ผู้จัดการรายวัน360- "ชวน" บรรจุญัตติแก้รธน. ม.256 ของฝ่ายค้าน เข้าระเบียบวาระรัฐสภาแล้ว ประชุมนัดต่อไป 28 ส.ค.นี้ "สุทิน"แจงไม่แก้ หมวด1 หมวด 2 เป็นเรื่องเทคนิค ต้องปิดจุดเสี่ยง กันถูกตีตกตั้งแต่ยกแรก "วิษณุ" เผยรัฐบาลยังไม่ได้เตรียมร่างแก้ไขรธน.ไว้ ต้องรอความชัดเจนจากพรรคร่วม และความเห็นกมธ.แก้ไขรธน. "บิ๊กป้อม"ไม่เห็นด้วย"ก้าวไกล"เสนอแก้ หมวด 1-2 ด้าน วิปรัฐบาล มีมติแก้รธน.พร้อมตั้งส.ส.ร.จากตัวแทนพรรคการเมือง ไม่แตะหมวด1-2 ภท. เตรียมเสนอร่างแก้ไขรธน. ชง 6 ประเด็นแก้ ม. 256 ตั้ง ส.ส.ร.ร่างรธน.ใหม่ ค่อยยุบสภาเลือกตั้งใหม่ "อนุทิน" ลั่นต้องไม่กระทบหมวด 1- หมวด 2 "ศรีสุวรรณ" ร้อง กกต. สอบก้าวไกล ชงแก้รธน. หมวด 1 - 2 เข้าข่ายเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองหรือไม่ ถ้าผิดถึงขั้นยุบพรรค
วานนี้ (19ส.ค.) นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาฯ แถลงผลการตรวจสอบญัตติเสนอร่างแก้ไขรธน. มาตรา 256 ของพรรคร่วมฝ่ายค้านว่า มีเนื้อหาผิดเพียงเล็กน้อย และมีการขีดฆ่ารายชื่อ 21 ส.ส.พรรคก้าวไกล ที่ถอนชื่อออก ซึ่งจะต้องทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อยืนยันการขอถอนชื่ออีกครั้งหนึ่ง แต่รายชื่อผู้รับรองมีจำนวนครบ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ ตามเงื่อนไขที่รธน.กำหนด ประธานรัฐสภาฯ จึงบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ซึ่งจะมีการประชุมครั้งต่อไป วันที่ 28 ส.ค.นี้ แต่ไม่ได้อยู่ในระเบียบวาระแรก เพราะยังมีระเบียบวาระพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ที่รัฐบาลเสนอมา 3 ฉบับ และกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศอีก 1 ฉบับ หากไม่ทันเข้าสู่การพิจารณา ทางส.ว.ก็ตอบรับ และสละวันประชุมวุฒิสภา วันที่ 15 ก.ย.ให้ เป็นวันประชุมรัฐสภาได้
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึง กรณีพรรคก้าวไกล ถอนชื่อออกจากญัตติเสนอร่างแก้ไขรธน. ของพรรคร่วมฝ่ายค้านว่าไม่มีปัญหา เราเคารพเหตุผลซึ่งกันและกัน มั่นใจว่าการทำงานของฝ่ายค้านยังเดินหน้าต่อไปได้ไม่มีปัญหาอะไร
ส่วนกรณีพรรคก้าวไกล จะเสนอญัตติร่างแก้ไขรธน. ที่มีการแก้ หมวด 1 และหมวด 2 ทางพรรคเพื่อไทยจะลงชื่อสนับสนุนหรือไม่นั้น นายสุทิน กล่าวว่าต้องนำเข้าหารือในที่ประชุมส.ส. เพราะเรื่องการแก้ไขรธน. บางประเด็นมองต่างมุมกันได้มาก แม้แต่ในกลุ่มของหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ก็ถกกันแต่ละเรื่อง กว่าจะเข้าใจตรงกัน ดังนั้นทุกญัตติจึงต้องเข้าไปที่ประชุม ส.ส.
กรณีการแก้ไข หมวด 1 และ หมวด 2 ที่พรรคก้าวไกลบอกว่า ไม่ควรจะล็อก แต่พรรคร่วมฝ่ายค้านอื่นๆ บอกว่าควรล็อกไว้นั้น นายสุทิน กล่าวว่า เรื่องนี้มีการพูดคุยในที่ประชุมหลายรอบ ซึ่งเป็นเรื่องเทคนิคการเสนอกฎหมาย คนหนึ่งคิดเรื่องเนื้อหา คนหนึ่งคิดเรื่องเทคนิค ถ้าเราเสนอไปแล้วตกตั้งแต่ยกแรก ก็ไม่มีประโยชน์ ฉะนั้นเราเสนอร่างแก้ไขรธน. ก็หวังผลให้แก้ได้จริง ซึ่งจะต้องปิดจุดเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงหนึ่งก็คือ ส.ว. และความเสี่ยงที่ 2 คือ ผลการวินิจฉัยของศาลรธน. ปี 55 ที่บอกว่า การตั้ง ส.ส.ร.ปลายเปิด หมายถึงการแก้รธน.ทั้งฉบับ ซึ่งคือการล้มล้างรธน. ล้มล้างการปกครอง ซึ่งในเรื่องนี้ก็ดูเหมือน ส.ว. ตั้งป้อมไว้ว่าจะเล่นเรื่องนี้ ดังนั้นหากเราเสนอไปแล้ว ส.ว.หยิบเรื่องนี้ขึ้นมา แล้วนำไปเข้าสู่การวินิจฉัยของศาลรธน. สิ่งที่เราเสนออาจจะตกไป ดังนั้น เราจึงเลี่ยงข้อนี้ ส่วนประเด็นแก้ หมวด1 และ หมวด2 เป็นสิ่งที่เราคิดต่างกันได้ แต่ในวาระ 2 แปรญัตติ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่จะทำอย่างไรให้ร่างแก้ไข รธน. ได้รับการบรรจุ ไม่ตกในยกแรก ส่วนการจะเพิ่ม จะตัดอะไร ให้ไปพิจารณาในวาระที่ 2 ซึ่งเราคิดเช่นนี้ เพราะเป็นเทคนิคของการแก้รธน. ที่จะสำเร็จและได้ผลจริงๆ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขรธน.ในส่วนของรัฐบาล ว่า แต่ละพรรคการเมือง ได้มีการเตรียมการร่างรธน. ในส่วนของตนเองเอาไว้ แต่รัฐบาลยังไม่ได้เตรียม เพราะต้องรอการหารือระหว่าง วิปรัฐบาล และวิปส.ว.ก่อน จากนั้นรัฐบาลจึงจะมีการหารือกัน ซึ่งในแต่ละขั้นตอนสามารถดำเนินการไปพร้อมกันได้ ขณะเดียวกันก็ต้องรอความชัดเจนจาก คณะกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขรธน. ที่จะมีความชัดเจนในช่วงปลายเดือนส.ค.นี้ และสุดท้ายจึงจะมาจบที่ครม.
ส่วนที่พรรคฝ่ายค้าน เสนอให้มีการแก้ไขรธน.ในหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 นั้น นายวิษณุ กล่าวว่าไม่ทราบ
วิปรัฐบาลให้ตั้งส.ส.ร.
นายวิรัช รัตนเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล แถลงหลังว่า ที่ประชุมวิปรัฐบาล มีมติจะแก้รธน. โดยไม่แตะ หมวด 1 และหมวด 2 และให้มีการตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ส่วนมาตราอื่นๆ จะแก้ไขหรือไม่ อยู่ระหว่างการหารือ รวมทั้งการออกแบบโครงสร้างของ ส.ส.ร. ด้วยว่าจะเป็นอย่างไร โดยจะดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งอาจประกอบไปด้วยตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ และอาจเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นพี่เลี้ยงให้ด้วย เช่น สถาบันพระปกเกล้า หรือทางสำนักงานกฤษฎีกา เป็นต้น โดยคาดว่าเรื่องนี้จะได้ข้อสรุปเร็วที่สุด ก่อนที่คณะกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขรธน. จะเสนอรายงาน โดยจะยื่นแบบเอกภาพเป็นหนึ่งเดียว
เมื่อถามว่า ทางฝ่ายค้านได้ยื่นเรื่องนี้ไปแล้ว ฝ่ายรัฐบาลก็ควรจะยื่นตามเลย หรือไม่ นายวิรัช กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องยื่นตามฝ่ายค้าน และหากถามว่าฝ่ายรัฐบาลยื่นช้าไปหรือไม่ ก็ต้องขอถามกลับว่า ฝ่ายค้านยื่นเร็วไปหรือไม่ เพราะยื่นโดยที่ไม่รอผลการศึกษาจาก คณะกมธ.วิสามัญศึกษารธน. เลย
"บิ๊กป้อม"ไม่เห็นด้วยแก้ หมวด1-2
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีพรรคก้าวไกล เสนอแก้ไขรธน.ในหมวดที่ 1 และ หมวดที่ 2 จะทำให้เกิดปัญหาในภาพรวมหรือไม่ เพราะเป็นหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วย ซึ่งเรื่องนี้ต้องดูในรายละเอียด ต้องคุยกันก่อนเพราะทางพรรคพลังประชารัฐ ก็กำลังไปคุยกันอยู่ ว่าจะแก้อะไรบ้าง
เมื่อถามว่า ในอนาคตยังจำเป็นต้องใช้เสียง ส.ว. 250 เสียง ในการเลือกนายกฯหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ต้องดู ให้เขาคุยกันก่อน
ภท.เสนอ แก้ม.256 ตั้งส.ส.ร.
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยส.ส. ของพรรคทั้ง 61 คน แถลงข้อเสนอของพรรค ต่อกรณีข้อเรียกร้องของภาคประชาชนว่า 1. พรรคภท. สนับสนุนการแก้ไขรธน. มาตรา 256 ให้มีส.ส.ร.ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำหน้าที่ยก ร่าง รธน. และเสนอให้รัฐสภาพิจารณา รับรองตามกระบวนการแก้ไขรธน.
2. การแก้ไขรธน. ต้องไม่กระทบ หมวด 1 และ หมวด 2 อันเป็นลักษณะสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. พรรคเสนอให้ ส.ส.ร.ที่มาจากประชาชน มีความเป็นอิสระในการยกร่างรธน. ทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้รธน. ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน อย่างไรก็ตาม พรรคภท. มีความมุ่งหมายต่อการแก้ไขรธน.
4.พรรคภท. พร้อมให้การสนับสนุน ร่างรธน. ของส.ส.ร. เมื่อมีรธน.ฉบับประชาชนแล้ว พรรคเห็นด้วยที่จะให้มีการยุบสภาฯ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และข้อเสนอของภาคประชาชน
5. พรรคไม่สนับสนุนการคุกคามผู้เห็นต่างทุกกรณี เพราะการรับฟังความเห็นต่างเป็นลักษณะสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
6. การสนับสนุนข้อเสนอแก้ไขรธน. ของพรรคภท. เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลเร่งด่วนของรัฐบาลในข้อ 12 ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา ว่าสนับสนุนให้มีการศึกษา การรับฟังความเห็นของประชาชน และการดำเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรธน. โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรธน.
เมื่อถามว่า พรรคภท. มีความเห็นอย่างไร ต่อเรื่องอำนาจและที่มาของ ส.ว. นายอนุทิน กล่าวว่า พรรคภท. สนับสนุนให้มี ส.ส.ร.ที่จะทำหน้าที่พิจารณา และกำหนดเรื่องการแก้ไขรธน. ซึ่งจะนำเสนอต่อรัฐสภาต่อไป
ส.ว.ไม่ร่วมลงชื่อหากแตะ หมวด1-2
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะกรรมาธิการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา กล่าวถึง พรรคก้าวไกล จะเสนอร่างแก้ไขรธน. โดยให้มีการแก้ไข หมวด 1 และ หมวด 2 ว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการคุยกันในกมธ.วิสามัญฯ แต่ยืนยันว่า เรื่องการแก้ไขรธน.นั้น ส.ว.ไม่มีใครติดใจ สามารถแก้ไขได้ แต่ห้ามแตะต้อง และแก้ไขหมวดสถาบันเด็ดขาด ถ้าหากร่างแก้รธน. ของพรรคก้าวไกล จะแก้หมวด1 และ หมวด 2 ส.ว.จะไม่ร่วมลงชื่อให้แน่ นอน และเชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะ ส.ว. แต่รวมถึง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และส.ส.ฝ่ายค้านที่เหลือ ก็ไม่มีใครเอาด้วย เพราะเป็นประเด็นที่ดูแล้วไปไกลมาก การเมืองต้องอยู่ใต้บริบทสังคมไทย ทั้งเรื่องจารีตประเพณี วัฒนธรรม ส่วนร่างแก้รธน. ของพรรคฝ่ายค้าน ที่ให้แก้ไข มาตรา 256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างรธน.นั้น ถ้ายืนยันชัดเจนว่า ไม่แตะต้องหมวด1 และ หมวด 2 ก็สามารถมาคุยทำความเข้าใจกันได้ว่าจะต้องการประเด็นใดบ้าง แม้แต่ มาตรา 269-272 เรื่องการตัดอำนาจ ส.ว.และบทเฉพาะกาล ก็มาคุยกันได้ เพื่อพิจารณาหาทางออกร่วมกัน
"บิ๊กแดง" ไม่ขวางแก้รธน.
พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. กล่าวว่า ไม่คัดค้านการแก้ไขรธน. เพราะเป็นกลไกทางการเมือง ที่สภาฯ จะต้องเสนอผ่านกระบวนการตามกฎหมาย ซึ่งนายกฯ ก็ยินดีที่จะเปิดให้มีการแก้ไข ตามกฏหมาย
ทั้งนี้ ได้มีการหารือกันระหว่างผู้บัญชการเหล่าทัพทั้งหมดว่า เราถูกตั้งเป็น ส.ว. เราต้องปฏิบัติในฐานะหน้าที่ตามรธน. เราคุยกันว่าไม่ควรรับเงินเดือน 2 ทาง ในฐานะข้าราชการประจำ เพราะเป็นคำสั่ง นอกจากไม่รับยังคืนเงิน และยังชักเนื้อ1,000-2,000 บาท เก็บเงินเข้าสวัสดิการส.ว. เราในฐานนะประชาชน และข้าราชการ เราก็ยินดี ไม่คัดค้านการแก้ไขรธน. แม้กระทั่งนายกฯ ท่านก็พูดออกมาเอง ท่านก็ยินดีตามกระบวนการ จะตั้งส.ส.ร. ขึ้นมา ตนเรียนให้กมธ.ทราบ เมื่อถามมาในฐานะส่วนตัว ก็ตอบส่วนตัวแบบนี้
ร้องกกต. สอบพรรคก้าวไกลแก้หมวด1-2
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่าตามที่ นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ กรณีที่พรรคก้าวไกลจะเสนอญัตติด่วนขอแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในหมวดที่ 1 ซึ่งเป็นหมวดทั่วไป และหมวดที่ 2 ที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายรวมถึงข้อเสนอ 10 ข้อ ของนักศึกษาที่ก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยนั้น
การขอแก้ไขรธน.หมวดดังกล่าวมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึกของพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างมาก และเป็นการก้าวล่วงที่มิควรเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองหรือนักการเมือง ที่เคยปฏิญาณตนว่าจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ ซึ่งการจะยื่นญัตติเพื่อขอแก้ไขหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหมาะสมดีอยู่แล้วนั้น เป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิด พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ม.92(2) ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อ กกต.มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรธน.เพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น นั่นคือ "กระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข"
แม้รัฐธรรมนูญ60 ม.255 ประกอบ ม.256 จะเป็นตัวกำกับการแก้ไขรธน.ไว้อยู่แล้ว แต่การเปิดช่องให้มีการแก้ หมวดที่ 1 และ หมวด 2 เพื่อยกขึ้นมาถกเถียงแล้วนำไปสู่การการแก้ไขหมวดดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้พรรคร่วมฝ่ายค้านหลักได้ยื่นญัตติเพื่อขอแก้ไขรธน.ไปแล้ว โดยไม่แตะต้อง หมวดที่ 1 และ หมวดที่ 2 เลย แต่การให้สัมภาษณ์ของ ส.ส.พรรคก้าวไกล ดังกล่าว ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงพฤติการณ์และการกระทำอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมฯ จึงจะนำความไปร้องเรียนต่อ กกต.เพื่อขอให้ใช้อำนาจตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2650 มาตรา 93 เพื่อยื่นคําร้องต่อศาลรธน. ตามมาตรา 92 ว่าการกระทำของพรรคก้าวไกล เป็นการฝ่าฝืนมาตราดังกล่าว หรือไม่ ซึ่งถ้ากกต.ตรวจสอบแล้วว่าเข้าข่าย ก็สามารถเสนอศาลรธน. สั่งยุบพรรคดังกล่าวต่อไป และขอให้ศาลรธน. จะสั่งให้พรรคการเมืองระงับการกระทําดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยออกมาเป็นที่สุดต่อไป
ทั้งนี้หาก ส.ส. รายใด และพรรคการเมืองพรรคใด ร่วมลงชื่อยื่นญัตติแก้ไขหมวดดังกล่าว ก็จะต้องถูกตรวจสอบตามไปด้วย โดยสมาคมฯ จะเดินทางไปยื่นคำร้อง ในวันนี้ ( 20 ส.ค.63 ) เวลา 10.00 น. ที่สำนักงาน กกต.
วานนี้ (19ส.ค.) นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาฯ แถลงผลการตรวจสอบญัตติเสนอร่างแก้ไขรธน. มาตรา 256 ของพรรคร่วมฝ่ายค้านว่า มีเนื้อหาผิดเพียงเล็กน้อย และมีการขีดฆ่ารายชื่อ 21 ส.ส.พรรคก้าวไกล ที่ถอนชื่อออก ซึ่งจะต้องทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อยืนยันการขอถอนชื่ออีกครั้งหนึ่ง แต่รายชื่อผู้รับรองมีจำนวนครบ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ ตามเงื่อนไขที่รธน.กำหนด ประธานรัฐสภาฯ จึงบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ซึ่งจะมีการประชุมครั้งต่อไป วันที่ 28 ส.ค.นี้ แต่ไม่ได้อยู่ในระเบียบวาระแรก เพราะยังมีระเบียบวาระพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ที่รัฐบาลเสนอมา 3 ฉบับ และกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศอีก 1 ฉบับ หากไม่ทันเข้าสู่การพิจารณา ทางส.ว.ก็ตอบรับ และสละวันประชุมวุฒิสภา วันที่ 15 ก.ย.ให้ เป็นวันประชุมรัฐสภาได้
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึง กรณีพรรคก้าวไกล ถอนชื่อออกจากญัตติเสนอร่างแก้ไขรธน. ของพรรคร่วมฝ่ายค้านว่าไม่มีปัญหา เราเคารพเหตุผลซึ่งกันและกัน มั่นใจว่าการทำงานของฝ่ายค้านยังเดินหน้าต่อไปได้ไม่มีปัญหาอะไร
ส่วนกรณีพรรคก้าวไกล จะเสนอญัตติร่างแก้ไขรธน. ที่มีการแก้ หมวด 1 และหมวด 2 ทางพรรคเพื่อไทยจะลงชื่อสนับสนุนหรือไม่นั้น นายสุทิน กล่าวว่าต้องนำเข้าหารือในที่ประชุมส.ส. เพราะเรื่องการแก้ไขรธน. บางประเด็นมองต่างมุมกันได้มาก แม้แต่ในกลุ่มของหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ก็ถกกันแต่ละเรื่อง กว่าจะเข้าใจตรงกัน ดังนั้นทุกญัตติจึงต้องเข้าไปที่ประชุม ส.ส.
กรณีการแก้ไข หมวด 1 และ หมวด 2 ที่พรรคก้าวไกลบอกว่า ไม่ควรจะล็อก แต่พรรคร่วมฝ่ายค้านอื่นๆ บอกว่าควรล็อกไว้นั้น นายสุทิน กล่าวว่า เรื่องนี้มีการพูดคุยในที่ประชุมหลายรอบ ซึ่งเป็นเรื่องเทคนิคการเสนอกฎหมาย คนหนึ่งคิดเรื่องเนื้อหา คนหนึ่งคิดเรื่องเทคนิค ถ้าเราเสนอไปแล้วตกตั้งแต่ยกแรก ก็ไม่มีประโยชน์ ฉะนั้นเราเสนอร่างแก้ไขรธน. ก็หวังผลให้แก้ได้จริง ซึ่งจะต้องปิดจุดเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงหนึ่งก็คือ ส.ว. และความเสี่ยงที่ 2 คือ ผลการวินิจฉัยของศาลรธน. ปี 55 ที่บอกว่า การตั้ง ส.ส.ร.ปลายเปิด หมายถึงการแก้รธน.ทั้งฉบับ ซึ่งคือการล้มล้างรธน. ล้มล้างการปกครอง ซึ่งในเรื่องนี้ก็ดูเหมือน ส.ว. ตั้งป้อมไว้ว่าจะเล่นเรื่องนี้ ดังนั้นหากเราเสนอไปแล้ว ส.ว.หยิบเรื่องนี้ขึ้นมา แล้วนำไปเข้าสู่การวินิจฉัยของศาลรธน. สิ่งที่เราเสนออาจจะตกไป ดังนั้น เราจึงเลี่ยงข้อนี้ ส่วนประเด็นแก้ หมวด1 และ หมวด2 เป็นสิ่งที่เราคิดต่างกันได้ แต่ในวาระ 2 แปรญัตติ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่จะทำอย่างไรให้ร่างแก้ไข รธน. ได้รับการบรรจุ ไม่ตกในยกแรก ส่วนการจะเพิ่ม จะตัดอะไร ให้ไปพิจารณาในวาระที่ 2 ซึ่งเราคิดเช่นนี้ เพราะเป็นเทคนิคของการแก้รธน. ที่จะสำเร็จและได้ผลจริงๆ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขรธน.ในส่วนของรัฐบาล ว่า แต่ละพรรคการเมือง ได้มีการเตรียมการร่างรธน. ในส่วนของตนเองเอาไว้ แต่รัฐบาลยังไม่ได้เตรียม เพราะต้องรอการหารือระหว่าง วิปรัฐบาล และวิปส.ว.ก่อน จากนั้นรัฐบาลจึงจะมีการหารือกัน ซึ่งในแต่ละขั้นตอนสามารถดำเนินการไปพร้อมกันได้ ขณะเดียวกันก็ต้องรอความชัดเจนจาก คณะกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขรธน. ที่จะมีความชัดเจนในช่วงปลายเดือนส.ค.นี้ และสุดท้ายจึงจะมาจบที่ครม.
ส่วนที่พรรคฝ่ายค้าน เสนอให้มีการแก้ไขรธน.ในหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 นั้น นายวิษณุ กล่าวว่าไม่ทราบ
วิปรัฐบาลให้ตั้งส.ส.ร.
นายวิรัช รัตนเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล แถลงหลังว่า ที่ประชุมวิปรัฐบาล มีมติจะแก้รธน. โดยไม่แตะ หมวด 1 และหมวด 2 และให้มีการตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ส่วนมาตราอื่นๆ จะแก้ไขหรือไม่ อยู่ระหว่างการหารือ รวมทั้งการออกแบบโครงสร้างของ ส.ส.ร. ด้วยว่าจะเป็นอย่างไร โดยจะดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งอาจประกอบไปด้วยตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ และอาจเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นพี่เลี้ยงให้ด้วย เช่น สถาบันพระปกเกล้า หรือทางสำนักงานกฤษฎีกา เป็นต้น โดยคาดว่าเรื่องนี้จะได้ข้อสรุปเร็วที่สุด ก่อนที่คณะกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขรธน. จะเสนอรายงาน โดยจะยื่นแบบเอกภาพเป็นหนึ่งเดียว
เมื่อถามว่า ทางฝ่ายค้านได้ยื่นเรื่องนี้ไปแล้ว ฝ่ายรัฐบาลก็ควรจะยื่นตามเลย หรือไม่ นายวิรัช กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องยื่นตามฝ่ายค้าน และหากถามว่าฝ่ายรัฐบาลยื่นช้าไปหรือไม่ ก็ต้องขอถามกลับว่า ฝ่ายค้านยื่นเร็วไปหรือไม่ เพราะยื่นโดยที่ไม่รอผลการศึกษาจาก คณะกมธ.วิสามัญศึกษารธน. เลย
"บิ๊กป้อม"ไม่เห็นด้วยแก้ หมวด1-2
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีพรรคก้าวไกล เสนอแก้ไขรธน.ในหมวดที่ 1 และ หมวดที่ 2 จะทำให้เกิดปัญหาในภาพรวมหรือไม่ เพราะเป็นหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วย ซึ่งเรื่องนี้ต้องดูในรายละเอียด ต้องคุยกันก่อนเพราะทางพรรคพลังประชารัฐ ก็กำลังไปคุยกันอยู่ ว่าจะแก้อะไรบ้าง
เมื่อถามว่า ในอนาคตยังจำเป็นต้องใช้เสียง ส.ว. 250 เสียง ในการเลือกนายกฯหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ต้องดู ให้เขาคุยกันก่อน
ภท.เสนอ แก้ม.256 ตั้งส.ส.ร.
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยส.ส. ของพรรคทั้ง 61 คน แถลงข้อเสนอของพรรค ต่อกรณีข้อเรียกร้องของภาคประชาชนว่า 1. พรรคภท. สนับสนุนการแก้ไขรธน. มาตรา 256 ให้มีส.ส.ร.ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำหน้าที่ยก ร่าง รธน. และเสนอให้รัฐสภาพิจารณา รับรองตามกระบวนการแก้ไขรธน.
2. การแก้ไขรธน. ต้องไม่กระทบ หมวด 1 และ หมวด 2 อันเป็นลักษณะสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. พรรคเสนอให้ ส.ส.ร.ที่มาจากประชาชน มีความเป็นอิสระในการยกร่างรธน. ทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้รธน. ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน อย่างไรก็ตาม พรรคภท. มีความมุ่งหมายต่อการแก้ไขรธน.
4.พรรคภท. พร้อมให้การสนับสนุน ร่างรธน. ของส.ส.ร. เมื่อมีรธน.ฉบับประชาชนแล้ว พรรคเห็นด้วยที่จะให้มีการยุบสภาฯ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และข้อเสนอของภาคประชาชน
5. พรรคไม่สนับสนุนการคุกคามผู้เห็นต่างทุกกรณี เพราะการรับฟังความเห็นต่างเป็นลักษณะสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
6. การสนับสนุนข้อเสนอแก้ไขรธน. ของพรรคภท. เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลเร่งด่วนของรัฐบาลในข้อ 12 ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา ว่าสนับสนุนให้มีการศึกษา การรับฟังความเห็นของประชาชน และการดำเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรธน. โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรธน.
เมื่อถามว่า พรรคภท. มีความเห็นอย่างไร ต่อเรื่องอำนาจและที่มาของ ส.ว. นายอนุทิน กล่าวว่า พรรคภท. สนับสนุนให้มี ส.ส.ร.ที่จะทำหน้าที่พิจารณา และกำหนดเรื่องการแก้ไขรธน. ซึ่งจะนำเสนอต่อรัฐสภาต่อไป
ส.ว.ไม่ร่วมลงชื่อหากแตะ หมวด1-2
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะกรรมาธิการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา กล่าวถึง พรรคก้าวไกล จะเสนอร่างแก้ไขรธน. โดยให้มีการแก้ไข หมวด 1 และ หมวด 2 ว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการคุยกันในกมธ.วิสามัญฯ แต่ยืนยันว่า เรื่องการแก้ไขรธน.นั้น ส.ว.ไม่มีใครติดใจ สามารถแก้ไขได้ แต่ห้ามแตะต้อง และแก้ไขหมวดสถาบันเด็ดขาด ถ้าหากร่างแก้รธน. ของพรรคก้าวไกล จะแก้หมวด1 และ หมวด 2 ส.ว.จะไม่ร่วมลงชื่อให้แน่ นอน และเชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะ ส.ว. แต่รวมถึง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และส.ส.ฝ่ายค้านที่เหลือ ก็ไม่มีใครเอาด้วย เพราะเป็นประเด็นที่ดูแล้วไปไกลมาก การเมืองต้องอยู่ใต้บริบทสังคมไทย ทั้งเรื่องจารีตประเพณี วัฒนธรรม ส่วนร่างแก้รธน. ของพรรคฝ่ายค้าน ที่ให้แก้ไข มาตรา 256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างรธน.นั้น ถ้ายืนยันชัดเจนว่า ไม่แตะต้องหมวด1 และ หมวด 2 ก็สามารถมาคุยทำความเข้าใจกันได้ว่าจะต้องการประเด็นใดบ้าง แม้แต่ มาตรา 269-272 เรื่องการตัดอำนาจ ส.ว.และบทเฉพาะกาล ก็มาคุยกันได้ เพื่อพิจารณาหาทางออกร่วมกัน
"บิ๊กแดง" ไม่ขวางแก้รธน.
พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. กล่าวว่า ไม่คัดค้านการแก้ไขรธน. เพราะเป็นกลไกทางการเมือง ที่สภาฯ จะต้องเสนอผ่านกระบวนการตามกฎหมาย ซึ่งนายกฯ ก็ยินดีที่จะเปิดให้มีการแก้ไข ตามกฏหมาย
ทั้งนี้ ได้มีการหารือกันระหว่างผู้บัญชการเหล่าทัพทั้งหมดว่า เราถูกตั้งเป็น ส.ว. เราต้องปฏิบัติในฐานะหน้าที่ตามรธน. เราคุยกันว่าไม่ควรรับเงินเดือน 2 ทาง ในฐานะข้าราชการประจำ เพราะเป็นคำสั่ง นอกจากไม่รับยังคืนเงิน และยังชักเนื้อ1,000-2,000 บาท เก็บเงินเข้าสวัสดิการส.ว. เราในฐานนะประชาชน และข้าราชการ เราก็ยินดี ไม่คัดค้านการแก้ไขรธน. แม้กระทั่งนายกฯ ท่านก็พูดออกมาเอง ท่านก็ยินดีตามกระบวนการ จะตั้งส.ส.ร. ขึ้นมา ตนเรียนให้กมธ.ทราบ เมื่อถามมาในฐานะส่วนตัว ก็ตอบส่วนตัวแบบนี้
ร้องกกต. สอบพรรคก้าวไกลแก้หมวด1-2
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่าตามที่ นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ กรณีที่พรรคก้าวไกลจะเสนอญัตติด่วนขอแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในหมวดที่ 1 ซึ่งเป็นหมวดทั่วไป และหมวดที่ 2 ที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายรวมถึงข้อเสนอ 10 ข้อ ของนักศึกษาที่ก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยนั้น
การขอแก้ไขรธน.หมวดดังกล่าวมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึกของพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างมาก และเป็นการก้าวล่วงที่มิควรเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองหรือนักการเมือง ที่เคยปฏิญาณตนว่าจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ ซึ่งการจะยื่นญัตติเพื่อขอแก้ไขหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหมาะสมดีอยู่แล้วนั้น เป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิด พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ม.92(2) ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อ กกต.มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรธน.เพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น นั่นคือ "กระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข"
แม้รัฐธรรมนูญ60 ม.255 ประกอบ ม.256 จะเป็นตัวกำกับการแก้ไขรธน.ไว้อยู่แล้ว แต่การเปิดช่องให้มีการแก้ หมวดที่ 1 และ หมวด 2 เพื่อยกขึ้นมาถกเถียงแล้วนำไปสู่การการแก้ไขหมวดดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้พรรคร่วมฝ่ายค้านหลักได้ยื่นญัตติเพื่อขอแก้ไขรธน.ไปแล้ว โดยไม่แตะต้อง หมวดที่ 1 และ หมวดที่ 2 เลย แต่การให้สัมภาษณ์ของ ส.ส.พรรคก้าวไกล ดังกล่าว ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงพฤติการณ์และการกระทำอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมฯ จึงจะนำความไปร้องเรียนต่อ กกต.เพื่อขอให้ใช้อำนาจตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2650 มาตรา 93 เพื่อยื่นคําร้องต่อศาลรธน. ตามมาตรา 92 ว่าการกระทำของพรรคก้าวไกล เป็นการฝ่าฝืนมาตราดังกล่าว หรือไม่ ซึ่งถ้ากกต.ตรวจสอบแล้วว่าเข้าข่าย ก็สามารถเสนอศาลรธน. สั่งยุบพรรคดังกล่าวต่อไป และขอให้ศาลรธน. จะสั่งให้พรรคการเมืองระงับการกระทําดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยออกมาเป็นที่สุดต่อไป
ทั้งนี้หาก ส.ส. รายใด และพรรคการเมืองพรรคใด ร่วมลงชื่อยื่นญัตติแก้ไขหมวดดังกล่าว ก็จะต้องถูกตรวจสอบตามไปด้วย โดยสมาคมฯ จะเดินทางไปยื่นคำร้อง ในวันนี้ ( 20 ส.ค.63 ) เวลา 10.00 น. ที่สำนักงาน กกต.