ผู้จัดการรายวัน 360 - ม็อบปลดแอก เดินสายป่วน บุกกองทัพบกจี้ "บิ๊กแดง" ลาออกจากส.ว. "เพนกวิน" ระดมพลบุกรัฐสภา 4 โมงเย็น วันนี้ (24 ก.ย.) "บิ๊กป้อม" มั่นใจคุมอยู่ ไม่มีปัญหา ขณะที่ ส.ส.รัฐบาล-ฝ่ายค้าน เห็นพ้องต้องแก้รัฐธรรมนูญ ม.256 ไม่แตะต้องหมวด 1 และ 2 หวั่นขยายความขัดแย้ง "วิรัช" วอน ส.ว.ร่วมโหวตเพื่อความสงบขชองบ้านเมือง ด้าน"หมอวรงค์"นำกลุ่มไทยภักดี ค้านแก้รธน. มองนักการเมืองหนุนแก้หวังสร้างเผด็จการรัฐสภา คาดร่างแก้ไขรธน.ฉบับรัฐบาลจะผ่านเพียงฉบับเดียว
วานนี้ (23 ก.ย.) คณะประชาชนปลดแอก จัดกิจกรรม "จับ ส.ว.ลงหม้อ" ที่บริเวณหน้ากองบัญชาการทหารบก ขณะที่กองทัพบก ได้จัดพิธีเทิดเกียรติและอำลาชีวิตข้าราชการทหารของนายทหารชั้นนายพลประจำปี 2563 ให้กับ พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก และนายทหารชั้นนายพลที่เกษียณอายุราชการกว่า 300 นาย
โดยคณะประชาชนปลดแอกได้เรียกร้องให้พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ลาออกจากตำแหน่งสว. พร้อมทั้งฝากไปถึง พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. คนใหม่ ที่เข้ามารับหน้าที่ต่อในขณะนี้ท่านยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์เพราะฉะนั้นอย่ารับตำแหน่ง ส.ว.
"เพนกวิน"ระดมพลบุกสภา 4 โมงเย็น
นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำเยาวชนปลดแอก ได้โพสต์ข้อความลงในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ "เพนกวิน - พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak" ระบุว่า...พรุ่งนี้ รวมพลสี่โมงเย็น ณ สัปปายะสภาสถาน รัฐสภาเกียกกาย
'บิ๊กป้อม'มั่นใจคุมม็อบชุมนุมรัฐสภาได้
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์การชุมนุมที่บริเวณอาคารรัฐสภาระหว่างการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับการชุมนุมที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สื่อจะให้ตนทำอย่างไร ก็ต้องไปบอกบรรดากลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเจ้าหน้าที่ได้มีการเตรียมการไว้อยู่แล้ว ไม่ต้องห่วง ซึ่งในส่วนของความมั่นคงมั่นใจว่าดูแลได้ ไม่มีอะไร
ส.ส.รัฐบาล-ฝ่ายค้าน เห็นพ้องต้องแก้ ม.256
วานนี้ (23ก.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 6 ญัตติ โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ได้หารือประธานรัฐสภา ขอใช้สิทธิเสนอญัตติด่วนด้วยวาจา ขอให้ศาลรธน. วินิจฉัยการเสนอ ร่าง แก้ไขเพิ่มเติมรธน. โดยชี้ว่า ส.ส. สามารถลงนามร่วมเสนอญัตติได้ คราวละ 1 ฉบับ หรือลงได้หลายฉบับ เนื่องจากมีการลงชื่อซ้ำกันในญัตติแก้ไขรธน. 4 ฉบับ ที่ฝ่ายค้านยื่นเพิ่มเติม ซึ่งเป็นปัญหาตามรธน. มาตรา 256 วงเล็บ 1 ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลรธน.ควรวินิจฉัย จึงเสนอญัตติด่วนให้รัฐสภาส่งให้ศาลรธน.วินิจฉัย แต่เลขาธิการสภาฯ ไม่บรรจุเป็นญัตติ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขตามรธน. มาตรา 156
นายไพบูลย์ ยืนยันว่า การเสนอญัตติของตน เป็นไปตามรธน.มาตรา 157 และขอให้รัฐสภา มีมติเพื่อให้ศาลรธน.ใช้อำนาจวินิจฉัย ตามรธน. มาตรา 210 หากจะตีตก ตนก็จะยื่นต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อดำเนินคดี
ด้านนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ชี้แจงว่า เลขาธิการสภาฯ พิจารณากรณีนี้เป็นพิเศษ มีการเรียกประชุมฝ่ายกฎหมายทั้งหมด และมีข้อสรุปว่า ลงชื่อในฉบับเดียวกันไม่ได้ แต่หากลงชื่อคนละฉบับ แล้วหลักการต่างกัน ไม่มีข้อห้ามไว้ ไม่เคยมีปัญหาการตีความ และกรณีญัตติคำร้องของนายไพบูลย์ ยังขัดต่อรธน. มาตรา 156 เนื่องจากไม่มีบัญญัติไว้ตามอำนาจหน้าที่ จึงไม่รับเป็นญัตติ
จากนั้น ที่ประชุมรัฐสภา เข้าสู่ระเบียบวาระพิจารณา เรื่องด่วน 6 ญัตติ เกี่ยวกับการแก้ไขรธน. โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้าน อภิปราย ชี้แจงหลักการและเหตุผล ถึงการแก้ไข มาตรา 256 และ เพิ่มหมวด 15/1 หรือตั้งส.ส.ร. เพื่อยกร่างรธน.ใหม่ ยกเว้น หมวด 1 และ หมวด 2 เนื่องจากการแก้ไขรธน. ตามมาตรา 256 ต้องมีเสียงส.ส. เกินกึ่งหนึ่ง และเสียงส.ว.เห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 อีกทั้งในวาระที่ 3 ยังต้องมี ส.ส. จากฝ่ายค้าน เห็นชอบไม่น้อยกว่า 20% รวมทั้งต้องมีการออกเสียงประชามติ ทำให้การแก้ไขรธน.ทำได้ยาก จนไม่อาจแก้ไขได้ และไม่ทันต่อสถานการณ์ของประเทศ จึงเห็นควรให้กลับไปใช้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา รวมถึง ควรจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมายกร่างรธน.
ส่วนหลักการ ร่างแก้ไข ยกเลิก มาตรา 270 ถึง 272 เนื่องจากเป็นหลักการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะ มาตรา 272 เกี่ยวกับการให้ ส.ว.มีสิทธิร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ไม่สอดคล้องกับหลักการ และประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงไม่ควรให้ ส.ว. มีสิทธิ์เลือกนายกฯ อีกต่อไป และแก้ไขมาตรา 159 ให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ต้องมาจากส.ส.
ส่วนที่ให้ยกเลิก มาตรา 279 เกี่ยวกับการประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำของ คสช. และหัวหน้า คสช. ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชน ขัดหลักสิทธิ เสรีภาพตามรธน. แต่ได้รับการรับรองให้ชอบด้วย รธน. ทั้งที่ คสช. สิ้นสุดไปแล้ว แต่ยังคงบทบัญญัติไว้ ทำให้ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย จึงควรแก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิก สำหรับหลักการและเหตุผลการแก้ไขระบบเลือกตั้งนั้น เนื่องจากการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว มีปัญหาหลายด้าน ยุ่งยากในทางปฏิบัติ ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ประชาชน ไม่เป็นธรรมต่อพรรคการเมือง การคิดคำนวณไม่แน่นอนชัดเจน สมควรนำวิธีการเลือกตั้งในรธน.ฉบับก่อนหน้า ที่ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ กลับมาใช้
รัฐบาลอ้างทำตามเสียงเรียกร้องปชช.
ต่อมา นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะวิปรัฐบาล ที่เสนอญัตติของพรรคร่วมรัฐบาล แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 เนื่องจากเมื่อบังคับใช้รธน. มาระยะหนึ่ง แต่มีปัญหาไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมประชาชน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ จึงควรมีการศึกษาทบทวนรธน. ให้เกิดความเหมาะสม เพื่อเป็นแม่แบบการดำเนินการด้านต่างๆ ให้ประเทศมีเสถียรภาพความมั่นคง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ด้วยบทบัญญัติการแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ยุ่งยาก จึงควรแก้ไข มาตรา 156 ให้การแก้ไขรธน.เหมาะสม และควรมีบทบัญญัติว่าด้วยการจัดทำร่างรธน.ฉบับใหม่ โดยมี ส.ส.ร.เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ทำรธน.ที่เหมาะสม สอดคล้องเจตนารมณ์ประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการรับฟังความเห็น และออกเสียงประชามติ
นายวิรัช กล่าวว่า รธน.ปี 2560 หลายพรรคการเมืองชูประเด็นตอนหาเสียงเลือกตั้งว่า จะแก้ไขรธน. แต่พรรคพลังประชารัฐ ไม่มีนโยบายแก้ไขเรื่องนี้ แต่เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล ก็ปรากฏเป็นนโยบายการแก้ไขรธน. ซึ่งขณะนี้ ก็มีกลุ่มภาคประชาชน ทั้งคณะประชาชนปลดแอก หรือกลุ่มไทยภักดี กำลังเคลื่อนไหว ดังนั้นไม่ว่าจะแก้ไขมากหรือน้อย ก็ต้องเกิดปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งตนเองอยากเห็นบ้านเมืองสงบ ซึ่งในญัตติพรรคร่วมรัฐบาล มีเจตนารมณ์แก้ในมาตราที่เป็นปัญหา แต่ยืนยัน ไม่แก้ หมวด 1 บททั่วไป และ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ซึ่งทุกคนมีความเห็นตรงกัน รวมถึงญัตติของผู้นำฝ่ายค้าน และเห็นร่วมกันว่า ควรแก้ไข มาตรา 256 แต่ถ้าจะแก้ไขได้ จะต้องอาศัยเสียงวุฒิสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ร่วมลงมติเห็นชอบด้วย และขอให้สมาชิกโหวตลงมติรับหลักการญัตติพรรคร่วมรัฐบาล และขอให้ร่วมกันพิจารณาเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ ขอขอบคุณสมาชิกที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนญัตติ และหวังว่าจะได้มติจากวุฒิสภา
หมอวรงค์ยื่น1.3แสนชื่อค้านแก้รธน.
ด้าน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม แกนนำกลุ่มไทยภักดี พร้อมกลุ่มมวลชน นำรายชื่อ 130,000 รายชื่อมายื่นต่อประธานรัฐสภา เพื่อคัดค้านการแก้ไขรธน.60 ที่มาจากการลงประชามติ โดยระบุว่า การคัดค้านการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ไม่มีกฎหมายรองรับ ดังนั้นการที่นำรายชื่อมาในครั้งนี้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน มีเพียงรายชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ยืนยันตัวตัวก็เพียงพอ เนื่องจากเป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์คัดค้านการแก้ไขรธน.เท่านั้น และหวังว่า สมาชิกรัฐสภาจะฟังเสียงประชาชน เนื่องจากการแก้ไขรธน.รอบนี้ ไม่เห็นถึงประโยชน์ของประชาชน มีแต่ประโยชน์ของนักการเมือง ที่ได้รับผลกระทบจากรธน.ปราบโกงฉบับบนี้ จึงอยากจะแก้ไข โดยเฉพาะระบบเลือกตั้ง ที่ต้องการแก้ไขระบบบัตร 1 ใบเป็น 2 ใบ เพื่อจะได้ใช้เงินซื้อ ส.ส. เพื่อให้เกิดเผด็จการรัฐสภา เพราะปัจจุบันไม่สามารถทำได้
โหวตรับร่างแก้ไขรธน.รัฐบาลฉบับเดียว
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า มีการประชุมวิปรัฐบาลเพื่อกำหนดทิศทางการลงมติ ร่างแก้ไขรธน. 6 ร่าง เป็นที่ชัดเจนว่า ในส่วนของส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ยกเว้น พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) จะเห็นชอบตามร่างแก้ไข ฉบับที่พรรคร่วมรัฐบาลเสนอเพียงฉบับเดียวเท่านั้น
ขณะที่ในส่วนของ ส.ว. ขณะนี้ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจน เนื่องจากมีส.ว. หลายคนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่จะให้ตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรธน.ใหม่ เพราะเป็นการทรยศต่อประชาชน 16 ล้านเสียงที่ลงมติรับรธน.ฉบับนี้ และอาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง พร้อมถามว่า ส.ว.ทำอะไรผิดถึงต้องปิดสวิตช์ส.ว. บางคนแนะให้นายกฯ ลาออก ปิดสวิตช์ส.ส. เพื่อเลือกตั้งใหม่
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะมีความชัดเจน ถึงสัญญาณที่ชัดเจนจากผู้มีอำนาจในช่วงเย็นของวันนี้ (24ก.ย.) ก่อนที่จะเริ่มโหวตลงมติ ในเวลา 18.00 น.
วานนี้ (23 ก.ย.) คณะประชาชนปลดแอก จัดกิจกรรม "จับ ส.ว.ลงหม้อ" ที่บริเวณหน้ากองบัญชาการทหารบก ขณะที่กองทัพบก ได้จัดพิธีเทิดเกียรติและอำลาชีวิตข้าราชการทหารของนายทหารชั้นนายพลประจำปี 2563 ให้กับ พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก และนายทหารชั้นนายพลที่เกษียณอายุราชการกว่า 300 นาย
โดยคณะประชาชนปลดแอกได้เรียกร้องให้พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ลาออกจากตำแหน่งสว. พร้อมทั้งฝากไปถึง พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. คนใหม่ ที่เข้ามารับหน้าที่ต่อในขณะนี้ท่านยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์เพราะฉะนั้นอย่ารับตำแหน่ง ส.ว.
"เพนกวิน"ระดมพลบุกสภา 4 โมงเย็น
นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำเยาวชนปลดแอก ได้โพสต์ข้อความลงในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ "เพนกวิน - พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak" ระบุว่า...พรุ่งนี้ รวมพลสี่โมงเย็น ณ สัปปายะสภาสถาน รัฐสภาเกียกกาย
'บิ๊กป้อม'มั่นใจคุมม็อบชุมนุมรัฐสภาได้
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์การชุมนุมที่บริเวณอาคารรัฐสภาระหว่างการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับการชุมนุมที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สื่อจะให้ตนทำอย่างไร ก็ต้องไปบอกบรรดากลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเจ้าหน้าที่ได้มีการเตรียมการไว้อยู่แล้ว ไม่ต้องห่วง ซึ่งในส่วนของความมั่นคงมั่นใจว่าดูแลได้ ไม่มีอะไร
ส.ส.รัฐบาล-ฝ่ายค้าน เห็นพ้องต้องแก้ ม.256
วานนี้ (23ก.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 6 ญัตติ โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ได้หารือประธานรัฐสภา ขอใช้สิทธิเสนอญัตติด่วนด้วยวาจา ขอให้ศาลรธน. วินิจฉัยการเสนอ ร่าง แก้ไขเพิ่มเติมรธน. โดยชี้ว่า ส.ส. สามารถลงนามร่วมเสนอญัตติได้ คราวละ 1 ฉบับ หรือลงได้หลายฉบับ เนื่องจากมีการลงชื่อซ้ำกันในญัตติแก้ไขรธน. 4 ฉบับ ที่ฝ่ายค้านยื่นเพิ่มเติม ซึ่งเป็นปัญหาตามรธน. มาตรา 256 วงเล็บ 1 ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลรธน.ควรวินิจฉัย จึงเสนอญัตติด่วนให้รัฐสภาส่งให้ศาลรธน.วินิจฉัย แต่เลขาธิการสภาฯ ไม่บรรจุเป็นญัตติ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขตามรธน. มาตรา 156
นายไพบูลย์ ยืนยันว่า การเสนอญัตติของตน เป็นไปตามรธน.มาตรา 157 และขอให้รัฐสภา มีมติเพื่อให้ศาลรธน.ใช้อำนาจวินิจฉัย ตามรธน. มาตรา 210 หากจะตีตก ตนก็จะยื่นต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อดำเนินคดี
ด้านนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ชี้แจงว่า เลขาธิการสภาฯ พิจารณากรณีนี้เป็นพิเศษ มีการเรียกประชุมฝ่ายกฎหมายทั้งหมด และมีข้อสรุปว่า ลงชื่อในฉบับเดียวกันไม่ได้ แต่หากลงชื่อคนละฉบับ แล้วหลักการต่างกัน ไม่มีข้อห้ามไว้ ไม่เคยมีปัญหาการตีความ และกรณีญัตติคำร้องของนายไพบูลย์ ยังขัดต่อรธน. มาตรา 156 เนื่องจากไม่มีบัญญัติไว้ตามอำนาจหน้าที่ จึงไม่รับเป็นญัตติ
จากนั้น ที่ประชุมรัฐสภา เข้าสู่ระเบียบวาระพิจารณา เรื่องด่วน 6 ญัตติ เกี่ยวกับการแก้ไขรธน. โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้าน อภิปราย ชี้แจงหลักการและเหตุผล ถึงการแก้ไข มาตรา 256 และ เพิ่มหมวด 15/1 หรือตั้งส.ส.ร. เพื่อยกร่างรธน.ใหม่ ยกเว้น หมวด 1 และ หมวด 2 เนื่องจากการแก้ไขรธน. ตามมาตรา 256 ต้องมีเสียงส.ส. เกินกึ่งหนึ่ง และเสียงส.ว.เห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 อีกทั้งในวาระที่ 3 ยังต้องมี ส.ส. จากฝ่ายค้าน เห็นชอบไม่น้อยกว่า 20% รวมทั้งต้องมีการออกเสียงประชามติ ทำให้การแก้ไขรธน.ทำได้ยาก จนไม่อาจแก้ไขได้ และไม่ทันต่อสถานการณ์ของประเทศ จึงเห็นควรให้กลับไปใช้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา รวมถึง ควรจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมายกร่างรธน.
ส่วนหลักการ ร่างแก้ไข ยกเลิก มาตรา 270 ถึง 272 เนื่องจากเป็นหลักการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะ มาตรา 272 เกี่ยวกับการให้ ส.ว.มีสิทธิร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ไม่สอดคล้องกับหลักการ และประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงไม่ควรให้ ส.ว. มีสิทธิ์เลือกนายกฯ อีกต่อไป และแก้ไขมาตรา 159 ให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ต้องมาจากส.ส.
ส่วนที่ให้ยกเลิก มาตรา 279 เกี่ยวกับการประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำของ คสช. และหัวหน้า คสช. ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชน ขัดหลักสิทธิ เสรีภาพตามรธน. แต่ได้รับการรับรองให้ชอบด้วย รธน. ทั้งที่ คสช. สิ้นสุดไปแล้ว แต่ยังคงบทบัญญัติไว้ ทำให้ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย จึงควรแก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิก สำหรับหลักการและเหตุผลการแก้ไขระบบเลือกตั้งนั้น เนื่องจากการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว มีปัญหาหลายด้าน ยุ่งยากในทางปฏิบัติ ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ประชาชน ไม่เป็นธรรมต่อพรรคการเมือง การคิดคำนวณไม่แน่นอนชัดเจน สมควรนำวิธีการเลือกตั้งในรธน.ฉบับก่อนหน้า ที่ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ กลับมาใช้
รัฐบาลอ้างทำตามเสียงเรียกร้องปชช.
ต่อมา นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะวิปรัฐบาล ที่เสนอญัตติของพรรคร่วมรัฐบาล แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 เนื่องจากเมื่อบังคับใช้รธน. มาระยะหนึ่ง แต่มีปัญหาไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมประชาชน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ จึงควรมีการศึกษาทบทวนรธน. ให้เกิดความเหมาะสม เพื่อเป็นแม่แบบการดำเนินการด้านต่างๆ ให้ประเทศมีเสถียรภาพความมั่นคง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ด้วยบทบัญญัติการแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ยุ่งยาก จึงควรแก้ไข มาตรา 156 ให้การแก้ไขรธน.เหมาะสม และควรมีบทบัญญัติว่าด้วยการจัดทำร่างรธน.ฉบับใหม่ โดยมี ส.ส.ร.เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ทำรธน.ที่เหมาะสม สอดคล้องเจตนารมณ์ประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการรับฟังความเห็น และออกเสียงประชามติ
นายวิรัช กล่าวว่า รธน.ปี 2560 หลายพรรคการเมืองชูประเด็นตอนหาเสียงเลือกตั้งว่า จะแก้ไขรธน. แต่พรรคพลังประชารัฐ ไม่มีนโยบายแก้ไขเรื่องนี้ แต่เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล ก็ปรากฏเป็นนโยบายการแก้ไขรธน. ซึ่งขณะนี้ ก็มีกลุ่มภาคประชาชน ทั้งคณะประชาชนปลดแอก หรือกลุ่มไทยภักดี กำลังเคลื่อนไหว ดังนั้นไม่ว่าจะแก้ไขมากหรือน้อย ก็ต้องเกิดปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งตนเองอยากเห็นบ้านเมืองสงบ ซึ่งในญัตติพรรคร่วมรัฐบาล มีเจตนารมณ์แก้ในมาตราที่เป็นปัญหา แต่ยืนยัน ไม่แก้ หมวด 1 บททั่วไป และ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ซึ่งทุกคนมีความเห็นตรงกัน รวมถึงญัตติของผู้นำฝ่ายค้าน และเห็นร่วมกันว่า ควรแก้ไข มาตรา 256 แต่ถ้าจะแก้ไขได้ จะต้องอาศัยเสียงวุฒิสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ร่วมลงมติเห็นชอบด้วย และขอให้สมาชิกโหวตลงมติรับหลักการญัตติพรรคร่วมรัฐบาล และขอให้ร่วมกันพิจารณาเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ ขอขอบคุณสมาชิกที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนญัตติ และหวังว่าจะได้มติจากวุฒิสภา
หมอวรงค์ยื่น1.3แสนชื่อค้านแก้รธน.
ด้าน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม แกนนำกลุ่มไทยภักดี พร้อมกลุ่มมวลชน นำรายชื่อ 130,000 รายชื่อมายื่นต่อประธานรัฐสภา เพื่อคัดค้านการแก้ไขรธน.60 ที่มาจากการลงประชามติ โดยระบุว่า การคัดค้านการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ไม่มีกฎหมายรองรับ ดังนั้นการที่นำรายชื่อมาในครั้งนี้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน มีเพียงรายชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ยืนยันตัวตัวก็เพียงพอ เนื่องจากเป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์คัดค้านการแก้ไขรธน.เท่านั้น และหวังว่า สมาชิกรัฐสภาจะฟังเสียงประชาชน เนื่องจากการแก้ไขรธน.รอบนี้ ไม่เห็นถึงประโยชน์ของประชาชน มีแต่ประโยชน์ของนักการเมือง ที่ได้รับผลกระทบจากรธน.ปราบโกงฉบับบนี้ จึงอยากจะแก้ไข โดยเฉพาะระบบเลือกตั้ง ที่ต้องการแก้ไขระบบบัตร 1 ใบเป็น 2 ใบ เพื่อจะได้ใช้เงินซื้อ ส.ส. เพื่อให้เกิดเผด็จการรัฐสภา เพราะปัจจุบันไม่สามารถทำได้
โหวตรับร่างแก้ไขรธน.รัฐบาลฉบับเดียว
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า มีการประชุมวิปรัฐบาลเพื่อกำหนดทิศทางการลงมติ ร่างแก้ไขรธน. 6 ร่าง เป็นที่ชัดเจนว่า ในส่วนของส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ยกเว้น พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) จะเห็นชอบตามร่างแก้ไข ฉบับที่พรรคร่วมรัฐบาลเสนอเพียงฉบับเดียวเท่านั้น
ขณะที่ในส่วนของ ส.ว. ขณะนี้ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจน เนื่องจากมีส.ว. หลายคนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่จะให้ตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรธน.ใหม่ เพราะเป็นการทรยศต่อประชาชน 16 ล้านเสียงที่ลงมติรับรธน.ฉบับนี้ และอาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง พร้อมถามว่า ส.ว.ทำอะไรผิดถึงต้องปิดสวิตช์ส.ว. บางคนแนะให้นายกฯ ลาออก ปิดสวิตช์ส.ส. เพื่อเลือกตั้งใหม่
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะมีความชัดเจน ถึงสัญญาณที่ชัดเจนจากผู้มีอำนาจในช่วงเย็นของวันนี้ (24ก.ย.) ก่อนที่จะเริ่มโหวตลงมติ ในเวลา 18.00 น.