ครั้งที่ 12.
วิธีรู้รูป-รู้นาม
5.3.2 วิธีรู้รูป
(1) การรู้รูปจะมีคุณภาพคือเห็นไตรลักษณ์ได้ง่ายและชัดเจน ก็ต่อเมื่อจิตมีเอโกทิภาวะคือมีสัมมาสมาธิ หรือความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ หรือความทรงอยู่ต่างหากจากอารมณ์ แล้วสักว่ารู้อารมณ์ได้อย่างนุ่มนวลและเป็นกลาง หากจิตไม่ตั้งมั่นแต่ไหลเข้าไปรวมหรือกำหนด เพ่งจ้อง จมแช่อยู่กับอารมณ์ จิตจะรู้ลักษณะอันเป็นไตรลักษณ์ของรูปได้ไม่ชัดเจน แต่จะกลายเป็นการเพ่งรูป จนกระทั่งจิตและ/หรือรูปหยุดนิ่ง และไม่แสดงไตรลักษณ์ให้เห็น
(2)การรู้รูปนั้นนอกจากจะต้องไม่เพ่งรูปแล้ว ยังต้องไม่นำความคิดเกี่ยวกับรูปมาใช้ด้วย เช่น ไม่ต้องคิดว่ารูปที่กำลังเดินอยู่นี้เป็นรูปเดินไม่ใช่เราเดิน หรือรูปที่กำลังนั่งอยู่นี้เป็นปฏิกูล/อสุภะ หรือรูปที่กำลังนอนอยู่นี้ไม่นานก็ต้องตาย ฯลฯ เพราะความคิดเป็นสิ่งที่ปิดบังความจริง และเมื่อคิดจิตก็จะตกจากการรู้ "รูป" อันเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ กลายเป็นการรู้ "ความคิดเรื่องรูป" อันเป็นอารมณ์บัญญัติ ทำให้จิตในขณะนั้นไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้เลย
(3) การรู้รูปจะต้องรู้รูปที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบัน ไม่คำนึงถึงรูปในอดีตด้วยอำนาจ ของสัญญา หรือตรึกถึงรูปในอนาคตด้วยอำนาจของสังขาร
(4) การรู้รูปจะต้องไม่จงใจรู้ แต่สติเกิดระลึกรู้รูปขึ้นมาเองเพราะจิตจำสภาวะของรูปได้แม่นยำ
(5) เมื่อรู้รูปใดๆ แล้ว หากจิตเกิดความ ยินดียินร้ายก็ให้มีสติรู้ทันจิต เพราะรูปที่รู้มาแต่แรกกลายเป็นอารมณ์ในอดีตไปแล้ว ส่วนความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นอารมณ์ปัจจุบัน เมื่อความยินดียินร้ายดับไปแล้ว จิตอาจจะมีสติระลึกรู้รูปต่อไปหรือ จะรู้อารมณ์อื่นๆ ก็ได้ แต่หากจิตรู้ไม่เท่าทันความยินดียินร้าย จิตจะไม่เป็นกลาง และอาจจะหลงตรึกถึงรูปหรือตรึกถึงเรื่องอื่นๆ หรือหลงแทรกแซงดัดแปลงแก้ไขรูปหรือนาม ที่เนื่องด้วยรูปอันนั้น ซึ่งผิดหลักของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง
(6) เมื่อจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง และมีสติสักว่าระลึกรู้รูปที่กำลังปรากฏโดยไม่ได้จงใจรู้ ก็จะเห็นทันทีว่ารูปเป็นของไม่เที่ยงคือ มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รูปถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา และรูปเป็นเพียงวัตถุธาตุหรือเป็นส่วนหนึ่งของโลกซึ่งไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แต่อย่างใด
5.3.3 วิธีรู้นาม
(1) การรู้นามจะมีคุณภาพคือเห็นไตรลักษณ์ได้ง่ายและชัดเจนก็ต่อเมื่อสติเกิดตามระลึกรู้นามที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ โดยไม่ได้จงใจรู้ ดังนั้นอย่าตั้งใจหรือตั้งท่าเอาไว้ก่อนว่าจะรู้นาม นอกจากนี้ก็ไม่ต้องพยายาม จะรู้นามให้ทันเป็นปัจจุบัน เพราะการรู้นามนั้นต้องตามรู้ คือนามเกิดขึ้นก่อนแล้วสติจึงเกิดระลึกตามหลังไปได้อย่างติดๆ เนื่องจากจิตจดจำสภาวะของนามได้ชัดเจน สติจึงเกิดตามระลึกได้เองเมื่อนามเกิดขึ้นแล้ว
(2) เมื่อนามปรากฏและสติเกิดระลึกรู้นามได้แล้ว ก็อย่าส่งจิตถลำเข้าไปเพ่งจ้องนามเพราะอยากจะรู้นามให้ชัดๆ พึงรู้นามด้วยจิตที่ตั้งมั่นสักว่ารู้ว่าดู ให้รู้นามนั้นอย่างเป็นกลางหรืออย่างคนวงนอก และไม่มีส่วนได้เสีย หากหลงถลำเข้าไปเพ่งจ้องนาม นามอาจจะเคลื่อนตัวหนีลึกเข้าไปภายใน หรืออาจจะดับ หรืออาจจะหยุดนิ่งแต่ไม่ดับ ซึ่งจิตจะไม่สามารถทราบได้เลยว่านามมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ เช่น เมื่อเห็นว่านามได้ดับก็จะไม่เห็นว่านามไม่เที่ยง หรือเมื่อเห็นว่านามดับก็จะเห็นว่านามเป็นอัตตาเพราะเราดับนามได้ด้วยการเพ่งนาม เป็นต้น
(3) เมื่อรู้นามใดๆ แล้ว หากจิตเกิดความยินดียินร้ายก็ให้มีสติรู้ทันจิต เพราะนามที่เป็นอารมณ์ให้สติระลึกรู้มาแต่แรกได้ดับไปแล้ว ส่วนความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นนามใหม่ก็ได้กลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันไปเสียแล้ว หากจิตรู้ไม่ทันความยินดียินร้าย จิตจะไม่เป็นกลางและจะหลงตามหรือหลงแทรกแซงดัดแปลงแก้ไขนามอันนั้น ซึ่งผิดหลักของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง
(4) เมื่อจิตเป็นกลาง และมีสติสักว่าระลึกรู้นามที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ โดยไม่ได้จงใจรู้ ก็จะเห็นทันทีว่านามทั้งหลายมีความเกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งที่ควบคุมบังคับไม่ได้ และไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขาแต่อย่างใด
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/ข้อสังเกตเกี่ยวกับระดับความตั้งมั่นของจิตในการรู้รูปกับนาม)
วิธีรู้รูป-รู้นาม
5.3.2 วิธีรู้รูป
(1) การรู้รูปจะมีคุณภาพคือเห็นไตรลักษณ์ได้ง่ายและชัดเจน ก็ต่อเมื่อจิตมีเอโกทิภาวะคือมีสัมมาสมาธิ หรือความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ หรือความทรงอยู่ต่างหากจากอารมณ์ แล้วสักว่ารู้อารมณ์ได้อย่างนุ่มนวลและเป็นกลาง หากจิตไม่ตั้งมั่นแต่ไหลเข้าไปรวมหรือกำหนด เพ่งจ้อง จมแช่อยู่กับอารมณ์ จิตจะรู้ลักษณะอันเป็นไตรลักษณ์ของรูปได้ไม่ชัดเจน แต่จะกลายเป็นการเพ่งรูป จนกระทั่งจิตและ/หรือรูปหยุดนิ่ง และไม่แสดงไตรลักษณ์ให้เห็น
(2)การรู้รูปนั้นนอกจากจะต้องไม่เพ่งรูปแล้ว ยังต้องไม่นำความคิดเกี่ยวกับรูปมาใช้ด้วย เช่น ไม่ต้องคิดว่ารูปที่กำลังเดินอยู่นี้เป็นรูปเดินไม่ใช่เราเดิน หรือรูปที่กำลังนั่งอยู่นี้เป็นปฏิกูล/อสุภะ หรือรูปที่กำลังนอนอยู่นี้ไม่นานก็ต้องตาย ฯลฯ เพราะความคิดเป็นสิ่งที่ปิดบังความจริง และเมื่อคิดจิตก็จะตกจากการรู้ "รูป" อันเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ กลายเป็นการรู้ "ความคิดเรื่องรูป" อันเป็นอารมณ์บัญญัติ ทำให้จิตในขณะนั้นไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้เลย
(3) การรู้รูปจะต้องรู้รูปที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบัน ไม่คำนึงถึงรูปในอดีตด้วยอำนาจ ของสัญญา หรือตรึกถึงรูปในอนาคตด้วยอำนาจของสังขาร
(4) การรู้รูปจะต้องไม่จงใจรู้ แต่สติเกิดระลึกรู้รูปขึ้นมาเองเพราะจิตจำสภาวะของรูปได้แม่นยำ
(5) เมื่อรู้รูปใดๆ แล้ว หากจิตเกิดความ ยินดียินร้ายก็ให้มีสติรู้ทันจิต เพราะรูปที่รู้มาแต่แรกกลายเป็นอารมณ์ในอดีตไปแล้ว ส่วนความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นอารมณ์ปัจจุบัน เมื่อความยินดียินร้ายดับไปแล้ว จิตอาจจะมีสติระลึกรู้รูปต่อไปหรือ จะรู้อารมณ์อื่นๆ ก็ได้ แต่หากจิตรู้ไม่เท่าทันความยินดียินร้าย จิตจะไม่เป็นกลาง และอาจจะหลงตรึกถึงรูปหรือตรึกถึงเรื่องอื่นๆ หรือหลงแทรกแซงดัดแปลงแก้ไขรูปหรือนาม ที่เนื่องด้วยรูปอันนั้น ซึ่งผิดหลักของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง
(6) เมื่อจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง และมีสติสักว่าระลึกรู้รูปที่กำลังปรากฏโดยไม่ได้จงใจรู้ ก็จะเห็นทันทีว่ารูปเป็นของไม่เที่ยงคือ มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รูปถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา และรูปเป็นเพียงวัตถุธาตุหรือเป็นส่วนหนึ่งของโลกซึ่งไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แต่อย่างใด
5.3.3 วิธีรู้นาม
(1) การรู้นามจะมีคุณภาพคือเห็นไตรลักษณ์ได้ง่ายและชัดเจนก็ต่อเมื่อสติเกิดตามระลึกรู้นามที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ โดยไม่ได้จงใจรู้ ดังนั้นอย่าตั้งใจหรือตั้งท่าเอาไว้ก่อนว่าจะรู้นาม นอกจากนี้ก็ไม่ต้องพยายาม จะรู้นามให้ทันเป็นปัจจุบัน เพราะการรู้นามนั้นต้องตามรู้ คือนามเกิดขึ้นก่อนแล้วสติจึงเกิดระลึกตามหลังไปได้อย่างติดๆ เนื่องจากจิตจดจำสภาวะของนามได้ชัดเจน สติจึงเกิดตามระลึกได้เองเมื่อนามเกิดขึ้นแล้ว
(2) เมื่อนามปรากฏและสติเกิดระลึกรู้นามได้แล้ว ก็อย่าส่งจิตถลำเข้าไปเพ่งจ้องนามเพราะอยากจะรู้นามให้ชัดๆ พึงรู้นามด้วยจิตที่ตั้งมั่นสักว่ารู้ว่าดู ให้รู้นามนั้นอย่างเป็นกลางหรืออย่างคนวงนอก และไม่มีส่วนได้เสีย หากหลงถลำเข้าไปเพ่งจ้องนาม นามอาจจะเคลื่อนตัวหนีลึกเข้าไปภายใน หรืออาจจะดับ หรืออาจจะหยุดนิ่งแต่ไม่ดับ ซึ่งจิตจะไม่สามารถทราบได้เลยว่านามมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ เช่น เมื่อเห็นว่านามได้ดับก็จะไม่เห็นว่านามไม่เที่ยง หรือเมื่อเห็นว่านามดับก็จะเห็นว่านามเป็นอัตตาเพราะเราดับนามได้ด้วยการเพ่งนาม เป็นต้น
(3) เมื่อรู้นามใดๆ แล้ว หากจิตเกิดความยินดียินร้ายก็ให้มีสติรู้ทันจิต เพราะนามที่เป็นอารมณ์ให้สติระลึกรู้มาแต่แรกได้ดับไปแล้ว ส่วนความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นนามใหม่ก็ได้กลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันไปเสียแล้ว หากจิตรู้ไม่ทันความยินดียินร้าย จิตจะไม่เป็นกลางและจะหลงตามหรือหลงแทรกแซงดัดแปลงแก้ไขนามอันนั้น ซึ่งผิดหลักของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง
(4) เมื่อจิตเป็นกลาง และมีสติสักว่าระลึกรู้นามที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ โดยไม่ได้จงใจรู้ ก็จะเห็นทันทีว่านามทั้งหลายมีความเกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งที่ควบคุมบังคับไม่ได้ และไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขาแต่อย่างใด
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/ข้อสังเกตเกี่ยวกับระดับความตั้งมั่นของจิตในการรู้รูปกับนาม)