ส.อ.ท.เร่งทำแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมหลังโควิด-19 รับมือโลกเปลี่ยน และเทรดวอร์รอบ 2 ที่กำลังตั้งเค้า ปักธงยกเครื่อง 45 อุตสาหกรรม 11 คลัสเตอร์ เน้นแผนผลิตครบวงจรพึ่งวัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก ดันรัฐจัดแพกเกจผ่านบีโอไอ
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลังโควิด-19 เปิดเผยว่า ส.อ.ท. อยู่ระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับกับสถานการณ์โลกที่จะเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านการค้า การลงทุน พฤติกรรมผู้บริโภค ภายหลังผลกระทบโควิด-19 ที่ประเทศส่วนใหญ่จะปรับตัวเน้นพึ่งพาตนเองมากขึ้น รวมไปถึงการรองรับสงครามการค้า (Trade War)รอบที่ 2 ที่คาดว่าอาจขึ้นได้หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ขู่ที่จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน จากการที่จีนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ระยะที่ 1 โดยส.อ.ท.คาดว่าแผนดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนพ.ค.นี้
"แผนดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำเสนอรัฐบาล เพื่อประกอบกับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลที่วางเงินงบประมาณในการดำเนินงานไว้ประมาณ 400,000 ล้านบาท จาก พ.ร.ก.เงินกู้ โดยส.อ.ท.ได้มีการจัดทำแผนไว้เบื้องต้นแล้ว และล่าสุดได้มีการทำแพลตฟอร์มเพื่อให้สมาชิก 45 กลุ่ม 11 คลัสเตอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมของไทยดำเนินการวางแผนการผลิตให้ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่จะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนทั้งชิ้นส่วนผลิตได้เอง นำเข้า เป็นสัดส่วนเท่าใด และอะไรจะต้องมีการต่อยอดเพิ่มเติม" นายเกรียงไกร กล่าว
ทั้งนี้ เบื้องต้นคลัสเตอร์ยานยนต์ของไทย พบว่าปัจจุบันมีการพึ่งพาการนำเข้าชิ้นส่วน 30% เช่น เกียร์ ประตู เพลา พวงมาลัยและเบรก ทำให้แต่ละปีไทยต้องสูญเสียเงินจำนวนมากไปกับชิ้นส่วนเหล่านี้ ซึ่งจากการจัดทำแผนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนอย่างน้อยให้ลดการนำเข้าเหลือ 20% ในระยะแรก เนื่องจากเทคโนโลยีบางอย่างผู้ที่เป็นเจ้าของมักปิดเป็นความลับ จึงไม่ง่าย
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมให้เกิดชิ้นส่วนในประเทศจะเน้นให้คนไทยผลิตเองก่อน จากนั้นจะมองการร่วมลงทุนโดยแนวทางนี้จะเสนอรัฐให้สนับสนุนเช่น ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ออกแพกเกจส่งเสริมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนที่อาจจะสูงในระยะแรก เป็นต้น
สำหรับการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตตั้งต้นน้ำจนถึงปลายน้ำดังกล่าว เป็น 1 ในแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมดั้งเดิม 45 กลุ่ม 11 คลัสเตอร์ เพื่อลดการพึ่งพานำเข้า แล้วยังมีมาตรการที่สำคัญอีก 2 แนวทาง ได้แก่ การสนับสนุนสินค้าไทย (Made in Thailand )ที่จะเสนอรัฐให้ระบบจัดซื้อจัดจ้างในกรมบัญชีกลาง เน้นการใช้สินค้าไทยเป็นอันดับแรกก่อน และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีภาคเกษตรและอาหาร ที่อุตสาหกรรมด้านนี้ไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังกำหนดการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะมาแรงในอนาคต 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยี 5G จะเข้ามาเร่งการนำมาใช้ในภาคการค้า และบริการมากขึ้น 2. อุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับสุขภาพ เพราะโควิด-19 ทำให้ทุกส่วนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น 3. เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ที่ไทยมีโอกาสก้าวสู่ตลาดดังกล่าวมากขึ้น หลังจากที่รัฐบาลได้บริหารจัดการควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างดี 4. อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่จะมีส่วนสำคัญในการจัดการขนส่งสินค้า ทั้งจากตลาดค้าออนไลน์และค้าปลีก 5. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และ 6.อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ Bio Economy ที่จะต่อยอดมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรของไทยที่จะครอบคลุมไปยังอาหาร เชื้อเพลิง เวชภัณฑ์ เป็นต้น
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลังโควิด-19 เปิดเผยว่า ส.อ.ท. อยู่ระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับกับสถานการณ์โลกที่จะเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านการค้า การลงทุน พฤติกรรมผู้บริโภค ภายหลังผลกระทบโควิด-19 ที่ประเทศส่วนใหญ่จะปรับตัวเน้นพึ่งพาตนเองมากขึ้น รวมไปถึงการรองรับสงครามการค้า (Trade War)รอบที่ 2 ที่คาดว่าอาจขึ้นได้หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ขู่ที่จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน จากการที่จีนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ระยะที่ 1 โดยส.อ.ท.คาดว่าแผนดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนพ.ค.นี้
"แผนดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำเสนอรัฐบาล เพื่อประกอบกับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลที่วางเงินงบประมาณในการดำเนินงานไว้ประมาณ 400,000 ล้านบาท จาก พ.ร.ก.เงินกู้ โดยส.อ.ท.ได้มีการจัดทำแผนไว้เบื้องต้นแล้ว และล่าสุดได้มีการทำแพลตฟอร์มเพื่อให้สมาชิก 45 กลุ่ม 11 คลัสเตอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมของไทยดำเนินการวางแผนการผลิตให้ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่จะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนทั้งชิ้นส่วนผลิตได้เอง นำเข้า เป็นสัดส่วนเท่าใด และอะไรจะต้องมีการต่อยอดเพิ่มเติม" นายเกรียงไกร กล่าว
ทั้งนี้ เบื้องต้นคลัสเตอร์ยานยนต์ของไทย พบว่าปัจจุบันมีการพึ่งพาการนำเข้าชิ้นส่วน 30% เช่น เกียร์ ประตู เพลา พวงมาลัยและเบรก ทำให้แต่ละปีไทยต้องสูญเสียเงินจำนวนมากไปกับชิ้นส่วนเหล่านี้ ซึ่งจากการจัดทำแผนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนอย่างน้อยให้ลดการนำเข้าเหลือ 20% ในระยะแรก เนื่องจากเทคโนโลยีบางอย่างผู้ที่เป็นเจ้าของมักปิดเป็นความลับ จึงไม่ง่าย
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมให้เกิดชิ้นส่วนในประเทศจะเน้นให้คนไทยผลิตเองก่อน จากนั้นจะมองการร่วมลงทุนโดยแนวทางนี้จะเสนอรัฐให้สนับสนุนเช่น ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ออกแพกเกจส่งเสริมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนที่อาจจะสูงในระยะแรก เป็นต้น
สำหรับการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตตั้งต้นน้ำจนถึงปลายน้ำดังกล่าว เป็น 1 ในแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมดั้งเดิม 45 กลุ่ม 11 คลัสเตอร์ เพื่อลดการพึ่งพานำเข้า แล้วยังมีมาตรการที่สำคัญอีก 2 แนวทาง ได้แก่ การสนับสนุนสินค้าไทย (Made in Thailand )ที่จะเสนอรัฐให้ระบบจัดซื้อจัดจ้างในกรมบัญชีกลาง เน้นการใช้สินค้าไทยเป็นอันดับแรกก่อน และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีภาคเกษตรและอาหาร ที่อุตสาหกรรมด้านนี้ไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังกำหนดการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะมาแรงในอนาคต 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยี 5G จะเข้ามาเร่งการนำมาใช้ในภาคการค้า และบริการมากขึ้น 2. อุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับสุขภาพ เพราะโควิด-19 ทำให้ทุกส่วนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น 3. เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ที่ไทยมีโอกาสก้าวสู่ตลาดดังกล่าวมากขึ้น หลังจากที่รัฐบาลได้บริหารจัดการควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างดี 4. อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่จะมีส่วนสำคัญในการจัดการขนส่งสินค้า ทั้งจากตลาดค้าออนไลน์และค้าปลีก 5. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และ 6.อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ Bio Economy ที่จะต่อยอดมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรของไทยที่จะครอบคลุมไปยังอาหาร เชื้อเพลิง เวชภัณฑ์ เป็นต้น