xs
xsm
sm
md
lg

เส้นทางศรีวิชัย : เครือข่ายทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทะเลใต้ยุคโบราณ ตอน เมืองในยุคก่อนศรีวิชัยที่ระบุที่ตั้งได้ชัดเจนในเอกสารจีน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

มีเพียง 5 เมืองเท่านั้นที่ระบุที่ตั้งได้ชัดเจนเพราะตรงกับสำเนียงจีนในยุคกลาง (中古汉语จงกู่ฮั่นหยู ระหว่างพ.ศ.1144-1823) ได้แก่ครหิ (ไชยา) ตักโกละ (ตะกั่วป่า) ลังกาสุกะ เคดาห์และจัมบิซึ่งมีหลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่สนับสนุน

ไชยาหรือครหิมีชื่อบันทึกในพงศาวดารสุยชู้ (隋书) ว่าแก-ลา-หิ (加罗希เจี้ย-หลัว-ซี) ได้ส่งทูตไปจีนเมื่อ พ.ศ. 1151 ในสมัยจักรพรรดิสุยหยางตี้เช่นกัน ไชยาน่าจะเคยเป็นชุมชนของพวกมอญในสมัยทวารวดีมาก่อนเพราะมีการค้นพบพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีตามวัดโบราณต่างๆที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ดังนั้นจึงไม่ใช่เมืองปัน-ปัน

ตักโกละหรือกา-กุก-ลา (哥谷罗เกอ-กู๋-หลัว) ตั้งอยู่ที่โบราณสถานพงตึกที่เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงาเป็นเมืองท่าโบราณที่ชาวมลายูเข้ามาตั้งถิ่นฐานราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 ก่อนหน้าชาวอินเดียมีการค้นพบวัตถุโบราณก่อนยุคศรีวิชัย ปโตเลมีเรียกเมืองนี้ว่าตักโกละส่วนชาวอาหรับเรียกว่า กูกุกลา ฟูจิตะ เชื่อว่าโก-โล-เช-เฟิ่น คือครหิตั้งอยู่ที่ราชบุรีและซิต-ลี่-พุท-ชัย (室利佛逝ซื่อ-ลี่-ฝอ-ซื่อ) และสัม-พุท-ชัย (三佛齐ซัน-โฝ-ฉี) คือศรีวิชัยและกา-กุก-ลาคือตักโกละของปโตเลมี

ลังกาสุกะถูกบันทึกเป็น ลัง-แก-ซิ่ว (狼牙须 หลั่ง-หย่า-ซิว) กล่าวถึงในเอกสารจีนหลายเล่ม เช่นเหลียงชู้ (梁书) เล่มที่ 54 ท๊งเตี๋ยน (通典) เล่มที่ 188 ไท่ผิงหวนหยูจี่ (太平寰宇記) เล่มที่ 176-177 เหวินเซี่ยนถงเข่า (文献通考) เล่มที่ 331 และสุยชู้เล่มที่ 82 ว่า หรือในบันทึกอี้จิงว่าลัง-แก-กิว (朗迦戍หลั่ง-หย่า-ชู้) เคยส่งบรรณาการให้พนมส่งบรรณาการให้จีนในสมัยราชวงศ์เหลียงเมื่อ พ.ศ.1058 พ.ศ.1066 พ.ศ.1074 และในสมัยราชวงศ์เฉินในปีพ.ศ.1111 โดยทูตในปีพ.ศ.1058 ชื่ออชิตะในสมัยมะหรงมหาวงศ์หรือพระเจ้าภัคทัต ลังกาสุกะตั้งอยู่ที่โบราณสถานอ.ยะรัง จ.ปัตตานีซึ่งมีการค้นพบโบราณวัตถุก่อนสมัยศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก จูฟ่านจื้อระบุว่าใช้เวลาในการเดินเรือ 6 วันจากตามพรลิงค์ไปลังกาสุกะ ซินถังชู้ (新唐书) เล่มที่ 222 และจิ่วถังชู้ (旧唐书) เล่มที่ 197 ระบุว่าลังกาสุกะติดกับปัน-ปัน ดังนั้นลังกาสุกะเป็นเมืองที่เก่าแก่เมืองหนึ่งในแหลมมลายูตามที่ได้บันทึกไว้ในพงศาวดารชวาและมลายู โครงสร้างสถาปัตยกรรมและวัตถุโบราณได้รับอิทธิพลมาจากมอญ-ทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-13) และศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 14-18) ตำนานมะโรงมหาวงศ์อ้างว่าลังกาสุกะตั้งที่เคดาห์ก่อนแล้วย้ายไปปัตตานีซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุน แผนที่จีนในพุทธศตวรรษที่ 21 ระบุว่าลังกาสุกะอยู่ทางใต้ของซุน-กู-นา (สงขลา)

โบราณสถานยะรังที่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองลังกาสุกะ ได้รับการอนุเคราะห์ภาพถ่ายจากสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา
เคดาห์ถูกบันทึกเป็น กา-หล่า (迦罗เจี้ย-หลัว) ในชินถังชู้เล่มที่ 222 เหวินเซี่ยนท๊งเข่าเล่มที่ 331 และไท่ผิงหวนหยู่จี๊ เล่มที่ 176-179 แต่ในบันทึกหนานไห่ของพระภิกษุอี้จิงเรียกว่าเกียต-ตา (羯茶เจี้ย-ฉา) และเรียกว่า กาล่าห์ในภาษาอาหรับ ดังนั้นทั้งกา-หล่าและเกียต-ตาตามสำเนียงจีนยุคกลางคือเคดาห์ แม้ว่าวอลเตอร์จะบอกว่าอยู่บนเกาะชวา กา-หล่าควรเป็นคำเรียกเมืองเคดาห์ทั้งในภาษาจีนยุคกลางและอาหรับ ศรีวิชัยเอาชนะเคดาห์ได้ในปีพ.ศ.1238 จากพงศาวดารหนานฉีชู้ (南齐书) กษัตริย์กา-หล่าส่งทูตไปราชสำนักหนานฉีในเดือนพฤษภาคมพ.ศ.1022 และในปีพ.ศ.1213 ดังนั้นเกียต-ต้าและกา-หล่าคือสำเนียงจีนยุคกลางที่ใช้เรียกเคดาห์และอาจจะเป็นเกอลาห์ในจริตตา ปราฮยังกัน

มีการค้นพบซากวัดฮินดูและพุทธโบราณที่หุบเขาบูจัง (เล็มบะห์บูจัง) ใกล้เมนโซก สุไหงมาส ที่เคดาห์ การขุดค้นพบโบราณสถานเป็งกาลันบูจังและแท่นบูชาพระศิวะที่โบราณสถานจันทิ บูกิต บาตู ปาหัตที่ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ในปีพ.ศ.2553 ได้มีการขุดค้นเพิ่มเติมที่เคดาห์ทำให้ทราบว่าเริ่มก่อตั้งเมื่อพ.ศ.433 กัมปง ปาดัง ซีจัก จาเมรี ซิก เคดาห์คือที่ถลุงโลหะที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยขุดค้นมาโดยคณะนักวิจัยจากศูนย์การวิจัยโบราณคดีของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย ศาสตราจารย์ ดาโต๊ะ ดร.มอคตาร์ ไซดินว่าพวกเขาได้ค้นพบที่ถลุงเหล็กที่สุไหงบาตูดังนั้นเคดาห์เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในแหลมมลายู

จารึกทมิฬปัตตินภาลัย (Pattinappalai) บรรทัดที่ 185-192 กล่าวว่าเคดาห์ติดต่อกับกะเวริปูมปัตตินัมในยุคก่อนศรีวิชัยโดยมีเมืองปาลูร์ที่เจริญมาก่อนนาคปฏินัม กลิงคะปัตตนัม อลากันคูลัมด้วย จารึกพุทธคุปตะในพุทธศตวรรษที่ 10 แถวเคดาห์กล่าวถึงรักตมฤติกาที่สทิงพระ จารึกนี้ยืนยันว่าเคดาห์ได้เจริญขึ้นมาเป็นท่าเปลี่ยนเรือจากจีนไปอินเดียที่ช่องแคบมะละกาที่พระภิกษุอี้จิงเคยมาแวะ

ภาพโบราณสถานเล็มบะห์บูจัง แหล่งที่มา: th.m.wikipedia.org/wiki/ไฟล์Candi_Pahat_of_Bujang_Valley
จัมบิบันทึกในซินถังชู้เล่มที่ 222 เป็นมัท-ลา-ยู (末罗瑜หมอ-หลัว-โหยว) ในไท่ผิงหวนหยูจี่เล่มที่ 176-177 และถังฮุ่ยเย่า (唐会要) เล่มที่ 94-100 ว่าเป็นเคี่ยมปี่ (占卑จ้าน-เป่ย) ส่งทูตไปจีนครั้งแรกในปีพ.ศ.1187 ในสมัยจักรพรรดิถังไท่จง เมืองจัมบิน่าจะก่อตั้งประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 หรือก่อนหน้านั้นและน่าจะตั้งอยู่บริเวณโบราณสถานมัวร่าจัมบิ (Muara Jambi) บนเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย แสดงว่าเมืองต่างๆหลายแห่งก่อนที่จะมาขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็ได้มีการส่งทูตไปราชสำนักจีนอยู่ก่อนแล้ว จันฑิติงกิเป็น 1 ใน 110 วัดที่มัวร่าจัมบิซึ่งเป็นโบราณสถานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ตั้งอยู่ห่างจากเมืองจัมบิไปทางตะวันออก 26 กิโลเมตรมีพื้นที่ 12 ตารางกิโลเมตร ยาวไปถึง 7.5 กิโลเมตรเลียบแม่น้ำบาตังฮารี และมีซากวัดถึง 100 ซาก

เอกสารอ้างอิง :
ศ.ดร.ครองชัย หัตถา. (พ.ศ.๒๕๕๒). อาณาจักรลังกาสุกะ ประวัติศาสตร์ยุคต้นของชายแดนใต้. ปัตตานี: ภูริปริ๊นท์ช็อบ

Chen Yan 陈炎. 2020. The Maritime Silk Road and Cultural Communication between China and the West. Translated by Haitao Mu, Caiyun Gao and Chen Chen. Lanham, MD: Lexington Book.

Dalayan, Duraiswamy. 2019. "Ancient Seaports on the Eastern Coast of India: The Hub of the Maritime Silk Route Network." Acta via Serica 4 (1): 25-69.

Du You 杜祐. 2008 (801). Tongdian 通典 [Comprehensive Institutions]. Changchun Shi 长春市: Shidai wenyi chubanshe 时代文艺出版社.

Fujita Toyohachi 藤田丰八. 2015. Zhongguo nanhai gudai jiaotong congkao 中国南海古代交通丛考 [Studies on ancient Chinese Relation with the Nan Hai] Translated from 东南交沙史研究 南海篇. Translated by He Jianmin 何健民. Taiyuan: Shanxi People's Publishing House 山西人民出版社.

Khaw, Nasah Rodziadi, Liang Jun Gooi, Mohd Mokhtar Saidin, Naizatul Akma Mohd Mokhtar, and Mohd Hasfarisham Abd Halim. 2021. "The Sungai Batu Archeological Complex: Re-Assessing the Emegence of Ancient Kedah." Kajian Malaysia 39 (2): 117-152.
Liu Xu 刘昫. 1975 (940). Jiutangshu 旧唐书 [Old Book of Tang]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Ma Duanlin 马端临. 1986 (1317). Wenxiantongkao 文献通考 [Comprehensive Studies in Administration]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Miksic, John Norman 2013. Singapore and the Silk Road of the Sea 1300-1800. Singapore: NUS Press.

Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.

Ouyang Xiu, 欧阳脩, and Song Qi 宋祁. 1975 (1060). Xintangshu [New Book of Tang]. 1st. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Wang Pu 王溥. 1983 (961). Tanghuiyao 唐会要 [Collected Statues of the Tang]. Taipei: Taiwan shangwu yinshu 台湾商务印书.

Wei Zheng 魏徵. 2010 (636). Suishu 隋书 [Book of Sui]. Ann Arbor: University of Michigan Library.

Wheatley, Paul. 1961. The Golden Khersonese: Studies in the Historical Geography of Malay Peninsula before AD1500. Kuala Lampur: University of Malaya Press.

Wolters, Oliver Williams. 1967. Early Indonesian Commerce: A Study of the Origins of Srivijaya. Ithaca, NY: Cornell University Press.

Wolters, Oliver Williams. 1970. The Fall of Srivijaya in Malay History. Ithaca, NY: Cornell University Press.

Xiao Zixian 萧子显. 2020 (537). Nanqishu 南齐书 [Book of Southern Qi]. Beijing: China Social Sciences Press 中国社会科学出版社.

Yao Xilian 姚思廉. 1972 (636). Chenshu 陈书 [Book of Chen]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Yao Xilian 姚思廉. 1973 (635). Liangshu 梁书 [Book of Liang]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Yijing 义净. 2001. Nanhaijigui Neifazhuan 南海寄归内法传. 王邦维校注. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Yijing 义净. 2004. Datang xiyuqiufa gaosengzhuan 大唐西域求法高僧传. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Yue Shi 樂史. 2007 (976-983). Taiping huanyuji 太平寰宇記 [Universal Geography of the Taiping Era]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Zhang Jingting. 2019. "The Buddhist Sangha life in the Seventh Century: Study Based on "A Record of the Inner Law Sent Home from the South Sea of Yijing." Doctoral Thesis, Mahachula Buddhist University, Ayutthaya.



กำลังโหลดความคิดเห็น