ผู้จัดการรายวัน360- “บอร์ด รฟท.” เคาะขยายเวลาเจรจาซื้อระบบไฮสปีดสัญญา 2.3 ”ไทย-จีน” ถึง 31 ต.ค.63 เหตุ “โควิด-19” ระบาด พร้อมอนุมัติผลประมูลโยธาอีก 2 สัญญา สั่งเร่งหารือ สผ.เคลียร์ EIA ขอทยอยเซ็นจ้างรับเหมา แต่ตีกลับขยายสัญญา 3 สายสีแดง ปรับแผนเลื่อนเปิดเดินรถ ไม่เกินปลายปี 64
วานนี้ (16 เม.ย.) นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟท.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำร่างสัญญาจ้างและเงื่อนไขอื่นในการทำสัญญาจ้างงาน ระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดการดำเนินการตามคำสั่งมาตรา 44 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 30 พ.ค.63 โดยขยายออกไปอีก 155 วัน หรือจนถึงวันที่ 31 ต.ค.63 ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ทำให้ไม่สามารถประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ได้ โดยให้ รฟท.เสนอต่อกระทรวงคมนาคม และนายกรัฐมนตรี ต่อไป
เคาะผลประมูลโยธา 2 สัญญา
นอกจากนี้ บอร์ดยังอนุมัติ ผลการประมูล ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เพื่อจ้างก่อสร้างงานโยธารถไฟไทย-จีน จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 3-3 งานโยธา สำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. (ราคากลาง 12,043 ล้านบาท) ซึ่ง บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด เสนอราคาต่ำสุด ที่ 9,838 ล้านบาท และสัญญาที่ 4-5 งานโยธาสำหรับช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. (ราคากลาง 11,801 ล้านบาท) ซึ่ง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เสนอราคาต่ำสุด 9,913 ล้านบาท
ส่วน สัญญาที่ 3-5 งานโยธา สำหรับช่วงโคกกรวด- นครราชสีมา ระยะทาง 13.69 กม. (ราคากลาง 9,257 ล้านบาท) ซึ่งกิจการร่วมค้าบริษัท SPTK จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 7,750 ล้านบาท นั้น ยังไม่อนุมัติ โดยให้ไปสอบถามกรมบัญชีกลาง ในประเด็นกิจการร่วมค้าจดทะเบียนใหม่ เพื่อความชัดเจน ซึ่งคาดว่าจะเสนอบอร์ดได้ในการประชุมครั้งหน้า พร้อมกันนี้ ให้เร่งรัดรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อเร่งลงนามสัญญากับผู้รับจ้างต่อไป
เจรจา สผ.เคลียร์ปม EIA
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการฯรฟท. กล่าวว่า ภายในเดือนเม.ย.นี้ จะส่งรายงาน EIA เพิ่มเติม ช่วงบ้านภาชี-โคราช ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป นอกจากนี้ รฟท.ยังได้ทำหนังสือหารือ สผ. เพื่อขอให้ รฟท.สามารถลงนาม สัญญากับผู้รับจ้างในช่วงที่ไม่มีปัญหา EIA เป็นช่วงๆได้ก่อนหรือไม่ ทั้งนี้ เนื่องจาก งานก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แบ่งเป็น 14 สัญญานั้น ขณะนี้ กำลังก่อสร้างเพียง2 สัญญา อีก 7 สัญญา ประมูลและบอร์ดอนุมัติแล้ว แต่ยังลงนามไม่ได้ เพราะต้องรออนุมัติ EIA ขณะที่มีบางสัญญาครบกำหนดการยืนราคา ซึ่งได้เจรจากับผู้รับจ้างขยายออกไปถึงเดือน ส.ค.-ก.ย.
“EIA ไม่ได้ติดทั้งเส้นทาง ติดเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้น รฟท.จึงหารือ สผ.ไปว่า หากสัญญาช่วงที่ไม่ติดเรื่อง EIA จะขอเซ็นกับผู้รับจ้างก่อนได้หรือไม่ เพื่อทยอยก่อสร้าง” นายวรวุฒิ ระบุ
ตีกลับขยายสัญญา 3 สายสีแดง
ส่วนการขยายระยะเวลาก่อสร้างงานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมตู้รถไฟฟ้า โครงการ ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้น บอร์ดเห็นว่า ข้อมูลที่ใช้เป็นเหตุผลในการพิจารณาไม่เพียงพอ จึงให้กลับไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้งานระบบสายสีแดงล่าช้า เป็นผลมาจากความล่าช้าของสัญญาที่1 (งานโยธา สำหรับสถานีกลางบางซื่อ) จากการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ท่อน้ำมัน ท่อประปา ส่งผลให้สัญญา 3 เข้าพื้นที่ไม่ได้ตามสัญญา ซึ่งต้องไปทำรายละเอียดอธิบายให้บอร์ดเข้าใจ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การขยายเวลาสัญญา 3 ทำให้ต้องปรับแผนการเปิดเดินรถไฟสายสีแดงจากเดิมเดือน ม.ค.64 ออกไป เป็นช่วงกลางปี หรืออย่างช้าปลายปี 64
"นิรุฒ" เริ่มงานผู้ว่าฯ24 เม.ย.
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 09.09 น. ได้มีการลงนามสัญญาว่าจ้างนายนิรุฒ มณีพันธ์ เป็นผู้ว่าฯรฟท.คนใหม่ (คนที่ 19) โดยนายนิรุฒ กำหนดเริ่มทำงานในวันศุกร์ที่ 24 เม.ย.63 ซึ่ง บอร์ดรฟท.ได้ให้นโยบาย เร่งด่วน แก้ปัญหาข้อพิพาท กับบริษัท โฮปเวลล์ ดำเนิน โครงการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ตามแผนลงทุน และเร่งแผนฟื้นฟูแก้ขาดทุน เร่งตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินเพื่อหารายได้เพิ่ม รวมถึงดูแลสิทธิประโยชน์ สวัสดิการของพนักงานให้เหมาะสม
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯรฟท. คนใหม่ กล่าวว่า ไม่รู้สึกหนักใจกับปัญหาภาวะการขาดทุน ซึ่ง ภารกิจด่วนตอนนี้ คือ มาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารจากไวรัสโควิด-19 และดุแลสุขภาพของพนักงาน
วานนี้ (16 เม.ย.) นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟท.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำร่างสัญญาจ้างและเงื่อนไขอื่นในการทำสัญญาจ้างงาน ระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดการดำเนินการตามคำสั่งมาตรา 44 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 30 พ.ค.63 โดยขยายออกไปอีก 155 วัน หรือจนถึงวันที่ 31 ต.ค.63 ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ทำให้ไม่สามารถประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ได้ โดยให้ รฟท.เสนอต่อกระทรวงคมนาคม และนายกรัฐมนตรี ต่อไป
เคาะผลประมูลโยธา 2 สัญญา
นอกจากนี้ บอร์ดยังอนุมัติ ผลการประมูล ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เพื่อจ้างก่อสร้างงานโยธารถไฟไทย-จีน จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 3-3 งานโยธา สำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. (ราคากลาง 12,043 ล้านบาท) ซึ่ง บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด เสนอราคาต่ำสุด ที่ 9,838 ล้านบาท และสัญญาที่ 4-5 งานโยธาสำหรับช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. (ราคากลาง 11,801 ล้านบาท) ซึ่ง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เสนอราคาต่ำสุด 9,913 ล้านบาท
ส่วน สัญญาที่ 3-5 งานโยธา สำหรับช่วงโคกกรวด- นครราชสีมา ระยะทาง 13.69 กม. (ราคากลาง 9,257 ล้านบาท) ซึ่งกิจการร่วมค้าบริษัท SPTK จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 7,750 ล้านบาท นั้น ยังไม่อนุมัติ โดยให้ไปสอบถามกรมบัญชีกลาง ในประเด็นกิจการร่วมค้าจดทะเบียนใหม่ เพื่อความชัดเจน ซึ่งคาดว่าจะเสนอบอร์ดได้ในการประชุมครั้งหน้า พร้อมกันนี้ ให้เร่งรัดรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อเร่งลงนามสัญญากับผู้รับจ้างต่อไป
เจรจา สผ.เคลียร์ปม EIA
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการฯรฟท. กล่าวว่า ภายในเดือนเม.ย.นี้ จะส่งรายงาน EIA เพิ่มเติม ช่วงบ้านภาชี-โคราช ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป นอกจากนี้ รฟท.ยังได้ทำหนังสือหารือ สผ. เพื่อขอให้ รฟท.สามารถลงนาม สัญญากับผู้รับจ้างในช่วงที่ไม่มีปัญหา EIA เป็นช่วงๆได้ก่อนหรือไม่ ทั้งนี้ เนื่องจาก งานก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แบ่งเป็น 14 สัญญานั้น ขณะนี้ กำลังก่อสร้างเพียง2 สัญญา อีก 7 สัญญา ประมูลและบอร์ดอนุมัติแล้ว แต่ยังลงนามไม่ได้ เพราะต้องรออนุมัติ EIA ขณะที่มีบางสัญญาครบกำหนดการยืนราคา ซึ่งได้เจรจากับผู้รับจ้างขยายออกไปถึงเดือน ส.ค.-ก.ย.
“EIA ไม่ได้ติดทั้งเส้นทาง ติดเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้น รฟท.จึงหารือ สผ.ไปว่า หากสัญญาช่วงที่ไม่ติดเรื่อง EIA จะขอเซ็นกับผู้รับจ้างก่อนได้หรือไม่ เพื่อทยอยก่อสร้าง” นายวรวุฒิ ระบุ
ตีกลับขยายสัญญา 3 สายสีแดง
ส่วนการขยายระยะเวลาก่อสร้างงานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมตู้รถไฟฟ้า โครงการ ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้น บอร์ดเห็นว่า ข้อมูลที่ใช้เป็นเหตุผลในการพิจารณาไม่เพียงพอ จึงให้กลับไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้งานระบบสายสีแดงล่าช้า เป็นผลมาจากความล่าช้าของสัญญาที่1 (งานโยธา สำหรับสถานีกลางบางซื่อ) จากการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ท่อน้ำมัน ท่อประปา ส่งผลให้สัญญา 3 เข้าพื้นที่ไม่ได้ตามสัญญา ซึ่งต้องไปทำรายละเอียดอธิบายให้บอร์ดเข้าใจ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การขยายเวลาสัญญา 3 ทำให้ต้องปรับแผนการเปิดเดินรถไฟสายสีแดงจากเดิมเดือน ม.ค.64 ออกไป เป็นช่วงกลางปี หรืออย่างช้าปลายปี 64
"นิรุฒ" เริ่มงานผู้ว่าฯ24 เม.ย.
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 09.09 น. ได้มีการลงนามสัญญาว่าจ้างนายนิรุฒ มณีพันธ์ เป็นผู้ว่าฯรฟท.คนใหม่ (คนที่ 19) โดยนายนิรุฒ กำหนดเริ่มทำงานในวันศุกร์ที่ 24 เม.ย.63 ซึ่ง บอร์ดรฟท.ได้ให้นโยบาย เร่งด่วน แก้ปัญหาข้อพิพาท กับบริษัท โฮปเวลล์ ดำเนิน โครงการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ตามแผนลงทุน และเร่งแผนฟื้นฟูแก้ขาดทุน เร่งตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินเพื่อหารายได้เพิ่ม รวมถึงดูแลสิทธิประโยชน์ สวัสดิการของพนักงานให้เหมาะสม
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯรฟท. คนใหม่ กล่าวว่า ไม่รู้สึกหนักใจกับปัญหาภาวะการขาดทุน ซึ่ง ภารกิจด่วนตอนนี้ คือ มาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารจากไวรัสโควิด-19 และดุแลสุขภาพของพนักงาน