ผู้จัดการรายวัน360 - กลุ่มซีพีฯ”วางแผนงาน 16 เดือน ตรวจเซ็คระบบ”แอร์พอร์ตลิงก์” ปรับปรุงสถานีและระบบการให้บริการทั้งหมด รับโอนต.ค.64 สวมสิทธิ์บริหาร “ชัยวัฒน์” ประเมินต้องลงทุน เพื่อยกระดับบริการที่ดีกว่าเดิม ขณะที่เช็คพื้นที่ก่อสร้างตลอดแนว "ไฮสปีด 3 สนามบิน" มั่นใจก.พ. 64 ส่งให้ซีพีได้หมด
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ติดตามการดำเนินงานในส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่ง บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) รายงานว่า ได้จัดทำแผนก่อนการรับโอน ซึ่งจะมีการปรับปรุงต่างๆ รวม 5เรื่อง โดยจะใช้เวลาดำเนินการ 16 เดือน แล้วเสร็จ เดือนก.ย. 2564 และรับโอนและเริ่มบริหารจัดการเดินรถได้ในเดือนต.ค. 2564
โดย 5 แผนงานที่กลุ่มซีพี ดำเนินการคือ 1. ตรวจสอบสถานะทางเทคนิค ตั้งแต่ ก.พ.2563 จะแล้วเสร็จภายในเดือนก.ค. 2563 2. เตรียมความพร้อมในการเดินรถ เริ่มตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563, 3. แผนความพร้อมเดินรถในเดือน ต.ค. 2564, 4. ปรับปรุงเรื่องบริการ ปรับปรุงตกแต่งสถานี จะติดเครื่องปรับอากาศ เพิ่มไฟฟ้า ปรับปรุงที่จอดรถ, ปรับปรุงคืนสภาพทรัพย์สิน อาคารสถานีให้ดีเ เสร็จในเดือน ก.ย. 2564 และ 5. เดินรถในเดือนต.ค. 64
ทั้งนี้ ซีพี ได้ทำ due diligence การปรับปรุงต่างๆ หลักๆ จะเป็นการซื้อรถเพิ่ม และจะต้องชำระเงินค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จำนวน 10,671,090,000 บาทให้ครบภายใน 2 ปีหลังจากลงนามสัญญาเมื่อ 24 ต.ค. 2562 หรือก่อนซีพี เริ่มเดินรถ ซึ่งการให้บริการของซีพี จะต้องดีกว่าปัจจุบัน
ซีพีฯยังรายงานถึงปัญหาอุปสรรค ในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญ จากอิตาลี ไม่สามารถดินทางมาได้ เพราะติดปัญหาโรค โควิด-19 ซึ่งได้แนะนำให้ไปประสานกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) หากเข้ากรณีที่เป็นบุคคล 11 กลุ่มที่ได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดเงื่อนไขการเดินทางเข้าประเทศ และต้องเข้าพักในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้เป็นเวลา 14 วัน ทั้งนี้เพื่อ ให้เดินหน้าโครงการได้ตามแผนงาน
โดยคณะทำงานฯได้ดำเนินงานขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 งบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่หน่วยงานจะต้องนำมารื้อย้ายสาธารณูปโภค ซึ่งผ่านการพิจารณาเห็นชอบของ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) อยู่ระหว่างการของบประมาณ
ในเรื่องของที่ดินรถไฟ มีส่วนของเวนคืน อยู่ระหว่าง สำรวจรายละเอียด รวมถึงตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและค่าทดแทนแล้ว คาดว่าเดือนพ.ย.นี้จะมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน และจ่ายค่าทดแทนและรับมอบที่ดินจากเจ้าของที่ดินก.พ. 2564 และส่งมอบที่ดินให้ กลุ่มซีพีได้ทันที
โดยที่ดินที่มีผู้บุกรุก แบ่งเป็น 2 ช่วง ดอนเมือง –สุวรรณภูมิรวม 267 หลังคาเรือน สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 302 หลังคาเรือน ทางรฟท.ได้ดำเนินการ ฟ้องร้องดำเนินการคดี ตามกฎหมาย ส่วนที่ดินที่ต้อง ยกเลิกสัญญาเช่า มีทั้งหมด 213 สัญญา แบ่งเป็นช่วงดอนเมือง-พญาไท จำนวน 100 สัญญา ตามแผนจะแล้วเสร็จในเดือนธ.ค. 2563 ส่วนช่วงลาดกระบัง-อูตะเภา จำนวน113 สัญญา แล้วเสร็จในเดือนต.ค. 2563
ส่วนการขออนุญาตเข้าพื้นที่ต่อหน่วยงานเจ้าของพื้นที่เพื่อรื้อย้ายสาธารณูปโภคในกรณีเร่งด่วน ซึ่งผู้ว่าการ รฟท. ได้มอบอำนาจให้คณะทำงานเฉพาะกิจของรฟท. พิจารณาการอนุญาตและการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ที่เกี่ยวข้องสาธารณูปโภคในโครงการฯ นี้ เป็นการเฉพาะเพื่อความรวดเร็วในการทำงานแล้ว
ส่วนกรณีขอขยายเขตทางเพิ่มเติม ที่ต้องเวนคืนเพิ่ม 6 จุด ได้แก่ บริเวณสถานีลาดกระบัง บริเวณทางออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริเวณประตูน้ำของกรมชลประทาน บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง บริเวณอุโมงค์เขาชีจัน และบริเวณทางเข้าสนามบินอู่ตะเภา อยู่ระหว่างการสำรวจความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 48 ราย รวมจำนวนที่ดิน 63 แปลง จะสำรวจแล้วเสร็จและสรุปข้อมูลภายในส.ค. 2563 คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามแผนภายในเดือนก.ย.2564
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ติดตามการดำเนินงานในส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่ง บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) รายงานว่า ได้จัดทำแผนก่อนการรับโอน ซึ่งจะมีการปรับปรุงต่างๆ รวม 5เรื่อง โดยจะใช้เวลาดำเนินการ 16 เดือน แล้วเสร็จ เดือนก.ย. 2564 และรับโอนและเริ่มบริหารจัดการเดินรถได้ในเดือนต.ค. 2564
โดย 5 แผนงานที่กลุ่มซีพี ดำเนินการคือ 1. ตรวจสอบสถานะทางเทคนิค ตั้งแต่ ก.พ.2563 จะแล้วเสร็จภายในเดือนก.ค. 2563 2. เตรียมความพร้อมในการเดินรถ เริ่มตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563, 3. แผนความพร้อมเดินรถในเดือน ต.ค. 2564, 4. ปรับปรุงเรื่องบริการ ปรับปรุงตกแต่งสถานี จะติดเครื่องปรับอากาศ เพิ่มไฟฟ้า ปรับปรุงที่จอดรถ, ปรับปรุงคืนสภาพทรัพย์สิน อาคารสถานีให้ดีเ เสร็จในเดือน ก.ย. 2564 และ 5. เดินรถในเดือนต.ค. 64
ทั้งนี้ ซีพี ได้ทำ due diligence การปรับปรุงต่างๆ หลักๆ จะเป็นการซื้อรถเพิ่ม และจะต้องชำระเงินค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จำนวน 10,671,090,000 บาทให้ครบภายใน 2 ปีหลังจากลงนามสัญญาเมื่อ 24 ต.ค. 2562 หรือก่อนซีพี เริ่มเดินรถ ซึ่งการให้บริการของซีพี จะต้องดีกว่าปัจจุบัน
ซีพีฯยังรายงานถึงปัญหาอุปสรรค ในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญ จากอิตาลี ไม่สามารถดินทางมาได้ เพราะติดปัญหาโรค โควิด-19 ซึ่งได้แนะนำให้ไปประสานกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) หากเข้ากรณีที่เป็นบุคคล 11 กลุ่มที่ได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดเงื่อนไขการเดินทางเข้าประเทศ และต้องเข้าพักในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้เป็นเวลา 14 วัน ทั้งนี้เพื่อ ให้เดินหน้าโครงการได้ตามแผนงาน
โดยคณะทำงานฯได้ดำเนินงานขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 งบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่หน่วยงานจะต้องนำมารื้อย้ายสาธารณูปโภค ซึ่งผ่านการพิจารณาเห็นชอบของ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) อยู่ระหว่างการของบประมาณ
ในเรื่องของที่ดินรถไฟ มีส่วนของเวนคืน อยู่ระหว่าง สำรวจรายละเอียด รวมถึงตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและค่าทดแทนแล้ว คาดว่าเดือนพ.ย.นี้จะมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน และจ่ายค่าทดแทนและรับมอบที่ดินจากเจ้าของที่ดินก.พ. 2564 และส่งมอบที่ดินให้ กลุ่มซีพีได้ทันที
โดยที่ดินที่มีผู้บุกรุก แบ่งเป็น 2 ช่วง ดอนเมือง –สุวรรณภูมิรวม 267 หลังคาเรือน สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 302 หลังคาเรือน ทางรฟท.ได้ดำเนินการ ฟ้องร้องดำเนินการคดี ตามกฎหมาย ส่วนที่ดินที่ต้อง ยกเลิกสัญญาเช่า มีทั้งหมด 213 สัญญา แบ่งเป็นช่วงดอนเมือง-พญาไท จำนวน 100 สัญญา ตามแผนจะแล้วเสร็จในเดือนธ.ค. 2563 ส่วนช่วงลาดกระบัง-อูตะเภา จำนวน113 สัญญา แล้วเสร็จในเดือนต.ค. 2563
ส่วนการขออนุญาตเข้าพื้นที่ต่อหน่วยงานเจ้าของพื้นที่เพื่อรื้อย้ายสาธารณูปโภคในกรณีเร่งด่วน ซึ่งผู้ว่าการ รฟท. ได้มอบอำนาจให้คณะทำงานเฉพาะกิจของรฟท. พิจารณาการอนุญาตและการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ที่เกี่ยวข้องสาธารณูปโภคในโครงการฯ นี้ เป็นการเฉพาะเพื่อความรวดเร็วในการทำงานแล้ว
ส่วนกรณีขอขยายเขตทางเพิ่มเติม ที่ต้องเวนคืนเพิ่ม 6 จุด ได้แก่ บริเวณสถานีลาดกระบัง บริเวณทางออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริเวณประตูน้ำของกรมชลประทาน บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง บริเวณอุโมงค์เขาชีจัน และบริเวณทางเข้าสนามบินอู่ตะเภา อยู่ระหว่างการสำรวจความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 48 ราย รวมจำนวนที่ดิน 63 แปลง จะสำรวจแล้วเสร็จและสรุปข้อมูลภายในส.ค. 2563 คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามแผนภายในเดือนก.ย.2564