ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
สติจะระลึกรู้อารมณ์รูปนามที่กำลังปรากฏ
อย่างสักว่ารู้ เป็นการรู้ขึ้นมาเอง
มีสมาธิตั้งมั่นรู้อย่างคนวงนอก
และระลึกรู้ด้วยปัญญาเข้าใจไตรลักษณ์
ครั้งที่ 08.
ลักษณะของอารมณ์
ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
4.6.3.3.1 สติ
(1) สติในการทำสมถกรรมฐานนั้น จะต้องเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง โดยน้อมใจ หรือกำหนด หรือเพ่ง ให้จิตเคลื่อนไปจับแนบเข้ากับตัวอารมณ์อย่างสบายๆ โดยอารมณ์นั้นต้องถูกกับจริตคือรู้แล้วสบาย หากรู้แล้วเครียดแสดงว่าไม่ถูกกับจริตและจิตจะไม่สงบ เมื่อจิตรู้อารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่องและสบายแล้ว จิตจะสงบได้เอง
(2) สติในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นั้น จะต้องเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์รูปนามที่กำลังปรากฏอย่างสักว่ารู้ คือรู้อย่างคนวงนอกเหมือนคนที่ดูฟุตบอลอยู่ข้างสนาม หรือดูละครอยู่หน้าเวที และการระลึกรู้นั้น เป็นการรู้ขึ้นมาเอง (อสังขาริก) โดยไม่ได้จงใจจะรู้หรือพยายามจะรู้ การที่สติระลึกรู้ขึ้น มาได้เองก็เพราะจิตจดจำสภาวะของรูปนาม นั้นๆ ได้ การระลึกรู้ไม่ได้เกิดจากการเพ่งจ้อง หรือกำหนดรู้เหมือนเมื่อทำสมถกรรมฐาน
4.6.3.3.2 สมาธิ
(1) สมาธิในการทำสมถกรรมฐานนั้น เป็นสภาวะความตั้งมั่นของจิตอยู่ในตัวอารมณ์ จิตจะเกาะเกี่ยว แนบแน่น จมแช่ไม่คลาดเคลื่อนไปจากตัวอารมณ์อันเดียวนั้น เช่น เมื่อรู้ลมหายใจ จิตก็เกาะอยู่กับลมหายใจ เมื่อรู้ท้องพองยุบ จิตก็เกาะอยู่กับท้อง เมื่อรู้มือหรือรู้เท้า จิตก็เกาะอยู่กับมือหรือเท้า เมื่อรู้เวทนา จิตก็เกาะอยู่กับเวทนา เมื่อรู้จิต จิตก็เกาะอยู่กับความว่างของจิต และเมื่อบริกรรม จิตก็เกาะอยู่กับคำบริกรรม เป็นต้น
(2) สมาธิในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เป็นสภาวะความตั้งมั่นของจิต ในระหว่างที่รู้อารมณ์รูปนาม จิตกับอารมณ์ จะต่างกันต่างอยู่ แยกออกจากกัน เหมือนมี ช่องว่างระหว่างกัน จิตเหมือนคนดูละครอยู่นอกเวที หรือดูฟุตบอลอยู่ข้างสนาม หรือดูสิ่งที่ลอยไหลตามสายน้ำอยู่บนตลิ่ง โดยจิตจะมีสติสักว่ารู้อารมณ์รูปนาม และมีปัญญาเห็นลักษณะของอารมณ์รูปนามที่กำลังปรากฏนั้น คือเมื่อรู้รูปก็เห็นรูปเป็นสักว่ารูป และมีจิตเป็นผู้รู้รูปอยู่ต่างหากจากรูป เมื่อรู้เวทนาก็เห็นเวทนาเป็นสักว่าเวทนา และมีจิตเป็นผู้รู้เวทนาอยู่ต่างหากจากเวทนา เมื่อรู้จิตก็เห็นจิตเป็นสักว่าจิต และมีจิตอีกดวงหนึ่งเป็นผู้รู้จิตดวงก่อนที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ และเมื่อรู้สภาวธรรมใดๆ ก็เห็นเป็นสักว่าสภาวธรรม และมีจิตเป็นผู้รู้สภาวธรรม อยู่ต่างหากจากสภาวธรรมนั้นๆ
4.6.3.3.3 ปัญญา
(1) ปัญญาในการทำสมถกรรมฐานนั้น มีลักษณะสำคัญคือ (ก) เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นด้วยการคิดหรือเจือด้วยความคิดหรือจินตามยปัญญา และถึงแม้สิ่งที่คิดนั้นจะเป็นความจริง แต่ก็เป็นความจริงที่เจือด้วยสมมติบัญญัติ เช่น พระพุทธเจ้ามีคุณจริง แต่เรามีปัญญารู้คุณของพระพุทธเจ้าได้ด้วยการ คิดพิจารณาไตร่ตรอง ซึ่งเมื่อไตร่ตรองแล้วจิตก็เข้าถึงความสงบสุข ร่างกายเป็นปฏิกูล/อสุภะจริง แต่เรามีปัญญารู้ได้เป็นครั้งคราวด้วยการคิดพิจารณาไตร่ตรองกาย ซึ่งเมื่อไตร่ตรองแล้วจิตก็เข้าถึงความสงบสุข ความตายมีจริง แต่เรามีปัญญารู้ได้เป็นครั้งคราวด้วยการคิดพิจารณาไตร่ตรองถึงชีวิตของตนเองและสัตว์อื่น ซึ่งเมื่อไตร่ตรองแล้วจิตก็เข้าถึงความสงบสุข และกายนี้ใจนี้เป็นไตรลักษณ์จริง แต่เรามีปัญญา (ปัญญาชนิดนี้ชื่อสัมมสนญาณ) รู้ได้ด้วยการคิดพิจารณารูปนามในอดีตกับปัจจุบันว่าแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อไตร่ตรองแล้วจิตก็เข้าถึงความ สงบสุข เป็นต้น และ (ข) เป็นปัญญาที่จิตฉลาดรอบรู้ในอุบายวิธีที่จะข่มนิวรณ์ อันเป็น ศัตรูของความสงบจิตได้ เช่น เมื่อจิตเกิดกามฉันทะก็ฉลาดที่จะเจริญอสุภกรรมฐานเพื่อข่มกามฉันทะให้สงบลงชั่วคราว เมื่อจิตเกิดพยาบาทก็ฉลาดที่จะเจริญเมตตาเพื่อข่มพยาบาทให้สงบลงชั่วคราว และเมื่อจิตฟุ้งซ่านก็ฉลาดที่จะเจริญอานาปานสติเพื่อข่มความฟุ้งซ่านให้สงบลงชั่วคราว เป็นต้น
(2) ปัญญาในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีลักษณะสำคัญคือ (ก) เป็นปัญญาที่เกิดจากการรู้ หรือ การเจริญสติ หรือ ภาวนามยปัญญา ซึ่งไม่เจือด้วยความ คิด คือเกิดจากการเจริญสติระลึกรู้สภาวธรรม คือรูปนามที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบันอยู่เนืองๆ โดยในขณะนั้นจิตมี สัมมาสมาธิ (คือความตั้งมั่นของจิตที่สักว่ารู้อารมณ์รูปนาม) เป็นเครื่องสนับสนุน และ (ข) เป็นปัญญาที่จิตเข้าใจความเป็นจริงของรูปนาม/กายใจว่ามีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ จนจิตเป็นกลางต่อรูปนาม และปล่อยวางรูปนามแล้วประจักษ์ถึงนิพพานได้ในที่สุด
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/วิธีศึกษาจิต)
สติจะระลึกรู้อารมณ์รูปนามที่กำลังปรากฏ
อย่างสักว่ารู้ เป็นการรู้ขึ้นมาเอง
มีสมาธิตั้งมั่นรู้อย่างคนวงนอก
และระลึกรู้ด้วยปัญญาเข้าใจไตรลักษณ์
ครั้งที่ 08.
ลักษณะของอารมณ์
ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
4.6.3.3.1 สติ
(1) สติในการทำสมถกรรมฐานนั้น จะต้องเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง โดยน้อมใจ หรือกำหนด หรือเพ่ง ให้จิตเคลื่อนไปจับแนบเข้ากับตัวอารมณ์อย่างสบายๆ โดยอารมณ์นั้นต้องถูกกับจริตคือรู้แล้วสบาย หากรู้แล้วเครียดแสดงว่าไม่ถูกกับจริตและจิตจะไม่สงบ เมื่อจิตรู้อารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่องและสบายแล้ว จิตจะสงบได้เอง
(2) สติในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นั้น จะต้องเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์รูปนามที่กำลังปรากฏอย่างสักว่ารู้ คือรู้อย่างคนวงนอกเหมือนคนที่ดูฟุตบอลอยู่ข้างสนาม หรือดูละครอยู่หน้าเวที และการระลึกรู้นั้น เป็นการรู้ขึ้นมาเอง (อสังขาริก) โดยไม่ได้จงใจจะรู้หรือพยายามจะรู้ การที่สติระลึกรู้ขึ้น มาได้เองก็เพราะจิตจดจำสภาวะของรูปนาม นั้นๆ ได้ การระลึกรู้ไม่ได้เกิดจากการเพ่งจ้อง หรือกำหนดรู้เหมือนเมื่อทำสมถกรรมฐาน
4.6.3.3.2 สมาธิ
(1) สมาธิในการทำสมถกรรมฐานนั้น เป็นสภาวะความตั้งมั่นของจิตอยู่ในตัวอารมณ์ จิตจะเกาะเกี่ยว แนบแน่น จมแช่ไม่คลาดเคลื่อนไปจากตัวอารมณ์อันเดียวนั้น เช่น เมื่อรู้ลมหายใจ จิตก็เกาะอยู่กับลมหายใจ เมื่อรู้ท้องพองยุบ จิตก็เกาะอยู่กับท้อง เมื่อรู้มือหรือรู้เท้า จิตก็เกาะอยู่กับมือหรือเท้า เมื่อรู้เวทนา จิตก็เกาะอยู่กับเวทนา เมื่อรู้จิต จิตก็เกาะอยู่กับความว่างของจิต และเมื่อบริกรรม จิตก็เกาะอยู่กับคำบริกรรม เป็นต้น
(2) สมาธิในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เป็นสภาวะความตั้งมั่นของจิต ในระหว่างที่รู้อารมณ์รูปนาม จิตกับอารมณ์ จะต่างกันต่างอยู่ แยกออกจากกัน เหมือนมี ช่องว่างระหว่างกัน จิตเหมือนคนดูละครอยู่นอกเวที หรือดูฟุตบอลอยู่ข้างสนาม หรือดูสิ่งที่ลอยไหลตามสายน้ำอยู่บนตลิ่ง โดยจิตจะมีสติสักว่ารู้อารมณ์รูปนาม และมีปัญญาเห็นลักษณะของอารมณ์รูปนามที่กำลังปรากฏนั้น คือเมื่อรู้รูปก็เห็นรูปเป็นสักว่ารูป และมีจิตเป็นผู้รู้รูปอยู่ต่างหากจากรูป เมื่อรู้เวทนาก็เห็นเวทนาเป็นสักว่าเวทนา และมีจิตเป็นผู้รู้เวทนาอยู่ต่างหากจากเวทนา เมื่อรู้จิตก็เห็นจิตเป็นสักว่าจิต และมีจิตอีกดวงหนึ่งเป็นผู้รู้จิตดวงก่อนที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ และเมื่อรู้สภาวธรรมใดๆ ก็เห็นเป็นสักว่าสภาวธรรม และมีจิตเป็นผู้รู้สภาวธรรม อยู่ต่างหากจากสภาวธรรมนั้นๆ
4.6.3.3.3 ปัญญา
(1) ปัญญาในการทำสมถกรรมฐานนั้น มีลักษณะสำคัญคือ (ก) เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นด้วยการคิดหรือเจือด้วยความคิดหรือจินตามยปัญญา และถึงแม้สิ่งที่คิดนั้นจะเป็นความจริง แต่ก็เป็นความจริงที่เจือด้วยสมมติบัญญัติ เช่น พระพุทธเจ้ามีคุณจริง แต่เรามีปัญญารู้คุณของพระพุทธเจ้าได้ด้วยการ คิดพิจารณาไตร่ตรอง ซึ่งเมื่อไตร่ตรองแล้วจิตก็เข้าถึงความสงบสุข ร่างกายเป็นปฏิกูล/อสุภะจริง แต่เรามีปัญญารู้ได้เป็นครั้งคราวด้วยการคิดพิจารณาไตร่ตรองกาย ซึ่งเมื่อไตร่ตรองแล้วจิตก็เข้าถึงความสงบสุข ความตายมีจริง แต่เรามีปัญญารู้ได้เป็นครั้งคราวด้วยการคิดพิจารณาไตร่ตรองถึงชีวิตของตนเองและสัตว์อื่น ซึ่งเมื่อไตร่ตรองแล้วจิตก็เข้าถึงความสงบสุข และกายนี้ใจนี้เป็นไตรลักษณ์จริง แต่เรามีปัญญา (ปัญญาชนิดนี้ชื่อสัมมสนญาณ) รู้ได้ด้วยการคิดพิจารณารูปนามในอดีตกับปัจจุบันว่าแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อไตร่ตรองแล้วจิตก็เข้าถึงความ สงบสุข เป็นต้น และ (ข) เป็นปัญญาที่จิตฉลาดรอบรู้ในอุบายวิธีที่จะข่มนิวรณ์ อันเป็น ศัตรูของความสงบจิตได้ เช่น เมื่อจิตเกิดกามฉันทะก็ฉลาดที่จะเจริญอสุภกรรมฐานเพื่อข่มกามฉันทะให้สงบลงชั่วคราว เมื่อจิตเกิดพยาบาทก็ฉลาดที่จะเจริญเมตตาเพื่อข่มพยาบาทให้สงบลงชั่วคราว และเมื่อจิตฟุ้งซ่านก็ฉลาดที่จะเจริญอานาปานสติเพื่อข่มความฟุ้งซ่านให้สงบลงชั่วคราว เป็นต้น
(2) ปัญญาในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีลักษณะสำคัญคือ (ก) เป็นปัญญาที่เกิดจากการรู้ หรือ การเจริญสติ หรือ ภาวนามยปัญญา ซึ่งไม่เจือด้วยความ คิด คือเกิดจากการเจริญสติระลึกรู้สภาวธรรม คือรูปนามที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบันอยู่เนืองๆ โดยในขณะนั้นจิตมี สัมมาสมาธิ (คือความตั้งมั่นของจิตที่สักว่ารู้อารมณ์รูปนาม) เป็นเครื่องสนับสนุน และ (ข) เป็นปัญญาที่จิตเข้าใจความเป็นจริงของรูปนาม/กายใจว่ามีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ จนจิตเป็นกลางต่อรูปนาม และปล่อยวางรูปนามแล้วประจักษ์ถึงนิพพานได้ในที่สุด
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/วิธีศึกษาจิต)