ผู้จัดการรายวัน360-"สมคิด"สั่ง สสว. ตั้งกองทุนช่วยเสริมสภาพคล่องเอสเอ็มอีกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เสนอ ครม. 8 ก.ค.นี้ ช่วยผู้ประกอบการ 5 แสนราย เปิดช่องขอล็อต 2 อีก 5 หมื่นล้าน รวมเป็น 1 แสนล้าน หากไม่เพียงพอ เตือนวิกฤตกำลังมา จี้แบงก์รัฐอัดฉีดเอสเอ็มอีด่วน ผอ.สสว.คาดเริ่มได้ภายใน 1 เดือนหลังได้รับไฟเขียว พร้อมปรับระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง ช่วยเอสเอ็มอีเข้าประมูลงาน ตั้งเป้า 30% ของโครงการที่มี คาดช่วยสร้างรายได้กว่า 4 แสนล้าน "อุตตม"ไม่ห่วงเอ็นพีแอลแบงก์พาณิชย์ เหตุกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังมีความแข็งแกร่ง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยภายหลังเดินทางตรวจเยี่ยมและประชุมมอบนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ว่า ได้สั่งการให้ สสว. ช่วยเหลือผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยได้มอบหมายให้ สสว. จัดทำเรื่องเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 8 ก.ค.2563 เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 50,000 ล้านบาท จากงบเยียวยา เพื่อใช้จัดตั้งกองทุนของ สสว. ที่จะนำมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยคาดว่าเงินก้อนแรกจะสามารถนำมาช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ประมาณ 500,000 ราย โดยรัฐบาลมีความตั้งใจว่านอกจากวงเงิน 50,000 ล้านบาทก้อนแรกแล้ว ยังจะช่วยเหลืออีก 50,000 ล้านบาท รวมเป็น 100,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เร่งเข้าไปช่วยดูแล และหามาตรการเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเร็วที่สุด เนื่องจากขณะนี้ปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อมาพลิกฟื้นธุรกิจอีกจำนวนมาก หากยังปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป จะส่งผลให้กลับไปเกิดเหตุการณ์แบบปีวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ผู้ประกอบการต้องล้มหายไปอีกจำนวนมาก
"ถ้าธุรกิจเติมทุนแล้ว แบงก์ยังไม่ให้สินเชื่อ ขอแช่ง อย่าอยู่เลย อยู่ไปเพื่ออะไร เราผ่านประสบการณ์ปี 40 มาแล้ว ยิ่งกอดลูกค้าไว้ ยิ่งตาย ถ้าเรายังปล่อยให้เป็นแบบเดิมอีก ที่แบงก์กอดหนี้ไว้ไม่ทำอะไร ก็ไปไม่รอด ผู้ประกอบการก็ต้องล้มหายไป ท้ายที่สุด แบงก์ก็มีปัญหา รัฐก็ต้องมาช่วยเยียวยาผู้ประกอบการอยู่ดี สู้แก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางไปเลย จะได้ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างแท้จริง ยั่งยืน ซึ่งตอนนี้เราเจอพายุใหญ่ ไม่ใช่แค่ไทย แต่ทุกประเทศเจอหมด หากไม่ตั้งรับดีๆ จะเหนื่อยหมด และผู้ถูกกระทบก่อน คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หากเราไม่ช่วยไม่ดูแล คนจะตกงานเยอะ และเราก็ต้องใช้เงินเยียวยามากขึ้นไปอีก ดังนั้น เราจะต้องเริ่มดูแลตั้งแต่ต้น แบงก์รัฐจะต้องเข้ามาช่วย จะทำยังไงให้เขาเข้าถึงสินเชื่อได้มากกว่านี้”นายสมคิดกล่าว
นายวีระพงษ์ มาลา ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า กองทุนฯ จะเริ่มช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ภายใน 1 เดือนหลังจาก ครม. อนุมัติงบประมาณ โดย สสว. จะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการปล่อยเงินกู้ และธนาคารของรัฐจะทำหน้าที่ปล่อยเงินกู้ดังกล่าว
โดยผู้ที่จะกู้ได้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ ต้องมีกิจการเป็นหลักแหล่งแน่นอน วงเงินอุดหนุนจะแบ่งออกเป็น 2 ก้อน คือ ก้อนแรก "เงินเติมพลังชีวิต" รายละไม่เกิน 100,000 บาท และก้อนที่ 2 ”การเพิ่มทุน" เพื่อเสริมสภาพคล่องไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย เงื่อนไขผ่อนปรนดอกเบี้ย 1% ต่อปี วงเงินกู้ระยะยาวผ่อนชำระ 10 ปี อัตราการผ่อนชำระหนี้เดือนละไม่ถึง 10,000 บาท โดยพิจารณาปล่อยกู้ให้กับธุรกิจที่มีโอกาสและมีศักยภาพ
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ที่จะขอสินเชื่อจะต้องเข้าร่วมอบรมหรือพัฒนาทักษะทั้งจาก สสว. หรือหน่วยงานร่วมอื่นๆ ปีละครั้ง ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องเป็นสมาชิกของภาครัฐและเอกชนอย่างใดอย่างหนึ่งภายใน 1 ปี เช่น เป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หรือสมาชิกสมาพันธ์เอสเอ็มอีหรือสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ก็ได้
ขณะเดียวกัน สสว. จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย ซึ่งในปี 2562 มีมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านบาท โดยหากช่วยเอสเอ็มอีมีแต้มต่อเข้าถึงได้ 30% จะสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการได้กว่า 400,000 ล้านบาท คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นภายในเดือน ก.ย.-ต.ค.2563
ด้านนายอุตตม สาวนายน รมว. คลัง กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับธนาคารพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงประเด็นปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบสถาบันการเงิน ว่า เรื่องหนี้เอ็นพีแอลยังไม่เป็นปัญหา ธนาคารพาณิชย์ยังมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากสถานการณ์กองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังคงมีความเข้มแข็ง อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ และ ธปท. ได้เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้ว จึงรู้ว่าควรจะวางแผนเพื่อรับมือและดูแลระบบธนาคารอย่างไรบ้าง
สำหรับการดูแลระบบเศรษฐกิจในส่วนของกระทรวงการคลัง กำลังจะเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีชายขอบ ที่มีปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องในกิจการ และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐ ซึ่งขณะนี้ สสว. กำลังดำเนินการของบประมาณ เพื่อจัดตั้งกองทุนอยู่
ส่วนความคืบหน้าในการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ (ซอฟต์โลน) ของ ธปท. วงเงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น ปัจจุบันสามารถปล่อยสินเชื่อได้เพียง 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะยังคงเดินหน้ามาตรการต่อไป
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยภายหลังเดินทางตรวจเยี่ยมและประชุมมอบนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ว่า ได้สั่งการให้ สสว. ช่วยเหลือผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยได้มอบหมายให้ สสว. จัดทำเรื่องเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 8 ก.ค.2563 เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 50,000 ล้านบาท จากงบเยียวยา เพื่อใช้จัดตั้งกองทุนของ สสว. ที่จะนำมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยคาดว่าเงินก้อนแรกจะสามารถนำมาช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ประมาณ 500,000 ราย โดยรัฐบาลมีความตั้งใจว่านอกจากวงเงิน 50,000 ล้านบาทก้อนแรกแล้ว ยังจะช่วยเหลืออีก 50,000 ล้านบาท รวมเป็น 100,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เร่งเข้าไปช่วยดูแล และหามาตรการเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเร็วที่สุด เนื่องจากขณะนี้ปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อมาพลิกฟื้นธุรกิจอีกจำนวนมาก หากยังปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป จะส่งผลให้กลับไปเกิดเหตุการณ์แบบปีวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ผู้ประกอบการต้องล้มหายไปอีกจำนวนมาก
"ถ้าธุรกิจเติมทุนแล้ว แบงก์ยังไม่ให้สินเชื่อ ขอแช่ง อย่าอยู่เลย อยู่ไปเพื่ออะไร เราผ่านประสบการณ์ปี 40 มาแล้ว ยิ่งกอดลูกค้าไว้ ยิ่งตาย ถ้าเรายังปล่อยให้เป็นแบบเดิมอีก ที่แบงก์กอดหนี้ไว้ไม่ทำอะไร ก็ไปไม่รอด ผู้ประกอบการก็ต้องล้มหายไป ท้ายที่สุด แบงก์ก็มีปัญหา รัฐก็ต้องมาช่วยเยียวยาผู้ประกอบการอยู่ดี สู้แก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางไปเลย จะได้ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างแท้จริง ยั่งยืน ซึ่งตอนนี้เราเจอพายุใหญ่ ไม่ใช่แค่ไทย แต่ทุกประเทศเจอหมด หากไม่ตั้งรับดีๆ จะเหนื่อยหมด และผู้ถูกกระทบก่อน คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หากเราไม่ช่วยไม่ดูแล คนจะตกงานเยอะ และเราก็ต้องใช้เงินเยียวยามากขึ้นไปอีก ดังนั้น เราจะต้องเริ่มดูแลตั้งแต่ต้น แบงก์รัฐจะต้องเข้ามาช่วย จะทำยังไงให้เขาเข้าถึงสินเชื่อได้มากกว่านี้”นายสมคิดกล่าว
นายวีระพงษ์ มาลา ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า กองทุนฯ จะเริ่มช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ภายใน 1 เดือนหลังจาก ครม. อนุมัติงบประมาณ โดย สสว. จะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการปล่อยเงินกู้ และธนาคารของรัฐจะทำหน้าที่ปล่อยเงินกู้ดังกล่าว
โดยผู้ที่จะกู้ได้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ ต้องมีกิจการเป็นหลักแหล่งแน่นอน วงเงินอุดหนุนจะแบ่งออกเป็น 2 ก้อน คือ ก้อนแรก "เงินเติมพลังชีวิต" รายละไม่เกิน 100,000 บาท และก้อนที่ 2 ”การเพิ่มทุน" เพื่อเสริมสภาพคล่องไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย เงื่อนไขผ่อนปรนดอกเบี้ย 1% ต่อปี วงเงินกู้ระยะยาวผ่อนชำระ 10 ปี อัตราการผ่อนชำระหนี้เดือนละไม่ถึง 10,000 บาท โดยพิจารณาปล่อยกู้ให้กับธุรกิจที่มีโอกาสและมีศักยภาพ
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ที่จะขอสินเชื่อจะต้องเข้าร่วมอบรมหรือพัฒนาทักษะทั้งจาก สสว. หรือหน่วยงานร่วมอื่นๆ ปีละครั้ง ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องเป็นสมาชิกของภาครัฐและเอกชนอย่างใดอย่างหนึ่งภายใน 1 ปี เช่น เป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หรือสมาชิกสมาพันธ์เอสเอ็มอีหรือสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ก็ได้
ขณะเดียวกัน สสว. จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย ซึ่งในปี 2562 มีมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านบาท โดยหากช่วยเอสเอ็มอีมีแต้มต่อเข้าถึงได้ 30% จะสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการได้กว่า 400,000 ล้านบาท คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นภายในเดือน ก.ย.-ต.ค.2563
ด้านนายอุตตม สาวนายน รมว. คลัง กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับธนาคารพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงประเด็นปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบสถาบันการเงิน ว่า เรื่องหนี้เอ็นพีแอลยังไม่เป็นปัญหา ธนาคารพาณิชย์ยังมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากสถานการณ์กองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังคงมีความเข้มแข็ง อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ และ ธปท. ได้เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้ว จึงรู้ว่าควรจะวางแผนเพื่อรับมือและดูแลระบบธนาคารอย่างไรบ้าง
สำหรับการดูแลระบบเศรษฐกิจในส่วนของกระทรวงการคลัง กำลังจะเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีชายขอบ ที่มีปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องในกิจการ และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐ ซึ่งขณะนี้ สสว. กำลังดำเนินการของบประมาณ เพื่อจัดตั้งกองทุนอยู่
ส่วนความคืบหน้าในการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ (ซอฟต์โลน) ของ ธปท. วงเงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น ปัจจุบันสามารถปล่อยสินเชื่อได้เพียง 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะยังคงเดินหน้ามาตรการต่อไป