xs
xsm
sm
md
lg

โรคไวรัสซ้ำเติมโรคเศรษฐกิจ

เผยแพร่:   โดย: โสภณ องค์การณ์


ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ
โอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้รวดเร็วตามที่คนแบกทุกข์สารพัดต้องการนั้นคงเป็นไปได้ยาก เมื่อเห็นการระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสทุกวันนี้ยังน่ากลัว โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาจากแคนาดาจนถึงอาร์เจนตินา ทำให้เป็นศูนย์กลางระบาดไปแล้ว

และยังไม่มีทางออกว่าจะจัดการอย่างไร เมื่อยังไม่มีวัคซีนและยารักษาที่สามารถใช้ได้ทั่วไปในราคาไม่แพงจนเกินไป อย่างเช่นที่มีอยู่ในขณะนี้ อย่างเช่น ยา Remdesivir ของบริษัท Gilead ราคาแพงมาก ชุดละกว่า 1 แสนบาท

สหรัฐอเมริกาและบราซิลและประเทศในละตินอเมริกาเป็นภูมิภาคที่ยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ สหรัฐฯ ก็ยังเป็นประเทศซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตสูงสุดอันดับ 1 ของโลก โดยมีบราซิลมาเป็นอันดับ 2 และ เม็กซิโกเป็นอันดับ 3

และผู้นำสหรัฐฯ และบราซิลก็ไม่ใส่ใจกับการสวมหน้ากากอนามัย ป้องกันการติดเชื้อ ตั้งแต่เริ่ม โดยโดนัลด์ ทรัมป์ อ้างว่าถ้าสวมหน้ากากจะทำให้ดูว่าเป็นคนอ่อนแอ และไม่มีความสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ถือว่าเป็นความคิดเพี้ยนๆ

ทรัมป์ยังอ้างให้คนอเมริกันหลงเชื่อว่าเชื้อโคโรนาไวรัสไม่อันตรายอะไร ทั้งๆ ที่คนอเมริกันติดเชื้อว่า 3.3 ล้านคน และมีคนเสียชีวิตกว่า 1.3 แสนคน และไม่ยอมรับว่าตัวเองได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการตั้งรับมือการระบาดผิดพลาด

ผู้นำบราซิล ฌาอีร์ โบลโซนารู ซึ่งติดเชื้อโคโรนาไวรัสไปแล้ว เพราะไม่สวมหน้ากาก เคยประกาศก่อนหน้านี้ว่าโคโรนาไวรัสเป็นแค่ “ไข้หวัดน้อย” ขณะนี้กำลังถูกฟ้องโดยสื่อมวลชนซึ่งไปทำข่าวซึ่งผู้นำได้เปิดหน้ากากยอมรับว่าตัวเองติดเชื้อ

กลุ่มประเทศละตินอเมริกา เช่น เปรู ชิลี โคลอมเบีย ยังเป็นแหล่งของการระบาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในย่านละตินอเมริกาซึ่งมีวิกฤตหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น รวมถึงคนว่างงานมากมาย ขาดรายได้ มีวิกฤตเงินเฟ้อรุนแรง

ปัญหาเศรษฐกิจในเวเนซุเอลาร้ายแรง ทำให้คนอพยพ หนีความลำบาก การขาดแคลนอาหาร ไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และพยายามไปสหรัฐฯ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวสร้างปัญหาให้ประเทศ และได้ประกาศนโยบายปิดประเทศ ห้ามคนเข้า

เมื่อสหรัฐอเมริกามีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลกต้องอยู่ในสภาพซบเซา ทั้งภาคการผลิตอุตสาหกรรม การเงิน รวมถึงการค้าปลีก แม้จะมีสัญญาณว่าดีขึ้น ก็ยังไม่มีเสถียรภาพ โดยประเมินจากดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ที่ยังคงผันผวนวูบวาบ

ปัญหาโคโรนาไวรัสในสหรัฐฯ จึงมีความซับซ้อน เพราะเกิดความขัดแย้งกันทั้งในระดับชาติและระดับมลรัฐต่างๆ โดยระดับชาตินั้นผู้นำทำเนียบขาว โดนัลด์ ทรัมป์ยังคงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ซึ่งวางแนวทางรับภาวะวิกฤต

นี่เป็นกลุ่มคณะทำงานประจำทำเนียบขาว มีนายแพทย์ตัวหลัก คือ ดร.แอนโทนี เฟาซี ซึ่งมีความเห็นต่างจากทรัมป์ ซึ่งไม่เชื่อมั่นในหลักของวิทยาศาสตร์ คำแนะนำต่างๆ ของหมอเฟาซี ก็ไม่ได้ถูกนำไปเป็นหลักปฏิบัติโดยผู้นำประเทศ

คำเตือนต่างๆ เช่นต้องสวมหน้ากากอนามัย ต้องทิ้งระยะห่างทางสังคม ต้องคงมาตรการคุมเข้ม ก็ได้ถูกเพิกเฉยโดยทรัมป์ ผู้ไม่ยอมสวมหน้ากากตั้งแต่การระบาด จนถึงวาระต้องไปเยือนทหารบาดเจ็บในศูนย์การแพทย์ทหารวอเตอร์ รีด

วันสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงได้เห็นทรัมป์สวมหน้ากากอนามัยสีดำ เดินนำกลุ่มผู้ไปเยือนทหารบาดเจ็บ ทำให้ดูประหลาด เหมือนกลุ่มมนุษย์ต่างดาวมาเยือนโลก

หรือเป็นเพราะทรัมป์อยากสวมหน้ากากเพราะกลัวป่วย กลัวตาย แต่ถ้าจะใส่แบบไม่มีเหตุจูงใจหรือบังคับ ก็จะเสียหน้า ดังนั้นการไปเยือนศูนย์การแพทย์ของทหารจึงเป็นทางออก สำหรับทรัมป์และสมุนที่ไม่อยากให้ถูกมองว่าเป็นพวกตื่นตูม

คนอเมริกันผิวขาวที่ชื่นชอบทรัมป์ก็เอาอย่าง ประกาศสนับสนุนทรัมป์เต็มที่ อ้างสิทธิเสรีภาพ จะตายก็ไม่ว่า ขอให้รักษาสิทธิส่วนบุคคล ใครบังคับไม่ได้

ในระดับมลรัฐก็มีปัญหาความขัดแย้งด้านแนวนโยบาย ก่อนหน้านี้ ได้มีการปลดล็อกหลายรัฐซึ่งมีผู้ว่าการสังกัดพรรครีพับลิกัน เกิดการระบาดใหม่ระลอก 2 ทำให้นายกเทศมนตรีหลายเมืองซึ่งสังกัดพรรคเดโมแครต ต้องประกาศปิดเมือง

เมื่อการตั้งรับการระบาดขาดความเป็นหนึ่งเดียวด้านนโยบาย ทำให้ไม่สามารถทำงานอย่างได้ผล แต่ละรัฐก็มีกฎหมายกำหนดมาตรการต่างๆ ของตนเอง จึงทำให้มีจุดระบาดรอบใหม่ มีตัวเลขเพิ่มขึ้นมาก ผู้นำทำเนียบขาวก็ขาดการนำ

ยิ่งมีปัญหากับกลุ่มแพทย์อย่างแรง ทรัมป์ไม่มองหน้าคุณหมอเฟาซี ก็เกิดการแบ่งพวกตั้งป้อม พวกสมุนทรัมป์ก็พาลไม่ตามนโยบายหมอเฟาซี ความขัดแย้งหลักก็คือทรัมป์เชื่อสัญชาตญาณตัวเองมากกว่าหลักฐาน ผลวิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์

โดยทั่วไป การสำรวจความคิดเห็นของคนอเมริกัน หมอเฟาซีได้รับความน่าเชื่อมากกว่าทรัมป์ และเป็นผู้ที่ได้ทำงานกับประธานาธิบดีคนก่อนหน้านี้หลายคน และได้รับความไว้วางใจในด้านความรู้ความสามารถ แต่กับทรัมป์ ไม่กินเส้นกันหนัก

ดังนั้น แต่ละประเทศต้องดูแลกันเอง โดยปล่อยให้ทรัมป์นำพาสหรัฐฯ ไปตามทิศทางที่ตัวเองต้องการ ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือเลวลง คนอเมริกันถูกไม่ให้เข้าหลายประเทศ เช่นยุโรป ถูกมองว่าเป็นกลุ่มผู้มีศักยภาพในเป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อ

แม้สหรัฐฯ อาจจะจัดการเรื่องการระบาดได้ ก็ยังมีปัญหาสงครามการค้ากับจีน และความขัดแย้งกับประเทศอื่นๆ ทรัมป์ก็กังวลเรื่องโอกาสที่จะแพ้การเลือกตั้งชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ดังนั้นอาจทำอะไรบ้าๆ เพื่อกอบกู้คะแนนเสียงก็ได้

และทรัมป์ได้เป็นตัวอันตรายสำหรับชาวโลก ในการวิเคราะห์ของหลานสาว


กำลังโหลดความคิดเห็น