กลุ่มสมาชิก ส.ส.ร.40 จำนวน 17 คนออกตัวหนุนแก้ รธน. ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ นายกฯ มาจากเลือกตั้ง องค์กรอิสระต้องยึดโยง ปชช. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การศึกษา มีกลไกถาวรป้องกันรัฐประหาร
วันนี้ (23 ส.ค.) กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 2540 จำนวน 17 คน ได้แก่
1. นายเดโช สวนานนท์
2. นายพนัส ทัศนียานนท์
3. นายธงชาติ รัตนวิชา
4. นายอำนวย ไทยานนท์
5. นางพินทิพย์ ลีลาภรณ์
6. นายธรรมนูญ มงคล
7. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช
8. นางสุนี ไชยรส
9. นายนัจมุดดีน อูมา
10. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
11. นายกมล สุขคะสมบัติ
12. นายอำนวย นาครัชตะอมร
13. นายสุทธินันท์ จันทระ
14. นางสาวธัญดา ดำรงกิจการวงศ์
15. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
16. นายประดัง ปรีชญางกูร
17. นายนิเวศน์ พันธ์เจริญวรกุล
แถลงการณ์เรื่องเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและข้อคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ว่าด้วยปรากฏการเคลื่อนไหวจัดชุมนุมของนักเรียน นิสิตนักศึกษา ทั้งในโรงเรียนมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดทั้งสถานที่สาธารณะทั่วทั้งประเทศ เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกรุงเทพฯ ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น รวมทั้งการเคลื่อนไหวรูปแบบอื่นๆอย่างหลากหลาย หนึ่งในข้อเรียกร้องของเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ รวมทั้งประชาชนผู้รักประชาธิปไตยวงการต่างๆ ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและยกระดับขึ้นตามลำดับ คือ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยให้มาจากการเลือกของประชาชน เฉกเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ. ศ. 2540 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ประกอบกับในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเมื่อต้นปี 2562 นักการเมืองจากหลายพรรคได้ประกาศนโยบายจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากพรรคการเมืองต่างๆ เสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยญัตติของแต่ละพรรคมีโครงสร้าง ที่มาของ ส.ส.ร. กระบวนการร่าง ฯลฯ ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีประเด็นการแก้ไขมาตราอื่นๆ จากนักการเมืองบางส่วนอีกด้วย
นับแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ. ศ. 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นที่น่าสังเกตุว่า ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน ที่ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็พร้อมใจกันโหวตเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ จากนั้นเสียงสะท้อนอันเกิดจากความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อรัฐธรรมนูญ และต่อวุฒิสภา ก็ดังขึ้นโดยฉับพลัน และขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยระบุว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มุ่งสืบทอดอำนาจเผด็จการ คสช. การปฏิรูปประเทศและการบริหารราชการแผ่นดินในระยะ 6-7 ปีที่ผ่านมาภายใต้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ล้มเหลวแทบจะสิ้นเชิงดังเป็นที่ปรากฏและมีแนวโน้มจะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศแม้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 จะถูกยกเลิกเมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แต่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังได้รับการยอมรับจากสังคมมาโดยตลอด
เพื่อความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไป ส.ส.ร.ในฐานะผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ดังมีรายชื่อแนบท้าย ขอแสดงความคิดเห็นด้วยความสุจริตใจและชี้แจงสาระอันเป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ 2540 ดังนี้
1. ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ มาเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ตามที่ทุกพรรคทุกฝ่ายเรียกร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน โดยถือเอากระบวนการคัดเลือกส.ส.ร. ที่มาจากประชาชน การรับฟังความเห็นประชาชน การร่างรัฐธรรมนูญ และเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นแบบ
2. ระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ให้ใช้บัตร 2 ใบ ส่วน ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งของประชา ชนในแต่ละจังหวัด อันจะทำให้ได้รับการยอมรับในความชอบธรรมและการเป็นประชาธิปไตย สมศักดิ์ศรีของผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย 3. นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหารให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน 4. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่เพียงเฉพาะการวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ทั้งนี้ กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน
5. คณะกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ ให้ที่มาของกระบวนการสรรหาทุกขั้นตอนยึดโยงกับประชาชน ไม่ให้อำนาจตกอยู่กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม ไม่ให้มีมากเกินไปจนกลายเป็นอำนาจเหนืออำนาจ มีการตรวจสอบถ่วงดุลในการใช้อำนาจหน้าที่และการบริหารงานที่สุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้องค์กรอิสระกระทำการใดๆ ตามอำเภอใจเพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจ 6. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ พื้นฟูความเชื่อมั่นของสังคมที่กำลังเกิดวิกฤตศรัทธาให้กลับคืนมา ผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมและและการยอมรับเพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง
7. ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกให้เหมาะสมกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างรวดเร็ว สร้างโอกาส ในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งการจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตยที่เป็นสากล 8. มีบทบัญญัติในระยะเปลี่ยนผ่านจากการสืบทอดอำนาจมาเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ คืนความเป็นความธรรม การเยียวยา สร้างความกลมเกลียวเป็นปึกแผ่นให้กับประชาชนในชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 9. มีบทบัญญัติที่เป็นมาตรการและกลไกอย่างถาวรสำหรับป้องกันมิให้มีการก่อรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญและล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯได้อีกต่อไปในอนาคต
เบื้องหน้าวิกฤตการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมที่ทรุดหนักมาอย่างต่อเนื่องหลายปี เกิดความขัดแย้งแตกแยกที่ร้าวลึกและความรุนแรงสะสมมากขึ้นทุกขณะ ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากจน เป็นหนี้เป็นสินกลายเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตซ้ำเติมยิ่งขึ้นเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ covid-19 ส.ส.ร.2540 มีความเป็นห่วงบ้านเมือง ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นผู้ปกครองทุกฝ่ายที่ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยใช้เหตุผลด้วยความอดทนอดกลั้นไม่ลุแก่อำนาจ ไม่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือคุกคามกำจัดขัดขวางผู้เห็นต่าง เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์ที่วิกฤตอยู่แล้วบานปลายออกไปจนไม่อาจแก้ไขได้
ทั้งนี้ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 ผู้เกี่ยวข้องทั้งคณะรัฐมนตรีพรรคการเมือง ส.ส.และ ส.ว. ต้องร่วมมือผนึกกำลังกันด้วยความจริงใจต่อประชาชนแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เพราะยิ่งช้าเท่าไรก็จะยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับเยาวชนและประชาชนมากขึ้นเท่านั้น ดังสำนวนไทยที่ว่า “กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้” ทั้งนี้ ผู้ปกครองและผู้มีอำนาจ ควรแสดงออกถึงการไม่เป็นผู้ยึดติดหรือหวงแหนอำนาจซึ่งจะนำพาบ้านเมืองไปสู่ทิศทางที่ทุกฝ่ายมุ่งหวังต้องการ นั่นคือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเดินหน้าพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ไม่ต้องเจ็บปวดครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
วันนี้ (23 ส.ค.) กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 2540 จำนวน 17 คน ได้แก่
1. นายเดโช สวนานนท์
2. นายพนัส ทัศนียานนท์
3. นายธงชาติ รัตนวิชา
4. นายอำนวย ไทยานนท์
5. นางพินทิพย์ ลีลาภรณ์
6. นายธรรมนูญ มงคล
7. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช
8. นางสุนี ไชยรส
9. นายนัจมุดดีน อูมา
10. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
11. นายกมล สุขคะสมบัติ
12. นายอำนวย นาครัชตะอมร
13. นายสุทธินันท์ จันทระ
14. นางสาวธัญดา ดำรงกิจการวงศ์
15. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
16. นายประดัง ปรีชญางกูร
17. นายนิเวศน์ พันธ์เจริญวรกุล
แถลงการณ์เรื่องเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและข้อคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ว่าด้วยปรากฏการเคลื่อนไหวจัดชุมนุมของนักเรียน นิสิตนักศึกษา ทั้งในโรงเรียนมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดทั้งสถานที่สาธารณะทั่วทั้งประเทศ เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกรุงเทพฯ ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น รวมทั้งการเคลื่อนไหวรูปแบบอื่นๆอย่างหลากหลาย หนึ่งในข้อเรียกร้องของเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ รวมทั้งประชาชนผู้รักประชาธิปไตยวงการต่างๆ ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและยกระดับขึ้นตามลำดับ คือ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยให้มาจากการเลือกของประชาชน เฉกเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ. ศ. 2540 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ประกอบกับในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเมื่อต้นปี 2562 นักการเมืองจากหลายพรรคได้ประกาศนโยบายจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากพรรคการเมืองต่างๆ เสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยญัตติของแต่ละพรรคมีโครงสร้าง ที่มาของ ส.ส.ร. กระบวนการร่าง ฯลฯ ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีประเด็นการแก้ไขมาตราอื่นๆ จากนักการเมืองบางส่วนอีกด้วย
นับแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ. ศ. 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นที่น่าสังเกตุว่า ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน ที่ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็พร้อมใจกันโหวตเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ จากนั้นเสียงสะท้อนอันเกิดจากความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อรัฐธรรมนูญ และต่อวุฒิสภา ก็ดังขึ้นโดยฉับพลัน และขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยระบุว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มุ่งสืบทอดอำนาจเผด็จการ คสช. การปฏิรูปประเทศและการบริหารราชการแผ่นดินในระยะ 6-7 ปีที่ผ่านมาภายใต้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ล้มเหลวแทบจะสิ้นเชิงดังเป็นที่ปรากฏและมีแนวโน้มจะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศแม้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 จะถูกยกเลิกเมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แต่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังได้รับการยอมรับจากสังคมมาโดยตลอด
เพื่อความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไป ส.ส.ร.ในฐานะผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ดังมีรายชื่อแนบท้าย ขอแสดงความคิดเห็นด้วยความสุจริตใจและชี้แจงสาระอันเป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ 2540 ดังนี้
1. ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ มาเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ตามที่ทุกพรรคทุกฝ่ายเรียกร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน โดยถือเอากระบวนการคัดเลือกส.ส.ร. ที่มาจากประชาชน การรับฟังความเห็นประชาชน การร่างรัฐธรรมนูญ และเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นแบบ
2. ระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ให้ใช้บัตร 2 ใบ ส่วน ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งของประชา ชนในแต่ละจังหวัด อันจะทำให้ได้รับการยอมรับในความชอบธรรมและการเป็นประชาธิปไตย สมศักดิ์ศรีของผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย 3. นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหารให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน 4. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่เพียงเฉพาะการวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ทั้งนี้ กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน
5. คณะกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ ให้ที่มาของกระบวนการสรรหาทุกขั้นตอนยึดโยงกับประชาชน ไม่ให้อำนาจตกอยู่กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม ไม่ให้มีมากเกินไปจนกลายเป็นอำนาจเหนืออำนาจ มีการตรวจสอบถ่วงดุลในการใช้อำนาจหน้าที่และการบริหารงานที่สุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้องค์กรอิสระกระทำการใดๆ ตามอำเภอใจเพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจ 6. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ พื้นฟูความเชื่อมั่นของสังคมที่กำลังเกิดวิกฤตศรัทธาให้กลับคืนมา ผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมและและการยอมรับเพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง
7. ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออกให้เหมาะสมกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างรวดเร็ว สร้างโอกาส ในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งการจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตยที่เป็นสากล 8. มีบทบัญญัติในระยะเปลี่ยนผ่านจากการสืบทอดอำนาจมาเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ คืนความเป็นความธรรม การเยียวยา สร้างความกลมเกลียวเป็นปึกแผ่นให้กับประชาชนในชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 9. มีบทบัญญัติที่เป็นมาตรการและกลไกอย่างถาวรสำหรับป้องกันมิให้มีการก่อรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญและล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯได้อีกต่อไปในอนาคต
เบื้องหน้าวิกฤตการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมที่ทรุดหนักมาอย่างต่อเนื่องหลายปี เกิดความขัดแย้งแตกแยกที่ร้าวลึกและความรุนแรงสะสมมากขึ้นทุกขณะ ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากจน เป็นหนี้เป็นสินกลายเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตซ้ำเติมยิ่งขึ้นเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ covid-19 ส.ส.ร.2540 มีความเป็นห่วงบ้านเมือง ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นผู้ปกครองทุกฝ่ายที่ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยใช้เหตุผลด้วยความอดทนอดกลั้นไม่ลุแก่อำนาจ ไม่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือคุกคามกำจัดขัดขวางผู้เห็นต่าง เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์ที่วิกฤตอยู่แล้วบานปลายออกไปจนไม่อาจแก้ไขได้
ทั้งนี้ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 ผู้เกี่ยวข้องทั้งคณะรัฐมนตรีพรรคการเมือง ส.ส.และ ส.ว. ต้องร่วมมือผนึกกำลังกันด้วยความจริงใจต่อประชาชนแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เพราะยิ่งช้าเท่าไรก็จะยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับเยาวชนและประชาชนมากขึ้นเท่านั้น ดังสำนวนไทยที่ว่า “กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้” ทั้งนี้ ผู้ปกครองและผู้มีอำนาจ ควรแสดงออกถึงการไม่เป็นผู้ยึดติดหรือหวงแหนอำนาจซึ่งจะนำพาบ้านเมืองไปสู่ทิศทางที่ทุกฝ่ายมุ่งหวังต้องการ นั่นคือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเดินหน้าพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ไม่ต้องเจ็บปวดครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนในอดีตที่ผ่านมา