กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 2540 ออกแถลงการณ์ เรื่อง เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและข้อคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ระบุว่า
ด้วยปรากฏการเคลื่อนไหวจัดชุมนุมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทั้งในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนผู้รักประชาธิปไตยวงการต่าง ๆ ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและยกระดับขึ้นตามลำดับ คือ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยให้มาจากการเลือกของประชาชน เฉกเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ประกอบกับในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเมื่อต้นปี 2562 นักการเมืองจากหลายพรรคได้ประกาศนโยบายจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ขณะนี้ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากพรรคการเมืองต่าง ๆ เสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยญัตติของแต่ละพรรคมีโครงสร้าง ที่มาของ ส.ส.ร. กระบวนการร่าง ฯ ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการแก้ไขมาตราอื่น ๆ จากนักการเมืองบางส่วนอีกด้วย นับแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน
ส.ส.ร. ในฐานะผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ดังมีรายชื่อแนบท้าย ขอแสดงความคิดเห็นด้วยความสุจริตใจ และชี้แจงสาระอันเป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ 2540 จำนวน 9 ข้อ ดังนี้
1. ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยมาจากประชาชน การรับฟังความเห็นประชาชน การร่างรัฐธรรมนูญ และเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นแบบ
2. ระบบการเลือกตั้ง ส.ส. ให้ใช้บัตร 2 ใบ ส่วน ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในแต่ละจังหวัด อันจะทำให้ได้รับการยอมรับในความชอบธรรมและการเป็นประชาธิปไตย สมศักดิ์ศรีของผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
3. นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร ให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
4. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่เพียงเฉพาะการวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญ ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน
5. คณะกรรมการในองค์กรอิสระต่าง ๆ ให้ที่มาของกระ บวนการสรรหาทุกขั้นตอนยึดโยงกับประชาชน มีการตรวจสอบถ่วงดุลในการใช้อำนาจหน้าที่และการบริหารงานที่สุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้องค์กรอิสระกระทำการใด ๆ ตามอำเภอใจ เพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจ
6. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
7. ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกให้เหมาะสมกับโลก สร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้ง การจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตยที่เป็นสากล
8. มีบทบัญญัติในระยะเปลี่ยนผ่านจากการสืบทอดอำนาจมาเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ คืนความเป็นความธรรม การเยียวยา สร้างความกลมเกลียวเป็นปึกแผ่นให้กับประชาชนในชาติ ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9. มีบทบัญญัติที่เป็นมาตรการและกลไกอย่างถาวรสำหรับป้องกันมิให้มีการก่อรัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ฯ ได้อีกต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 256 ผู้เกี่ยวข้องทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคการเมือง ส.ส. และ ส.ว. ต้องร่วมมือผนึกกำลังกันด้วยความจริงใจต่อประชาชน แก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เพราะยิ่งช้าเท่าไรก็จะยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับเยาวชนและประชาชนมากขึ้นเท่านั้น ดังสำนวนไทยที่ว่า "กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้" ทั้งนี้ ผู้ปกครองและผู้มีอำนาจควรแสดงออกถึงการไม่เป็นผู้ยึดติดหรือหวงแหนอำนาจ ซึ่งจะนำพาบ้านเมืองไปสู่ทิศทางที่ทุกฝ่ายมุ่งหวังต้องการ นั่นคือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเดินหน้าพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ไม่ต้องเจ็บปวดครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
สำหรับรายชื่อ ส.ส.ร. 2540 ที่ลงชื่อจำนวน 17 คน ประกอบด้วย นายเดโช สวนานนท์ นายพนัส ทัศนียานนท์ นายธงชาติ รัตนวิชา นายอำนวย ไทยานนท์ นางพินทิพย์ลีลาภรณ์ นายธรรมนูญ มงคล นายบุญเลิศ คชายุทธเดช นางสุนี ไชยรส นายนัจมุดดีน อูมา นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายกมล สุขคะสมบัติ นายอำนวย นาครัชตะอมร นายสุทธินันท์ จันทระ น.ส.ธัญดา ดำรงกิจการวงศ์ นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง นายประดัง ปรีชญางกูร และนายนิเวศน์ พันธ์เจริญวรกุล
ด้วยปรากฏการเคลื่อนไหวจัดชุมนุมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทั้งในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนผู้รักประชาธิปไตยวงการต่าง ๆ ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและยกระดับขึ้นตามลำดับ คือ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยให้มาจากการเลือกของประชาชน เฉกเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ประกอบกับในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเมื่อต้นปี 2562 นักการเมืองจากหลายพรรคได้ประกาศนโยบายจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ขณะนี้ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากพรรคการเมืองต่าง ๆ เสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยญัตติของแต่ละพรรคมีโครงสร้าง ที่มาของ ส.ส.ร. กระบวนการร่าง ฯ ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการแก้ไขมาตราอื่น ๆ จากนักการเมืองบางส่วนอีกด้วย นับแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน
ส.ส.ร. ในฐานะผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ดังมีรายชื่อแนบท้าย ขอแสดงความคิดเห็นด้วยความสุจริตใจ และชี้แจงสาระอันเป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ 2540 จำนวน 9 ข้อ ดังนี้
1. ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยมาจากประชาชน การรับฟังความเห็นประชาชน การร่างรัฐธรรมนูญ และเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นแบบ
2. ระบบการเลือกตั้ง ส.ส. ให้ใช้บัตร 2 ใบ ส่วน ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในแต่ละจังหวัด อันจะทำให้ได้รับการยอมรับในความชอบธรรมและการเป็นประชาธิปไตย สมศักดิ์ศรีของผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
3. นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร ให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
4. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่เพียงเฉพาะการวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญ ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน
5. คณะกรรมการในองค์กรอิสระต่าง ๆ ให้ที่มาของกระ บวนการสรรหาทุกขั้นตอนยึดโยงกับประชาชน มีการตรวจสอบถ่วงดุลในการใช้อำนาจหน้าที่และการบริหารงานที่สุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้องค์กรอิสระกระทำการใด ๆ ตามอำเภอใจ เพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจ
6. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
7. ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกให้เหมาะสมกับโลก สร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้ง การจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตยที่เป็นสากล
8. มีบทบัญญัติในระยะเปลี่ยนผ่านจากการสืบทอดอำนาจมาเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ คืนความเป็นความธรรม การเยียวยา สร้างความกลมเกลียวเป็นปึกแผ่นให้กับประชาชนในชาติ ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9. มีบทบัญญัติที่เป็นมาตรการและกลไกอย่างถาวรสำหรับป้องกันมิให้มีการก่อรัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ฯ ได้อีกต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 256 ผู้เกี่ยวข้องทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคการเมือง ส.ส. และ ส.ว. ต้องร่วมมือผนึกกำลังกันด้วยความจริงใจต่อประชาชน แก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เพราะยิ่งช้าเท่าไรก็จะยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับเยาวชนและประชาชนมากขึ้นเท่านั้น ดังสำนวนไทยที่ว่า "กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้" ทั้งนี้ ผู้ปกครองและผู้มีอำนาจควรแสดงออกถึงการไม่เป็นผู้ยึดติดหรือหวงแหนอำนาจ ซึ่งจะนำพาบ้านเมืองไปสู่ทิศทางที่ทุกฝ่ายมุ่งหวังต้องการ นั่นคือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเดินหน้าพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ไม่ต้องเจ็บปวดครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
สำหรับรายชื่อ ส.ส.ร. 2540 ที่ลงชื่อจำนวน 17 คน ประกอบด้วย นายเดโช สวนานนท์ นายพนัส ทัศนียานนท์ นายธงชาติ รัตนวิชา นายอำนวย ไทยานนท์ นางพินทิพย์ลีลาภรณ์ นายธรรมนูญ มงคล นายบุญเลิศ คชายุทธเดช นางสุนี ไชยรส นายนัจมุดดีน อูมา นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายกมล สุขคะสมบัติ นายอำนวย นาครัชตะอมร นายสุทธินันท์ จันทระ น.ส.ธัญดา ดำรงกิจการวงศ์ นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง นายประดัง ปรีชญางกูร และนายนิเวศน์ พันธ์เจริญวรกุล