ไทยพบผู้ป่วยโควิดใหม่ 5 ราย สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า 2 ราย จากกทม. และนราธิวาส อยู่ในสถานที่กักตัว 3 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม แจงผลแล็บภูเก็ตเจออีก 4 ราย ขอคนออกจากภูเก็ต หากมีอาการป่วยเล็กน้อย เข้าข่ายติดโควิดให้รีบตรวจทันที
วานนี้ (10 พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวประจำวัน ว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 5 ราย รักษาหายกลับบ้านเพิ่ม 7 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,009 ราย กลับบ้านรวม 2,794 ราย เสียชีวิตรวม 56 ราย ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล 159 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ มาจาก 1. สัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 2 ราย ได้แก่ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 44 ปี จาก กทม. และชายไทยอายุ 80 ปี จ.นราธิวาส และ 2. เดินทางกลับจากต่างประเทศเข้าสถานกักกันที่รัฐจัดให้ 3 ราย ได้แก่ ผู้ป่วยหญิงอายุ 41 ปี กลับจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ชายไทย อายุ 26 ปี และ 27 ปี เป็นนักศึกษากลับจากปากีสถาน เมื่อวันที่ 7 พ.ค.
สำหรับกรณีมีข่าวออกมาทางโซเชียลมีเดียว่า ที่จ.ภูเก็ต มีผลแล็บออกมาเมื่อช่วงเช้าวันที่ 10 พ.ค. พบอีก 4 รายเพิ่มเติมนั้น ตรงนี้จะแยกจาก 5 รายนี้ เนื่องจากยอด 5 รายเป็นการตัดยอดเมื่อวันที่ 9 พ.ค. ดังนั้น 4 รายนี้ จะยังไม่รวม แต่จะเป็นยอดการรายงานวันนี้ (11พ.ค.)
ทั้งนี้ จ.ภูเก็ต เป็นจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของโรคอยู่แล้ว ซึ่งคนในภูเก็ต หรือออกจากภูเก็ตเมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่มีการผ่อนปรน ที่มีคนหลักหมื่นออกจากภูเก็ตไปยังจังหวัดต่างๆ และเมื่อวานมีรายงานติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1 ราย ที่เดินทางออกจากภูเก็ต ขอให้คนเดินทางทั้งหลายดูแลตัวเอง ถ้ามีภาวะเสี่ยง อาการอย่างใดอย่างหนึ่ง แค่คัดจมูก รับรู้กลิ่นไม่ดี ประวัติไข้ เดินทางจากภูเก็ต ให้ัขอรับการตรวจได้เลย
สำหรับต่างประเทศมีผู้ป่วยสะสม 4.1 ล้านราย อาการหนัก 4.7 หมื่นราย หายกลับบ้านแล้ว 1.4 ล้านราย เสียชีวิต 2.8 แสนราย ทั้งนี้ เกาหลีใต้แถลงว่าผู้ป่วยโควิดรายใหม่มี 18 ราย พบว่า 17 ราย เชื่อมโยงกับชายอายุ 29 ปีที่ไปเที่ยวผับบาร์ย่านอิแทวอน กรุงโซล เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ สั่งติดตามผู้ไปสถานที่ดังกล่าวในวันเวลาเดียวกับผู้ป่วยรายนี้ คาดว่ามีมากถึง 1.5 พันคน แต่ไม่ได้เปิดเผยชื่อ เพื่อให้เข้ามรับการตรวจ โดยนายกเทศมนตรีกรุงโซล ออกคำสั่งปิดผับบาร์ในกรุงโซลไม่มีกำหนด
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การติดตามบุคคล ต่อไปเราคงต้องมีมาตรการตามบุคคลได้เช่น คนออกจากภูเก็ต จะตามอย่างไร หรืออย่างเกาหลีใต้ คน 1.5 พันคน ที่ต้องติดตามจากสัมผัสผู้ป่วยเที่ยวผับ ซึ่งในต่างประเทศต้องใช้แอปพลิเคชัน ประเทศจีน ประสบความสำเร็จเพราะมีแอปพลิเคชันติดตามตัวบุคคล เรื่องนี้ก็ปรากฏในข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ออกมา เรียนว่าหลักการนี้คงต้องขอความร่วมมือประชาชนทุกคน ถ้าจะเข้าสู่มาตรการ ระยะที่ 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่จะมีแอปพลิเคชันอย่างไร ก็คงจะมีการลงนามร่วมมือกันวันนี้ โดยเลือกแอปพลิเคชันขึ้นมาขอความร่วมมือประชาชนช่วยลงทะเบียน ช่วยให้สังคมแน่นแฟ้น หากป่วยไข้เอาเข้ามารักษา
สำหรับมาตรการคลายล็อก ระยะที่ 2นั้น นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ระบุจะรับฟังความคิดเห็น วันที่ 8-12 พ.ค.จากนั้น วันที่ 13 พ.ค. จะมีการประเมินผลการผ่อนคลายระยะที่ 1 วันที่ 14-15 พ.ค. จะมีการยกร่างข้อกำหนดการผ่อนคลายระยะที่ 2 ซึ่งการประชุม ศบค.ชุดเล็กคร่าวๆ ในวันนี้ มีการยกร่างขึ้นมา โดยการหากลุ่มตัวอย่างพื้นที่ที่จะทดลองเปิด เช่น ถ้าเป็นห้างสรรพสินค้า จะหาพื้นที่หนึ่งในการทดลองเปิด โดยจะมีมาตรการในห้าง ประชาชนเข้ามาจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร จะมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง จะศึกษาให้ดี ในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค.นี้ ในการทดลอง แล้วประเมินผลในวันที่ 16 พ.ค. ถ้าประเมินผลแล้วผ่านได้ วันที่ 17 พ.ค. จะมีการประกาศเริ่มคลาลล็อก ในระยะที่ 2 แต่ทั้งนี้การลงไปในรายละเอียดมีอีกมาก ซึ่งทางศบค.จะพูดคุยทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุข ความมั่นคง รวมถึงภาคเอกชนต้องมาหารือกัน
สธ.แนะทำต่อ 4 ข้อแม้โควิดคลี่คลาย
ด้านนพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ของไทยยังค่อนข้างดี หลังผ่อนปรนกิจการต่างๆ 1 สัปดาห์ แต่มีโอกาสกลับไประบาดแบบต่อเนื่องหรือระดับวิกฤตได้ ถ้าการ์ดตก
อย่างไรก็ตามเราจะคลายใจ ก็ต่อเมื่อสถานการณ์การระบาดทั่วโลกดีขึ้น จนควบคุมได้ทุกประเทศ หรือมีวัคซีนให้คนไทยในกลุ่มสำคัญ จึงจะเข้าสู่ระยะการฟื้นฟู ดังนั้นช่วงนี้เรากำลังเปิดเมืองเพื่อให้ภาคธุรกิจเดินหน้าได้ จึงต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง ถ้าไม่ใส่หน้ากากผ้าออกจากบ้าน ไปสถานที่ผู้คนแออัดเป็นประจำ ความเสี่ยงจะกลับมาเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ป่วยกลับมาเพิ่มขึ้นได้
จากวันนี้ สธ.คาดหวังว่า สังคมจะเปลี่ยนไป และขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ 4 ข้อต่อเนื่องไป คือ 1.มาตรการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล 1-2 เมตร ทั้งในที่ทำงานภาครัฐ เอกชน และ ธุรกิจบริการ 2. ออกแบบทางวิศวกรรม ให้สถานที่ต่างๆ ปลอดภัยมากขึ้น เช่น ใช้แผงกั้นละอองฝอยน้ำลาย ทำให้อากาศถ่ายเท ติดตั้งเครื่องกรองอากาศ 3. ปรับปรุงระบบงาน เป็นดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน เช่น ประชุมทางไกล การทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต การเรียนทางไกล นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับปรุงระบบการทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อลดความแออัด 4. การใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล พอสถานการณ์ดีขึ้น การใส่หน้ากากผ้าคงลดลง แต่อยากให้อยู่ในกลุ่มคนมีอาการทางเดินหายใจ ให้เป็นความปกติใหม่ คือ คนมีอาการไข้หวัด ใส่หน้ากากต่อไป ไม่ว่าโควิดจะอยู่หรือไม่
"เรื่องเหล่านี้ไม่ควรอยู่ชั่วคราว อย่ามองเป็นช่วงสั้นที่ทนอยู่สักพักแล้วผ่านไป อยากให้มีอยู่ และต่อเนื่องแม้โควิดจะหมดไป อย่างทำงานที่บ้าน ช่วยเรื่องโรคอื่น ลดฝุ่น PM2.5 ปัญหาจราจร ควรจะอยู่ต่อไปนานๆ เท่าที่แต่ละองค์กรทำได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการภายในแต่ละหน่วยงาน คือ New Normal จริงๆ ถ้าจบโควิด และจบกันไปเป็นแค่การตอบโต้ชั่วคราว ซึ่งการทำหลายอย่างมีประโยชน์มากกว่าแค่โควิด อยากให้ผลักดันเรื่องพวกนี้ต่อไป" นพ.ธนรักษ์ กล่าว
ทำโพลควรเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือยัง
มีรายงานข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะหัวหน้าศูนย์ ศบค. ได้สั่งการให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เตรียมจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ภายหลังมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มากว่า 1 เดือน เพื่อดูผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน รวมถึงขอความคิดเห็นว่า เห็นควรให้คงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ ยกเลิก เพื่อเป็นแนวทางให้ศบค.ตัดสินใจ
เนื่องจากขณะนี้พบว่า มีเสียงสะท้อนมาจากสังคมหลายความคิดเห็น คือ 1.ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเศรษฐกิจของประเทศ อีกครั้งยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ก็ลดลงตามลำดับ และอยู่ในความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่จะควบคุมได้
2.ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ยังไม่อยากให้นักท่องเที่ยว หรือชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
3. ให้คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เอาไว้ก่อนเพราะห่วงจะมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 อีกรอบ แต่ขอให้ผ่อนคลาย เช่น ยกเลิกประกาศเคอร์ฟิว หรือ ขยายเวลาเคอร์ฟิว ออกไปจากเดิม 4 ทุ่ม ถึง ตี 4 อาจจะเป็น 5 ทุ่ม ถึงตี 4
โดยในวันอังคารที่ 12 พ.ค.นี้ พล.อ.ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ เสนาธิการทหารบก ในฐานะ เสธ กอ.รมน. จะเป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาเนื้อหาในแบบสอบถาม ก่อนจะนำไปแจกจ่ายประชาชน คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน 1 สัปดาห์
วานนี้ (10 พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวประจำวัน ว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 5 ราย รักษาหายกลับบ้านเพิ่ม 7 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,009 ราย กลับบ้านรวม 2,794 ราย เสียชีวิตรวม 56 ราย ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล 159 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ มาจาก 1. สัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 2 ราย ได้แก่ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 44 ปี จาก กทม. และชายไทยอายุ 80 ปี จ.นราธิวาส และ 2. เดินทางกลับจากต่างประเทศเข้าสถานกักกันที่รัฐจัดให้ 3 ราย ได้แก่ ผู้ป่วยหญิงอายุ 41 ปี กลับจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ชายไทย อายุ 26 ปี และ 27 ปี เป็นนักศึกษากลับจากปากีสถาน เมื่อวันที่ 7 พ.ค.
สำหรับกรณีมีข่าวออกมาทางโซเชียลมีเดียว่า ที่จ.ภูเก็ต มีผลแล็บออกมาเมื่อช่วงเช้าวันที่ 10 พ.ค. พบอีก 4 รายเพิ่มเติมนั้น ตรงนี้จะแยกจาก 5 รายนี้ เนื่องจากยอด 5 รายเป็นการตัดยอดเมื่อวันที่ 9 พ.ค. ดังนั้น 4 รายนี้ จะยังไม่รวม แต่จะเป็นยอดการรายงานวันนี้ (11พ.ค.)
ทั้งนี้ จ.ภูเก็ต เป็นจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของโรคอยู่แล้ว ซึ่งคนในภูเก็ต หรือออกจากภูเก็ตเมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่มีการผ่อนปรน ที่มีคนหลักหมื่นออกจากภูเก็ตไปยังจังหวัดต่างๆ และเมื่อวานมีรายงานติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1 ราย ที่เดินทางออกจากภูเก็ต ขอให้คนเดินทางทั้งหลายดูแลตัวเอง ถ้ามีภาวะเสี่ยง อาการอย่างใดอย่างหนึ่ง แค่คัดจมูก รับรู้กลิ่นไม่ดี ประวัติไข้ เดินทางจากภูเก็ต ให้ัขอรับการตรวจได้เลย
สำหรับต่างประเทศมีผู้ป่วยสะสม 4.1 ล้านราย อาการหนัก 4.7 หมื่นราย หายกลับบ้านแล้ว 1.4 ล้านราย เสียชีวิต 2.8 แสนราย ทั้งนี้ เกาหลีใต้แถลงว่าผู้ป่วยโควิดรายใหม่มี 18 ราย พบว่า 17 ราย เชื่อมโยงกับชายอายุ 29 ปีที่ไปเที่ยวผับบาร์ย่านอิแทวอน กรุงโซล เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ สั่งติดตามผู้ไปสถานที่ดังกล่าวในวันเวลาเดียวกับผู้ป่วยรายนี้ คาดว่ามีมากถึง 1.5 พันคน แต่ไม่ได้เปิดเผยชื่อ เพื่อให้เข้ามรับการตรวจ โดยนายกเทศมนตรีกรุงโซล ออกคำสั่งปิดผับบาร์ในกรุงโซลไม่มีกำหนด
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การติดตามบุคคล ต่อไปเราคงต้องมีมาตรการตามบุคคลได้เช่น คนออกจากภูเก็ต จะตามอย่างไร หรืออย่างเกาหลีใต้ คน 1.5 พันคน ที่ต้องติดตามจากสัมผัสผู้ป่วยเที่ยวผับ ซึ่งในต่างประเทศต้องใช้แอปพลิเคชัน ประเทศจีน ประสบความสำเร็จเพราะมีแอปพลิเคชันติดตามตัวบุคคล เรื่องนี้ก็ปรากฏในข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ออกมา เรียนว่าหลักการนี้คงต้องขอความร่วมมือประชาชนทุกคน ถ้าจะเข้าสู่มาตรการ ระยะที่ 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่จะมีแอปพลิเคชันอย่างไร ก็คงจะมีการลงนามร่วมมือกันวันนี้ โดยเลือกแอปพลิเคชันขึ้นมาขอความร่วมมือประชาชนช่วยลงทะเบียน ช่วยให้สังคมแน่นแฟ้น หากป่วยไข้เอาเข้ามารักษา
สำหรับมาตรการคลายล็อก ระยะที่ 2นั้น นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ระบุจะรับฟังความคิดเห็น วันที่ 8-12 พ.ค.จากนั้น วันที่ 13 พ.ค. จะมีการประเมินผลการผ่อนคลายระยะที่ 1 วันที่ 14-15 พ.ค. จะมีการยกร่างข้อกำหนดการผ่อนคลายระยะที่ 2 ซึ่งการประชุม ศบค.ชุดเล็กคร่าวๆ ในวันนี้ มีการยกร่างขึ้นมา โดยการหากลุ่มตัวอย่างพื้นที่ที่จะทดลองเปิด เช่น ถ้าเป็นห้างสรรพสินค้า จะหาพื้นที่หนึ่งในการทดลองเปิด โดยจะมีมาตรการในห้าง ประชาชนเข้ามาจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร จะมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง จะศึกษาให้ดี ในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค.นี้ ในการทดลอง แล้วประเมินผลในวันที่ 16 พ.ค. ถ้าประเมินผลแล้วผ่านได้ วันที่ 17 พ.ค. จะมีการประกาศเริ่มคลาลล็อก ในระยะที่ 2 แต่ทั้งนี้การลงไปในรายละเอียดมีอีกมาก ซึ่งทางศบค.จะพูดคุยทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุข ความมั่นคง รวมถึงภาคเอกชนต้องมาหารือกัน
สธ.แนะทำต่อ 4 ข้อแม้โควิดคลี่คลาย
ด้านนพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ของไทยยังค่อนข้างดี หลังผ่อนปรนกิจการต่างๆ 1 สัปดาห์ แต่มีโอกาสกลับไประบาดแบบต่อเนื่องหรือระดับวิกฤตได้ ถ้าการ์ดตก
อย่างไรก็ตามเราจะคลายใจ ก็ต่อเมื่อสถานการณ์การระบาดทั่วโลกดีขึ้น จนควบคุมได้ทุกประเทศ หรือมีวัคซีนให้คนไทยในกลุ่มสำคัญ จึงจะเข้าสู่ระยะการฟื้นฟู ดังนั้นช่วงนี้เรากำลังเปิดเมืองเพื่อให้ภาคธุรกิจเดินหน้าได้ จึงต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง ถ้าไม่ใส่หน้ากากผ้าออกจากบ้าน ไปสถานที่ผู้คนแออัดเป็นประจำ ความเสี่ยงจะกลับมาเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ป่วยกลับมาเพิ่มขึ้นได้
จากวันนี้ สธ.คาดหวังว่า สังคมจะเปลี่ยนไป และขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ 4 ข้อต่อเนื่องไป คือ 1.มาตรการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล 1-2 เมตร ทั้งในที่ทำงานภาครัฐ เอกชน และ ธุรกิจบริการ 2. ออกแบบทางวิศวกรรม ให้สถานที่ต่างๆ ปลอดภัยมากขึ้น เช่น ใช้แผงกั้นละอองฝอยน้ำลาย ทำให้อากาศถ่ายเท ติดตั้งเครื่องกรองอากาศ 3. ปรับปรุงระบบงาน เป็นดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน เช่น ประชุมทางไกล การทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต การเรียนทางไกล นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับปรุงระบบการทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อลดความแออัด 4. การใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล พอสถานการณ์ดีขึ้น การใส่หน้ากากผ้าคงลดลง แต่อยากให้อยู่ในกลุ่มคนมีอาการทางเดินหายใจ ให้เป็นความปกติใหม่ คือ คนมีอาการไข้หวัด ใส่หน้ากากต่อไป ไม่ว่าโควิดจะอยู่หรือไม่
"เรื่องเหล่านี้ไม่ควรอยู่ชั่วคราว อย่ามองเป็นช่วงสั้นที่ทนอยู่สักพักแล้วผ่านไป อยากให้มีอยู่ และต่อเนื่องแม้โควิดจะหมดไป อย่างทำงานที่บ้าน ช่วยเรื่องโรคอื่น ลดฝุ่น PM2.5 ปัญหาจราจร ควรจะอยู่ต่อไปนานๆ เท่าที่แต่ละองค์กรทำได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการภายในแต่ละหน่วยงาน คือ New Normal จริงๆ ถ้าจบโควิด และจบกันไปเป็นแค่การตอบโต้ชั่วคราว ซึ่งการทำหลายอย่างมีประโยชน์มากกว่าแค่โควิด อยากให้ผลักดันเรื่องพวกนี้ต่อไป" นพ.ธนรักษ์ กล่าว
ทำโพลควรเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือยัง
มีรายงานข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะหัวหน้าศูนย์ ศบค. ได้สั่งการให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เตรียมจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ภายหลังมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มากว่า 1 เดือน เพื่อดูผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน รวมถึงขอความคิดเห็นว่า เห็นควรให้คงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ ยกเลิก เพื่อเป็นแนวทางให้ศบค.ตัดสินใจ
เนื่องจากขณะนี้พบว่า มีเสียงสะท้อนมาจากสังคมหลายความคิดเห็น คือ 1.ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเศรษฐกิจของประเทศ อีกครั้งยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ก็ลดลงตามลำดับ และอยู่ในความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่จะควบคุมได้
2.ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ยังไม่อยากให้นักท่องเที่ยว หรือชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
3. ให้คง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เอาไว้ก่อนเพราะห่วงจะมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 อีกรอบ แต่ขอให้ผ่อนคลาย เช่น ยกเลิกประกาศเคอร์ฟิว หรือ ขยายเวลาเคอร์ฟิว ออกไปจากเดิม 4 ทุ่ม ถึง ตี 4 อาจจะเป็น 5 ทุ่ม ถึงตี 4
โดยในวันอังคารที่ 12 พ.ค.นี้ พล.อ.ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ เสนาธิการทหารบก ในฐานะ เสธ กอ.รมน. จะเป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาเนื้อหาในแบบสอบถาม ก่อนจะนำไปแจกจ่ายประชาชน คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน 1 สัปดาห์