ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิจัยดีเด่นของชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย
และ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
อาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
และ Actuarial Science and Risk Management
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข วุฒิสภา
จากการติดตามข่าวทำให้ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า การจัดซื้อยาของภาครัฐมีปัญหาได้ใน ๓ กิจกรรม ได้แก่
๑. การรับผลประโยชน์ในการจัดซื้อ
๒. การออกกฎเกณฑ์ในการจัดซื้อ
๓. การนำกฎเกณฑ์มาใช้ลงโทษผู้กระทำผิด
เชื่อหรือไม่ ทั้ง ๓ กรณี กิจกรรม เหล่านี้บางกรณีมีลักษณะแยกแยะผิดถูกได้ยากหมายความว่าในบางครั้งการกระทำบางอย่างที่ดูเหมือนผิดแต่เป็นการทำไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมก็มี หรือการกระทำบางอย่างเหมือนทำเพื่อแก้ปัญหา แต่ จริง ๆ แล้วเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องก็มี เช่น
๑. การรับผลประโยชน์ในการจัดซื้อ โดยทั่วไปผู้จัดซื้อขอของแถมหรือรับเงินทอนถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ทุจริต แต่ก็มีที่ทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เช่น ผู้จัดซื้อยาขอของแถมเป็นเครื่องมือใช้ตรวจโรคที่จำเป็นแต่ไม่สามารถจัดหาได้ด้วยวิธีการปกติ เป็นต้น การกระทำดังกล่าวไม่ควรถือว่ามีความผิดเท่ากันกับ การขอของแถมหรือเงินทอนไปใช้ส่วนตัว ใช่หรือไม่ หรือทำเพื่อประโยชน์ของคนไข้และประชาชน?
๒. การออกกฎเกณฑ์ในการจัดซื้อ ในอดีตเพื่อแก้ปัญหาเงินทอนยา สปสช. ได้ดำเนินนโยบายจัดซื้อยาเอง เหตุผลหนึ่งเพื่อป้องกันการทุจริตจากเงินทอนยา ปรากฎว่า การจัดซื้อยาของ สปสช มีเงินทอนนับพันล้านบาท โปรดอ่านบทความ ทวงลาภมิควรได้จาก สปสช. และNGO ตระกูล ส เพื่อมารักษาชีวิตประชาชนผู้ใช้สิทธิบัตรทอง
ยกตัวอย่างเช่น สปสช. จัดซื้อยาและได้เงิน 5 % จากองค์การเภสัชกรรม ในปี 53 ใช้เงินทำบุญผ้าป่าไป 255,000 บาท ดูงานมิตรภาพบำบัด มูลนิธิที่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นกรรมการ สามล้านบาท จัดหารถตู้สำหรับ สปสช. ใช้ 5,735,000 บาท เอามาตรวจสุขภาพพนักงาน สปสช. เอามาใช้อบรมภาษาอังกฤษพนักงาน สปสช. ให้ทุนพนักงาน สปสช. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เอามาให้พนักงาน สปสช. เล่นโยคะ ขอมาพิมพ์หนังสืองานศพ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ห้าแสนบาท ซึ่งคนดีมากอย่างท่านหากได้ทราบคงทุกข์ใจอย่างยิ่งที่มีการเอาเงินที่ควรนำไปรักษาประชาชนมาทำหนังสืองานศพให้
เงินทอนในลักษณะนี้ น่าจะถือเป็นการทุจริต เพราะเงิน kick back ในชื่อของเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ ให้ สปสช. และ NGO ตระกูล ส ไปขอเงินไปใช้ทำโครงการต่าง ๆ โดยที่หลายโครงการไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลดูแลชีวิตประชาชน
อย่างไรก็ตาม การจัดซื้อยาโดย สปสช. ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ตามนโยบายของ ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข (19 สิงหาคม 2558-10 กรกฎาคม 2562) และให้โรงพยาบาลราชวิถีเป็นผู้จัดซื้อแทน เพราะ สปสช. ไม่ได้เป็นหน่วยบริการ จึงจัดซื้อยาเองไม่ได้ แต่โรงพยาบาลเป็นหน่วยบริการสาธารณสุข จึงจัดซื้อยาเองได้
๓. การนำกฏเกณฑ์มาใช้ลงโทษผู้กระทำผิด จะเห็นได้ว่า การรับเงินทอนเหมือนกัน แต่วิธีการและวัตถุประสงค์มีหลากหลาย ซึ่งผู้บริหารมีโอกาสใช้กฏเกณฑ์มาเลือกลงโทษขั้นรุนแรงหรือแม้แต่กลั่นแกล้งผู้ที่ทำเพื่อส่วนรวมได้ โปรดอ่านได้จาก เมื่ออดีตแพทย์ชนบทถูกกลั่นแกล้งรังแกโดยแพทย์อ้างชนบท : สังคมต้องขจัดคนพาล อภิบาลคนดี และ ชมรมแพทย์อ้างชนบทต้องการฆ่าปิดปากคดีหลุมดำ 5% โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นหรือไม่?
ในประเด็นนี้ แพทย์ชนบท รุ่นใหญ่ เอง อย่าง นายแพทย์มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังทนไม่ไหว ถึงกับต้อง Facebook live วิจารณ์การกระทำของประธานชมรมแพทย์ชนบทและปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
แนวทางการแก้ปัญหาคือเราต้องหาทางแยกแยะและกำหนดกติกาให้ชัดเจนว่า ขาว เทา ดำ ในการจัดซื้อ (ยา) ของภาครัฐคืออะไรกันแน่ และต้องมีกฎกติกาที่ชัดเจน
ที่สำคัญที่สุดคือ การรับเงินใต้โต๊ะเข้ากระเป๋าผู้อำนวยการโรงพยาบาลโดยไม่ผ่านบัญชีโรงพยาบาลต้องหมดไปและต้องถูกลงโทษอย่างหนัก
และการใช้เงินเหล่านี้ที่ทำอยู่ โดยการทำลายชื่อเสียงคนที่เอาเงินที่เคยรับกันอยู่โต้โต๊ะเข้าโรงพยาบาลอย่างถูกกฎหมาย เป็นไปอย่างถูกต้อง มีใบเสร็จรับเงินให้บริษัทยาเอาไปหักค่าใช้จ่ายทางบัญชีและลดหย่อนภาษีได้นั้น ไม่ใช่สิ่งที่สมควรส่งเสริมหรือไม่?
กลายเป็นว่าคนที่ทำสุจริตจะกลายเป็นทุจริต และคนที่รับใต้โต๊ะกลับอยู่รอดปลอดภัย บ้านเมืองจะอยู่ได้อย่างไร และประชาชนจะเสียผลประโยชน์หรือไม่
ขอให้ช่วยกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังนี้
๑. ควรระดมสมองพิจารณาให้ชัดเจนว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ ถ้าทำได้ควรทำอย่างไร ทุกอย่างต้องโปร่งใส ขอตั้งข้อสังเกต ในระบบที่ไม่ลงตัวในปัจจุบัน การออกกฏที่ห้ามรับผลประโยชน์โดยสิ้นเชิงไม่ว่ากรณีใด ๆ แทนที่ผลประโยชน์จะตกกับประชาชน กลับจะตกไปสู่บริษัทยา ก็เป็นได้
๒. ควรพัฒนาระบบบริหารที่ลงตัว เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ เงินทอนยาเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลอีกต่อไป เช่น ควรให้กฎเกณฑ์ในการเบิกจ่ายต่างๆ ของทางราชการมีความสมเหตุสมผล และตรงกับหน้างานจริง มีระเบียบที่โปร่งใส แต่ไม่มีขั้นตอนที่ล่าช้ายาวนานและยุ่งยากจนเกินไป
๓. ลงโทษผู้ที่ชัดเจนแล้วว่าได้ทำการทุจริตไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ควรรีบจัดการเพื่อไม่ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบ
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่มีเอกสารหลุดออกมามากมายในโลกออนไลน์ว่านายแพทย์วีระพันธุ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นยาวนานหลายปีก่อนจะมาเป็นรองประธานบอร์ด สสส. คนที่สอง ในปัจจุบันมีข่าวว่าโอนเงินหลุมดำ 5% ที่ว่านี้เข้าบัญชีส่วนตัว และบัญชีเลขานุการส่วนตัวไปหลายร้อยล้านบาท มีบัตรสนเท่ห์ว่อนขนาดนี้ ทำไมจึงไม่จัดการ
นอกจากนี้ยังมีเงินที่โอนเข้าชมรมแพทย์ชนบทอีกด้วยคราวละห้าแสนก็มีดังที่แชร์กันว่อนในโลกออนไลน์ เอกสารเหล่านี้หากเป็นจริง ประเทศชาติจะเสียหายหรือไม่
แล้วคนร้องทุกข์บัตรสนเท่ห์ ไม่กล้าระบุชื่อ ทำไมจึงรับฟัง แต่ผมเขียนอย่างชัดเจน เพราะได้ยินมาเช่นนี้ และทำหน้าที่พลเมืองดีและนักวิชาการที่ต้องการให้เกิดความถูกต้อง ทำไมจะกลับนิ่งเฉยหรือไม่? ปลัด/รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขทำไมจึงไม่ตั้งกรรมการสอบ แล้วทำไมบัตรสนเท่ห์ไม่เป็นสาธารณะด้วยซ้ำไปที่กล่าวหานายแพทย์ชาญชัย จึงรีบตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง เงินร้อยล้านบาทถ้าเป็นเรื่องจริง ทำให้รัฐเสียหายหรือไม่ ประชาชนเสียหายหรือไม่
แล้วการที่นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย และนายอนุทิน ชาญวีระกุล ได้หรือไม่ได้ทำอะไร ตามที่สมควรทำ เป็นการจงใจเลือกปฏิบัติเพื่อกลั่นแกล้งนายแพทย์ชาญชัย ผอ. รพศ. ขอนแก่นหรือไม่
และนี่เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือไม่ แล้วนี่หากพวกผมจะยื่นบัตรสนเท่ห์นี้ไปยังรมว. สาธารณสุขและปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพราะได้ข่าวมาจากสาธารณะเช่นนี้ ต้องการให้ตรวจสอบทุจริต จะดำเนินการต่อไปให้เกิดความยุติธรรมหรือไม่
ในฐานะประชาชนที่กล้าเปิดหน้าตรวจสอบคุณธรรม ธรรมาภิบาล และความสุจริตของระบบสาธารณสุข ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงทั้งปลัดกระทรวงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ควรทำหน้าที่อย่างไร ต้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งถามท่านหรือไม่
เช่นเดียวกับใบเสร็จรับเงินจากบริษัทยาของโรงพยาบาลชุมแพ ทำไมปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงไม่ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เจ้าตัวก็ได้สารภาพไว้แล้วชัดเจนว่า “เท่าที่ตนจำรายละเอียดได้ กระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือเวียนแจ้งมาตรการห้ามไม่ให้หน่วยงานที่ทำการจัดซื้อทำการหารายได้ในลักษณะผลประโยชน์ต่างตอบแทนทุกประเภทจากบริษัทยาเข้ากองทุนสวัสดิการสถานพยาบาล ลงวันที่ 2 มี.ค. 2561 กว่าหนังสือดังกล่าวจะมาถึงโรงพยาบาลชุมแพ ที่เป็นโรงพยาบาลชุมชนก็มีความคาบเกี่ยวกันเรื่องเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์”
“เมื่อโรงพยาบาลชุมแพ ได้รับหนังสือจากกระทรวงสาธารณสุข ก็เร่งปฏิบัติตามมาตรการมากขึ้น โดยหยุดรับเงินบริจาคลักษณะดังกล่าวทันที ซึ่งเท่าที่จำได้เอกสารที่ปรากฎนั้น น่าจะเป็นใบสุดท้ายที่มีโอกาสเป็นไปได้จากความคาบเกี่ยวกันเรื่องเวลา ทั้งนี้ มั่นใจว่าหลังจากได้รับหนังสือจากกระทรวงสาธารณสุข ก็สั่งทุกฝ่ายของโรงพยาบาลห้ามรับเงินบริษัทยาอีก โดยพร้อมให้ตรวจสอบหากสงสัยก็ไปตรวจที่โรงพยาบาลชุมแพได้ และขณะนี้ผมก็ไม่ได้เป็นผู้อำนวยการที่โรงพยาบาลชุมแพแล้ว”
ดูรายละเอียดได้จาก https://www.hfocus.org/content/2020/06/19536 และขอตั้งคำถามว่าในกรณีนี้หมอชาญชัยจะใช้เหตุผลเดียวกันกับหมอเกรียงศักดิ์ได้หรือไม่ ใบเสร็จใบสุดท้ายในเวลาคาบเกี่ยว แล้วปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะเลือกปฏิบัติหรือไม่ ถ้าไม่มีใครกล้าส่ง พวกผมจะส่งเอกสารทั้งหมดพร้อมทำหนังสือร้องเรียนส่งไปยังกระทรวงสาธารณสุขและแจกจ่ายให้สื่อมวลชนด้วย
ข้อสุดท้าย ข้อ ๔. ต้องมีการ ประเมิน ศึกษา ปรับปรุงกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล มีประสิทธิภาพที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมาย อันได้แก่ สุขภาพที่ดีของคนไทย และป้องกันการนำเอา กฎหมายและกฎเกณฑ์ไปใช้เพื่อประโยชน์ทั้งเงินและอำนาจ ส่วนตน ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2560 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 77 ให้มีการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย (Regulatory impact assessment: RIA) ก่อนออกกฎหมายใดๆ กระทรวงที่มีหน่วยงานซ้ำซ้อนมากที่สุดกระทรวงหนึ่ง คือกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะหน่วยงานตระกูล ส. ทั้งหลายถือว่าเป็นหน่วยงานซ้ำซ้อนไร้ความจำเป็นมาก การมีหน่วยงานซ้ำซ้อนเป็นเหตุให้เกิดความซ้ำซ้อนของกฎหมายหรือไม่ หรือกฎหมายขัดแย้งกันเอง หรือกฎหมายไม่อาจจะใช้ไปได้ในทั้งหมดทุกหน่วยงาน ไม่อาจจะเหมาโหลได้ มีกฎหมายมากมายหลายฉบับ เช่น พรบ. สสส. ก็ยังไม่ได้ปรับแก้ พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ยังไม่ได้ปรับแก้ ทั้งๆ ที่มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนและธรรมาภิบาลมากมาย ที่ควรจะแก้ไข แต่แล้วก็เสียของไปกับการปฏิวัติที่ไม่เกิดการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งเลยแม้แต่น้อย อย่างน่าเสียดายยิ่ง
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิจัยดีเด่นของชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย
และ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
อาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
และ Actuarial Science and Risk Management
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข วุฒิสภา
จากการติดตามข่าวทำให้ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า การจัดซื้อยาของภาครัฐมีปัญหาได้ใน ๓ กิจกรรม ได้แก่
๑. การรับผลประโยชน์ในการจัดซื้อ
๒. การออกกฎเกณฑ์ในการจัดซื้อ
๓. การนำกฎเกณฑ์มาใช้ลงโทษผู้กระทำผิด
เชื่อหรือไม่ ทั้ง ๓ กรณี กิจกรรม เหล่านี้บางกรณีมีลักษณะแยกแยะผิดถูกได้ยากหมายความว่าในบางครั้งการกระทำบางอย่างที่ดูเหมือนผิดแต่เป็นการทำไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมก็มี หรือการกระทำบางอย่างเหมือนทำเพื่อแก้ปัญหา แต่ จริง ๆ แล้วเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องก็มี เช่น
๑. การรับผลประโยชน์ในการจัดซื้อ โดยทั่วไปผู้จัดซื้อขอของแถมหรือรับเงินทอนถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ทุจริต แต่ก็มีที่ทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เช่น ผู้จัดซื้อยาขอของแถมเป็นเครื่องมือใช้ตรวจโรคที่จำเป็นแต่ไม่สามารถจัดหาได้ด้วยวิธีการปกติ เป็นต้น การกระทำดังกล่าวไม่ควรถือว่ามีความผิดเท่ากันกับ การขอของแถมหรือเงินทอนไปใช้ส่วนตัว ใช่หรือไม่ หรือทำเพื่อประโยชน์ของคนไข้และประชาชน?
๒. การออกกฎเกณฑ์ในการจัดซื้อ ในอดีตเพื่อแก้ปัญหาเงินทอนยา สปสช. ได้ดำเนินนโยบายจัดซื้อยาเอง เหตุผลหนึ่งเพื่อป้องกันการทุจริตจากเงินทอนยา ปรากฎว่า การจัดซื้อยาของ สปสช มีเงินทอนนับพันล้านบาท โปรดอ่านบทความ ทวงลาภมิควรได้จาก สปสช. และNGO ตระกูล ส เพื่อมารักษาชีวิตประชาชนผู้ใช้สิทธิบัตรทอง
ยกตัวอย่างเช่น สปสช. จัดซื้อยาและได้เงิน 5 % จากองค์การเภสัชกรรม ในปี 53 ใช้เงินทำบุญผ้าป่าไป 255,000 บาท ดูงานมิตรภาพบำบัด มูลนิธิที่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นกรรมการ สามล้านบาท จัดหารถตู้สำหรับ สปสช. ใช้ 5,735,000 บาท เอามาตรวจสุขภาพพนักงาน สปสช. เอามาใช้อบรมภาษาอังกฤษพนักงาน สปสช. ให้ทุนพนักงาน สปสช. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เอามาให้พนักงาน สปสช. เล่นโยคะ ขอมาพิมพ์หนังสืองานศพ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ห้าแสนบาท ซึ่งคนดีมากอย่างท่านหากได้ทราบคงทุกข์ใจอย่างยิ่งที่มีการเอาเงินที่ควรนำไปรักษาประชาชนมาทำหนังสืองานศพให้
เงินทอนในลักษณะนี้ น่าจะถือเป็นการทุจริต เพราะเงิน kick back ในชื่อของเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ ให้ สปสช. และ NGO ตระกูล ส ไปขอเงินไปใช้ทำโครงการต่าง ๆ โดยที่หลายโครงการไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลดูแลชีวิตประชาชน
อย่างไรก็ตาม การจัดซื้อยาโดย สปสช. ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ตามนโยบายของ ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข (19 สิงหาคม 2558-10 กรกฎาคม 2562) และให้โรงพยาบาลราชวิถีเป็นผู้จัดซื้อแทน เพราะ สปสช. ไม่ได้เป็นหน่วยบริการ จึงจัดซื้อยาเองไม่ได้ แต่โรงพยาบาลเป็นหน่วยบริการสาธารณสุข จึงจัดซื้อยาเองได้
๓. การนำกฏเกณฑ์มาใช้ลงโทษผู้กระทำผิด จะเห็นได้ว่า การรับเงินทอนเหมือนกัน แต่วิธีการและวัตถุประสงค์มีหลากหลาย ซึ่งผู้บริหารมีโอกาสใช้กฏเกณฑ์มาเลือกลงโทษขั้นรุนแรงหรือแม้แต่กลั่นแกล้งผู้ที่ทำเพื่อส่วนรวมได้ โปรดอ่านได้จาก เมื่ออดีตแพทย์ชนบทถูกกลั่นแกล้งรังแกโดยแพทย์อ้างชนบท : สังคมต้องขจัดคนพาล อภิบาลคนดี และ ชมรมแพทย์อ้างชนบทต้องการฆ่าปิดปากคดีหลุมดำ 5% โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นหรือไม่?
ในประเด็นนี้ แพทย์ชนบท รุ่นใหญ่ เอง อย่าง นายแพทย์มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังทนไม่ไหว ถึงกับต้อง Facebook live วิจารณ์การกระทำของประธานชมรมแพทย์ชนบทและปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
เรื่องนี้ผมคิดว่า คนที่อยู่ในวงในจะทราบข่าวกันดีพอสมควร จะถูกหรือผิดอย่างไรก็แล้วแต่ หลายๆกรณีก็ยากสำหรับผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัด โดยเฉพาะโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลใหญ่ ๆ อย่างโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลนครราชสีมา มีความรับผิดชอบ มีปัญหาในเรื่องการใช้เงินงบประมาณได้ เพราะระบบของเราป้องกันคนไม่กี่คนโกง แต่ทำให้คนอีกกว่า 90% พลอยขัดข้อง อึดอัดไปด้วยในเรื่องของการทำงานไม่สะดวก ขอเรียนว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลแต่ละโรงนั้น ที่ผมเคยเป็นมา แม้จะไม่ใช่โรงพยาบาลใหญ่ ๆ อย่างคนบ้านนอก เวลาญาติตัวเองตาย บางทีไม่มีเงิน ค่าขนส่งศพก็ราคาสูง รถขนศพก็ไม่มาก และเมื่อญาติไม่มีเงินจ้างรพไปส่งศพ ทาง รพ.จะเก็บศพจนรถให้ญาติหาเงินมาเก็บศพนั้น ก็เป็นภาระทุกฝ่าย ดังนั้น เมื่อแจ้งทางผู้อำนวยการ ก็จะจัดการหาทางให้ สิ่งเหล่านี้มีหมด อย่าไปคิดว่า 30 บาทรักษาทุกโรค แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะการที่ญาติตายแล้วต้องส่งศพก็ไม่ได้รวมใน 30 บาทรักษาทุกโรค และการที่ญาติมานอนโรงพยาบาล ก็ต้องมีคนมาเฝ้า ต้องอยู่แบบไม่มีเงินไปซื้ออาหารกินก็มี คนที่ไปช่วยกันเพื่อซื้ออาหารให้กับญาติบางคนกิน ส่วนใหญ่ก็เป็นพยาบาลประจำวอร์ดช่วยกัน เผื่อจำเป็นก็รายงานไปยังผู้อำนวยการ ซึ่งก็ต้องไปหาเงินพิเศษเพื่อไปหาเงินซื้ออาหารให้คนไข้ อย่างง่าย ๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดป่วยไปโรงพยาบาล และท่านรู้หรือไม่ว่า มียาหลายชนิดเบิกไม่ได้ตามสิทธิของข้าราชการ ซึ่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะไปเรียกเก็บเงินเพิ่มก็ไม่ได้ ทางโรงพยาบาลก็ต้องเอาเงินของมูลนิธิมาเพื่อจ่ายแทน เพื่อรักษาไมตรีจิต อันนี้เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง และยังมีกรณีการสร้างตึก ราคาเป็นร้อยล้าน โดยการใช้ทุนที่เรี่ยไรมาจากชาวบ้านเพื่อสร้างตึก เพราะงบประมาณรัฐบาลไม่เพียงพอ เมื่อคนบริจาคเหล่านั้นได้ติดชื่อที่ตึกที่ร่วมสร้างขึ้นมา และเมื่อคนเหล่านั้นเจ็บป่วยและเสียชีวิต ทางโรงพยาบาลก็จะมีพวงหรีด และรับเป็นเจ้าภาพเพื่อแสดงถึงมุทิตาจิตในการร่วมกันสร้างตึก แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาจัดซื้อพวงหรีด จะให้ผู้อำนวยการเอาเงินตัวเองจ่าย ถ้าแบบนี้ผมว่าอยู่ไม่เกิน 7 วัน สิ่งเหล่านี้ จึงเป็นความจำเป็นในการใช้เงินเป็นกรณีพิเศษ แม้แต่ผู้ตรวจราชการ นิเทศงาน ตรวจโรงพยาบาล หรือแม้แต่รัฐมนตรีไปเยี่ยมโรงพยาบาล ก็ต้องเลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำ ถามว่าคนเหล่านี้เคยเอาเงินไปจ่ายให้โรงพยาบาลในการเลี้ยงรับหรือไม่ ก็ไม่มี นี่คือความจริง “เราพยายามทำให้เห็นว่า เราบริสุทธิ์ใจ ไม่มีการโกง แต่เราไม่ยอมรับความจริง ไอ้คนที่โกงไม่เดือดร้อน ไอ้คนโกง ยิ่งโกงมากยิ่งผ่านฉลุย นี่เป็นสังคมที่น่าเกลียดที่สุดในสังคมไทย คนดีจะถูกทำลายไปเรื่อย ๆ ผมไม่ได้มีปัญหาหรือชอบพอกับคุณหมอชาญชัย ผมไม่รู้จักด้วยซ้ำไป แต่ผมเห็นคุณหมอชาญชัย มายกมือไหว้ ใส่เสื้อสีเขียว ไหว้รัฐมนตรีอนุทิน น้ำตาคลอ ผมสะท้อนใจ คน ๆ นี้ทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวม ไม่เคยนึกถึงตัวเองเท่าที่ผมทราบ แต่ไม่ได้รู้จักส่วนตัว ส่วน นพ.เกรียงศักดิ์ ผมก็สนิทสนมร่วมมา 40 ปีแล้ว ผมไม่ได้อคติกับคนหนึ่งคนใด แต่การที่คุณหมอชาญชัยถูกกระทำ ขาดฐานความคิดที่จะประกอบกุศล ผมอาจมีข้อมูลไม่เพียงพอ แต่ผมเข้าใจหลายครั้งเกิดกับข้าราชการที่มีความซื่อสัตย์ และไม่คิดจะโกง หรือเอาผลประโยชน์เป็นส่วนตัว” บางโรงพยาบาลผู้อำนวยการไปเยี่ยมพื้นที่ กลับมาค่ำ ก็ให้รถโรงพยาบาลไปส่งบ้านก่อนและพรุ่งนี้ให้มารับ ค่อยเอารถตัวเองกลับบ้าน ตรงนี้ถูกร้องเรียนว่าใช้รถหลวง ถือว่าผิดระเบียบ แต่ไม่เคยคิดเลยว่า เขาออกไปทำงานนอกพื้นที่กลับมาเย็นค่ำ เป็นการเสียสละ และไม่ได้เบิกเบี้ยเลี้ยงด้วยซ้ำไป และเมื่อผ่านบ้านพักตัวเองก็ให้แวะก่อน ลักษณะนี้ผิดหรือ โดยกฎหมาย ระเบียบอาจไม่ถูกต้อง แต่ด้วยเจตนา ด้วยกุศลจิตไม่คิดว่าผิด และการถูกใส่ร้ายโดยเอากฎหมายเป็นตัวตั้ง เพื่อกลั่นแกล้งคน ๆ นั้น ให้เกิดขึ้นบางสิ่งบางอย่าง เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง หลายเรื่องไม่ถูกต้อง “คนเหล่านี้ตายไปตกนรกอย่างเดียว ผมเชื่ออย่างนั้น ผมไม่รู้ว่าขณะนี้การสอบสวนคุณหมอชาญชัยไปถึงไหน แต่ที่ผมได้ข่าวก็ดูแล้วไม่ชอบมาพากล ก็อยากให้ผู้บริหารในกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเรื่องของเนื้อหาสาระของการตั้งข้อหาตรงนี้ให้ดี และการย้ายข้าราชการที่ทำงานเป็นเวลาช้านาน ถูกย้ายมากระทรวง ชื่อเสียงหายไปหมด ถ้าสมมติสอบแล้วไม่มีอะไร แต่ตัวเขาเอง ลูกที่ไปโรงเรียน เขาขายหน้า ไม่สามารถชดใช้ได้ ขอให้เตรียมตัวเตรียมใจกันด้วย ไม่งั้นก็ต้องรอชาติหน้าหรือ แล้วชาตินี้จะพัฒนาอย่างไร” |
แนวทางการแก้ปัญหาคือเราต้องหาทางแยกแยะและกำหนดกติกาให้ชัดเจนว่า ขาว เทา ดำ ในการจัดซื้อ (ยา) ของภาครัฐคืออะไรกันแน่ และต้องมีกฎกติกาที่ชัดเจน
ที่สำคัญที่สุดคือ การรับเงินใต้โต๊ะเข้ากระเป๋าผู้อำนวยการโรงพยาบาลโดยไม่ผ่านบัญชีโรงพยาบาลต้องหมดไปและต้องถูกลงโทษอย่างหนัก
และการใช้เงินเหล่านี้ที่ทำอยู่ โดยการทำลายชื่อเสียงคนที่เอาเงินที่เคยรับกันอยู่โต้โต๊ะเข้าโรงพยาบาลอย่างถูกกฎหมาย เป็นไปอย่างถูกต้อง มีใบเสร็จรับเงินให้บริษัทยาเอาไปหักค่าใช้จ่ายทางบัญชีและลดหย่อนภาษีได้นั้น ไม่ใช่สิ่งที่สมควรส่งเสริมหรือไม่?
กลายเป็นว่าคนที่ทำสุจริตจะกลายเป็นทุจริต และคนที่รับใต้โต๊ะกลับอยู่รอดปลอดภัย บ้านเมืองจะอยู่ได้อย่างไร และประชาชนจะเสียผลประโยชน์หรือไม่
ขอให้ช่วยกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังนี้
๑. ควรระดมสมองพิจารณาให้ชัดเจนว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ ถ้าทำได้ควรทำอย่างไร ทุกอย่างต้องโปร่งใส ขอตั้งข้อสังเกต ในระบบที่ไม่ลงตัวในปัจจุบัน การออกกฏที่ห้ามรับผลประโยชน์โดยสิ้นเชิงไม่ว่ากรณีใด ๆ แทนที่ผลประโยชน์จะตกกับประชาชน กลับจะตกไปสู่บริษัทยา ก็เป็นได้
๒. ควรพัฒนาระบบบริหารที่ลงตัว เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ เงินทอนยาเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลอีกต่อไป เช่น ควรให้กฎเกณฑ์ในการเบิกจ่ายต่างๆ ของทางราชการมีความสมเหตุสมผล และตรงกับหน้างานจริง มีระเบียบที่โปร่งใส แต่ไม่มีขั้นตอนที่ล่าช้ายาวนานและยุ่งยากจนเกินไป
๓. ลงโทษผู้ที่ชัดเจนแล้วว่าได้ทำการทุจริตไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ควรรีบจัดการเพื่อไม่ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบ
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่มีเอกสารหลุดออกมามากมายในโลกออนไลน์ว่านายแพทย์วีระพันธุ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นยาวนานหลายปีก่อนจะมาเป็นรองประธานบอร์ด สสส. คนที่สอง ในปัจจุบันมีข่าวว่าโอนเงินหลุมดำ 5% ที่ว่านี้เข้าบัญชีส่วนตัว และบัญชีเลขานุการส่วนตัวไปหลายร้อยล้านบาท มีบัตรสนเท่ห์ว่อนขนาดนี้ ทำไมจึงไม่จัดการ
นอกจากนี้ยังมีเงินที่โอนเข้าชมรมแพทย์ชนบทอีกด้วยคราวละห้าแสนก็มีดังที่แชร์กันว่อนในโลกออนไลน์ เอกสารเหล่านี้หากเป็นจริง ประเทศชาติจะเสียหายหรือไม่
แล้วคนร้องทุกข์บัตรสนเท่ห์ ไม่กล้าระบุชื่อ ทำไมจึงรับฟัง แต่ผมเขียนอย่างชัดเจน เพราะได้ยินมาเช่นนี้ และทำหน้าที่พลเมืองดีและนักวิชาการที่ต้องการให้เกิดความถูกต้อง ทำไมจะกลับนิ่งเฉยหรือไม่? ปลัด/รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขทำไมจึงไม่ตั้งกรรมการสอบ แล้วทำไมบัตรสนเท่ห์ไม่เป็นสาธารณะด้วยซ้ำไปที่กล่าวหานายแพทย์ชาญชัย จึงรีบตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง เงินร้อยล้านบาทถ้าเป็นเรื่องจริง ทำให้รัฐเสียหายหรือไม่ ประชาชนเสียหายหรือไม่
แล้วการที่นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย และนายอนุทิน ชาญวีระกุล ได้หรือไม่ได้ทำอะไร ตามที่สมควรทำ เป็นการจงใจเลือกปฏิบัติเพื่อกลั่นแกล้งนายแพทย์ชาญชัย ผอ. รพศ. ขอนแก่นหรือไม่
และนี่เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือไม่ แล้วนี่หากพวกผมจะยื่นบัตรสนเท่ห์นี้ไปยังรมว. สาธารณสุขและปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพราะได้ข่าวมาจากสาธารณะเช่นนี้ ต้องการให้ตรวจสอบทุจริต จะดำเนินการต่อไปให้เกิดความยุติธรรมหรือไม่
ในฐานะประชาชนที่กล้าเปิดหน้าตรวจสอบคุณธรรม ธรรมาภิบาล และความสุจริตของระบบสาธารณสุข ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงทั้งปลัดกระทรวงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ควรทำหน้าที่อย่างไร ต้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งถามท่านหรือไม่
เช่นเดียวกับใบเสร็จรับเงินจากบริษัทยาของโรงพยาบาลชุมแพ ทำไมปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงไม่ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เจ้าตัวก็ได้สารภาพไว้แล้วชัดเจนว่า “เท่าที่ตนจำรายละเอียดได้ กระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือเวียนแจ้งมาตรการห้ามไม่ให้หน่วยงานที่ทำการจัดซื้อทำการหารายได้ในลักษณะผลประโยชน์ต่างตอบแทนทุกประเภทจากบริษัทยาเข้ากองทุนสวัสดิการสถานพยาบาล ลงวันที่ 2 มี.ค. 2561 กว่าหนังสือดังกล่าวจะมาถึงโรงพยาบาลชุมแพ ที่เป็นโรงพยาบาลชุมชนก็มีความคาบเกี่ยวกันเรื่องเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์”
“เมื่อโรงพยาบาลชุมแพ ได้รับหนังสือจากกระทรวงสาธารณสุข ก็เร่งปฏิบัติตามมาตรการมากขึ้น โดยหยุดรับเงินบริจาคลักษณะดังกล่าวทันที ซึ่งเท่าที่จำได้เอกสารที่ปรากฎนั้น น่าจะเป็นใบสุดท้ายที่มีโอกาสเป็นไปได้จากความคาบเกี่ยวกันเรื่องเวลา ทั้งนี้ มั่นใจว่าหลังจากได้รับหนังสือจากกระทรวงสาธารณสุข ก็สั่งทุกฝ่ายของโรงพยาบาลห้ามรับเงินบริษัทยาอีก โดยพร้อมให้ตรวจสอบหากสงสัยก็ไปตรวจที่โรงพยาบาลชุมแพได้ และขณะนี้ผมก็ไม่ได้เป็นผู้อำนวยการที่โรงพยาบาลชุมแพแล้ว”
ดูรายละเอียดได้จาก https://www.hfocus.org/content/2020/06/19536 และขอตั้งคำถามว่าในกรณีนี้หมอชาญชัยจะใช้เหตุผลเดียวกันกับหมอเกรียงศักดิ์ได้หรือไม่ ใบเสร็จใบสุดท้ายในเวลาคาบเกี่ยว แล้วปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะเลือกปฏิบัติหรือไม่ ถ้าไม่มีใครกล้าส่ง พวกผมจะส่งเอกสารทั้งหมดพร้อมทำหนังสือร้องเรียนส่งไปยังกระทรวงสาธารณสุขและแจกจ่ายให้สื่อมวลชนด้วย
ข้อสุดท้าย ข้อ ๔. ต้องมีการ ประเมิน ศึกษา ปรับปรุงกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล มีประสิทธิภาพที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมาย อันได้แก่ สุขภาพที่ดีของคนไทย และป้องกันการนำเอา กฎหมายและกฎเกณฑ์ไปใช้เพื่อประโยชน์ทั้งเงินและอำนาจ ส่วนตน ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2560 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 77 ให้มีการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย (Regulatory impact assessment: RIA) ก่อนออกกฎหมายใดๆ กระทรวงที่มีหน่วยงานซ้ำซ้อนมากที่สุดกระทรวงหนึ่ง คือกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะหน่วยงานตระกูล ส. ทั้งหลายถือว่าเป็นหน่วยงานซ้ำซ้อนไร้ความจำเป็นมาก การมีหน่วยงานซ้ำซ้อนเป็นเหตุให้เกิดความซ้ำซ้อนของกฎหมายหรือไม่ หรือกฎหมายขัดแย้งกันเอง หรือกฎหมายไม่อาจจะใช้ไปได้ในทั้งหมดทุกหน่วยงาน ไม่อาจจะเหมาโหลได้ มีกฎหมายมากมายหลายฉบับ เช่น พรบ. สสส. ก็ยังไม่ได้ปรับแก้ พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ยังไม่ได้ปรับแก้ ทั้งๆ ที่มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนและธรรมาภิบาลมากมาย ที่ควรจะแก้ไข แต่แล้วก็เสียของไปกับการปฏิวัติที่ไม่เกิดการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งเลยแม้แต่น้อย อย่างน่าเสียดายยิ่ง