ผู้ปฏิบัติควรทำความรู้จักลักษณะของจิต
ที่เป็นกุศลและอกุศลให้ดี
มิฉะนั้นจะไปหลงสร้างอกุศลจิต
ทั้งที่คิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่
ครั้งที่ 06.ข้อสรุป
4.5 ข้อสรุป สรุปแล้วผู้ปฏิบัติควรทำความรู้จักลักษณะของจิตที่เป็นกุศลและอกุศลให้ดี มิฉะนั้นจะไปหลงสร้างอกุศลจิตทั้งที่คิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ตัวอย่างเช่น (1) หากกำหนดอารมณ์กรรมฐาน อันใดอันหนึ่งแล้ว จิตเกิดความหนัก แน่น แข็ง ซึมทื่อ แสดงว่าจิตในขณะนั้นเป็นอกุศล แน่นอน (2) หากจิตคิดเรื่องที่ไม่ดีก็เป็นอกุศล แน่นอน (3) หากจิตคิดในเรื่องที่ดีงาม เช่น คิดอยากช่วยเหลือผู้อื่น คิดบริกรรมพุทโธ คิดบริกรรมพองหนอยุบหนอ คิดถึงพระรัตนตรัย คิดถึงร่างกายว่าเป็นปฏิกูล/อสุภะ คิดถึงลมหายใจเข้าออก คิดพิจารณา ธรรมว่าตัวเราไม่มี มีแต่รูปนามที่ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ และเป็นอนัตตา จิตขณะนั้นก็เป็นกุศล ธรรมดาๆ ยังไม่ใช่การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน และ (4) หากจิตเกิดระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏได้ตรงตามเป็นจริง โดยไม่ได้เจตนาจะระลึก จิตจะมีความเบา อ่อน ควรแก่การงาน ว่องไว ซื่อตรง รู้ ตื่น เบิกบาน สงบ สะอาด สว่าง จิตในขณะนั้นก็เป็นจิตที่ เป็นกุศลในขั้นการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน (รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้ในข้อ 4.6)
4.6 ลักษณะของจิตที่ควรเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เราได้พูดกันแล้วถึงลักษณะของจิตที่เป็นกุศลและอกุศล ต่อไปนี้ควรรู้จักลักษณะของจิตที่ควรใช้เจริญสมถกรรมฐานและจิตที่ควรใช้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะหากเราใช้จิต ที่ควรเจริญสมถกรรมฐานไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน งานเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็จะไม่ประสบผลสำเร็จดังที่มุ่งหวังไว้ ในหัวข้อนี้มีเรื่องที่ควรศึกษาทำความเข้าใจดังนี้
4.6.1 จิตที่มีคุณภาพ ในทางพระอภิธรรม ถือว่าจิตที่จะใช้เจริญสมถะ และวิปัสสนาจะต้องเป็นมหากุศลจิตญาณสัมปยุตคือประกอบด้วยปัญญา ซึ่งมีอยู่ 4 ดวง คือ (1) จิตที่มีโสมนัสคือความสุขใจ ประกอบด้วยปัญญา และเกิดเองโดยไม่ต้องโน้มน้าวชักจูงให้เกิด (อสังขาริก) (2) จิตที่มีโสมนัส ประกอบด้วยปัญญา แต่เกิดขึ้นด้วยการโน้มน้าวชักจูงให้เกิด (สสังขาริก) (3) จิตที่มีอุเบกขาคือความรู้สึกเป็นกลางไม่สุขไม่ทุกข์ ประกอบด้วยปัญญา และเป็นอสังขาริก (4) จิตที่มีอุเบกขา ประกอบด้วยปัญญา แต่เป็นสสังขาริก
4.6.2 ความแตกต่างในการทำสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน แม้ในภาคพระปริยัติธรรมจะถือว่าจิตที่ใช้เจริญสมถะ และวิปัสสนาเป็นจิตประเภทเดียวกัน แต่ก็ระบุความต่างขององค์ประกอบอย่างอื่นไว้ คือ (1) อารมณ์ของสมถะใช้อารมณ์บัญญัติ ส่วนอารมณ์ของวิปัสสนาใช้อารมณ์ปรมัตถ์ และ (2) การทำสมถะใช้การเพ่งหรือการดูตัว อารมณ์เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน ส่วนการทำ วิปัสสนาใช้การรู้ลักษณะอันเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/ความเห็นของผู้เขียน)
ที่เป็นกุศลและอกุศลให้ดี
มิฉะนั้นจะไปหลงสร้างอกุศลจิต
ทั้งที่คิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่
ครั้งที่ 06.ข้อสรุป
4.5 ข้อสรุป สรุปแล้วผู้ปฏิบัติควรทำความรู้จักลักษณะของจิตที่เป็นกุศลและอกุศลให้ดี มิฉะนั้นจะไปหลงสร้างอกุศลจิตทั้งที่คิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ตัวอย่างเช่น (1) หากกำหนดอารมณ์กรรมฐาน อันใดอันหนึ่งแล้ว จิตเกิดความหนัก แน่น แข็ง ซึมทื่อ แสดงว่าจิตในขณะนั้นเป็นอกุศล แน่นอน (2) หากจิตคิดเรื่องที่ไม่ดีก็เป็นอกุศล แน่นอน (3) หากจิตคิดในเรื่องที่ดีงาม เช่น คิดอยากช่วยเหลือผู้อื่น คิดบริกรรมพุทโธ คิดบริกรรมพองหนอยุบหนอ คิดถึงพระรัตนตรัย คิดถึงร่างกายว่าเป็นปฏิกูล/อสุภะ คิดถึงลมหายใจเข้าออก คิดพิจารณา ธรรมว่าตัวเราไม่มี มีแต่รูปนามที่ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ และเป็นอนัตตา จิตขณะนั้นก็เป็นกุศล ธรรมดาๆ ยังไม่ใช่การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน และ (4) หากจิตเกิดระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏได้ตรงตามเป็นจริง โดยไม่ได้เจตนาจะระลึก จิตจะมีความเบา อ่อน ควรแก่การงาน ว่องไว ซื่อตรง รู้ ตื่น เบิกบาน สงบ สะอาด สว่าง จิตในขณะนั้นก็เป็นจิตที่ เป็นกุศลในขั้นการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน (รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้ในข้อ 4.6)
4.6 ลักษณะของจิตที่ควรเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เราได้พูดกันแล้วถึงลักษณะของจิตที่เป็นกุศลและอกุศล ต่อไปนี้ควรรู้จักลักษณะของจิตที่ควรใช้เจริญสมถกรรมฐานและจิตที่ควรใช้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะหากเราใช้จิต ที่ควรเจริญสมถกรรมฐานไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน งานเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็จะไม่ประสบผลสำเร็จดังที่มุ่งหวังไว้ ในหัวข้อนี้มีเรื่องที่ควรศึกษาทำความเข้าใจดังนี้
4.6.1 จิตที่มีคุณภาพ ในทางพระอภิธรรม ถือว่าจิตที่จะใช้เจริญสมถะ และวิปัสสนาจะต้องเป็นมหากุศลจิตญาณสัมปยุตคือประกอบด้วยปัญญา ซึ่งมีอยู่ 4 ดวง คือ (1) จิตที่มีโสมนัสคือความสุขใจ ประกอบด้วยปัญญา และเกิดเองโดยไม่ต้องโน้มน้าวชักจูงให้เกิด (อสังขาริก) (2) จิตที่มีโสมนัส ประกอบด้วยปัญญา แต่เกิดขึ้นด้วยการโน้มน้าวชักจูงให้เกิด (สสังขาริก) (3) จิตที่มีอุเบกขาคือความรู้สึกเป็นกลางไม่สุขไม่ทุกข์ ประกอบด้วยปัญญา และเป็นอสังขาริก (4) จิตที่มีอุเบกขา ประกอบด้วยปัญญา แต่เป็นสสังขาริก
4.6.2 ความแตกต่างในการทำสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน แม้ในภาคพระปริยัติธรรมจะถือว่าจิตที่ใช้เจริญสมถะ และวิปัสสนาเป็นจิตประเภทเดียวกัน แต่ก็ระบุความต่างขององค์ประกอบอย่างอื่นไว้ คือ (1) อารมณ์ของสมถะใช้อารมณ์บัญญัติ ส่วนอารมณ์ของวิปัสสนาใช้อารมณ์ปรมัตถ์ และ (2) การทำสมถะใช้การเพ่งหรือการดูตัว อารมณ์เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน ส่วนการทำ วิปัสสนาใช้การรู้ลักษณะอันเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/ความเห็นของผู้เขียน)