ผู้เขียนเห็นว่าในการเจริญสมถะและวิปัสสนานั้น
สติ สมาธิ และปัญญาจะทำงานแตกต่างกัน
เป็นเหตุให้เกิดการเพ่งอารมณ์ในการทำสมถกรรมฐาน
และเกิดการรู้ลักษณะของอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ครั้งที่ 07.
ความเห็นของผู้เขียน
4.6.3 ความเห็นของผู้เขียน ผู้เขียนเห็นด้วยกับพระปริยัติธรรม อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่าพระปริยัติธรรมเปรียบเหมือนแผนที่ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่พบเห็นจากการปฏิบัติ ซึ่งขอฝากไว้ให้เพื่อนนักปฏิบัติพิจารณาอีกบางประการ ดังนี้คือ
4.6.3.1 จิต ผู้เขียนมีความเห็นดังนี้
(1) จิตที่จะใช้เจริญวิปัสสนาจะต้องเป็น มหากุศลจิต ซึ่งมีองค์ประกอบครบถ้วนตาม ข้อ 4.3.1 ซึ่งสังเกตได้ง่ายๆ ก็คือ หากปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจิตเกิดความหนักแน่น แข็ง ซึม ทื่อ หรือพยายามเข้าไปแทรกแซงอารมณ์ นั่นแสดงว่าจิตดวงนั้นเป็นอกุศลจิต ไม่สมควรแก่การเจริญวิปัสสนาเสียแล้ว
(2) จิตที่จะใช้เจริญวิปัสสนาได้จริงจะต้องมีกำลังมาก ซึ่งสติจะต้องเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องโน้มน้าวชักจูงให้เกิด (อสังขาริก) และเหตุให้เกิดสติก็คือถิรสัญญาหรือการที่จิตจดจำสภาวธรรมคือรูปนามได้แม่นยำ ไม่ใช่เกิดจากการกำหนด เพ่งจ้อง หรือบังคับให้เกิด ส่วนจิตที่ใช้ทำสมถกรรมฐานนั้นเกิดขึ้นด้วยการโน้มน้าวชักจูงให้เกิด (สสังขาริก) เพราะการทำสมถกรรมฐานต้องมีความจงใจ กำหนด เพ่งจ้อง ประคองจิตไว้ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง
4.6.3.2 อารมณ์ ผู้เขียนมีความเห็นดังนี้
(1) อารมณ์ของสมถกรรมฐานกว้างขวางมาก จะเป็นอารมณ์อะไรก็ได้นับตั้งแต่ (ก) อารมณ์บัญญัติ เช่น การบริกรรมพุทโธ บริกรรมพองยุบ การพิจารณาคุณของพระพุทธเจ้า การพิจารณาคุณของพระธรรม การพิจารณาคุณของพระสงฆ์ การพิจารณาทานและศีลที่ได้กระทำแล้วด้วยดี การพิจารณากายให้เป็นปฏิกูลและอสุภกรรมฐาน เป็นต้น (ข) อารมณ์รูปนาม การมีสติระลึกรู้อารมณ์รูปนามนั้น หากไม่ประกอบด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ก็ยังเป็นเพียงการเพ่งอารมณ์หรือการทำสมถกรรมฐาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติไม่ควรประมาทว่าเมื่อตนรู้อารมณ์ รูปนามอยู่จะต้องเป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเสมอไป และ (ค)อารมณ์นิพพาน ใช้เจริญสมถกรรมฐานได้ในขั้นการเจริญสัญญาเวทยิตนิโรธหรือนิโรธสมาบัติของพระอนาคามี และพระอรหันต์ที่ชำนาญในอรูปฌาน
(2) อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานมีจำกัด คือใช้ได้เฉพาะ อารมณ์รูปนาม เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อถอดถอนความเป็นผิด และความยึดถือรูปนามว่าเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขานั่นเอง จะใช้บัญญัติเป็นอารมณ์ไม่ได้เพราะบัญญัติไม่ใช่ของจริง และจะใช้นิพพาน เป็นอารมณ์ไม่ได้เพราะนิพพานไม่ใช่อารมณ์ ที่เกิดเนืองๆ และไม่ใช่รูปนาม/กายใจของตน
4.6.3.3 การเพ่งและการรู้ลักษณะของอารมณ์ ผู้เขียนเห็นว่าในการเจริญสมถะและวิปัสสนานั้น สติ สมาธิ และปัญญาจะทำงานแตกต่างกัน เป็นเหตุให้เกิดการเพ่งอารมณ์ในการทำสมถกรรมฐาน และเกิดการรู้ลักษณะของอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยจะขอให้ข้อสังเกตเทียบเคียงกัน 3 ประการ ดังนี้คือ สติ สมาธิ และ ปัญญา
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
ลักษณะของอารมณ์
ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน)
สติ สมาธิ และปัญญาจะทำงานแตกต่างกัน
เป็นเหตุให้เกิดการเพ่งอารมณ์ในการทำสมถกรรมฐาน
และเกิดการรู้ลักษณะของอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ครั้งที่ 07.
ความเห็นของผู้เขียน
4.6.3 ความเห็นของผู้เขียน ผู้เขียนเห็นด้วยกับพระปริยัติธรรม อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่าพระปริยัติธรรมเปรียบเหมือนแผนที่ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่พบเห็นจากการปฏิบัติ ซึ่งขอฝากไว้ให้เพื่อนนักปฏิบัติพิจารณาอีกบางประการ ดังนี้คือ
4.6.3.1 จิต ผู้เขียนมีความเห็นดังนี้
(1) จิตที่จะใช้เจริญวิปัสสนาจะต้องเป็น มหากุศลจิต ซึ่งมีองค์ประกอบครบถ้วนตาม ข้อ 4.3.1 ซึ่งสังเกตได้ง่ายๆ ก็คือ หากปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจิตเกิดความหนักแน่น แข็ง ซึม ทื่อ หรือพยายามเข้าไปแทรกแซงอารมณ์ นั่นแสดงว่าจิตดวงนั้นเป็นอกุศลจิต ไม่สมควรแก่การเจริญวิปัสสนาเสียแล้ว
(2) จิตที่จะใช้เจริญวิปัสสนาได้จริงจะต้องมีกำลังมาก ซึ่งสติจะต้องเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องโน้มน้าวชักจูงให้เกิด (อสังขาริก) และเหตุให้เกิดสติก็คือถิรสัญญาหรือการที่จิตจดจำสภาวธรรมคือรูปนามได้แม่นยำ ไม่ใช่เกิดจากการกำหนด เพ่งจ้อง หรือบังคับให้เกิด ส่วนจิตที่ใช้ทำสมถกรรมฐานนั้นเกิดขึ้นด้วยการโน้มน้าวชักจูงให้เกิด (สสังขาริก) เพราะการทำสมถกรรมฐานต้องมีความจงใจ กำหนด เพ่งจ้อง ประคองจิตไว้ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง
4.6.3.2 อารมณ์ ผู้เขียนมีความเห็นดังนี้
(1) อารมณ์ของสมถกรรมฐานกว้างขวางมาก จะเป็นอารมณ์อะไรก็ได้นับตั้งแต่ (ก) อารมณ์บัญญัติ เช่น การบริกรรมพุทโธ บริกรรมพองยุบ การพิจารณาคุณของพระพุทธเจ้า การพิจารณาคุณของพระธรรม การพิจารณาคุณของพระสงฆ์ การพิจารณาทานและศีลที่ได้กระทำแล้วด้วยดี การพิจารณากายให้เป็นปฏิกูลและอสุภกรรมฐาน เป็นต้น (ข) อารมณ์รูปนาม การมีสติระลึกรู้อารมณ์รูปนามนั้น หากไม่ประกอบด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ก็ยังเป็นเพียงการเพ่งอารมณ์หรือการทำสมถกรรมฐาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติไม่ควรประมาทว่าเมื่อตนรู้อารมณ์ รูปนามอยู่จะต้องเป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเสมอไป และ (ค)อารมณ์นิพพาน ใช้เจริญสมถกรรมฐานได้ในขั้นการเจริญสัญญาเวทยิตนิโรธหรือนิโรธสมาบัติของพระอนาคามี และพระอรหันต์ที่ชำนาญในอรูปฌาน
(2) อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานมีจำกัด คือใช้ได้เฉพาะ อารมณ์รูปนาม เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อถอดถอนความเป็นผิด และความยึดถือรูปนามว่าเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขานั่นเอง จะใช้บัญญัติเป็นอารมณ์ไม่ได้เพราะบัญญัติไม่ใช่ของจริง และจะใช้นิพพาน เป็นอารมณ์ไม่ได้เพราะนิพพานไม่ใช่อารมณ์ ที่เกิดเนืองๆ และไม่ใช่รูปนาม/กายใจของตน
4.6.3.3 การเพ่งและการรู้ลักษณะของอารมณ์ ผู้เขียนเห็นว่าในการเจริญสมถะและวิปัสสนานั้น สติ สมาธิ และปัญญาจะทำงานแตกต่างกัน เป็นเหตุให้เกิดการเพ่งอารมณ์ในการทำสมถกรรมฐาน และเกิดการรู้ลักษณะของอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยจะขอให้ข้อสังเกตเทียบเคียงกัน 3 ประการ ดังนี้คือ สติ สมาธิ และ ปัญญา
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
ลักษณะของอารมณ์
ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน)