิ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ )
ลักษณะการเคารพพระรัตนตรัย
ข้าพระพุทธเจ้า สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้า เจ้ากรุงสยาม เป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ที่สี่ ในพระราชวงศ์ ซึ่งตั้งกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทยา นี้ ขอถวายอภิวันท์นอบน้อมนมัสการด้วย ไตรทวาร นบนอบเคารพแด่พระรัตนตรัย ประชุมสิ่งประเสริฐสามประการนี้ คือพระพุทธผู้ตรัสรู้หนึ่ง พระธรรมหนึ่ง พระสงฆ์หมู่เนื่องกันหนึ่ง พระรัตนะทั้งสามนี้แม้นต่างๆ โดยวัตถุ ก็ย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยเนื้อความ แลข้าพระพุทธเจ้า บัดนี้ เห็นจะเป็นผู้กำจัดอันตรายตัวไปเสียได้ ด้วยผลบุญ ที่สำเร็จด้วยไหว้พระรัตนตรัยนั้นแล้ว
แลบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ได้อยู่ครอบครองราชอาณาจักร แลราชสมบัติในสยามมนุษย์ทั้งหลายนี้ แลได้ทำบูชาแด่ปูชนียวัตถุ คือพระพุทธเจ้าเป็นต้น อยู่ จึงจะขอกล่าววิธีต่างๆ โดยสมควร ในกิจการนมัสการแด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้านั้น ในที่ระลึกถึงพระองค์นั้น มีพระเจดีย์เป็นต้น ด้วยภาษาสยาม พากยภาษา เป็นแต่ว่าจะแสดงวิธีในคำสำหรับเป็นที่ตั้งความทำในใจระลึก แลสวดสาธยาย แลประกาศอุทิศส่วนกุศลแก่เทวดา เป็นต้น ด้วยมาคธิกาภาษาที่เรียกกันโดยมากว่า ภาษาบาลี เพราะว่าภาษานั้นเป็นประมาณ คือ ภาษากลาง ในพระพุทธศาสนธรรม เพื่อจะให้เป็นแบบแผนตำราสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ฤาผู้รับสั่งพระเจ้าแผ่นดิน ผู้จะปฏิบัติทำการบูชาพระพุทธเจ้าในเรือนพระพุทธปฏิมาเจดีย์ หรือในที่ต่างๆ ในการพระราชพิธีนั้นๆ จะให้ท่านผู้ทำพุทธบูชาได้ศึกษาตาม แลทำตามด้วยดีโดยชอบ
ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่า ถ้าท่านผู้จะบูชาวัตถุมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จะได้ตั้งอยู่ตามวิธีที่จะว่าไปนี้แล้ว พระราชกุศลแลสามัญกุศลก็ดี ศรีสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่พระราชวังแลพระนคร แก่พระราชตระกูล แลอำมาตย์ตระกูล แลอาณา ประชาราษฎร์ก็ดี จะเจริญสำเร็จมากกว่าทำโดยการมักง่าย ไม่มีวิธีกำหนดไว้
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 89 เม.ย. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)