ผู้จัดการรายวัน360-ฝ่ายค้านรวมตัวยื่นญัตติแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 เปิดช่องตั้ง ส.ส.ร. "ชวน" รีบส่งตรวจสอบความถูกต้อง บรรจุเข้าวาระใน 15 วัน "วิษณุ"ขอรอฟัง กมธ.แก้รัฐธรรมนูญชุด"พีระพันธุ์" ก่อนยื่นร่างรัฐบาลไปสภาฯ "บิ๊กป้อม" ยัน พปชร.เอาด้วยกับรัฐบาล "ส.ว.คำนูณ" ย้ำจะแก้ ต้องใช้เสียง ส.ว. ไม่น้อยกว่า 84 เสียง เชื่อ ส.ว.พร้อมลงมติตามผลประโยชน์ประชาชน แต่ฟันธงยังไม่ได้ เพราะยังไม่เห็นร่างแก้ไขที่เสนอมา แนะควรเปิดอภิปรายทั่วไป หารือทางออกแก้รัฐธรรมนูญ และแก้ความขัดแย้งทางการเมืองตลอด 15 ปีที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (17 ส.ค.) ที่รัฐสภา นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยส.ส.ของพรรคและตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน ร่วมกันยื่นญัตติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร
นายสมพงษ์กล่าวว่า ฝ่ายค้านได้ประชุมร่วมกัน และมีฉันทานุมัติว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินงานต่างๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีข้อบกพร่องจำนวนมาก จึงเห็นว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และต้องตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ให้มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในโอกาสต่อไป
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า แม้จะไม่มีตัวแทนของส.ส.พรรคก้าวไกล มายื่น แต่พวกเราได้ประชุมร่วมกัน และส.ส.พรรคก้าวไกล ก็ได้ลงชื่อในญัตติของพวกเราด้วย ไม่น้อยกว่า 30 คน โดยหลังจากนี้ อาจมีอีกหลายร่างตามมา ซึ่งถ้าแนวทางไม่สอดคล้อง เราก็จะไม่ร่วมลงชื่อสนับสนุน แต่ไม่น่าจะเป็นแบบนั้น ส่วนร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ของคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของพวกเรา และอีกไม่นานในเวลาที่เหมาะสม พวกเราจะยื่นมาตามมาในภายหลัง
“ชวน”ตรวจสอบก่อนบรรจุวาระใน 15 วัน
นายชวนกล่าวว่า ตามระเบียบข้อบังคับ เมื่อมีการยื่นญัตติ จะต้องส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบความถูกต้อง เพราะการแก้ มาตรา 256 อยู่ในหมวดพิเศษ และมีเงื่อนไขหลายข้อ เช่น จะต้องใช้เสียงของ 1 ใน 5 ของสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมด หรือ 98 คน เป็นต้น เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องบรรจุเป็นระเบียบวาระภายใน 15 วัน นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตนจะรีบตรวจสอบโดยเร็ว
ส่วนกรณีที่มี ส.ว.เสนอให้เปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อหารือถึงการแก้รัฐธรรมนูญ และการหาทางออกความขัดแย้งประเทศร่วมกันว่า สมาชิกรัฐสภาสามารถเข้าชื่อร่วมกันเพื่อเสนอชื่อต่อประธานได้ตามที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีสมาชิกในรัฐสภาเสนอชื่อมา และประธานรัฐสภาไม่สามารถเปิดการหารือได้
สำหรับความคืบหน้าการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล ทราบว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะรอให้กมธ.วิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน สรุปผลการศึกษาและเสนอต่อสภาฯ ก่อน โดยคาดว่าญัตติของพรรคร่วมรัฐบาลน่าจะทันพิจารณาพร้อมกับญัตติของฝ่ายค้าน
"วิษณุ"ขอฟังกมธ.แก้รัฐธรรมนูญชุด"พีระพันธุ์"
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องเสนอหรือปรึกษากับรัฐบาลก่อนหรือไม่ ว่า ไม่ทราบ เพราะเขาจะยื่นต่อประธานสภาฯ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลจะเสนอไปยังสภาฯ นั้น นายกฯ ยังไม่ได้มอบหมายให้ใครดู ซึ่งคิดว่าอาจจะยังไม่ถึงเวลา หากนายกฯ มอบหมายให้ตนดู ก็อาจจะมีการช่วยกันดูหลายคน ไม่ใช่ให้ดูคนเดียว แต่ตอนนี้ยังไม่ได้มอบหมายอะไร ต้องรอฟัง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่มีนายพีระพันธุ์ เป็นประธาน ซึ่งจะยื่นให้ต่อประธานสภาฯ ภายในปลายเดือนส.ค.นี้
เมื่อถามต่อว่าหากมีการตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะใช้เวลานานหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ขอเวลาพูดคุยกันก่อน
"บิ๊กป้อม"ยันพปชร.เห็นตรงกับรัฐบาล
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของพรรคพลังประชารัฐ จะมีการหารือกันในที่ประชุมพรรคในวันที่ 18 ส.ค.นี้หรือไม่ ว่า ยังไม่ทราบ คงมีสมาชิกเสนอประเด็นเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการบริหารของพรรค โดยพรรคพลังประชารัฐ พร้อมแก้ไขไปในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาล
เมื่อถามว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมประชาชนปลดแอก พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ใช่ๆ เมื่อถามถึงภาพรวมการชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอก เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา เป็นอย่างไร พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า ก็ไม่มีอะไร เราก็ป้องกัน และทำให้เกิดความปลอดภัยกับทุกคนทุกฝ่าย
"จุรินทร์"ย้ำแก้รธน.คือทางออกประเทศ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า พรรคมีจุดยืนชัดเจนมาแต่ต้นว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องจำเป็น และยิ่งชัดขึ้นทุกวันว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นทางออกประเทศ โดยนอกจากชัดเจนเรื่องข้อเสนอให้มีการแก้ มาตรา 256 แล้ว พรรคยังมีความเห็นว่า ประเด็นใดก็ตามที่นำประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น พรรคพร้อมสนับสนุน และตนได้มอบหมายให้ทั้งตัวแทนพรรคในกรรมาธิการแก้รัฐธรรมนูญของสภาฯ และวิปของพรรค ได้เร่งหาข้อสรุปกับพรรคร่วมรัฐบาลโดยเร็ว เพราะลำพัง ปชป. เสียงไม่พอที่จะดำเนินการพรรคเดียวโดยลำพังได้
โดยประเด็นที่ได้มอบหมายให้นำไปหารือ ประกอบด้วยประเด็นอื่นๆ นอกจากการแก้ไข มาตรา 256 เช่น 1.ประเด็นการตั้ง ส.ส.ร. 2.สิทธิเสรีภาพของประชาชน 3.การกระจายอำนาจสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น 4.ระบบการเลือกตั้งที่ควรยกเลิกระบบบัตรใบเดียว และ 5.เรื่องการทบทวนบทเฉพาะกาล เป็นต้น
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ปชป. กล่าวว่า วันนี้ (18 ส.ค.) จะมีการประชุมส.ส.ของพรรคปชป. ตนจะนำเสนอให้พรรค พิจารณาเห็นชอบ ในญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการแยกเสนอร่างออกเป็นแต่ละประเด็น แต่ละร่าง แต่ละฉบับ เช่น ร่างแก้ไข มาตรา 256 ร่างตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ร่างแก้ไขระบบการเลือกตั้ง เพื่อให้ส.ส.ของพรรค 52 คน ได้ลงชื่อในแต่ละร่าง และจะประสานงานกับพรรคการเมืองอื่นๆ ที่เห็นด้วยกับร่างแต่ละฉบับของพรรค เพื่อขอเสียงสนับสนุน ลงชื่อให้ครบ 100 คน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) เพื่อนำไปยื่นต่อประธานรัฐสภา ไม่อยากจะให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดเยื้ออีกต่อไป ไม่ต้องรอรายงานผลการศึกษาของกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ เพราะยังเหลือเพียงการสรุปรายงาน เพื่อเสนอต่อสภาฯ ซึ่งเป็นเพียงงานด้านธุรการเท่านั้น ตอนนี้สถานการณ์ทางการเมืองสุกงอมมากแล้ว ก็ควรจะเร่งรีบแก้ไขให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการปลดล็อกการชุมนุมทางการเมืองในตอนนี้ด้วย
แก้รธน.ต้องใช้เสียงส.ว.84คน
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 269 ถึง 272 เพื่อตัดส.ว.ตามบทเฉพาะกาล 250 คน ออก ว่า ส.ว.ทุกคนเข้ามาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมีเสียงเรียกร้องจากประชาชนก็ต้องรับฟัง แต่ในขณะนี้ก็ต้องให้เกิดความชัดเจนขึ้นมาว่าไม่ว่าจะชอบ หรือจะชังรัฐธรรมนูญ 60 หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากจะแก้รัฐธรรมนูญ 60 ตามระบบที่มีอยู่ จำเป็นจะต้องมีเสียงของ ส.ว. อย่างน้อย 1 ใน 3 คือ 84 คน ทั้งในวาระที่ 1 และ วาระที่ 3
“ถ้าจะเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไปอย่างไร จะตั้ง ส.ส.ร.หรือไม่ หรือจะแก้ไขรายประเด็น หรือจะไม่ชอบวุฒิสภา ยังไงก็ตาม แต่หากแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องมีเสียง ส.ว. 84 คน ไม่เช่นนั้นก็มีแค่ 2 วิธี คือ การรัฐประหารอีกครั้ง เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญ แล้วร่างกันใหม่ หรือไม่เช่นนั้น ก็เกิดการปฏิวัติประชาชน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งทั้ง 2 ทาง มีโอกาสที่จะนำไปสู่สงครามกลางเมืองทั้งสิ้น จึงเห็นควรว่าให้ใช้เวทีรัฐสภา เป็นที่แก้ปัญหา”นายคำนูณกล่าว
อย่างไรก็ตาม เห็นว่า ควรจะมีเวทีให้ตัวแทนของ ส.ว.เข้าไปร่วมหารือด้วย ซึ่งขณะนี้ก็ยังสามารถทำได้ และไม่ใช่เฉพาะแค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รวมถึงความขัดแย้งทางการเมืองในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา ก็สามารถทำได้ โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปในรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ซึ่งก็สุดแท้แต่นายกรัฐมนตรี แต่ทางวุฒิสภาก็ตอบได้เพียงเจตนาที่พร้อมจะให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ แม้จะเป็นเรื่องที่กระทบต่อสถานภาพของวุฒิสภาเอง โดยเชื่อว่า ส.ว.ทุกคน ไม่ได้ยึดติดในจุดนี้ เพียงแต่จะให้ตอบชัดเจนตอนนี้ ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะยังไม่เห็นตัวร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (17 ส.ค.) ที่รัฐสภา นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยส.ส.ของพรรคและตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน ร่วมกันยื่นญัตติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร
นายสมพงษ์กล่าวว่า ฝ่ายค้านได้ประชุมร่วมกัน และมีฉันทานุมัติว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินงานต่างๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีข้อบกพร่องจำนวนมาก จึงเห็นว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และต้องตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ให้มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในโอกาสต่อไป
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า แม้จะไม่มีตัวแทนของส.ส.พรรคก้าวไกล มายื่น แต่พวกเราได้ประชุมร่วมกัน และส.ส.พรรคก้าวไกล ก็ได้ลงชื่อในญัตติของพวกเราด้วย ไม่น้อยกว่า 30 คน โดยหลังจากนี้ อาจมีอีกหลายร่างตามมา ซึ่งถ้าแนวทางไม่สอดคล้อง เราก็จะไม่ร่วมลงชื่อสนับสนุน แต่ไม่น่าจะเป็นแบบนั้น ส่วนร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ของคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของพวกเรา และอีกไม่นานในเวลาที่เหมาะสม พวกเราจะยื่นมาตามมาในภายหลัง
“ชวน”ตรวจสอบก่อนบรรจุวาระใน 15 วัน
นายชวนกล่าวว่า ตามระเบียบข้อบังคับ เมื่อมีการยื่นญัตติ จะต้องส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบความถูกต้อง เพราะการแก้ มาตรา 256 อยู่ในหมวดพิเศษ และมีเงื่อนไขหลายข้อ เช่น จะต้องใช้เสียงของ 1 ใน 5 ของสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมด หรือ 98 คน เป็นต้น เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องบรรจุเป็นระเบียบวาระภายใน 15 วัน นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตนจะรีบตรวจสอบโดยเร็ว
ส่วนกรณีที่มี ส.ว.เสนอให้เปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อหารือถึงการแก้รัฐธรรมนูญ และการหาทางออกความขัดแย้งประเทศร่วมกันว่า สมาชิกรัฐสภาสามารถเข้าชื่อร่วมกันเพื่อเสนอชื่อต่อประธานได้ตามที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีสมาชิกในรัฐสภาเสนอชื่อมา และประธานรัฐสภาไม่สามารถเปิดการหารือได้
สำหรับความคืบหน้าการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล ทราบว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะรอให้กมธ.วิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน สรุปผลการศึกษาและเสนอต่อสภาฯ ก่อน โดยคาดว่าญัตติของพรรคร่วมรัฐบาลน่าจะทันพิจารณาพร้อมกับญัตติของฝ่ายค้าน
"วิษณุ"ขอฟังกมธ.แก้รัฐธรรมนูญชุด"พีระพันธุ์"
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องเสนอหรือปรึกษากับรัฐบาลก่อนหรือไม่ ว่า ไม่ทราบ เพราะเขาจะยื่นต่อประธานสภาฯ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลจะเสนอไปยังสภาฯ นั้น นายกฯ ยังไม่ได้มอบหมายให้ใครดู ซึ่งคิดว่าอาจจะยังไม่ถึงเวลา หากนายกฯ มอบหมายให้ตนดู ก็อาจจะมีการช่วยกันดูหลายคน ไม่ใช่ให้ดูคนเดียว แต่ตอนนี้ยังไม่ได้มอบหมายอะไร ต้องรอฟัง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่มีนายพีระพันธุ์ เป็นประธาน ซึ่งจะยื่นให้ต่อประธานสภาฯ ภายในปลายเดือนส.ค.นี้
เมื่อถามต่อว่าหากมีการตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะใช้เวลานานหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ขอเวลาพูดคุยกันก่อน
"บิ๊กป้อม"ยันพปชร.เห็นตรงกับรัฐบาล
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของพรรคพลังประชารัฐ จะมีการหารือกันในที่ประชุมพรรคในวันที่ 18 ส.ค.นี้หรือไม่ ว่า ยังไม่ทราบ คงมีสมาชิกเสนอประเด็นเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการบริหารของพรรค โดยพรรคพลังประชารัฐ พร้อมแก้ไขไปในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาล
เมื่อถามว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมประชาชนปลดแอก พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ใช่ๆ เมื่อถามถึงภาพรวมการชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอก เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา เป็นอย่างไร พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า ก็ไม่มีอะไร เราก็ป้องกัน และทำให้เกิดความปลอดภัยกับทุกคนทุกฝ่าย
"จุรินทร์"ย้ำแก้รธน.คือทางออกประเทศ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า พรรคมีจุดยืนชัดเจนมาแต่ต้นว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องจำเป็น และยิ่งชัดขึ้นทุกวันว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นทางออกประเทศ โดยนอกจากชัดเจนเรื่องข้อเสนอให้มีการแก้ มาตรา 256 แล้ว พรรคยังมีความเห็นว่า ประเด็นใดก็ตามที่นำประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น พรรคพร้อมสนับสนุน และตนได้มอบหมายให้ทั้งตัวแทนพรรคในกรรมาธิการแก้รัฐธรรมนูญของสภาฯ และวิปของพรรค ได้เร่งหาข้อสรุปกับพรรคร่วมรัฐบาลโดยเร็ว เพราะลำพัง ปชป. เสียงไม่พอที่จะดำเนินการพรรคเดียวโดยลำพังได้
โดยประเด็นที่ได้มอบหมายให้นำไปหารือ ประกอบด้วยประเด็นอื่นๆ นอกจากการแก้ไข มาตรา 256 เช่น 1.ประเด็นการตั้ง ส.ส.ร. 2.สิทธิเสรีภาพของประชาชน 3.การกระจายอำนาจสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น 4.ระบบการเลือกตั้งที่ควรยกเลิกระบบบัตรใบเดียว และ 5.เรื่องการทบทวนบทเฉพาะกาล เป็นต้น
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ปชป. กล่าวว่า วันนี้ (18 ส.ค.) จะมีการประชุมส.ส.ของพรรคปชป. ตนจะนำเสนอให้พรรค พิจารณาเห็นชอบ ในญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการแยกเสนอร่างออกเป็นแต่ละประเด็น แต่ละร่าง แต่ละฉบับ เช่น ร่างแก้ไข มาตรา 256 ร่างตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ร่างแก้ไขระบบการเลือกตั้ง เพื่อให้ส.ส.ของพรรค 52 คน ได้ลงชื่อในแต่ละร่าง และจะประสานงานกับพรรคการเมืองอื่นๆ ที่เห็นด้วยกับร่างแต่ละฉบับของพรรค เพื่อขอเสียงสนับสนุน ลงชื่อให้ครบ 100 คน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) เพื่อนำไปยื่นต่อประธานรัฐสภา ไม่อยากจะให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดเยื้ออีกต่อไป ไม่ต้องรอรายงานผลการศึกษาของกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ เพราะยังเหลือเพียงการสรุปรายงาน เพื่อเสนอต่อสภาฯ ซึ่งเป็นเพียงงานด้านธุรการเท่านั้น ตอนนี้สถานการณ์ทางการเมืองสุกงอมมากแล้ว ก็ควรจะเร่งรีบแก้ไขให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการปลดล็อกการชุมนุมทางการเมืองในตอนนี้ด้วย
แก้รธน.ต้องใช้เสียงส.ว.84คน
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 269 ถึง 272 เพื่อตัดส.ว.ตามบทเฉพาะกาล 250 คน ออก ว่า ส.ว.ทุกคนเข้ามาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมีเสียงเรียกร้องจากประชาชนก็ต้องรับฟัง แต่ในขณะนี้ก็ต้องให้เกิดความชัดเจนขึ้นมาว่าไม่ว่าจะชอบ หรือจะชังรัฐธรรมนูญ 60 หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากจะแก้รัฐธรรมนูญ 60 ตามระบบที่มีอยู่ จำเป็นจะต้องมีเสียงของ ส.ว. อย่างน้อย 1 ใน 3 คือ 84 คน ทั้งในวาระที่ 1 และ วาระที่ 3
“ถ้าจะเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไปอย่างไร จะตั้ง ส.ส.ร.หรือไม่ หรือจะแก้ไขรายประเด็น หรือจะไม่ชอบวุฒิสภา ยังไงก็ตาม แต่หากแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องมีเสียง ส.ว. 84 คน ไม่เช่นนั้นก็มีแค่ 2 วิธี คือ การรัฐประหารอีกครั้ง เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญ แล้วร่างกันใหม่ หรือไม่เช่นนั้น ก็เกิดการปฏิวัติประชาชน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งทั้ง 2 ทาง มีโอกาสที่จะนำไปสู่สงครามกลางเมืองทั้งสิ้น จึงเห็นควรว่าให้ใช้เวทีรัฐสภา เป็นที่แก้ปัญหา”นายคำนูณกล่าว
อย่างไรก็ตาม เห็นว่า ควรจะมีเวทีให้ตัวแทนของ ส.ว.เข้าไปร่วมหารือด้วย ซึ่งขณะนี้ก็ยังสามารถทำได้ และไม่ใช่เฉพาะแค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รวมถึงความขัดแย้งทางการเมืองในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา ก็สามารถทำได้ โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปในรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ซึ่งก็สุดแท้แต่นายกรัฐมนตรี แต่ทางวุฒิสภาก็ตอบได้เพียงเจตนาที่พร้อมจะให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ แม้จะเป็นเรื่องที่กระทบต่อสถานภาพของวุฒิสภาเอง โดยเชื่อว่า ส.ว.ทุกคน ไม่ได้ยึดติดในจุดนี้ เพียงแต่จะให้ตอบชัดเจนตอนนี้ ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะยังไม่เห็นตัวร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ