พปชร.ติวเข้ม 5 ส.ส. เตรียมพร้อมอภิปราย ส่ง "สิระ-ปารีณา"ร่ายยาว เน้นปมขวางขบวนเสด็จ "จุรินทร์" เสนอตั้ง กก.เชิญทุกฝ่ายร่วมหาทางออก ด้านเพื่อไทย จัดทีมถล่มปัญหาโควิด เรื่องขบวนเสด็จ และปัญหาความไม่สงบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาสมัยวิสามัญในวันที่ 26-27 ต.ค. เพื่อเปิดให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามมาตรา 165 พรรคพลังประชารัฐ ได้มีการติวเข้ม ส.ส.ทั้ง 5 คนของพรรค ได้แก่ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี และ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.
ทั้งนี้ ในส่วนของ นายสิระ และน.ส.ปารีณา จะมีคิวในการอภิปราย ในวันที่ 26 ต.ค. โดยเนื้อหาในการอภิปรายจะมุ่งเน้นไปถึงเหตุการณ์ขัดขวางขบวนเสด็จ
ด้านนายพิเชษ สถิรชวาล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาธรรมไท กล่าวว่า 3พรรคเล็ก ได้แก่ พรรคประชาธรรมไท, พรรคไทยศรีวิไลย์ และ พรรคไทรักธรรม ได้เวลารวมกัน 10 นาที และได้มอบเวลาให้ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เป็นตัวแทน 3 พรรคเล็กอภิปราย โดยมีประเด็นเรื่อง สนับสนุนการแก้ไขรธน. โดยไม่แก้ไขเนื้อหา หมวด 1 และ หมวด 2 ส่วนสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร 63 นั้น ต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ในการนัดชุมนุมใหญ่ วันที่ 25 ตุลาคม หลังจากที่ครบกำหนดที่ให้นายกฯ ลาออก
ส่วนข้อเสนอให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล เพื่อกดดันนายกฯนั้น ส.ส.พรรคเล็กไม่ได้หารือเรื่องดังกล่าว ซี่งส่วนตัวมองว่า ส.ส.พรรคเล็ก ทั้ง 10 พรรค นั้นคงไม่มีผลใดต่อรัฐบาล เพราะขณะที่รัฐบาลมีเสียง ส.ส.ข้างมากที่มากพอสมควร ไม่เหมือนกับตอนจัดตั้งรัฐบาล ที่เสียงของส.ส.พรรคเล็กจะมีความหมาย ซึ่งการถอนตัวหรือไม่นั้น หากจะให้เกิดผล ต้องเป็นการพิจารณาของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หรือ พรรคภูมิใจไทย ที่มีส.ส.จำนวนมาก
ปชป.เสนอตั้งกก.ทุกฝ่ายหาทางออก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรอบการอภิปรายของพรรค จะเน้นความสร้างสรรค์ ประเด็นสำคัญคือ จะเสนอทางออกหลังการอภิปรายว่าควรจะมีทางออกต่อไปอย่างไร ทั้งนี้ เห็นว่าควรจะต้องมีการตั้งคณะกรรมาการขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกฝ่าย ทั้งสมาชิกรัฐสภา และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการพิจารณาหาคำตอบโดยเร็วที่สุด
สิ่งที่เป็นไปได้ที่อาจจะมีความเห็นตรงกันคือ เรื่องการแก้ไขรธน. หากหารือแล้วมีความเห็นตรงกัน ก็ควรเริ่มดำเนินการ ขณะนี้มี 2 แนวทาง คือ 6 ร่าง ที่ได้รับการบรรจุเป็นญัตติแล้วนั้น ก็ควรพิจารณาว่าจะทำได้โดยเร็วที่สุด เพื่อรับหลักการ หรือว่าจะรอร่างของไอลอว์ ที่เป็นฉบับของประชาชน ต้องไปดูข้อดี ข้อเสียและความเห็นพ้องว่า จะดำเนินร่วมกันอย่างไร เพราะอาจมีเสียงวิจารณ์ตามมาได้ หากพิจารณา 6 ร่างไปก่อน ก็จะมีคำถามว่าร่างของประชาชนจะถูกทิ้งหรือไม่ หากรอร่างของไอลอว์ อย่างน้อยต้องรอหลังวันที่ 12 พ.ย. ก็อาจจะมีเครื่องหมายคำถามอีกว่า ถ่วงเวลาหรือไม่ ดังนั้น เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องหารือร่วมกัน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค และประธานส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า พรรคปชป. ยึดจุดยืน 3 ประการ คือ 1. ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. การแก้ปัญหาควรใช้แนวทางสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม และ 3. ใช้รัฐสภาเป็นเวทีหาทางออกของประเทศ
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคปชป. กล่าวว่า เพื่อเป็นการดับไฟความขัดแย้งในครั้งนี้ และเป็นการถอนฟืนออกจากกองไฟ รัฐบาลน่าจะมีแนวทางแก้ปัญหา ทั้งในสภา และนอกสภาให้ได้โดยเร็วที่สุด สำหรับการเมืองนอกสภา รัฐบาลควรตั้งโต๊ะเจรจากับกลุ่มแกนนำของผู้ชุมนุม โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขรธน. ต้องมีความชัดเจนว่าจะแก้ไข หรือยกร่างใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน โดยการตั้งส.ส.ร. แล้วยุบสภา เปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ส่วนภายในสภา รัฐบาลควรจะถอนญัตติออกไปปรับปรุงแก้ไข แล้วค่อยยื่นกลับมาใหม่ เพื่อไม่สร้างเงื่อนไขให้มีการอภิปรายพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ถ้ารัฐบาลตัดสินใจใช้ 2 แนวทางนี้ จะเป็นการลดความรุนแรงในการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร 2563 ได้ระดับหนึ่งอย่างแน่นอน
พท.อภิปราย 3 ปัญหาหลัก
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย แถลงภายหลังการประชุมว่า พรรคเตรียมผู้อภิปรายไว้ 20 คน โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรค จะเป็นคนนำ ส่วนการสรุปปิดอภิปราย 27 ต.ค.เป็นหน้าที่ของนายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน
"การอภิปรายมีประเด็นที่จะอภิปรายหลากหลาย ตั้งแต่ต้นตอปัญหาข้อเรียกร้องผู้ชุมนุม พรรคเพื่อไทยได้เสนอแนวทางออกของประเทศไว้ด้วย เนื้อหาที่จะอภิปรายที่รัฐบาลกำหนดไว้ 3 เรื่อง ปัญหาโควิด เรื่องขบวนเสด็จผ่านผู้กลุ่มชุมนุม และความไม่สงบในรูปแบบต่างๆ การอภิปรายครั้งนี้ พรรคจะยึดข้อบังคับการประชุมสภาฯ เป็นหลัก ที่ระบุว่าหากพูดถึงสถาบันฯ โดยไม่จำเป็น ไม่ควรมาพูดในสภาฯ สมาชิกพรรคเพื่อไทยจะระมัดระวังในเรื่องนี้ แต่เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่อ่อนไหว คงจะมีการหารือกันอีกครั้งร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในช่วงเช้าวันที่ 26 ต.ค. ก่อนการประชุมสภาฯ" นายประเสริฐ กล่าว
ขณะที่ น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ประเด็นเรื่องขบวนเสด็จนั้น เราได้หารือร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยจะมีการแบ่งบทบาทการอภิปราย เพราะมีเวลาจำกัด ส่วนพรรคที่จะให้ข้อเท็จจริง อาจจะเป็นพรรคก้าวไกล แต่ทั้งนี้ ก่อนประชุมสภาฯ วันที่ 26 ต.ค. จะมีการหารือกันอีกครั้ง
"จาตุรนต์"ชี้เปิดวิสามัญยิ่งขัดแย้ง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงการเปิดสมัยประชุมวิสามัญ และการเสนอญัตติให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติว่า มีแนวโน้มสูงมากที่จะทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพราะดูจากหัวข้อ ประเด็นที่รัฐบาลใช้เป็นเหตุผลและวัตถุประสงค์ในการเปิดอภิปรายแล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐบาลไม่ได้ต้องการรับฟังความเห็นที่แตกต่าง หรือข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในการคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้ง แต่รัฐบาลได้มีข้อสรุป และการตัดสินไปหมดแล้วว่านักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยอยู่ในขณะนี้เป็นฝ่ายผิด ที่จะต้องสกัดกั้นขัดขวางและทำลายความชอบธรรมให้ได้ การตั้งหัวข้อมีลักษณะเป็นการบรรยายข้อกล่าวหาโจมตี หรือแม้กระทั่งประณามนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ให้เป็นที่เกลียดชังมากกว่าเป็นการตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ หรือตั้งโจทย์เพื่อหาทางแก้
"ก้าวไกล"ชงตั้งกมธ.กรณีขบวนเสด็จฯ
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าพรรคก้าวไกล จะเสนอญัตติด่วน ขอให้สภา พิจารณาแต่งตั้งคณะกมธ.วิสามัญ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ในข้อบกพร่องการกำหนดเส้นทางเสด็จ และการถวายความปลอดภัยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 63 ทั้งนี้ เพื่อทำความจริงในทุกแง่มุมให้ปรากฏ พร้อมหลักฐานอย่างสิ้นข้อสงสัย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกล่าวหากันไปมา โดยที่ยังไม่มีกระบวนการในการสืบหาข้อเท็จจริง เราไม่ต้องการให้เกิดความคลุมเครือ คนที่พบว่ามีหลักฐานว่ามีการกระทำความผิด ก็ควรต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และมิใช่ถูกพิพากษาไปล่วงหน้าจากการกล่าวหา การทำให้ข้อเท็จจริงปรากฏ เชื่อว่าจะทำให้ความขัดเเย้งลดลง
เบื้องต้นเชื่อว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เอง ก็ตระหนักดีว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่า จะเกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่รับผิดชอบในการจัดเส้นทางขบวนเสด็จ การเตรียมเส้นทางเสด็จ และการถวายความปลอดภัย ไม่เช่นนั้นคงไม่มีการสั่งย้ายตำรวจที่เป็นข้าราชการระดับสูง ในระดับพลตำรวจตรีถึง 3 นาย เรื่องนี้จึงต้องขอวิงวอนให้ฝ่ายรัฐบาล ร่วมกันตั้ง กมธ.วิสามัญฯ ชุดนี้ขึ้น เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ และทำความจริงให้ปรากฏ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาสมัยวิสามัญในวันที่ 26-27 ต.ค. เพื่อเปิดให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามมาตรา 165 พรรคพลังประชารัฐ ได้มีการติวเข้ม ส.ส.ทั้ง 5 คนของพรรค ได้แก่ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี และ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.
ทั้งนี้ ในส่วนของ นายสิระ และน.ส.ปารีณา จะมีคิวในการอภิปราย ในวันที่ 26 ต.ค. โดยเนื้อหาในการอภิปรายจะมุ่งเน้นไปถึงเหตุการณ์ขัดขวางขบวนเสด็จ
ด้านนายพิเชษ สถิรชวาล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาธรรมไท กล่าวว่า 3พรรคเล็ก ได้แก่ พรรคประชาธรรมไท, พรรคไทยศรีวิไลย์ และ พรรคไทรักธรรม ได้เวลารวมกัน 10 นาที และได้มอบเวลาให้ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เป็นตัวแทน 3 พรรคเล็กอภิปราย โดยมีประเด็นเรื่อง สนับสนุนการแก้ไขรธน. โดยไม่แก้ไขเนื้อหา หมวด 1 และ หมวด 2 ส่วนสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร 63 นั้น ต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ในการนัดชุมนุมใหญ่ วันที่ 25 ตุลาคม หลังจากที่ครบกำหนดที่ให้นายกฯ ลาออก
ส่วนข้อเสนอให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล เพื่อกดดันนายกฯนั้น ส.ส.พรรคเล็กไม่ได้หารือเรื่องดังกล่าว ซี่งส่วนตัวมองว่า ส.ส.พรรคเล็ก ทั้ง 10 พรรค นั้นคงไม่มีผลใดต่อรัฐบาล เพราะขณะที่รัฐบาลมีเสียง ส.ส.ข้างมากที่มากพอสมควร ไม่เหมือนกับตอนจัดตั้งรัฐบาล ที่เสียงของส.ส.พรรคเล็กจะมีความหมาย ซึ่งการถอนตัวหรือไม่นั้น หากจะให้เกิดผล ต้องเป็นการพิจารณาของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หรือ พรรคภูมิใจไทย ที่มีส.ส.จำนวนมาก
ปชป.เสนอตั้งกก.ทุกฝ่ายหาทางออก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรอบการอภิปรายของพรรค จะเน้นความสร้างสรรค์ ประเด็นสำคัญคือ จะเสนอทางออกหลังการอภิปรายว่าควรจะมีทางออกต่อไปอย่างไร ทั้งนี้ เห็นว่าควรจะต้องมีการตั้งคณะกรรมาการขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกฝ่าย ทั้งสมาชิกรัฐสภา และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการพิจารณาหาคำตอบโดยเร็วที่สุด
สิ่งที่เป็นไปได้ที่อาจจะมีความเห็นตรงกันคือ เรื่องการแก้ไขรธน. หากหารือแล้วมีความเห็นตรงกัน ก็ควรเริ่มดำเนินการ ขณะนี้มี 2 แนวทาง คือ 6 ร่าง ที่ได้รับการบรรจุเป็นญัตติแล้วนั้น ก็ควรพิจารณาว่าจะทำได้โดยเร็วที่สุด เพื่อรับหลักการ หรือว่าจะรอร่างของไอลอว์ ที่เป็นฉบับของประชาชน ต้องไปดูข้อดี ข้อเสียและความเห็นพ้องว่า จะดำเนินร่วมกันอย่างไร เพราะอาจมีเสียงวิจารณ์ตามมาได้ หากพิจารณา 6 ร่างไปก่อน ก็จะมีคำถามว่าร่างของประชาชนจะถูกทิ้งหรือไม่ หากรอร่างของไอลอว์ อย่างน้อยต้องรอหลังวันที่ 12 พ.ย. ก็อาจจะมีเครื่องหมายคำถามอีกว่า ถ่วงเวลาหรือไม่ ดังนั้น เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องหารือร่วมกัน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค และประธานส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า พรรคปชป. ยึดจุดยืน 3 ประการ คือ 1. ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. การแก้ปัญหาควรใช้แนวทางสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม และ 3. ใช้รัฐสภาเป็นเวทีหาทางออกของประเทศ
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคปชป. กล่าวว่า เพื่อเป็นการดับไฟความขัดแย้งในครั้งนี้ และเป็นการถอนฟืนออกจากกองไฟ รัฐบาลน่าจะมีแนวทางแก้ปัญหา ทั้งในสภา และนอกสภาให้ได้โดยเร็วที่สุด สำหรับการเมืองนอกสภา รัฐบาลควรตั้งโต๊ะเจรจากับกลุ่มแกนนำของผู้ชุมนุม โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขรธน. ต้องมีความชัดเจนว่าจะแก้ไข หรือยกร่างใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน โดยการตั้งส.ส.ร. แล้วยุบสภา เปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ส่วนภายในสภา รัฐบาลควรจะถอนญัตติออกไปปรับปรุงแก้ไข แล้วค่อยยื่นกลับมาใหม่ เพื่อไม่สร้างเงื่อนไขให้มีการอภิปรายพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ถ้ารัฐบาลตัดสินใจใช้ 2 แนวทางนี้ จะเป็นการลดความรุนแรงในการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร 2563 ได้ระดับหนึ่งอย่างแน่นอน
พท.อภิปราย 3 ปัญหาหลัก
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย แถลงภายหลังการประชุมว่า พรรคเตรียมผู้อภิปรายไว้ 20 คน โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรค จะเป็นคนนำ ส่วนการสรุปปิดอภิปราย 27 ต.ค.เป็นหน้าที่ของนายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน
"การอภิปรายมีประเด็นที่จะอภิปรายหลากหลาย ตั้งแต่ต้นตอปัญหาข้อเรียกร้องผู้ชุมนุม พรรคเพื่อไทยได้เสนอแนวทางออกของประเทศไว้ด้วย เนื้อหาที่จะอภิปรายที่รัฐบาลกำหนดไว้ 3 เรื่อง ปัญหาโควิด เรื่องขบวนเสด็จผ่านผู้กลุ่มชุมนุม และความไม่สงบในรูปแบบต่างๆ การอภิปรายครั้งนี้ พรรคจะยึดข้อบังคับการประชุมสภาฯ เป็นหลัก ที่ระบุว่าหากพูดถึงสถาบันฯ โดยไม่จำเป็น ไม่ควรมาพูดในสภาฯ สมาชิกพรรคเพื่อไทยจะระมัดระวังในเรื่องนี้ แต่เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่อ่อนไหว คงจะมีการหารือกันอีกครั้งร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในช่วงเช้าวันที่ 26 ต.ค. ก่อนการประชุมสภาฯ" นายประเสริฐ กล่าว
ขณะที่ น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ประเด็นเรื่องขบวนเสด็จนั้น เราได้หารือร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยจะมีการแบ่งบทบาทการอภิปราย เพราะมีเวลาจำกัด ส่วนพรรคที่จะให้ข้อเท็จจริง อาจจะเป็นพรรคก้าวไกล แต่ทั้งนี้ ก่อนประชุมสภาฯ วันที่ 26 ต.ค. จะมีการหารือกันอีกครั้ง
"จาตุรนต์"ชี้เปิดวิสามัญยิ่งขัดแย้ง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงการเปิดสมัยประชุมวิสามัญ และการเสนอญัตติให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติว่า มีแนวโน้มสูงมากที่จะทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพราะดูจากหัวข้อ ประเด็นที่รัฐบาลใช้เป็นเหตุผลและวัตถุประสงค์ในการเปิดอภิปรายแล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐบาลไม่ได้ต้องการรับฟังความเห็นที่แตกต่าง หรือข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในการคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้ง แต่รัฐบาลได้มีข้อสรุป และการตัดสินไปหมดแล้วว่านักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยอยู่ในขณะนี้เป็นฝ่ายผิด ที่จะต้องสกัดกั้นขัดขวางและทำลายความชอบธรรมให้ได้ การตั้งหัวข้อมีลักษณะเป็นการบรรยายข้อกล่าวหาโจมตี หรือแม้กระทั่งประณามนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ให้เป็นที่เกลียดชังมากกว่าเป็นการตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ หรือตั้งโจทย์เพื่อหาทางแก้
"ก้าวไกล"ชงตั้งกมธ.กรณีขบวนเสด็จฯ
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าพรรคก้าวไกล จะเสนอญัตติด่วน ขอให้สภา พิจารณาแต่งตั้งคณะกมธ.วิสามัญ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ในข้อบกพร่องการกำหนดเส้นทางเสด็จ และการถวายความปลอดภัยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 63 ทั้งนี้ เพื่อทำความจริงในทุกแง่มุมให้ปรากฏ พร้อมหลักฐานอย่างสิ้นข้อสงสัย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกล่าวหากันไปมา โดยที่ยังไม่มีกระบวนการในการสืบหาข้อเท็จจริง เราไม่ต้องการให้เกิดความคลุมเครือ คนที่พบว่ามีหลักฐานว่ามีการกระทำความผิด ก็ควรต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และมิใช่ถูกพิพากษาไปล่วงหน้าจากการกล่าวหา การทำให้ข้อเท็จจริงปรากฏ เชื่อว่าจะทำให้ความขัดเเย้งลดลง
เบื้องต้นเชื่อว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เอง ก็ตระหนักดีว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่า จะเกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่รับผิดชอบในการจัดเส้นทางขบวนเสด็จ การเตรียมเส้นทางเสด็จ และการถวายความปลอดภัย ไม่เช่นนั้นคงไม่มีการสั่งย้ายตำรวจที่เป็นข้าราชการระดับสูง ในระดับพลตำรวจตรีถึง 3 นาย เรื่องนี้จึงต้องขอวิงวอนให้ฝ่ายรัฐบาล ร่วมกันตั้ง กมธ.วิสามัญฯ ชุดนี้ขึ้น เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ และทำความจริงให้ปรากฏ