ผู้จัดการรายวัน360 - "กุลิศ" คลอด 7 เงื่อนไขเข้มคัดกรองโครงการใช้งบกองทุนอนุรักษ์ฯ หลังยื่นสูงถึง 5,155 โครงการวงเงิน 62,616 ล้านบาท สูงกว่างบที่มีถึง 11 เท่า มั่นใจโปร่งใสกันข้อครหาทุกขั้นตอน ก่อนเสนอบอร์ดกองทุนอนุรักษ์ฯที่มี "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์"อนุมัติสิ้นมิ.ย.นี้
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานว่า ที่ประชุมได้สรุปยอดการยื่นข้อเสนอโครงการงบประมาณปี 2563 ทั้งหมด 5,155 โครงการวงเงิน 62,616 ล้านบาทขณะที่มีวงเงินสนับสนุนอยู่ที่ 5,600 ล้านบาทหรือสูงกว่างบ 11 เท่าดังนั้นจึงได้วาง 7 หลักเกณฑ์เงื่อนไขเพื่อเข้มงวดในการกลั่นกรองโครงการก่อนที่จะเสนอไปยังคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาอนุมัติภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้
" คณะกลั่นกรองฯจะเร่งคัดเลือกโครงการให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้วจะแยกเป็น 2 ตะกร้า ตะกร้าแรกจะเป็นโครงการที่ผ่านเงื่อนไขและตะกร้าที่ 2 กลุ่มที่ไม่ผ่านเราไม่มีอำนาจที่จะไปตีตกโครงการไหนเพราะต้องเสนอบอร์ดใหญ่พิจารณาเป็นสำคัญ ปีนี้ยอมรับว่าสาหัสเพราะโครงการที่เสนอเข้ามาเกิน 11 เท่าขณะเดียวกันสังคมก็จับตาใกล้ชิดจึงต้องทำเงื่อนไขให้รัดกุมและจะรายงานให้ทราบเป็นระยะ"นายกุลิศกล่าว
สำหรับเงื่อนไข 7 ข้อที่จะประกอบการกลั่นกรองโครงการได้แก่ 1.เน้นโครงการที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 โดยมีกิจกรรม/ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่แสดงความสำเร็จของโครงการ/กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับผลประโยชน์ชัดเจน รวมถึงแสดงถึงจุดสิ้นสุดของโครงการ มีหน่วยงานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูแลโครงการต่อ 2.เน้นโครงการที่มีข้อมูลทางเทคนิคของอุปกรณ์มาประกอบการพิจารณา โดยแสดงผลประหยัดที่ถูกต้อง มีระยะเวลาการคืนทุน มีข้อมูลความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการชัดเจน
3.เน้นโครงการที่ผู้ขอยื่นรับการสนับสนุนไม่เข้าข่ายเป็นผู้ขอแทนกันในลักษณะที่ไม่ใช่เจ้าของหน่วยงานในสังกัดเดียวกัน 4.กรณีที่เป็นโครงการต่อเนื่อง ต้องมีรายงานแสดงผลการเบิกจ่ายของปีทีผ่านมา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และมีรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการในปีที่ผ่านมาไม่
น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยแสดงข้อมูลดังกล่าว ณ วันที่ยื่นข้อเสนอโครงการ 5.ไม่สนับสนุนโครงการที่ขอดำเนินการในลักษณะเดียวกับโครงการสาธิตริเริ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ หรือมีการดำเนินการมาก่อนหน้าแล้ว
6.กรณีเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนผลผลิตภาคการเกษตรจะต้องสามารถวัดผลได้ ว่ามีการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร 7.ทรัพย์สินที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ ถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องบำรุงรักษาต่อไป
สำหรับโครงการที่เปิดให้ยื่นจะแบ่งเป็นกลุ่มแผนเพิ่มประสิทธิภาพ และแผนพลังงานทดแทน และผู้ที่ยื่นจะประกอบด้วย 6 กลุ่มงานเช่น กลุ่มงานสาธิตและต้นแบบมีกรอบวงเงินสนับสนุน 900 ล้านบาทแต่ยื่นเข้ามาถึง 2,2858 ล้านบาทเกินกว่ากรอบวงเงินถึง 4,920% กลุ่มงานศึกษา ค้นคว้าวิจัยฯ กรอบวงเงิน 400 ล้านบาท วงเงินที่ยื่นขอ 4,999 ล้านบาทเกินกว่าวงเงินถึง 2,299% กลุ่มงานสนับสนุนลดต้นทุนยกระดับคุณภาพชีวิตเพิ่มเศรษฐกิจฐานรากกรอบวงเงิน 3,600 ล้านบาท วงเงินที่ยื่นขอ 32,947 ล้านบาทเกินกว่ากรอบวงเงิน 1,529% เป็นต้น
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานว่า ที่ประชุมได้สรุปยอดการยื่นข้อเสนอโครงการงบประมาณปี 2563 ทั้งหมด 5,155 โครงการวงเงิน 62,616 ล้านบาทขณะที่มีวงเงินสนับสนุนอยู่ที่ 5,600 ล้านบาทหรือสูงกว่างบ 11 เท่าดังนั้นจึงได้วาง 7 หลักเกณฑ์เงื่อนไขเพื่อเข้มงวดในการกลั่นกรองโครงการก่อนที่จะเสนอไปยังคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาอนุมัติภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้
" คณะกลั่นกรองฯจะเร่งคัดเลือกโครงการให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้วจะแยกเป็น 2 ตะกร้า ตะกร้าแรกจะเป็นโครงการที่ผ่านเงื่อนไขและตะกร้าที่ 2 กลุ่มที่ไม่ผ่านเราไม่มีอำนาจที่จะไปตีตกโครงการไหนเพราะต้องเสนอบอร์ดใหญ่พิจารณาเป็นสำคัญ ปีนี้ยอมรับว่าสาหัสเพราะโครงการที่เสนอเข้ามาเกิน 11 เท่าขณะเดียวกันสังคมก็จับตาใกล้ชิดจึงต้องทำเงื่อนไขให้รัดกุมและจะรายงานให้ทราบเป็นระยะ"นายกุลิศกล่าว
สำหรับเงื่อนไข 7 ข้อที่จะประกอบการกลั่นกรองโครงการได้แก่ 1.เน้นโครงการที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 โดยมีกิจกรรม/ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่แสดงความสำเร็จของโครงการ/กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับผลประโยชน์ชัดเจน รวมถึงแสดงถึงจุดสิ้นสุดของโครงการ มีหน่วยงานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูแลโครงการต่อ 2.เน้นโครงการที่มีข้อมูลทางเทคนิคของอุปกรณ์มาประกอบการพิจารณา โดยแสดงผลประหยัดที่ถูกต้อง มีระยะเวลาการคืนทุน มีข้อมูลความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการชัดเจน
3.เน้นโครงการที่ผู้ขอยื่นรับการสนับสนุนไม่เข้าข่ายเป็นผู้ขอแทนกันในลักษณะที่ไม่ใช่เจ้าของหน่วยงานในสังกัดเดียวกัน 4.กรณีที่เป็นโครงการต่อเนื่อง ต้องมีรายงานแสดงผลการเบิกจ่ายของปีทีผ่านมา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และมีรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการในปีที่ผ่านมาไม่
น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยแสดงข้อมูลดังกล่าว ณ วันที่ยื่นข้อเสนอโครงการ 5.ไม่สนับสนุนโครงการที่ขอดำเนินการในลักษณะเดียวกับโครงการสาธิตริเริ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ หรือมีการดำเนินการมาก่อนหน้าแล้ว
6.กรณีเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนผลผลิตภาคการเกษตรจะต้องสามารถวัดผลได้ ว่ามีการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร 7.ทรัพย์สินที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ ถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องบำรุงรักษาต่อไป
สำหรับโครงการที่เปิดให้ยื่นจะแบ่งเป็นกลุ่มแผนเพิ่มประสิทธิภาพ และแผนพลังงานทดแทน และผู้ที่ยื่นจะประกอบด้วย 6 กลุ่มงานเช่น กลุ่มงานสาธิตและต้นแบบมีกรอบวงเงินสนับสนุน 900 ล้านบาทแต่ยื่นเข้ามาถึง 2,2858 ล้านบาทเกินกว่ากรอบวงเงินถึง 4,920% กลุ่มงานศึกษา ค้นคว้าวิจัยฯ กรอบวงเงิน 400 ล้านบาท วงเงินที่ยื่นขอ 4,999 ล้านบาทเกินกว่าวงเงินถึง 2,299% กลุ่มงานสนับสนุนลดต้นทุนยกระดับคุณภาพชีวิตเพิ่มเศรษฐกิจฐานรากกรอบวงเงิน 3,600 ล้านบาท วงเงินที่ยื่นขอ 32,947 ล้านบาทเกินกว่ากรอบวงเงิน 1,529% เป็นต้น