ผู้จัดการรายวัน360-“ศักดิ์สยาม”ประชุม“รถไฟไทย-จีน”ผ่านออนไลน์ ปิดดีลบรรลุข้อตกลงสัญญา 2.3 เงื่อนไขซื้อระบบรถไฟความเร็วสูงจีน วงเงิน 5.06 หมื่นล้านแล้ว เตรียมชง ครม. อนุมัติ พร้อมเชิญนายกฯ เป็นประธานเซ็นสัญญาภายในส.ค.-ก.ย.นี้ ยันจ่ายเป็นดอลลาร์ 80% หรือ 4.05 หมื่นล้าน ยึดเรท 30.8 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ ทยอยจ่ายเป็นงวดปี 63-68 ส่วนเฟส 2 เชื่อมหนองคาย คาดเสร็จปี 68
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ผ่านระบบ Video Conference กับนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน วานนี้ (25 พ.ค.) ว่า ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายได้ข้อยุติร่วมกันในส่วนของร่างสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดยทั้งสองฝ่ายจะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนภายในของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สามารถลงนามในสัญญา 2.3 ได้โดยเร็ว
โดยขั้นตอนหลังจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะส่งร่างสัญญาต่ออัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา คาดว่าจะสรุปร่างสัญญาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติกรอบวงเงินและเงื่อนไข จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน และจะลงนามในสัญญานี้ได้ภายในเดือนต.ค.2563 หรือเร่งรัดให้เร็วที่สุด อาจจะภายในเดือนส.ค.–ก.ย.2563 โดยจะเชิญพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมเป็นประธาน จัดขึ้นที่ไทย เพื่อให้สามารถเริ่มงานภายในปี 2563 เนื่องจากโครงการล่าช้ามานานจากที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้ ข้อสรุปเงื่อนไขสัญญา 2.3 ในเรื่องสกุลเงิน วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท จะชำระเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ 80% จำนวน 1,313,895,273 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 40,506.8 ล้านบาท เป็นสกุลบาท 20% หรือ 10,126.5 ล้านบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดในช่วงวันที่ 25 เม.ย.2562-วันที่ 30 พ.ย.2562 ที่อัตรา 30.82955 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในขณะนี้ เนื่องจากการชำระเงินเรื่องระบบสัญญา 2.3 นั้น จะชำระเป็นงวดๆ มีการดำเนินโครงการ 5 ปี (2563-2568) ซึ่งขณะนี้มีเรื่องโรคไวรัสโควิด-19 แต่หากสามารถแก้ปัญหาการแพร่ระบาดได้ จะทำให้ค่าเงินและอัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งในการประชุม ได้กำหนดงวดงานและชำระค่างาน จะต้องพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย
“ก่อนหน้านี้ สัญญา 2.3 กำหนดมูลค่าไว้ที่ 53,633 บ้านบาท แต่ไทย-จีนได้มีการเจรจาร่วมกัน และได้ปรับละ ค่าระบบราง ระบบไฟฟ้าเครื่องกล ค่าตัวรถไฟฟ้า และค่าฝึกอบรมพนักงาน ทำให้สามารถปรับลดวงเงินลงได้กว่า 3,000 ล้านบาท”
ส่วนการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย–จีน ครั้งที่ 29 ฝ่ายไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่ประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาไม่เกินเดือนต.ค.2563
สำหรับโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย) ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้างงานโยธาเมื่อปี 2561 แล้วเสร็จในปี 2566 (ดำเนินการ 5 ปี) ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 211,757 ล้านบาท เริ่มดำเนินการในปี 2563 -2568 (ระยะเวลา 5ปี) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะทำให้การเชื่อมต่อขนส่งทางราง จากกรุงเทพฯ-หนองคาย และเชื่อมไปยัง สปป.ลาว และประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกันหลายร้อยล้านคน มีความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งสินค้าและการเดินทางด้วยค่าบริการที่ต่ำ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ผ่านระบบ Video Conference กับนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน วานนี้ (25 พ.ค.) ว่า ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่ายได้ข้อยุติร่วมกันในส่วนของร่างสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดยทั้งสองฝ่ายจะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนภายในของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สามารถลงนามในสัญญา 2.3 ได้โดยเร็ว
โดยขั้นตอนหลังจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะส่งร่างสัญญาต่ออัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา คาดว่าจะสรุปร่างสัญญาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติกรอบวงเงินและเงื่อนไข จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน และจะลงนามในสัญญานี้ได้ภายในเดือนต.ค.2563 หรือเร่งรัดให้เร็วที่สุด อาจจะภายในเดือนส.ค.–ก.ย.2563 โดยจะเชิญพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมเป็นประธาน จัดขึ้นที่ไทย เพื่อให้สามารถเริ่มงานภายในปี 2563 เนื่องจากโครงการล่าช้ามานานจากที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้ ข้อสรุปเงื่อนไขสัญญา 2.3 ในเรื่องสกุลเงิน วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท จะชำระเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ 80% จำนวน 1,313,895,273 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 40,506.8 ล้านบาท เป็นสกุลบาท 20% หรือ 10,126.5 ล้านบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดในช่วงวันที่ 25 เม.ย.2562-วันที่ 30 พ.ย.2562 ที่อัตรา 30.82955 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในขณะนี้ เนื่องจากการชำระเงินเรื่องระบบสัญญา 2.3 นั้น จะชำระเป็นงวดๆ มีการดำเนินโครงการ 5 ปี (2563-2568) ซึ่งขณะนี้มีเรื่องโรคไวรัสโควิด-19 แต่หากสามารถแก้ปัญหาการแพร่ระบาดได้ จะทำให้ค่าเงินและอัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งในการประชุม ได้กำหนดงวดงานและชำระค่างาน จะต้องพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย
“ก่อนหน้านี้ สัญญา 2.3 กำหนดมูลค่าไว้ที่ 53,633 บ้านบาท แต่ไทย-จีนได้มีการเจรจาร่วมกัน และได้ปรับละ ค่าระบบราง ระบบไฟฟ้าเครื่องกล ค่าตัวรถไฟฟ้า และค่าฝึกอบรมพนักงาน ทำให้สามารถปรับลดวงเงินลงได้กว่า 3,000 ล้านบาท”
ส่วนการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย–จีน ครั้งที่ 29 ฝ่ายไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่ประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาไม่เกินเดือนต.ค.2563
สำหรับโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย) ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้างงานโยธาเมื่อปี 2561 แล้วเสร็จในปี 2566 (ดำเนินการ 5 ปี) ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 211,757 ล้านบาท เริ่มดำเนินการในปี 2563 -2568 (ระยะเวลา 5ปี) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะทำให้การเชื่อมต่อขนส่งทางราง จากกรุงเทพฯ-หนองคาย และเชื่อมไปยัง สปป.ลาว และประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกันหลายร้อยล้านคน มีความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งสินค้าและการเดินทางด้วยค่าบริการที่ต่ำ