บอร์ด รฟท.เคาะขยายเวลา"ไทย-จีน" สัญญา 2-1 "สีคิ้ว-กุดจิก" อีก 217 วัน หลังติดปัญหารื้อย้ายอาณัติสัญญาณ ขณะที่เพิ่งออก NTPให้เข้าพื้นที่อีก 4 สัญญา ด้านรับเหมา 5 สัญญา ยังต่อคิวรอลงนามคาดไม่เกิน 2 เดือน พร้อมเคาะขยายสัญญา 3 งานระบบ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟท. ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 29 ม.ค. ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)เป็นประธาน มติอนุมัติขยายระยะเวลาก่อสร้างและงดเว้นค่าปรับสัญญาจ้างงานโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วง กรุงเทพฯ- หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ- นครราชสีมา) สัญญาที่ 2-1 งานโยธาช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง11 กม. ออกไป 217 วัน เริ่มจาก 22 ต.ค.63 –26พ.ค.64
ทั้งนี้ มีสาเหตุจากติดปัญหาการรื้อย้ายระบบอาณัติสัญญาณ ของรถไฟปัจจุบันที่กีดขวางการก่อสร้างตลอดเส้นทาง ซึ่งต้องรื้อย้ายและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณให้เสร็จก่อน จึงจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ สำหรับสัญญาที่ 2-1 มี บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัดเป็นผู้รับจ้าง
เตรียมเซ็นอีก 4 สัญญา ใน1-2 เดือน
โครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีงานโยธา14 สัญญา วงเงิน 117,914.08 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือสัญญา1-1 ช่วงกลางดง–ปางอโศก อยู่ระหว่างการก่อสร้าง1 สัญญา คือสัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว–กุดจิก ส่วน 5 สัญญา ที่มีการลงนามจ้างไปเมื่อ 26 พ.ย.63 รฟท.ออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน(Notice to Proceed : NTP)ไปแล้ว เมื่อ 26 ม.ค.64 จำนวน 4 สัญญาได้แก่ สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.60 กม. , สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. , สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. และสัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม.
ส่วนสัญญาที่ 3-2 ช่วงงานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. คาดจะออก NTPได้ ประมาณ19 เม.ย.64 โดยอยู่ระหว่างขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้
สำหรับอีก7สัญญาที่หลือ คาดว่าภายใน 1-2 เดือนนี้ จะสามารถลงนามสัญญากับผู้รับจ้างได้อีก 4 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร 21.80 กม. สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ส่วนสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว 13.3 กม. ยังรอการตรวจสอบ
ส่วน สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 15.21 กม. จะต้องรอความชัดเจน เนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ส่วนสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า 30.21 กม. อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาผลประมูล
นอกจากนี้ บอร์ด รฟท.ยังมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาก่อสร้างงานสัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมตู้รถไฟฟ้า โครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต (สัญญาที่ 3A)และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (สัญญาที่ 3 B)ออกไปอีก 223 วัน เริ่มจากวันที่ 14 ก.พ.64 ไปสิ้นสุด 24 ก.ย.64 ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าพื้นที่ไม่ได้ เนื่องจากความล่าช้าของการก่อสร้างงาน สัญญาที่ 1 (งานโยธาสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง)
โดยครั้งนี้ เป็นการขยายเวลาก่อสร้าง ครั้งที่ 3 ซึ่งสาเหตุไม่ซ้ำซ้อนกับการขยายเวลาก่อสร้าง 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ที่เกิดจากปัญหาการจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคที่ไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้าง และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยมีกิจการร่วมค้า MHSC(บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachiและ บริษัท SumitomoCorporation) เป็นผู้รับจ้าง
ทั้งนี้ ในการขยายระยะเวลาก่อสร้างดังกล่าวนั้น ที่ปรึกษายืนยันจะต้องไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการเปิดเดินรถสายสีแดง ทั้งการทดสอบระบบและทดสอบการเดินรถเสมือนจริงเดือน มี.ค. และการให้ประชาชนทดลองใช้ในเดือนก.ค.64 ซึ่งปัจจุบัน สัญญา 3 มีความก้าวหน้ากว่า 90 % ล่าช้ากว่าแผนเกือบ 1%
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟท. ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 29 ม.ค. ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)เป็นประธาน มติอนุมัติขยายระยะเวลาก่อสร้างและงดเว้นค่าปรับสัญญาจ้างงานโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วง กรุงเทพฯ- หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ- นครราชสีมา) สัญญาที่ 2-1 งานโยธาช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง11 กม. ออกไป 217 วัน เริ่มจาก 22 ต.ค.63 –26พ.ค.64
ทั้งนี้ มีสาเหตุจากติดปัญหาการรื้อย้ายระบบอาณัติสัญญาณ ของรถไฟปัจจุบันที่กีดขวางการก่อสร้างตลอดเส้นทาง ซึ่งต้องรื้อย้ายและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณให้เสร็จก่อน จึงจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ สำหรับสัญญาที่ 2-1 มี บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัดเป็นผู้รับจ้าง
เตรียมเซ็นอีก 4 สัญญา ใน1-2 เดือน
โครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีงานโยธา14 สัญญา วงเงิน 117,914.08 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือสัญญา1-1 ช่วงกลางดง–ปางอโศก อยู่ระหว่างการก่อสร้าง1 สัญญา คือสัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว–กุดจิก ส่วน 5 สัญญา ที่มีการลงนามจ้างไปเมื่อ 26 พ.ย.63 รฟท.ออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน(Notice to Proceed : NTP)ไปแล้ว เมื่อ 26 ม.ค.64 จำนวน 4 สัญญาได้แก่ สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.60 กม. , สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. , สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. และสัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม.
ส่วนสัญญาที่ 3-2 ช่วงงานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. คาดจะออก NTPได้ ประมาณ19 เม.ย.64 โดยอยู่ระหว่างขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้
สำหรับอีก7สัญญาที่หลือ คาดว่าภายใน 1-2 เดือนนี้ จะสามารถลงนามสัญญากับผู้รับจ้างได้อีก 4 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร 21.80 กม. สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ส่วนสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว 13.3 กม. ยังรอการตรวจสอบ
ส่วน สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 15.21 กม. จะต้องรอความชัดเจน เนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ส่วนสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า 30.21 กม. อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาผลประมูล
นอกจากนี้ บอร์ด รฟท.ยังมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาก่อสร้างงานสัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมตู้รถไฟฟ้า โครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต (สัญญาที่ 3A)และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (สัญญาที่ 3 B)ออกไปอีก 223 วัน เริ่มจากวันที่ 14 ก.พ.64 ไปสิ้นสุด 24 ก.ย.64 ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าพื้นที่ไม่ได้ เนื่องจากความล่าช้าของการก่อสร้างงาน สัญญาที่ 1 (งานโยธาสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง)
โดยครั้งนี้ เป็นการขยายเวลาก่อสร้าง ครั้งที่ 3 ซึ่งสาเหตุไม่ซ้ำซ้อนกับการขยายเวลาก่อสร้าง 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ที่เกิดจากปัญหาการจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคที่ไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้าง และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยมีกิจการร่วมค้า MHSC(บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachiและ บริษัท SumitomoCorporation) เป็นผู้รับจ้าง
ทั้งนี้ ในการขยายระยะเวลาก่อสร้างดังกล่าวนั้น ที่ปรึกษายืนยันจะต้องไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการเปิดเดินรถสายสีแดง ทั้งการทดสอบระบบและทดสอบการเดินรถเสมือนจริงเดือน มี.ค. และการให้ประชาชนทดลองใช้ในเดือนก.ค.64 ซึ่งปัจจุบัน สัญญา 3 มีความก้าวหน้ากว่า 90 % ล่าช้ากว่าแผนเกือบ 1%