นายกฯนั่งหัวโต๊ะ กพอ.ไฟเขียวร่างสัญญาพัฒนา “สนามบินอู่ตะเภา” มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท เตรียมชง ครม.เคาะ ก่อนนัดลงนาม “กลุ่มบีบีเอส” ภายใน มิ.ย.นี้ ปักหมุดเสร็จปี 66 พร้อมเร่งประสานบริหารงานให้คู่ขนานกับโครงการรถไฟความเร็วสูง
วานนี้ (21 พ.ค.) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กพอ.ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุม กพอ.ได้อนุมัติเห็นชอบผลร่างสัญญาร่วมทุนลงทุน ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาแล้วเสร็จของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ถือหุ้น 35% กับ บมจ.การบินกรุงเทพ(BA) ถือหุ้น 45% และ บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) ถือหุ้น 20%) เป็นผู้ชนะการคัดเลือก หลังจากนี้จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา และคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาระหว่างกองทัพเรือ กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ไทยประสบความสำเร็จในการเดินหน้าลงทุนโครงการหลัก ที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของอีอีซี คือสนามบินอู่ตะเภาฯ และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
"ต้องขอบคุณกองทัพเรือ ที่ได้นำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ และถือเป็นโครงการกระดูกสันหลังที่ 2 โครงการ คือ สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินฯ กับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้อนุมัติและเดินหน้าแล้ว ซึ่งรองนายกฯสมคิด (จาตุศรีพิทักษ์) ได้เน้นย้ำต้องเชื่อมกันแบบไร้รอยต่อให้ได้ในการสร้างประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพราะเป็นเอกชนคนละเจ้าเพื่อให้โครงการเกิดพร้อมกันในปี 2566 โดยสนามบินอู่ตะเภา จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้รถไฟความเร็วสูง ขณะเดียวกันมีสนามบินแล้วไม่มีรถไฟฯ ก็จะไม่สมประโยชน์ ประเทศและประชาชนจะได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่”นายคณิศ กล่าว
ตั้งอนุฯประสาน 2 บิ๊กโปรเจคต์
นายคนิศ กล่าวต่อว่า ที่ประชุม กพอ.ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมประสานงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้มีการทำงานอย่างบูรณาการ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดเชื่อมโยงแผนงานการก่อสร้างและแผนการเปิดบริการให้สอดคล้อง หรือพร้อมกันได้ ทั้งนี้มั่นใจว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่ส่งผลกระทบ เพราะโครงการจะก่อสร้างเสร็จปี 2566 ซึ่ง สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาตา) ประเมินว่าธุรกิจการบินจะกลับมาภายใน 2 ปีจากนี้ไป เมื่อถึงตอนนั้นท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง จะมีการใช้บริการหนาแน่นเหมือนเดิม
เผยลงทุนรวม 2.9 แสนล้านบ.
นายคนิศ กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนา “เมืองการบินภาคตะวันออก”ในพื้นที่ 6,500 ไร่ โดยมี 6 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) เขตประกอบการค้าเสรีและเขตธุรกิจ ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ และศูนย์ฝึกอบรมการบิน ลงทุนรวม 290,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มบีบีเอส เสนอราคาเป็นจำนวนเงินประกันผลตอบแทนค่าเช่าและส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำรายปีรวมตลอดอายุสัญญาร่วมทุน เมื่อคำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน ณ ปี 61 โดยใช้อัตราคิดลด 3.76% เท่ากับ 305,555,184,968 บาท ตลอดอายุสัญญา 50 ปี แต่สามารถคืนงบประมาณ ซี่งนำมาใช้สร้างโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ที่ใช้งบ 117,227 ล้านบาท จึงยังมีรายได้สุทธิ จาก 2 โครงการนี้ เพื่อลงทุนในอนาคต 188,328 ล้านบาท เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจถึง 532,000 ล้านบาท รายได้ภาษีอากร 92,650 ล้านบาท และสร้างตำแหน่งงานอีก 2,9870 คน ซึ่งจะเห็นว่า 2 โครงการดังกล่าว ไม่ได้ใช้งบประมาณรัฐแต่อย่างใด
แนะ TG เดินหน้า MRO ในแผนฟื้นฟู
สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ของ บมจ.การบินไทย ซึ่งแอร์บัสไม่ได้เสนอตัวเข้าร่วมทุนนั้น นายคณิศ กล่าวว่า แม้ว่าการบินไทยอยู่ระหว่างทำแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ทาง สกพอ. จะแนะนำคณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟูว่า โครงการ MRO ควรได้รับการบรรจุไว้ในแผนฟื้นฟู เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากเป็นโครงการที่ได้ศึกษาแล้วว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการบินไทยที่ไม่ต้องลงทุนสร้างเอง เพียงแต่เช่าตัวอาคารจากกองทัพเรือ และลงทุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการซ่อมเครื่องบิน และยังเป็นโครงการที่มีกำไร
“กรณีแอร์บัสไม่พร้อมที่จะร่วมลงทุน แต่พร้อมให้การสนับสนุนทางเทคนิคนั้น การบินไทยสามารถหาผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ได้โดยมีการจัดสรรที่ดิน 250 ไร่ และมีพื้นที่เหลืออีก 300 ไร่ ทำ MRO อีกเช่นกัน”นายคณิศกล่าว
4-5 เอกชนสน MRO แทนแอร์บัส
นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองเลขาธิการสายงานโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานอีอีซี กล่าวว่า ในส่วนของโครงการ MROมีเอกชนให้ความสนใจมากกว่า 4-5 ราย ด้านการลงทุนก่อสร้างอาคารจะลงทุนโดยกองทัพเรือให้ที่ปรึกษาออกแบบ การก่อสร้างใช้เวลา 3 ปีกว่า อาคารจะเสร็จปี 2566 ระหว่างนี้สามารถคัดเลือกผู้ร่วมทุน ซึ่งระยะเวลาจะสอดคล้องอาคารจะไม่มีเสากลางกว้าง 270 เมตร รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่จอดซ่อม 5 ลำ และรองรับเครื่องบินเล็กอีก 3 ลำ สำหรับเครื่องมือซ่อม การบินไทยและเอกชนร่วมทุน จะเป็นผู้ลงทุนจัดหามา
พล.ร.ต.เกริกชัย วจนาภรณ์ ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก กล่าวยืนยันว่า การส่งมอบพื้นที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ จะไม่มีปัญหาความล่าช้าอย่างแน่นอน แต่ก็ยอมรับว่าในขั้นตอนระหว่างการก่อสร้างนั้นอาจจะมีความยุ่งยาก ที่หลายหน่วยงานจะต้องเข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกัน แต่รัฐก็จะช่วยกันดูแลให้เป็นไปตามแผน
วานนี้ (21 พ.ค.) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กพอ.ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุม กพอ.ได้อนุมัติเห็นชอบผลร่างสัญญาร่วมทุนลงทุน ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาแล้วเสร็จของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ถือหุ้น 35% กับ บมจ.การบินกรุงเทพ(BA) ถือหุ้น 45% และ บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) ถือหุ้น 20%) เป็นผู้ชนะการคัดเลือก หลังจากนี้จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา และคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาระหว่างกองทัพเรือ กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ไทยประสบความสำเร็จในการเดินหน้าลงทุนโครงการหลัก ที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของอีอีซี คือสนามบินอู่ตะเภาฯ และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
"ต้องขอบคุณกองทัพเรือ ที่ได้นำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ และถือเป็นโครงการกระดูกสันหลังที่ 2 โครงการ คือ สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินฯ กับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้อนุมัติและเดินหน้าแล้ว ซึ่งรองนายกฯสมคิด (จาตุศรีพิทักษ์) ได้เน้นย้ำต้องเชื่อมกันแบบไร้รอยต่อให้ได้ในการสร้างประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพราะเป็นเอกชนคนละเจ้าเพื่อให้โครงการเกิดพร้อมกันในปี 2566 โดยสนามบินอู่ตะเภา จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้รถไฟความเร็วสูง ขณะเดียวกันมีสนามบินแล้วไม่มีรถไฟฯ ก็จะไม่สมประโยชน์ ประเทศและประชาชนจะได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่”นายคณิศ กล่าว
ตั้งอนุฯประสาน 2 บิ๊กโปรเจคต์
นายคนิศ กล่าวต่อว่า ที่ประชุม กพอ.ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมประสานงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้มีการทำงานอย่างบูรณาการ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดเชื่อมโยงแผนงานการก่อสร้างและแผนการเปิดบริการให้สอดคล้อง หรือพร้อมกันได้ ทั้งนี้มั่นใจว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่ส่งผลกระทบ เพราะโครงการจะก่อสร้างเสร็จปี 2566 ซึ่ง สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาตา) ประเมินว่าธุรกิจการบินจะกลับมาภายใน 2 ปีจากนี้ไป เมื่อถึงตอนนั้นท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง จะมีการใช้บริการหนาแน่นเหมือนเดิม
เผยลงทุนรวม 2.9 แสนล้านบ.
นายคนิศ กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนา “เมืองการบินภาคตะวันออก”ในพื้นที่ 6,500 ไร่ โดยมี 6 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) เขตประกอบการค้าเสรีและเขตธุรกิจ ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ และศูนย์ฝึกอบรมการบิน ลงทุนรวม 290,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มบีบีเอส เสนอราคาเป็นจำนวนเงินประกันผลตอบแทนค่าเช่าและส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำรายปีรวมตลอดอายุสัญญาร่วมทุน เมื่อคำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน ณ ปี 61 โดยใช้อัตราคิดลด 3.76% เท่ากับ 305,555,184,968 บาท ตลอดอายุสัญญา 50 ปี แต่สามารถคืนงบประมาณ ซี่งนำมาใช้สร้างโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ที่ใช้งบ 117,227 ล้านบาท จึงยังมีรายได้สุทธิ จาก 2 โครงการนี้ เพื่อลงทุนในอนาคต 188,328 ล้านบาท เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจถึง 532,000 ล้านบาท รายได้ภาษีอากร 92,650 ล้านบาท และสร้างตำแหน่งงานอีก 2,9870 คน ซึ่งจะเห็นว่า 2 โครงการดังกล่าว ไม่ได้ใช้งบประมาณรัฐแต่อย่างใด
แนะ TG เดินหน้า MRO ในแผนฟื้นฟู
สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ของ บมจ.การบินไทย ซึ่งแอร์บัสไม่ได้เสนอตัวเข้าร่วมทุนนั้น นายคณิศ กล่าวว่า แม้ว่าการบินไทยอยู่ระหว่างทำแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ทาง สกพอ. จะแนะนำคณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟูว่า โครงการ MRO ควรได้รับการบรรจุไว้ในแผนฟื้นฟู เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากเป็นโครงการที่ได้ศึกษาแล้วว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการบินไทยที่ไม่ต้องลงทุนสร้างเอง เพียงแต่เช่าตัวอาคารจากกองทัพเรือ และลงทุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการซ่อมเครื่องบิน และยังเป็นโครงการที่มีกำไร
“กรณีแอร์บัสไม่พร้อมที่จะร่วมลงทุน แต่พร้อมให้การสนับสนุนทางเทคนิคนั้น การบินไทยสามารถหาผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ได้โดยมีการจัดสรรที่ดิน 250 ไร่ และมีพื้นที่เหลืออีก 300 ไร่ ทำ MRO อีกเช่นกัน”นายคณิศกล่าว
4-5 เอกชนสน MRO แทนแอร์บัส
นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองเลขาธิการสายงานโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานอีอีซี กล่าวว่า ในส่วนของโครงการ MROมีเอกชนให้ความสนใจมากกว่า 4-5 ราย ด้านการลงทุนก่อสร้างอาคารจะลงทุนโดยกองทัพเรือให้ที่ปรึกษาออกแบบ การก่อสร้างใช้เวลา 3 ปีกว่า อาคารจะเสร็จปี 2566 ระหว่างนี้สามารถคัดเลือกผู้ร่วมทุน ซึ่งระยะเวลาจะสอดคล้องอาคารจะไม่มีเสากลางกว้าง 270 เมตร รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่จอดซ่อม 5 ลำ และรองรับเครื่องบินเล็กอีก 3 ลำ สำหรับเครื่องมือซ่อม การบินไทยและเอกชนร่วมทุน จะเป็นผู้ลงทุนจัดหามา
พล.ร.ต.เกริกชัย วจนาภรณ์ ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก กล่าวยืนยันว่า การส่งมอบพื้นที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ จะไม่มีปัญหาความล่าช้าอย่างแน่นอน แต่ก็ยอมรับว่าในขั้นตอนระหว่างการก่อสร้างนั้นอาจจะมีความยุ่งยาก ที่หลายหน่วยงานจะต้องเข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกัน แต่รัฐก็จะช่วยกันดูแลให้เป็นไปตามแผน