"มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก" เจ้าของเฟซบุ๊ก สูญเงิน $ 7 พันล้าน หลังบริษัทชื่อดังนับร้อย มี "ยูนิลิเวอร์-โค๊ก-ฮอนด้า- นอร์ทเฟซ-ไอศครีมเบนแอนด์เจอร์รีย์ส" ที่สนับสนุนแคมเปญ #StopHate4Profit หรือ “#หยุดความเกลียดชังเพื่อผลกำไร” แห่ถอนโฆษณา
ฟ็อกซ์นิวส์ สื่อสหรัฐฯ รายงานเมื่อวันที่ 27 มิ.ย ที่ผ่านมา ว่า มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและเจ้าของเฟซบุ๊ก ซึ่งในเวลานี้มีความร่ำรวยอยู่เป็นอันดับ 4 ตาม ดัชนีวัดความมั่งคั่งที่มียอดความมั่งคั่งสุทธิ ที่ 82.3 พันล้าน ตามหลัง เจฟฟ์ เบโซส เจ้าของและผู้ก่อตั้งร้านออนไลน์แอมะซอน พบว่า เขาได้สูญเสียเงินไปไม่ต่ำกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ ในชั่วพริบตา จากการที่ธุรกิจกว่า 100 บริษัท ที่มีธุรกิจชื่อดังเป็นที่รู้จักเป็นต้นว่า ยูนิลิเวอร์ โค๊ก ฮอนด้า บริษัทให้บริการมือถือวาไรซัน (Variason) นอร์ทเฟซ และไอศครีมเบนแอนด์เจอร์รีย์ส ต่างพร้อมใจแห่ถอนโฆษณาออกจากเฟซบุ๊ก ประท้วงที่เฟซบุ๊ก มีเนื้อหาความรุนแรงและการแสดงความเกลียดชัง
โดยบริษัทชื่อดังเหล่านี้สนับสนุนแคมเปญ #StopHate4Profit หรือ “#หยุดความเกลี่ยดชังเพื่อผลกำไร”ที่มีกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชน ที่มีองค์กร ลีกต่อต้านการใส่ร้าย (Anti-Defamation League)และ NAACP เป็นผู้ออกมารณรงค์
ทั้งนี้มีหลายบริษัทได้ถอนโฆษณาออกจากทวิตเตอร์ด้วย
บริษัทไอศครีมเบนแอนด์เจอร์รีย์ส ได้แถลงทางสาธารณะ เมื่อวันพุธ(24มิ.ย.) ว่า "เราได้หยุดลงโฆษณาทุกชิ้นที่จ่ายให้กับเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมในสหรัฐฯในการสนับสนุนโครงการ “#หยุดความเกลี่ยดชังเพื่อผลกำไร”ทางเฟซบุ๊กต้องแสดงให้ปรากฏอย่างชัดเจน และเปิดเผยในการหยุดการแพร่กระจายและส่งเสริมการกีดกันทางเชื้อชาติ และความเกลียดชังบนแพลตฟอร์มของตัวเอง”
ฟ็อกซ์นิวส์ รายงานว่า ผู้รณรงค์แคมเปญออกมากระตุ้นให้บริษัทธุรกิจชื่อดังในสหรัฐฯ ให้พร้อมใจถอนโฆษณาออกจากเฟซบุ๊ก เป็นเพราะเชื่อว่า เฟซบุ๊ก เป็นผู้สนับสนุนแนวคิดของ กลุ่มไวท์ซูพรีมาซีตส์ (supremacist)หรือกลุ่มชาตินิยมผิวขาว ที่เป็นต้นตอปัญหาการกีดกันสีผิวในสหรัฐฯ แต่เฟซบุ๊กยังไม่ลงมือกระทำมากพอที่จะหยุดการแพร่กระจายข้อความแสดงความเกลียดชังเหล่านี้
เดลีเมล สื่ออังกฤษชี้ว่า บริษัทโคคา-โคล่า ผู้ผลิตน้ำดำเจ้าใหญ่ของโลก เป็นบริษัทรายล่าสุดที่เข้าร่วมการบอยคอต ในวันศุกร์ (26มิ.ย.) ทั้งนี้ บริษัทโค๊ก แถลงว่า จะสั่งถอนโฆษณาทั่วโลกที่จ่ายเงินออกจากเฟซบุ๊กเป็นเวลา 30 วัน เป็นอย่างน้อย
โดยโคคา-โคล่า กล่าวว่าไม่มีที่สำหรับลัทธิความเกลียดชังทางเชื้อชาติบนโลกโซเชียลฯ ขณะที่บริษัท ยูนิลิเวอร์ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคในครัวเรือนที่ถือเป็นผู้ลงโฆษณาสินค้าเป็นอันดับ 1 ของโลก ออกมายืนยันว่า จะถอนโฆษณาออกจากเฟซบุ๊กไปจนสิ้นปีนี้
ซัคเคอร์เบอร์ ที่เห็นหุ้นบริษัทเฟซบุ๊กของตัวเอง 8.3% ในวันศุกร์ (26มิ.ย.) ลดไปถึง 56 พันล้านดอลลาร์ จากมูลค่าทางการตลาดของบริษัทตกอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างหนักต้องออกมาประกาศในวันเดียวกันนั้น ถึงนโยบายใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก โดยเขากล่าวผ่านไลฟ์สตรีมว่า ทางบริษัทจะเริ่มต้นจัดลำดับด้วยการติดป้ายเตือน “เนื้อหาอันตราย”จากนักการเมือง ที่ยังคงมีชื่อเสียงในแวดวงข่าว
เดลีเมล กล่าวว่าถึงแม้ว่า ซัคเคอร์เบิร์ก จะไม่เอ่ยว่าเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯโดนัลด์ ทรัมป์ ออกมา แต่นโยบายออกมาเพื่อตอบสนองต่อแคมเปญที่เรียกร้องให้เฟซบุ๊ก จัดการเพิ่มมาตรการเข้มงวดต่อ “ข้อมูลเท็จ”หรือ ข่าวปลอม ในโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการโพสต์เชิงยั่วยุของ ทรัมป์
แต่พบว่าทวิตเตอร์คู่แข่งได้ไปไกลกว่า โดยได้แปะป้ายคำเตือนต่อบางทวีตของประธานาธิบดีทรัมป์ เรียบร้อยแล้ว
ซัคเคอร์เบิร์ก กล่าวว่า “เราในไม่ช้าจะติดป้ายเตือนบางเนื้อหาที่เรายังคงปล่อยให้ขึ้นเพราะมันยังดูมีคุณค่าในเชิงข่าวอยู่ ดังนั้น ผู้คนจะสามารถรู้ว่ามันเป็นในกรณีนี้”
และเสริมต่อว่า “เราจะยังคงปล่อยให้ผู้คนสามารถแชร์เนื้อหา เพื่อที่จะได้ประณามมัน เหมือนกับที่เราได้ทำกับคอนเทนต์อื่นที่มีปัญหา เพราะนี่เป็นส่วนสำคัญของการที่เราจะถกเถียงถึงสิ่งใดบ้าง ที่จะเป็นที่ยอมรับในสังคมของเรา แต่เราจะเพิ่มคำเตือนเพื่อที่จะบอกให้ผู้คนรับรู้ว่าคอนเทนต์ที่พวกเขากำลังแชร์อยู่นั้นอาจละเมิดต่อนโยบายของเรา”
นอกจากนี้ ในไลฟสตรีม ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ยังประกาศการกวาดล้างการใช้ภาษาที่ส่อถึงความเกลียดชังในโฆษณา รวมไปถึงคำแนะนำต่อข้อมูลการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ด้านเรชาด โรบินสัน (Rashad Robinson) ประธานกลุ่มสีแห่งการเปลี่ยนแปลง (Color of Change)ออกมา แสดงความผิดหวังในการแถลงของ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก โดยชี้ว่า แถลงการณ์ของซัคเคอร์เบิร์กเป็นเวลา 11 นาทีนั้น ได้สูญเสียโอกาสที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
"ผมหวังว่าบริษัทที่ลงโฆษณาบนเฟซบุ๊ก จะได้ดู หากพวกเขาต้องการจ่ายเงินในที่พวกเขาได้แสดงถึงความยุติธรรมทางเชื้อชาติแล้ว ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ต้องทำ “#หยุดความเกลี่ยดชังเพื่อผลกำไร” ”โรบินสัน กล่าวผ่านทางทวิตเตอร์
เดลีเมล รายงานว่า ยูนิลิเวอร์ ได้กระโดดเข้าร่วมวงบอยคอยต้นสัปดาห์นี้ ที่ทำให้เฟซบุ๊กกระเทือนเกิดขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของ “จอร์จ ฟลอยด์” และทำให้บรรดานักเคลื่อนไหวในสหรัฐฯ ร่วมมือผลักดัน #StopHate4Profit ให้เกิดขึ้น
ยูนิลิเวอร์ มีงบการโฆษณาประจำปีทั่วโลกเกือบ 8 พันล้านดอลลาร์ และในวันพฤหัสบดี (25มิ.ย.) บริษัทผู้ให้บริการมือถือยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ วาไรซัน เข้าร่วมบอยคอต
ฟ็อกซ์นิวส์ สื่อสหรัฐฯ รายงานเมื่อวันที่ 27 มิ.ย ที่ผ่านมา ว่า มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและเจ้าของเฟซบุ๊ก ซึ่งในเวลานี้มีความร่ำรวยอยู่เป็นอันดับ 4 ตาม ดัชนีวัดความมั่งคั่งที่มียอดความมั่งคั่งสุทธิ ที่ 82.3 พันล้าน ตามหลัง เจฟฟ์ เบโซส เจ้าของและผู้ก่อตั้งร้านออนไลน์แอมะซอน พบว่า เขาได้สูญเสียเงินไปไม่ต่ำกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ ในชั่วพริบตา จากการที่ธุรกิจกว่า 100 บริษัท ที่มีธุรกิจชื่อดังเป็นที่รู้จักเป็นต้นว่า ยูนิลิเวอร์ โค๊ก ฮอนด้า บริษัทให้บริการมือถือวาไรซัน (Variason) นอร์ทเฟซ และไอศครีมเบนแอนด์เจอร์รีย์ส ต่างพร้อมใจแห่ถอนโฆษณาออกจากเฟซบุ๊ก ประท้วงที่เฟซบุ๊ก มีเนื้อหาความรุนแรงและการแสดงความเกลียดชัง
โดยบริษัทชื่อดังเหล่านี้สนับสนุนแคมเปญ #StopHate4Profit หรือ “#หยุดความเกลี่ยดชังเพื่อผลกำไร”ที่มีกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชน ที่มีองค์กร ลีกต่อต้านการใส่ร้าย (Anti-Defamation League)และ NAACP เป็นผู้ออกมารณรงค์
ทั้งนี้มีหลายบริษัทได้ถอนโฆษณาออกจากทวิตเตอร์ด้วย
บริษัทไอศครีมเบนแอนด์เจอร์รีย์ส ได้แถลงทางสาธารณะ เมื่อวันพุธ(24มิ.ย.) ว่า "เราได้หยุดลงโฆษณาทุกชิ้นที่จ่ายให้กับเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมในสหรัฐฯในการสนับสนุนโครงการ “#หยุดความเกลี่ยดชังเพื่อผลกำไร”ทางเฟซบุ๊กต้องแสดงให้ปรากฏอย่างชัดเจน และเปิดเผยในการหยุดการแพร่กระจายและส่งเสริมการกีดกันทางเชื้อชาติ และความเกลียดชังบนแพลตฟอร์มของตัวเอง”
ฟ็อกซ์นิวส์ รายงานว่า ผู้รณรงค์แคมเปญออกมากระตุ้นให้บริษัทธุรกิจชื่อดังในสหรัฐฯ ให้พร้อมใจถอนโฆษณาออกจากเฟซบุ๊ก เป็นเพราะเชื่อว่า เฟซบุ๊ก เป็นผู้สนับสนุนแนวคิดของ กลุ่มไวท์ซูพรีมาซีตส์ (supremacist)หรือกลุ่มชาตินิยมผิวขาว ที่เป็นต้นตอปัญหาการกีดกันสีผิวในสหรัฐฯ แต่เฟซบุ๊กยังไม่ลงมือกระทำมากพอที่จะหยุดการแพร่กระจายข้อความแสดงความเกลียดชังเหล่านี้
เดลีเมล สื่ออังกฤษชี้ว่า บริษัทโคคา-โคล่า ผู้ผลิตน้ำดำเจ้าใหญ่ของโลก เป็นบริษัทรายล่าสุดที่เข้าร่วมการบอยคอต ในวันศุกร์ (26มิ.ย.) ทั้งนี้ บริษัทโค๊ก แถลงว่า จะสั่งถอนโฆษณาทั่วโลกที่จ่ายเงินออกจากเฟซบุ๊กเป็นเวลา 30 วัน เป็นอย่างน้อย
โดยโคคา-โคล่า กล่าวว่าไม่มีที่สำหรับลัทธิความเกลียดชังทางเชื้อชาติบนโลกโซเชียลฯ ขณะที่บริษัท ยูนิลิเวอร์ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคในครัวเรือนที่ถือเป็นผู้ลงโฆษณาสินค้าเป็นอันดับ 1 ของโลก ออกมายืนยันว่า จะถอนโฆษณาออกจากเฟซบุ๊กไปจนสิ้นปีนี้
ซัคเคอร์เบอร์ ที่เห็นหุ้นบริษัทเฟซบุ๊กของตัวเอง 8.3% ในวันศุกร์ (26มิ.ย.) ลดไปถึง 56 พันล้านดอลลาร์ จากมูลค่าทางการตลาดของบริษัทตกอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างหนักต้องออกมาประกาศในวันเดียวกันนั้น ถึงนโยบายใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก โดยเขากล่าวผ่านไลฟ์สตรีมว่า ทางบริษัทจะเริ่มต้นจัดลำดับด้วยการติดป้ายเตือน “เนื้อหาอันตราย”จากนักการเมือง ที่ยังคงมีชื่อเสียงในแวดวงข่าว
เดลีเมล กล่าวว่าถึงแม้ว่า ซัคเคอร์เบิร์ก จะไม่เอ่ยว่าเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯโดนัลด์ ทรัมป์ ออกมา แต่นโยบายออกมาเพื่อตอบสนองต่อแคมเปญที่เรียกร้องให้เฟซบุ๊ก จัดการเพิ่มมาตรการเข้มงวดต่อ “ข้อมูลเท็จ”หรือ ข่าวปลอม ในโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการโพสต์เชิงยั่วยุของ ทรัมป์
แต่พบว่าทวิตเตอร์คู่แข่งได้ไปไกลกว่า โดยได้แปะป้ายคำเตือนต่อบางทวีตของประธานาธิบดีทรัมป์ เรียบร้อยแล้ว
ซัคเคอร์เบิร์ก กล่าวว่า “เราในไม่ช้าจะติดป้ายเตือนบางเนื้อหาที่เรายังคงปล่อยให้ขึ้นเพราะมันยังดูมีคุณค่าในเชิงข่าวอยู่ ดังนั้น ผู้คนจะสามารถรู้ว่ามันเป็นในกรณีนี้”
และเสริมต่อว่า “เราจะยังคงปล่อยให้ผู้คนสามารถแชร์เนื้อหา เพื่อที่จะได้ประณามมัน เหมือนกับที่เราได้ทำกับคอนเทนต์อื่นที่มีปัญหา เพราะนี่เป็นส่วนสำคัญของการที่เราจะถกเถียงถึงสิ่งใดบ้าง ที่จะเป็นที่ยอมรับในสังคมของเรา แต่เราจะเพิ่มคำเตือนเพื่อที่จะบอกให้ผู้คนรับรู้ว่าคอนเทนต์ที่พวกเขากำลังแชร์อยู่นั้นอาจละเมิดต่อนโยบายของเรา”
นอกจากนี้ ในไลฟสตรีม ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ยังประกาศการกวาดล้างการใช้ภาษาที่ส่อถึงความเกลียดชังในโฆษณา รวมไปถึงคำแนะนำต่อข้อมูลการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ด้านเรชาด โรบินสัน (Rashad Robinson) ประธานกลุ่มสีแห่งการเปลี่ยนแปลง (Color of Change)ออกมา แสดงความผิดหวังในการแถลงของ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก โดยชี้ว่า แถลงการณ์ของซัคเคอร์เบิร์กเป็นเวลา 11 นาทีนั้น ได้สูญเสียโอกาสที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
"ผมหวังว่าบริษัทที่ลงโฆษณาบนเฟซบุ๊ก จะได้ดู หากพวกเขาต้องการจ่ายเงินในที่พวกเขาได้แสดงถึงความยุติธรรมทางเชื้อชาติแล้ว ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ต้องทำ “#หยุดความเกลี่ยดชังเพื่อผลกำไร” ”โรบินสัน กล่าวผ่านทางทวิตเตอร์
เดลีเมล รายงานว่า ยูนิลิเวอร์ ได้กระโดดเข้าร่วมวงบอยคอยต้นสัปดาห์นี้ ที่ทำให้เฟซบุ๊กกระเทือนเกิดขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของ “จอร์จ ฟลอยด์” และทำให้บรรดานักเคลื่อนไหวในสหรัฐฯ ร่วมมือผลักดัน #StopHate4Profit ให้เกิดขึ้น
ยูนิลิเวอร์ มีงบการโฆษณาประจำปีทั่วโลกเกือบ 8 พันล้านดอลลาร์ และในวันพฤหัสบดี (25มิ.ย.) บริษัทผู้ให้บริการมือถือยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ วาไรซัน เข้าร่วมบอยคอต