ครั้งที่ 002
เมื่อมีความอยากก็มีทุกข์
ภาวนามากเข้าๆ จะเห็นว่า ถ้ามีความอยากก็จะมีความทุกข์ จะสมอยากหรือ ไม่สมอยากก็ทุกข์แล้ว
แต่ก่อน ลึกๆ ก็ยังงงอยู่ว่า ทำไมท่านจึงสอนเริ่มด้วยทุกข์ก่อน ไม่สอนเริ่มด้วยสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะถ้ามีตัณหาแล้วจะทุกข์ แต่พอพูดถึงตัวทุกข์ก็ไม่พูดเรื่องตัณหา เมื่อพูดถึงตัวทุกข์กลับไปพูดเรื่องขันธ์ พอภาวนามาถึงจุดที่เราเห็นว่า ถ้ามีตัณหา มีสมุทัยก็มีทุกข์ เราก็นึกว่าเข้าใจ แล้ว แต่ที่จริงยังไม่เข้าใจ
เราจะเข้าใจอริยสัจต่อเมื่อเราภาวนาไป ถึงจุดที่ว่า ถ้าไม่รู้ทุกข์ถึงจะเกิดสมุทัย เดิมเราคิดว่าถ้ามีสมุทัยจึงเกิดทุกข์ ซึ่งมันเป็นความเข้าใจในระดับตื้นอยู่อีกชั้นหนึ่ง ผู้เข้าถึง จึงเอาทุกข์ขึ้นก่อน ท่านจึงบอกว่า ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ เมื่อไรรู้ทุกข์แล้ว เมื่อนั้น ละสมุทัย เมื่อไรละสมุทัย เมื่อนั้นแจ้งนิโรธ
ธรรมท่านเรียงร้อยได้สวยงามตรงกับการปฏิบัติ ท่านไม่ได้สอนไว้เพื่อให้คิดแบบ นักปรัชญา ท่านสอนจากการปฏิบัติ ปฏิบัติให้รู้รูปนามให้รู้ทุก์ งั้นจุดเริ่มต้นคือให้รู้ทุกข์ ถ้ารู้ทุกข์แจ้ง เห็นว่าขันธ์นี้ไม่ใช่เราแล้ว คืนขันธ์ให้โลก คืนขันธ์ให้ธรรมชาติไป ตัณหาหรือสมุทัยจะดับอัตโนมัติ จะไม่เกิดแล้ว ถ้ายังไม่เห็นว่าขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ เนี่ย ตัณหาจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ มี อวิชชาอยู่ตัณหายังเกิดอีก มันเกิดเป็นระยะๆ ไป
ตัณหาคืออะไร พูดง่ายๆ เลย ตัณหาก็คือความอยากให้ขันธ์นี้มีความสุข ความอยากจะให้ขันธ์นี้พ้นจากทุกข์ ทำไมมีความอยากอันนี้ขึ้นมา ก็เพราะมีความสำคัญ มั่นหมายว่าขันธ์นี้คือเรา เราคือขันธ์ ฉะนั้น ถ้าภาวนาจนเห็นว่า ขันธ์ไม่ใช่เราหรอก นี่กำลังเหยียบประตูไปสู่นิพพานแล้ว ได้โสดาบัน ดูต่อไปจนวางขันธ์ได้ พอวางขันธ์ได้แล้วสมุทัยหายไปเองนะ ไม่เกิดอีก เพราะว่าขันธ์ไม่ใช่เราแล้วจะไปอยากให้มันมีความสุขทำไม จะอยากให้มันพ้นทุกข์ทำไม
ฉะนั้น เมื่อไรรู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อนั้นจะละสมุทัย ทันทีที่ละสมุทัย จิตจะเข้าถึงธรรม อีกชนิดหนึ่ง คือพอเราวางความยึดถือจิต สลัดจิตคืน เรียก ปฏินิสสัคคะ สลัดรูปนาม คืนเจ้าของเดิมคือคืนโลกไป พอสลัดคืนไปแล้วเนี่ย ภาระที่จะต้องทำงานให้รูปนามมีความสุข พ้นทุกข์ ไม่มีอีก จิตใจเลยเข้าถึงสันติสุข สันตินั่นแหละคือนิพพาน นิพพานนั่นแหละเป็นสุขที่สุด
สรุปแล้วเพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้งจึงละสมุทัย เพราะละสมุทัยจึงแจ้งนิโรธหรือนิพพาน สภาวะที่รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธนั่นแหละคืออริยมรรค อริยมรรคจะเกิดก็เมื่อรู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธในขณะจิตเดียว
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
นิพพานอยู่ไม่ไกล)
เมื่อมีความอยากก็มีทุกข์
ภาวนามากเข้าๆ จะเห็นว่า ถ้ามีความอยากก็จะมีความทุกข์ จะสมอยากหรือ ไม่สมอยากก็ทุกข์แล้ว
แต่ก่อน ลึกๆ ก็ยังงงอยู่ว่า ทำไมท่านจึงสอนเริ่มด้วยทุกข์ก่อน ไม่สอนเริ่มด้วยสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะถ้ามีตัณหาแล้วจะทุกข์ แต่พอพูดถึงตัวทุกข์ก็ไม่พูดเรื่องตัณหา เมื่อพูดถึงตัวทุกข์กลับไปพูดเรื่องขันธ์ พอภาวนามาถึงจุดที่เราเห็นว่า ถ้ามีตัณหา มีสมุทัยก็มีทุกข์ เราก็นึกว่าเข้าใจ แล้ว แต่ที่จริงยังไม่เข้าใจ
เราจะเข้าใจอริยสัจต่อเมื่อเราภาวนาไป ถึงจุดที่ว่า ถ้าไม่รู้ทุกข์ถึงจะเกิดสมุทัย เดิมเราคิดว่าถ้ามีสมุทัยจึงเกิดทุกข์ ซึ่งมันเป็นความเข้าใจในระดับตื้นอยู่อีกชั้นหนึ่ง ผู้เข้าถึง จึงเอาทุกข์ขึ้นก่อน ท่านจึงบอกว่า ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ เมื่อไรรู้ทุกข์แล้ว เมื่อนั้น ละสมุทัย เมื่อไรละสมุทัย เมื่อนั้นแจ้งนิโรธ
ธรรมท่านเรียงร้อยได้สวยงามตรงกับการปฏิบัติ ท่านไม่ได้สอนไว้เพื่อให้คิดแบบ นักปรัชญา ท่านสอนจากการปฏิบัติ ปฏิบัติให้รู้รูปนามให้รู้ทุก์ งั้นจุดเริ่มต้นคือให้รู้ทุกข์ ถ้ารู้ทุกข์แจ้ง เห็นว่าขันธ์นี้ไม่ใช่เราแล้ว คืนขันธ์ให้โลก คืนขันธ์ให้ธรรมชาติไป ตัณหาหรือสมุทัยจะดับอัตโนมัติ จะไม่เกิดแล้ว ถ้ายังไม่เห็นว่าขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ เนี่ย ตัณหาจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ มี อวิชชาอยู่ตัณหายังเกิดอีก มันเกิดเป็นระยะๆ ไป
ตัณหาคืออะไร พูดง่ายๆ เลย ตัณหาก็คือความอยากให้ขันธ์นี้มีความสุข ความอยากจะให้ขันธ์นี้พ้นจากทุกข์ ทำไมมีความอยากอันนี้ขึ้นมา ก็เพราะมีความสำคัญ มั่นหมายว่าขันธ์นี้คือเรา เราคือขันธ์ ฉะนั้น ถ้าภาวนาจนเห็นว่า ขันธ์ไม่ใช่เราหรอก นี่กำลังเหยียบประตูไปสู่นิพพานแล้ว ได้โสดาบัน ดูต่อไปจนวางขันธ์ได้ พอวางขันธ์ได้แล้วสมุทัยหายไปเองนะ ไม่เกิดอีก เพราะว่าขันธ์ไม่ใช่เราแล้วจะไปอยากให้มันมีความสุขทำไม จะอยากให้มันพ้นทุกข์ทำไม
ฉะนั้น เมื่อไรรู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อนั้นจะละสมุทัย ทันทีที่ละสมุทัย จิตจะเข้าถึงธรรม อีกชนิดหนึ่ง คือพอเราวางความยึดถือจิต สลัดจิตคืน เรียก ปฏินิสสัคคะ สลัดรูปนาม คืนเจ้าของเดิมคือคืนโลกไป พอสลัดคืนไปแล้วเนี่ย ภาระที่จะต้องทำงานให้รูปนามมีความสุข พ้นทุกข์ ไม่มีอีก จิตใจเลยเข้าถึงสันติสุข สันตินั่นแหละคือนิพพาน นิพพานนั่นแหละเป็นสุขที่สุด
สรุปแล้วเพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้งจึงละสมุทัย เพราะละสมุทัยจึงแจ้งนิโรธหรือนิพพาน สภาวะที่รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธนั่นแหละคืออริยมรรค อริยมรรคจะเกิดก็เมื่อรู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธในขณะจิตเดียว
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
นิพพานอยู่ไม่ไกล)