ครั้งที่ 003
นิพพานอยู่ไม่ไกล
นิพพานไม่ได้อยู่ไกลนะ นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา เมื่อไรจิตมันสิ้นตัณหา เพราะมันรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง คืนกาย คืนใจ คืนขันธ์ให้โลกไปแล้วเนี่ย เมื่อนั้นจะเห็นนิพพาน ต่อหน้าต่อตา ไม่ได้ยากอะไร เราไปวาดภาพนิพพานเอาไว้ซะไกลเลย คิดว่าต้องภาวนาอีกแสนๆ ชาติถึงจะเจอ ถ้าอย่างนั้นอีกแสนชาติยังไม่เจอ ยังมีความเห็นผิดอยู่
นิพพานจริงๆ พูดให้ง่ายๆ คือความสิ้น ตัณหาหรือวิราคะ จิตของเรามีตัณหาย้อมอยู่ ตลอดเวลานะ เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากได้กลิ่น เดี๋ยวอยากได้รส เดี๋ยวอยากได้โผฏฐัพพะที่ดี นี่เดี๋ยวอยากได้ธรรมารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ อยากตลอด เวลา ความอยากหมุนอยู่ในอายตนะทั้ง 6
ในเวลาเราภาวนานะ แต่เดิมเราคิดว่าตัณหามี 3 ตัว กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา พอลงมือภาวนาจริงๆ เราเห็นตัณหา 6 ตัว เรียกว่ารูปตัณหา ความอยากได้รูป สัททตัณหา ความอยากได้ยินเสียง ความอยากได้กลิ่น ความอยากได้รส ความอยากได้สัมผัสที่ดี ความอยากได้ธรรมารมณ์ที่ดี อยากได้ธรรมารมณ์ที่ดีเรียกว่า 'ธรรมตัณหา' ชื่อเพราะนะธรรมตัณหา
'อยาก' เช่นอยากรู้เรื่อง ก็คิดๆ คิดไปนี่เรียกว่ามีธรรมตัณหา พอจิตมันมีตัณหาขึ้นมาในอายตนะ 6 มันก็เกิดการทำงานขึ้นมาที่จิต จิตก็หมุนจี๋ๆๆ ขึ้นมานะ ทำงานเป็นทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าเราคอยรู้คอยดูนะ โอ้ วันหนึ่งละความยึดถือในกายในจิตได้ ตัณหาจะไม่เกิดอีก ตัณหาไม่เกิดอีกนะ ภพก็ไม่เกิดขึ้น การทำงานทางใจไม่มีขึ้น ความจะไปหยิบฉวยเอารูปเอานามคือชาติขึ้นมาอีกก็ไม่มี ความทุกข์ไม่มี ความทุกข์ไม่มีเพราะไม่มีขันธ์ ขันธ์นี้เป็นที่ตั้งของความ ทุกข์ด้วย เป็นตัวทุกข์ด้วยนะ ความทุกข์เมื่อจะตั้งก็ตั้งอยู่ในขันธ์ ตั้งอยู่ในอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง และตัวขันธ์ หรืออายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง ตัวมันก็เป็นตัวทุกข์นะ ฉะนั้นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนลึกนะ ลึกมาก แต่ว่ามี สติดูจิตลูกเดียวนั่นแหละจะเข้าใจได้ทั้งหมด
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
คำสอนเรื่องจิตคือพุทธะ)
นิพพานอยู่ไม่ไกล
นิพพานไม่ได้อยู่ไกลนะ นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา เมื่อไรจิตมันสิ้นตัณหา เพราะมันรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง คืนกาย คืนใจ คืนขันธ์ให้โลกไปแล้วเนี่ย เมื่อนั้นจะเห็นนิพพาน ต่อหน้าต่อตา ไม่ได้ยากอะไร เราไปวาดภาพนิพพานเอาไว้ซะไกลเลย คิดว่าต้องภาวนาอีกแสนๆ ชาติถึงจะเจอ ถ้าอย่างนั้นอีกแสนชาติยังไม่เจอ ยังมีความเห็นผิดอยู่
นิพพานจริงๆ พูดให้ง่ายๆ คือความสิ้น ตัณหาหรือวิราคะ จิตของเรามีตัณหาย้อมอยู่ ตลอดเวลานะ เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากได้กลิ่น เดี๋ยวอยากได้รส เดี๋ยวอยากได้โผฏฐัพพะที่ดี นี่เดี๋ยวอยากได้ธรรมารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ อยากตลอด เวลา ความอยากหมุนอยู่ในอายตนะทั้ง 6
ในเวลาเราภาวนานะ แต่เดิมเราคิดว่าตัณหามี 3 ตัว กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา พอลงมือภาวนาจริงๆ เราเห็นตัณหา 6 ตัว เรียกว่ารูปตัณหา ความอยากได้รูป สัททตัณหา ความอยากได้ยินเสียง ความอยากได้กลิ่น ความอยากได้รส ความอยากได้สัมผัสที่ดี ความอยากได้ธรรมารมณ์ที่ดี อยากได้ธรรมารมณ์ที่ดีเรียกว่า 'ธรรมตัณหา' ชื่อเพราะนะธรรมตัณหา
'อยาก' เช่นอยากรู้เรื่อง ก็คิดๆ คิดไปนี่เรียกว่ามีธรรมตัณหา พอจิตมันมีตัณหาขึ้นมาในอายตนะ 6 มันก็เกิดการทำงานขึ้นมาที่จิต จิตก็หมุนจี๋ๆๆ ขึ้นมานะ ทำงานเป็นทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าเราคอยรู้คอยดูนะ โอ้ วันหนึ่งละความยึดถือในกายในจิตได้ ตัณหาจะไม่เกิดอีก ตัณหาไม่เกิดอีกนะ ภพก็ไม่เกิดขึ้น การทำงานทางใจไม่มีขึ้น ความจะไปหยิบฉวยเอารูปเอานามคือชาติขึ้นมาอีกก็ไม่มี ความทุกข์ไม่มี ความทุกข์ไม่มีเพราะไม่มีขันธ์ ขันธ์นี้เป็นที่ตั้งของความ ทุกข์ด้วย เป็นตัวทุกข์ด้วยนะ ความทุกข์เมื่อจะตั้งก็ตั้งอยู่ในขันธ์ ตั้งอยู่ในอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง และตัวขันธ์ หรืออายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง ตัวมันก็เป็นตัวทุกข์นะ ฉะนั้นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนลึกนะ ลึกมาก แต่ว่ามี สติดูจิตลูกเดียวนั่นแหละจะเข้าใจได้ทั้งหมด
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
คำสอนเรื่องจิตคือพุทธะ)