"ซูเปอร์โพล" เผยประชาชนอยากให้เยาวชนรวมพลังปลดแอก ไม่ยอมให้ต่างชาติแทรกแซง ทำคนในชาติแตกแยก ต้องการให้คนไทยทุกคนมีทัศนคติที่ดีต่อประเทศชาติ สำนึกรู้คุณแผ่นดิน ปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ
นายนพดล กรรณิกา ผอ.นักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลการสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง เยาวชนปลดแอก โดยสำรวจจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยผ่าน "เสียงประชาชนในโลกโซเชียลฯ"จำนวน 11,579 ตัวอย่าง และ"เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม" 1,812 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 - 22 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 93.4 ระบุ ความเห็นต่อเยาวชนปลดแอกว่า ควรรวมพลังปลดแอก ไม่ยอมให้ต่างชาติแทรกแซง สร้างปั่นป่วน ทำคนในชาติแตกแยก รองลงมาคือ ร้อยละ 90.0 ระบุ ปลดแอก จากการถูกรังแก คุกคามในห้องเรียน ในโรงเรียน ในชุมชน และ ร้อยละ 80.6 ระบุ ร่วมกันปลดแอก แจ้งหน่วยงานรัฐ เป็นหูเป็นตา ใช้โซเชียลฯ เปิดโปง รักษาความมั่นคงชาติ และความสงบสุขของบ้านเมือง
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 98.1 ระบุ ความต้องการให้คนไทยทุกคนมีทัศนคติที่ดีต่อประเทศชาติ บ้านเมือง รองลงมา คือร้อยละ 97.2 ต้องการให้คนไทยทุกคนมีงานทำ มีอนาคตดี มั่นคง ร้อยละ 96.9 ต้องการให้คนไทยสำนึกรู้คุณแผ่นดิน ปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ ร้อยละ 96.7 ต้องการให้คน
ไทยเป็นพลเมืองที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีต่อกัน ใครไม่ดีต้องจัดการให้เห็น และ ร้อยละ 96.2 ต้องการให้คนไทยมีระเบียบ ยึดหลักคุณธรรม มีวินัย
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 91.4 เห็นด้วยกับความต้องการกฎหมายดูแลเด็กนักเรียน ตั้งแต่เข้าเรียนจนถึง มีงานทำ ในขณะที่ ร้อยละ 8.6 ไม่เห็นด้วย
ดุสิตโพลเห็นด้วย"บิ๊กตู่"ลาออก-ยุบสภา
ด้านสวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณีการชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ณ วันนี้ จากกลุ่มตัวอย่าง 197,029 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 16-21ส.ค.63 ได้ข้อสรุปดังนี้
1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ การชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ณ วันนี้ อันดับ 1 เป็นการเรียกร้องตามระบอบประชาธิปไตย 59.11% อันดับ 2 ต้องไม่จาบจ้วงสถาบัน 41.76% อันดับ 3 ห่วงเรื่องความปลอดภัย อาจมีผู้ไม่หวังดี 40.41% อันดับ 4 ผู้เกี่ยวข้องควรรับฟัง 40.10% อันดับ 5 มีผู้อยู่เบื้องหลัง 38.90%
2. ความคิดเห็นกับข้อเรียกร้องให้แก้ไขรธน. อันดับ 1 เห็นด้วย 62.84% เพราะรธน.ไม่เป็นกลาง เป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ ไม่เป็นประชาธิปไตย , อยากให้แก้ไขในหมวดที่มาของ ส.ว. อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 24.85% เพราะเป็นรธน.ที่เหมาะสมแล้ว , เป็นเพียงความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งที่เสียผลประโยชน์ , มีปัญหาอื่นเร่งด่วนให้แก้ไขมากกว่า เช่น โควิด-19 ปัญหาเศรษฐกิจ
3. ความคิดเห็นกับข้อเรียกร้องให้ "พล.อ.ประยุทธ์ ยุบสภา หรือ ลาออก อันดับ 1 เห็นด้วย 53.88% เพราะบริหารงานล้มเหลว ประเทศชาติไม่เจริญก้าวหน้า ไม่มีผลงาน ไม่มีความรู้ความสามารถมากพอในการบริหาร , นายกฯ มาจากการการสืบทอดอำนาจ อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 38.43% เพราะเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ ตั้งใจทำงาน มีความจงรักภักดี เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี
ส.ส.ร.ปี40หนุนยกร่างรธน.ใหม่
วานนี้ (23ส.ค.) กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) 2540 จำนวน 17คนได้ร่วมลงชื่อ ออกแถลงการณ์ เรื่อง การแก้ไขรธน. 60 ระบุว่า จากการการเคลื่อนไหว ชุมนุมของนักเรียน นิสิตนักศึกษา รวมทั้งภาคประชาชน เรียกร้องให้มีการแก้ไขรธน.ปี 60 โดยให้มี ส.ส.ร.เป็นผู้มายกร่างรธน.ฉบับใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับ ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ ที่เสนอญัตติร่างแก้ไข รธน. มาตรา 256 เพื่อให้มีการตั้งส.ส.ร.มาพิจารณาร่างรธน. และยังมีประเด็นการแก้ไขมาตราอื่นๆ จากนักการเมืองบางส่วนอีกด้วย
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ประกาศใช้รธน. 60 ที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการร่างรธน. เป็นที่น่าสังเกตุว่า ภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มี.ค.62 ส.ว. 250คน ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคสช. ก็พร้อมใจกันโหวตเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. เป็นนายกฯ ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ จากนั้นเสียงสะท้อนอันเกิดจากความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อรธน. และต่อวุฒิสภา ก็ดังขึ้นโดยฉับพลัน และขยายลามออกไปอย่างกว้างขวาง โดยระบุว่า เป็น รธน. ที่มุ่งสืบทอดอำนาจเผด็จการคสช. การปฏิรูปประเทศ และการบริหารราชการแผ่นดินในระยะ 6-7 ปีที่ผ่านมา ภายใต้รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ล้มเหลวแทบจะสิ้นเชิง ดังเป็นที่ปรากฏ และมีแนวโน้มจะเกิดความขัดแย้ง และความรุนแรงครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศ
เพื่อความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไป ส.ส.ร. ในฐานะผู้จัดทำรธน.ฉบับประชาชน ปี 2540 ขอแสดงความคิดเห็น และชี้แจงสาระ อันเป็นหลักการสำคัญของ รธน.ปี 40 ดังนี้
1. ขอสนับสนุนการแก้ไข รธน.60 มาตรา 256 เพื่อให้มีส.ส.ร. มาเป็นผู้จัดทำรธน.ฉบับใหม่ โดยถือเอากระบวนการคัดเลือก ส.ส.ร. ที่มาจากประชาชน การรับฟังความเห็นประชาชน การร่างรธน. และเนื้อหาบทบัญญัติของรธน. 40 เป็นต้นแบบ
2. ระบบการเลือกตั้งส.ส. ให้ใช้บัตร 2 ใบ ส่วน ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในแต่ละจังหวัด อันจะทำให้ได้รับการยอมรับในความชอบธรรม และการเป็นประชาธิปไตย
3. นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร ให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
4. ศาล รธน. มีอำนาจหน้าที่เพียงเฉพาะการวินิจฉัย ร่าง พ.ร.บ. หรือ ร่าง พ.ร.ป. ว่าขัดหรือแย้งต่อรธน.หรือไม่เท่านั้น ทั้งนี้กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรธน. ให้มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน
5. คณะกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ ให้ที่มาของกระบวนการสรรหาทุกขั้นตอน ยึดโยงกับประชาชน อีกทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม ไม่ให้มีมากเกินไปจนกลายเป็นอำนาจเหนืออำนาจ มีการตรวจสอบถ่วงดุลในการใช้อำนาจหน้าที่ ป้องกันไม่ให้องค์กรอิสระกระทำการใดๆ ตามอำเภอใจ เพื่อประโยชน์ของบุคคล หรือคณะบุคคลที่มีอำนาจ
6. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ พื้นฟูความเชื่อมั่นของสังคมที่กำลังเกิดวิกฤตศรัทธาให้กลับคืนมา เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
7. ปฏิรูปการศึกษา และการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกให้เหมาะสมกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างรวดเร็ว รวมทั้ง การจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตยที่เป็นสากล
8. มีบทบัญญัติในระยะเปลี่ยนผ่านจากการสืบทอดอำนาจ มาเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ คืนความเป็นความธรรม การเยียวยา สร้างความกลมเกลียวเป็นปึกแผ่นให้กับประชาชนในชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9. มีบทบัญญัติที่เป็นมาตรการ และกลไกอย่างถาวรสำหรับป้องกันมิให้มีการก่อรัฐประหารยกเลิกรธน.และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ ได้อีกต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ส.ส.ร. 2540 มีความเป็นห่วงบ้านเมือง ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นผู้ปกครองทุกฝ่ายที่ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ใช้เหตุผลด้วยความอดทน อดกลั้น ไม่ลุแก่อำนาจ ไม่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือคุกคามกำจัดขัดขวางผู้เห็นต่าง เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์ที่วิกฤตอยู่แล้วบานปลายออกไปจนไม่อาจแก้ไขได้
ในการแก้ไขรธน.60 มาตรา 256 ผู้เกี่ยวข้องทั้งครม. พรรคการเมือง ส.ส. และ ส.ว. ต้องร่วมมือผนึกกำลังกันด้วยความจริงใจต่อประชาชน แก้ไขรธน. ให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เพื่อนำพาบ้านเมืองไปสู่ทิศทางที่ทุกฝ่ายมุ่งหวังต้องการ นั่นคือ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเดินหน้าพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ไม่ต้องเจ็บปวดครั้งแล้วครั้งเล่า เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
นายนพดล กรรณิกา ผอ.นักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลการสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง เยาวชนปลดแอก โดยสำรวจจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยผ่าน "เสียงประชาชนในโลกโซเชียลฯ"จำนวน 11,579 ตัวอย่าง และ"เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม" 1,812 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 - 22 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 93.4 ระบุ ความเห็นต่อเยาวชนปลดแอกว่า ควรรวมพลังปลดแอก ไม่ยอมให้ต่างชาติแทรกแซง สร้างปั่นป่วน ทำคนในชาติแตกแยก รองลงมาคือ ร้อยละ 90.0 ระบุ ปลดแอก จากการถูกรังแก คุกคามในห้องเรียน ในโรงเรียน ในชุมชน และ ร้อยละ 80.6 ระบุ ร่วมกันปลดแอก แจ้งหน่วยงานรัฐ เป็นหูเป็นตา ใช้โซเชียลฯ เปิดโปง รักษาความมั่นคงชาติ และความสงบสุขของบ้านเมือง
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 98.1 ระบุ ความต้องการให้คนไทยทุกคนมีทัศนคติที่ดีต่อประเทศชาติ บ้านเมือง รองลงมา คือร้อยละ 97.2 ต้องการให้คนไทยทุกคนมีงานทำ มีอนาคตดี มั่นคง ร้อยละ 96.9 ต้องการให้คนไทยสำนึกรู้คุณแผ่นดิน ปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ ร้อยละ 96.7 ต้องการให้คน
ไทยเป็นพลเมืองที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีต่อกัน ใครไม่ดีต้องจัดการให้เห็น และ ร้อยละ 96.2 ต้องการให้คนไทยมีระเบียบ ยึดหลักคุณธรรม มีวินัย
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 91.4 เห็นด้วยกับความต้องการกฎหมายดูแลเด็กนักเรียน ตั้งแต่เข้าเรียนจนถึง มีงานทำ ในขณะที่ ร้อยละ 8.6 ไม่เห็นด้วย
ดุสิตโพลเห็นด้วย"บิ๊กตู่"ลาออก-ยุบสภา
ด้านสวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณีการชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ณ วันนี้ จากกลุ่มตัวอย่าง 197,029 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 16-21ส.ค.63 ได้ข้อสรุปดังนี้
1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ การชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ณ วันนี้ อันดับ 1 เป็นการเรียกร้องตามระบอบประชาธิปไตย 59.11% อันดับ 2 ต้องไม่จาบจ้วงสถาบัน 41.76% อันดับ 3 ห่วงเรื่องความปลอดภัย อาจมีผู้ไม่หวังดี 40.41% อันดับ 4 ผู้เกี่ยวข้องควรรับฟัง 40.10% อันดับ 5 มีผู้อยู่เบื้องหลัง 38.90%
2. ความคิดเห็นกับข้อเรียกร้องให้แก้ไขรธน. อันดับ 1 เห็นด้วย 62.84% เพราะรธน.ไม่เป็นกลาง เป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ ไม่เป็นประชาธิปไตย , อยากให้แก้ไขในหมวดที่มาของ ส.ว. อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 24.85% เพราะเป็นรธน.ที่เหมาะสมแล้ว , เป็นเพียงความต้องการของคนกลุ่มหนึ่งที่เสียผลประโยชน์ , มีปัญหาอื่นเร่งด่วนให้แก้ไขมากกว่า เช่น โควิด-19 ปัญหาเศรษฐกิจ
3. ความคิดเห็นกับข้อเรียกร้องให้ "พล.อ.ประยุทธ์ ยุบสภา หรือ ลาออก อันดับ 1 เห็นด้วย 53.88% เพราะบริหารงานล้มเหลว ประเทศชาติไม่เจริญก้าวหน้า ไม่มีผลงาน ไม่มีความรู้ความสามารถมากพอในการบริหาร , นายกฯ มาจากการการสืบทอดอำนาจ อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 38.43% เพราะเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ ตั้งใจทำงาน มีความจงรักภักดี เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี
ส.ส.ร.ปี40หนุนยกร่างรธน.ใหม่
วานนี้ (23ส.ค.) กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) 2540 จำนวน 17คนได้ร่วมลงชื่อ ออกแถลงการณ์ เรื่อง การแก้ไขรธน. 60 ระบุว่า จากการการเคลื่อนไหว ชุมนุมของนักเรียน นิสิตนักศึกษา รวมทั้งภาคประชาชน เรียกร้องให้มีการแก้ไขรธน.ปี 60 โดยให้มี ส.ส.ร.เป็นผู้มายกร่างรธน.ฉบับใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับ ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ ที่เสนอญัตติร่างแก้ไข รธน. มาตรา 256 เพื่อให้มีการตั้งส.ส.ร.มาพิจารณาร่างรธน. และยังมีประเด็นการแก้ไขมาตราอื่นๆ จากนักการเมืองบางส่วนอีกด้วย
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ประกาศใช้รธน. 60 ที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการร่างรธน. เป็นที่น่าสังเกตุว่า ภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มี.ค.62 ส.ว. 250คน ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคสช. ก็พร้อมใจกันโหวตเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. เป็นนายกฯ ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ จากนั้นเสียงสะท้อนอันเกิดจากความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อรธน. และต่อวุฒิสภา ก็ดังขึ้นโดยฉับพลัน และขยายลามออกไปอย่างกว้างขวาง โดยระบุว่า เป็น รธน. ที่มุ่งสืบทอดอำนาจเผด็จการคสช. การปฏิรูปประเทศ และการบริหารราชการแผ่นดินในระยะ 6-7 ปีที่ผ่านมา ภายใต้รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ล้มเหลวแทบจะสิ้นเชิง ดังเป็นที่ปรากฏ และมีแนวโน้มจะเกิดความขัดแย้ง และความรุนแรงครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศ
เพื่อความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไป ส.ส.ร. ในฐานะผู้จัดทำรธน.ฉบับประชาชน ปี 2540 ขอแสดงความคิดเห็น และชี้แจงสาระ อันเป็นหลักการสำคัญของ รธน.ปี 40 ดังนี้
1. ขอสนับสนุนการแก้ไข รธน.60 มาตรา 256 เพื่อให้มีส.ส.ร. มาเป็นผู้จัดทำรธน.ฉบับใหม่ โดยถือเอากระบวนการคัดเลือก ส.ส.ร. ที่มาจากประชาชน การรับฟังความเห็นประชาชน การร่างรธน. และเนื้อหาบทบัญญัติของรธน. 40 เป็นต้นแบบ
2. ระบบการเลือกตั้งส.ส. ให้ใช้บัตร 2 ใบ ส่วน ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในแต่ละจังหวัด อันจะทำให้ได้รับการยอมรับในความชอบธรรม และการเป็นประชาธิปไตย
3. นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร ให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
4. ศาล รธน. มีอำนาจหน้าที่เพียงเฉพาะการวินิจฉัย ร่าง พ.ร.บ. หรือ ร่าง พ.ร.ป. ว่าขัดหรือแย้งต่อรธน.หรือไม่เท่านั้น ทั้งนี้กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรธน. ให้มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน
5. คณะกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ ให้ที่มาของกระบวนการสรรหาทุกขั้นตอน ยึดโยงกับประชาชน อีกทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม ไม่ให้มีมากเกินไปจนกลายเป็นอำนาจเหนืออำนาจ มีการตรวจสอบถ่วงดุลในการใช้อำนาจหน้าที่ ป้องกันไม่ให้องค์กรอิสระกระทำการใดๆ ตามอำเภอใจ เพื่อประโยชน์ของบุคคล หรือคณะบุคคลที่มีอำนาจ
6. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ พื้นฟูความเชื่อมั่นของสังคมที่กำลังเกิดวิกฤตศรัทธาให้กลับคืนมา เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
7. ปฏิรูปการศึกษา และการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกให้เหมาะสมกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างรวดเร็ว รวมทั้ง การจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตยที่เป็นสากล
8. มีบทบัญญัติในระยะเปลี่ยนผ่านจากการสืบทอดอำนาจ มาเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ คืนความเป็นความธรรม การเยียวยา สร้างความกลมเกลียวเป็นปึกแผ่นให้กับประชาชนในชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9. มีบทบัญญัติที่เป็นมาตรการ และกลไกอย่างถาวรสำหรับป้องกันมิให้มีการก่อรัฐประหารยกเลิกรธน.และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ ได้อีกต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ส.ส.ร. 2540 มีความเป็นห่วงบ้านเมือง ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นผู้ปกครองทุกฝ่ายที่ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ใช้เหตุผลด้วยความอดทน อดกลั้น ไม่ลุแก่อำนาจ ไม่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือคุกคามกำจัดขัดขวางผู้เห็นต่าง เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์ที่วิกฤตอยู่แล้วบานปลายออกไปจนไม่อาจแก้ไขได้
ในการแก้ไขรธน.60 มาตรา 256 ผู้เกี่ยวข้องทั้งครม. พรรคการเมือง ส.ส. และ ส.ว. ต้องร่วมมือผนึกกำลังกันด้วยความจริงใจต่อประชาชน แก้ไขรธน. ให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เพื่อนำพาบ้านเมืองไปสู่ทิศทางที่ทุกฝ่ายมุ่งหวังต้องการ นั่นคือ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเดินหน้าพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ไม่ต้องเจ็บปวดครั้งแล้วครั้งเล่า เหมือนในอดีตที่ผ่านมา