ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาสถิติ
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen Data Sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การศึกษาสังคมศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นรัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์เป็นไปได้สองแนวทางหลัก ๆ ทางแรกคือ descriptive approach หรือการศึกษาเชิงบรรยายว่าสังคมมีสภาพอย่างไรเป็นอย่างไร ทางที่สองคือ normative approach หรือการศึกษาเชิงบรรทัดฐานว่าอยากให้สังคมเป็นไปอย่างไร
ในประเทศไทย อาจารย์สายสังคมศาสตร์ มักเป็นแนวทาง normative approach คืออยากให้สังคมเป็นอย่างไร มักจะเป็นศาสดาเจ้าลัทธิความเชื่อต่างๆ เช่น ลัทธิล้มเจ้า เป็นต้น
ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล พร่ำพูดเสมอถึงสิ่งที่ตนอยากให้เป็นคือการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่มีพระราชอำนาจใด ๆ เลยทั้งสิ้น จึงพูดอ้างว่า The king can do no wrong because the king can do nothing. ปิยบุตรเป็นนักทำลายสิทธิมนุษยชน ไม่ต้องการให้มีพระราชอำนาจ ไม่ต้องการให้มีสิทธิเสรีภาพของพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินรับการถวายเงินไม่ได้ มีทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ไม่ต้องลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าแต่งตั้งข้าราชการ แต่พระเจ้าแผ่นดินต้องไม่ลงพระปรมาภิไธยรับรองรัฐประหาร พระเจ้าแผ่นดินทำโน่นทำนี่ไม่ได้ทั้งนั้น ถ้าพระเจ้าแผ่นดินจะทำไม่ผิดเลยก็เพราะพระเจ้าแผ่นดินทำอะไรไม่ได้เลย ทั้งหมดคือความคิดความเชื่อของปิยบุตรล้วน ๆ ซึ่งแท้จริงเป็นการล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ และแน่นอนเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขด้วย
ในความเป็นจริงหรือ descriptive approach พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชอำนาจเต็มเปี่ยมในฐานะองค์พระประมุขและองค์รัฏฐาธิปัตย์ พระเจ้าแผ่นดินยังทรงมีพระราชอำนาจพิเศษ (Royal prerogative) อันเป็นราชประเพณีในการปกครองแบบ constitutional monarchy อันได้แก่ พระราชอำนาจในการชมเชยให้กำลังใจ พระราชอำนาจในการตักเตือน และพระราชอำนาจในการยับยั้ง ในสมัยสมบูรณาสิทธิราชย์นั้น พระเจ้าแผ่นดิน นอกจากจะทรงเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วยังทรงเป็นเจ้าชีวิตด้วย ความเป็นเจ้าชีวิตนั้นยังคงสืบทอดมาจนปัจจุบันที่การประหารชีวิตนักโทษจำเป็นต้องลงพระปรมาภิไธยก่อน แม้กระทั่งสถาบันตุลาการก็ทำงานภายใต้พระปรมาภิไธย
นี่คือการศึกษาสังคมศาสตร์ตาม descriptive approach ที่ศาสดาเจ้าลัทธิต่อต้านสถาบันและล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขควรจะต้องศึกษา
Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล คงไม่ได้ศึกษาว่าในประวัติศาสตร์ พระราชอำนาจนั้นมีอยู่เต็มเปี่ยม แต่ก็มีคนแบบปิยบุตรที่ต้องการลิดรอนพระราชอำนาจ ล้มล้างการปกครอง ตามที่ตนเองเชื่อ ในฐานะศาสดาเจ้าลัทธิ พยายามแสดงพร่ำสอนเกลี้ยกล่อมสาวกในกะลา
ปิยบุตรพูดในสิ่งที่ตนเองต้องการให้เป็น แต่ก็ไม่มีความกล้าหาญเพียงพอที่จะออกมาพูดตรง ๆ ว่าต้องการลิดรอนพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์มิให้เหลือเลยเป็นเพียงเจว็ดหรือสัญลักษณ์ตามที่ตนเองใฝ่ฝันและต้องการให้เป็น นอกจากนี้ยังไม่กล้าออกหน้ามาต่อสู้เองได้แต่แอบหลังเยาวชนแล้วผลักเด็กออกมาต่อสู้จนติดคุกติดตารางส่วนตัวเองยังอยู่ดีมีสุขทุกประการดี
ผมเองในฐานะอาจารย์สถิติเมื่อพิจารณาจากข้อมูลและความเป็นจริงเป็นหลัก ย่อมศึกษาสังคมศาสตร์ในมุมมองเชิงบรรยาย และเชิงประจักษ์ (Descriptive and empirical approach) อาจจะเห็นข้อบกพร่องของวิธีคิดและศึกษาสังคมศาสตร์ของปิยบุตรได้อย่างชัดเจนทะลุปรุโปร่ง ว่าไม่สมจริง ไม่อยู่บนรากฐานของความเป็นจริง
ผมยังจำได้ว่าเมื่อไปร่วมเสนอผลงานวิจัยที่ International Political Science Association มีนักวิชาการรัฐศาสตร์ในต่างประเทศใช้วิธีการศึกษารัฐศาสตร์แบบมุมมองเชิงบรรยาย และเชิงประจักษ์ เป็นจำนวนมาก จนผมต้องนำมาเขียนบทความ วิทยาการข้อมูลในรัฐศาสตร์แบบสากล https://mgronline.com/daily/detail/9610000074990 และได้รับรู้จากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ต่างประเทศที่เข้าร่วมประชุมว่า American Political Science Association หรือ APSA ยิ่งเน้นการศึกษาเชิงประจักษ์และเชิงบรรยายมากเสียยิ่งกว่า IPSA ที่ผมเคยไปเข้าร่วมประชุมเสียอีก นักวิชาการรัฐศาสตร์ต่างประเทศเห็นว่าการศึกษาสังคมศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาสิ่งที่สังคมเป็นอยู่จนเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะไปศึกษาแบบเชิงบรรทัดฐานว่าสังคมควรเป็นอย่างไร ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นแค่การฝันกลางวันโดยไม่อยู่บนความเป็นจริงใดๆ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเพ้อเจ้อ
การสอนหนังสือแก่สาวกตามแนวทาง normative approach ของปิยบุตร โดยเฉพาะประเด็นพระราชอำนาจและหลักการ The king can do no wrong because the king can do nothing. จึงไม่อยู่บนความเป็นจริง เพราะไม่ได้ศึกษาสังคมศาสตร์ตามที่เป็นอยู่ เฝ้าแต่กล่อมประสาทตนเองและสาวกว่าอยากให้เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จนั้นมีน้อยมาก เพราะได้แต่หลอกตนเองและสาวกไปวัน ๆ โดยไม่ได้หันมาดูความเป็นจริงเลยแม้แต่นิดเดียว
ดีไม่ดีหากปิยบุตรและสาวกยังคงพร่ำเพ้อเจ้อเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก จะเจอคดีกบฎตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 และ 116 ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 49 เป็นการล้มล้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขและให้ขบวนการและเครือข่ายดังกล่าวหยุดการกระทำในทันที ทั้งนี้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นที่สิ้นสุดและมีผลผูกพันทุกองค์กร แต่บัดนี้ขบวนการและเครือข่ายดังกล่าวก็หาได้หยุดกระทำพฤติกรรมดังกล่าวไม่ เป็นการท้าทายอำนาจรัฐและฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งอาจจะนำไปสู่ deadlock ทางการเมืองที่จะทำให้คนเหล่านี้ไม่มีแผ่นดินอยู่ในอนาคตอันใกล้