รายงานสุดสัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติให้ "หน่วยงานรับงบประมาณ" ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ สำหรับรายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564โดยอนุมัติให้หน่วยรับงบประมาณ ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 1,323 รายการ เป็นวงเงินภาระผูกพันรวมทั้งสิ้น 223,240 ล้านบาท
สำหรับรายการที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มี32 รายการ วงเงิน 55,160.9 ล้านบาท
จำแนกเป็นเงินงบประมาณ208,773.4 ล้านบาท เงินนอกงบฯ 4,180.1 ล้านบาท และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด10,286.7 ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณรายจ่ายที่จัดสรรให้ในปีงบฯ 64 จำนวน 42,238.4 ล้านบาท และเป็นภาระงบประมาณในปีงบฯ 65 ถึงปีสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ 166,535.0 ล้านบาท
ทั้งนี้ รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการใหม่ ประจำปีงบฯ 64 ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดสัดส่วนต่างๆเพื่อเป็นกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งอาศัยอำนาจตาม มาตรา 11 (4) แห่งพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สัดส่วนการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีงบประมาณ ต้องไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
โดยวงเงินภาระผูกพันงบประมาณทั้งสิ้น (เงินงบฯ และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด ไม่รวมเงินนอกงบฯ) จำนวน 219,060.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.67 ของงบฯปี 64 จำนวน 3,285,962.5 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในสัดส่วนตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด (ไม่เกินร้อยละสิบ)
รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีรายการใหม่ ปี 64 วงเงินรวม 223,240.2 ล้านบาท ประกอบด้วย รายจ่ายประจำ เป็นวงเงินภาระผูกพันรวม 7219.1 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน เป็นวงเงินภาระผูกพันรวม 216,021.1 ล้านบาท และสามารถจำแนกตามวงเงินก่อหนี้ผูกพันได้ 3 ระดับ
ภาระผูกพันงบฯรายการเดิม ที่ครม.ได้อนุมัติไว้แล้วก่อนปีงบฯ 64 มีวงเงินภาระผูกพัน รวม 978,413.5 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินงบประมาณ 935,028.8 ล้านบาท เงินนอกงบฯ 27,849.5 ล้านบาท และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 15,535.2 ล้านบาท
รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปี รายการใหม่ปีงบฯ64 และภาระผูกพันรายการเดิมที่ครม.ได้อนุมัติไว้แล้วก่อนปีงบฯ 64 มีวงเงินภาระผูกพัน รวม1,201,653.7 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินงบฯ 1,143,802.2 ล้านบาท เงินนอกงบฯ 32,029.6 ล้านบาท และเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 25,821.9 ล้านบาท
ครม.ระบุว่า เมื่อทราบผลประกวดราคาแล้ว เห็นสมควรให้หน่วยรับงบฯ นำเสนอนายกรัฐมนตรีทราบอีกครั้งหนึ่ งก่อนดำเนินการ
พบว่า ตัวอย่างบิ๊กโปรเจกต์ ก่อหนี้ผูกพันข้ามงบฯ ปี 64 ในเรื่องการก่อหนี้ผูกพัน
หากหน่วยงานใดมีการก่อหนี้ผูกพันในรอบปีมากกว่า 1,000 ล้านบาท จะต้องรายงานครม. และต้องให้ครม.มีมติอนุมัติก่อน ถึงจะนำไปของบฯ ได้ที่น่าสนใจใน 3 กระทรวง รวมกว่า 31,127 ล้านบาท ของ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดย"สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย" ขอจัดสรรงบฯปี 64 แบ่งเป็น 5 หน่วยงานภายในวงเงิน 21,333 ล้านบาท ได้แก่
1. โครงการจัดหาวิทยุสื่อสารข่ายบังคับบัญชา มหาดไทย 4,999 ล้านบาท ผูกพัน 4 ปี
2. โครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ให้บริการประชาชน ด้านทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อทดแทนระบบเดิม 455 แห่ง 1,099 ล้านบาท ผูกพัน 7 ปี
3. โครงการจัดหาอากาศยานปีกหมุน (เฮลิคอปเตอร์) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัย โดยความร่วมมือกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และกองทัพบก1,862 ล้านบาท ผูกพัน 3 ปี
4. โครงการการก่อสร้าง ปรับปรุง ขยายการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) สาขาเพชรบูรณ์-หล่มสัก (ระยะที่ 1)1,117 ล้านบาท ผูกพัน 3 ปี (เงินงบฯ 838.2 ล้านบาท เงินกู้ภายในประเทศ 279.4 ล้านบาท)
5. งบฯ ของ กทม.6 โครงการ 12,252 ล้านบาท ได้แก่ อุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย 6,000 ล้านบาท ผูกพัน 5 ปี , เขื่อน ค.ส.ล. คอลบางไผ่ จากบริเวณคลองพระยาราชมนตรีถึงบริเวณสุดเขตกทม.1,028 ล้านบาท วงเงิน 1,028 ล้านบาท, เขื่อน ค.ส.ล. พร้อมระบบรวบรวมน้ำเสียคลองแสนแสบ จากบริเวณประตูระบายน้ำมีนบุรีถึงประตูระบายน้ำหนองจอก1,799 ล้านบาท ผูกพัน 5 ปี, เขื่อนค.ส.ล.คลองเปรมประชากร ช่วงที่ 3 จากถนนสรงประภาถึงถนนแจ้งวัฒนะ1,300 ล้านบาท ผูกพัน 3 ปี
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแยกเกียกกาย ช่วงที่ 4 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งพระนคร จากแยกสะพานแดงถึงถนนกำแพงเพชร 1,100 ล้านบาท ผูกพัน 3 ปี และโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแยกเกียกกาย ช่วงที่ 5 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งพระนคร จากถนนกำแพงเพชร ถึงถนนพหลโยธิน 1,100 ล้านบาท ผูกพัน 3 ปี
สำหรับกระทรวงยุติธรรม 5,729 ล้านบาท โดยจะนำไป"ก่อสร้างเรือนจำกลาง" แบ่งเป็น โครงการก่อสร้างเรือนจำกลาง จ.ลำปาง จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร และ จ.อุตรดิตถ์
โดยเรือนจำกลางลำปาง เวลาก่อสร้าง 3 ปี (2563-65) 1,414 ล้านบาท เพื่อทดแทนเรือนจำที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากก่อสร้างมานานตั้งแต่ปี 2460 อายุกว่า 102 ปี
เรือนจำจังหวัดร้อยเอ็ด เวลาก่อสร้าง 3 ปี (2563-65) 1,500 ล้านบาท เพื่อทดแทนเรือนจำที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากก่อสร้างมานานตั้งแต่ปี 2516 อายุกว่า 46 ปี และประสบบ้ญหานํ้าท่วมขัง
เรือนจำจังหวัดชัยนาท เวลาก่อสร้าง 3 ปี (2563-65)1,403 ล้านบาท เพื่อทดแทนเรือนจำที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมเนื่องจากก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2454 อายุกว่า 108 ปี
เรือนจำจังหวัดยโสธร เวลาก่อสร้าง 3 ปี (2563-65)1,365 ล้านบาท เพื่อทดแทนเรือนจำที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมเนื่องจากก่อสร้างมานานตั้งแต่ปี 2482 อายุกว่า 80 ปี
เรือนจำจังหวัดอุตรติตถ์ เวลาก่อสร้าง 3 ปี (2563-65) 1,491 ล้านบาท วัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเรือนจำที่มีสภาพขำรุดทรุดโทรม เนื่องจากก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2475 อายุกว่า 87 ปี
กระทรวงเกษตรฯ จำนวน 4,065 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา โดยเป็นงบฯ เฉพาะในปี 64 ได้แก่
1.โครงการคลองระบายน้ำบางบาล-บางไทร 1,422 ล้านบาท 2.โครงการบรรเทาอุทกภัยจ.นครศรีธรรมราชอันเนื่องมากจากพระราชดำริ 2,200 ล้านบาท 3.โครงการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ จ.เพชรบุรี ตอนล่าง1,412 ล้านบาท 4.โครงการปรับปรุงคลองยมน่าน 1,519 ล้านบาท และ 5.โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ.จันทบุรี 1,200 ล้านบาท
ยังรวมถึง รายการเครื่องเฮลิคอปเตอร์ (จำนวนที่นั่งไม่น้อยกว่า 14 ที่นั่ง) ขนาด 2 เครื่องยนต์ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 1 ลำ เป็นรายการเครื่องบินขนาดกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม.1 ลำ เพื่อใช้ปฏิบัติภารกิจการทำฝนหลวง 567,500,000 บาท ตามผลการจัดซื้อเครื่องบินขนาดกลาง ที่ได้จัดซื้อในปีงบฯ 63
“เป็นงบฯ ส่วนที่เหลือ จำนวน 493,250,000 บาท ผูกพันงบฯปี 64-65”
นอกจากนี้ ยังรวมถึงอีก16 รายการ วงเงินรวม 1,059 ล้านบาท ที่ไม่สามารถเบิกจ่ายทัน วันที่ 30 ก.ย.63 ให้มาดำเนินการในงบลงทุน ที่ดินและสิ่งก่อสร้างรายการซื้อที่ดิน ค่าทดแทน ค่ารื้อย้ายในการจัดการที่ดิน 9 รายการ วงเงิน 1,059 ล้านบาท
ส่วนโครงการ "บิ๊กโปรเจกต์" กระทรวงคมนาคม วงเงินเกิน 1 พันล้าน ที่ก่อหนี้ผูกพัน ที่น่าสนใจ เช่น รายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ช่วง กม..4 + 100.000 - กม.9 + 000.000 (ช่วงที่ 3) ระยะทาง 4.9 กม.
วงเงิน1,479,75,746 บาท โดยก่อหนี้ผูกพันมาต้ังแต่ปี 59-66 "โดยผูกพันปี 63- 65 ส่วนที่เหลือ วงเงิน 1,210,206,346 บาท"
หากย้อนดูการอนุมัติให้ "หน่วยงานรับงบประมาณ" ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบฯ สำหรับรายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบฯ 63 พบอนุมัติไป 1,470 รายการ เป็นวงเงินภาระผูกพันรวม 307,602.2 ล้านบาท
สำหรับรายการที่มีวงเงินรวมตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ในปี 2563 มี 43 รายการ วงเงิน 111,225.0 ล้านบาท สูงกว่าปี64 "บิ๊กลอต" 32 รายการ วงเงิน 55,160 ล้าน
นอกจากนี้ ปีงบฯ 64 พบว่า รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่จะต้องจ่ายในรูปของเงินตราต่างประเทศ เช่น รายการค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าอาคารสำนักงาน และค่าเช่าทรัพย์สินในต่างประเทศ ฯลฯ ได้รับอนุมัติวงเงินผูกพันที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้รับอนุมัติเนื่องจาก "อัตราแลกเปลี่ยน"ด้วย