ผู้จัดการรายวัน360-ปตท.ยังเอาไม่อยู่ ขาดทุนสุทธิไตรมาสแรกปี 63 ถึง 1,554 ล้านบาท เหตุได้รับผลกระทบจากการขาดทุนสต๊อกน้ำมันจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น รวมทั้งธุรกิจน้ำมัน จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ฉุดน้ำมันดิบร่วงหนัก ยันมีแผนรับมือทั้งระยะสั้น-ยาว เผยมาตรการ “ลด-ละ-เลื่อน” คาดช่วยทั้งกลุ่ม ปตท. ลดงบลงทุนปีนี้ได้ 10-15%
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2563 ของ ปตท. ขาดทุนสุทธิ 1,554 ล้านบาท เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 29,312 ล้านบาท และไตรมาส 4/2563 มีกำไรสุทธิ 17,446 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ที่มีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงอย่างมากจาก 67.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เหลือ 23.4 สหรัฐต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้ที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ขาดทุนสต๊อกน้ำมันกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท และยังมีการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้สกุลต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายและปริมาณขายที่ลดลง และธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายอ้างอิงราคาน้ำมันเตาที่ลดลง ส่วนกลุ่มธุรกิจน้ำมัน มีผลการดำเนินงานลดลงจากขาดทุนสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและปริมาณขายที่ลดลงจากผลกระทบของโควิด-19
ทั้งนี้ ปตท. มียอดขาย 483,567 ล้านบาท ลดลง 12.2% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และลดลง 13.7% จากไตรมาสก่อน และมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) ลดลง 48,138 ล้านบาท ลดลง 59.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2562
อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของกลุ่มเทคโนโลยีและวิศวกรรมปรับตัวดีขึ้น จากการเข้าซื้อ บมจ.โกลว์ พลังงาน (GLOW) ของ บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ในเดือนมี.ค.2562 ในขณะเดียวกันธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากรายได้ขายที่เพิ่มขึ้นจากโครงการมาเลเซีย และกลุ่มพาร์เท็กซ์ (Partex)
นายชาญศิลป์กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และสงครามราคาน้ำมัน ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมพลังงาน และผลการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท. เช่นกัน โดยกลุ่ม ปตท.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด มีการบริหารจัดการ และออกมาตรการต่างๆ โดยการจัดตั้ง PTT Group Vital Center เพื่อวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีมาตรการระยะสั้น ได้แก่ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายผ่านนโยบาย “ลด-ละ-เลื่อน” ซึ่งในไตรมาส 1 นี้ กลุ่ม ปตท. สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในส่วนนี้ จากไตรมาส 4/2562 ประมาณ 3,600 ล้านบาท และความร่วมมือในการทำ PTT Group Optimization เพื่อบริหารอุปสงค์อุปทานปริมาณสินค้าคงคลังให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการบริหารสภาพคล่องและรักษาความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน โดยคาดว่า ทั้งกลุ่ม ปตท. จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และทบทวนปรับลดแผนการลงทุนในปี 2563 ได้ประมาณ 10-15%
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2563 ของ ปตท. ขาดทุนสุทธิ 1,554 ล้านบาท เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 29,312 ล้านบาท และไตรมาส 4/2563 มีกำไรสุทธิ 17,446 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ที่มีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงอย่างมากจาก 67.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เหลือ 23.4 สหรัฐต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้ที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ขาดทุนสต๊อกน้ำมันกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท และยังมีการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้สกุลต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายและปริมาณขายที่ลดลง และธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายอ้างอิงราคาน้ำมันเตาที่ลดลง ส่วนกลุ่มธุรกิจน้ำมัน มีผลการดำเนินงานลดลงจากขาดทุนสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและปริมาณขายที่ลดลงจากผลกระทบของโควิด-19
ทั้งนี้ ปตท. มียอดขาย 483,567 ล้านบาท ลดลง 12.2% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และลดลง 13.7% จากไตรมาสก่อน และมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) ลดลง 48,138 ล้านบาท ลดลง 59.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2562
อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของกลุ่มเทคโนโลยีและวิศวกรรมปรับตัวดีขึ้น จากการเข้าซื้อ บมจ.โกลว์ พลังงาน (GLOW) ของ บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ในเดือนมี.ค.2562 ในขณะเดียวกันธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากรายได้ขายที่เพิ่มขึ้นจากโครงการมาเลเซีย และกลุ่มพาร์เท็กซ์ (Partex)
นายชาญศิลป์กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และสงครามราคาน้ำมัน ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมพลังงาน และผลการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท. เช่นกัน โดยกลุ่ม ปตท.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด มีการบริหารจัดการ และออกมาตรการต่างๆ โดยการจัดตั้ง PTT Group Vital Center เพื่อวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีมาตรการระยะสั้น ได้แก่ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายผ่านนโยบาย “ลด-ละ-เลื่อน” ซึ่งในไตรมาส 1 นี้ กลุ่ม ปตท. สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในส่วนนี้ จากไตรมาส 4/2562 ประมาณ 3,600 ล้านบาท และความร่วมมือในการทำ PTT Group Optimization เพื่อบริหารอุปสงค์อุปทานปริมาณสินค้าคงคลังให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการบริหารสภาพคล่องและรักษาความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน โดยคาดว่า ทั้งกลุ่ม ปตท. จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และทบทวนปรับลดแผนการลงทุนในปี 2563 ได้ประมาณ 10-15%