ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - นอกเหนือจากเรื่องการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” แล้ว เรื่องใหญ่เรื่องโตที่สังคมให้ความสนใจเห็นทีจะหนีไม่พ้นกรณี “แรพิดเทสต์(Rapid Test) ” หรือชุดตรวจโควิด-19 แบบรวดเร็ว
กรณีนี้กลายเป็นประเด็นร้อน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกมาชี้แจงหลายต่อหลายครั้งว่าไม่มีการทุจริต แต่ก็ยังมีการขุดคุ้ยและขยายความกันอย่างไม่หยุดหย่อนถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจนสังคมสงสัยว่า มันเป็นอย่างไรกันแน่ แล้วการตรวจแบบแรพิดเทสต์มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด แตกต่างจากวิธี RT PCR ที่ประเทศไทยใช้กันอยู่ทุกวันนี้ตรงไหน
เรื่องนี้เกิดขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้อง มีความกดดัน ทั้งต่อรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จากสังคมให้นำแรพิดเทสต์มาใช้อย่างผสมผสานกับวิธี RT PCR เพื่อให้มีการตรวจผู้ติดเชื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งเกิดกรณีใหญ่โตเมื่อประเทศสเปนยกเลิกนำเข้าชุดทดสอบหาแอนติเจนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จากประเทศจีน ซึ่งเป็นตัวเดียวกันกับตัวที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการพิจารณาร่วมกันและอนุญาตให้นำเข้าก่อนหน้า
ตามมาด้วยการที่ “บริษัท เอ็มพี เมดกรุ๊ป จำกัด” หนึ่งในเอกชนที่ยื่นประเมินผลชุดตรวจอย่างง่าย (Rapied Test) ถูก “เสี่ยหนู-นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี” และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมาตรฐานของชุดตรวจดังกล่าว และผสมโรงด้วยการที่ “ส.ส.พรรคภูมิใจไทย” ร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ไต่สวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อถกเถียงทั้งในทางการเมืองและในทางวิชาการกันอย่างหน้าดำคร่ำเครียดทีเดียว
ประเด็นนี้ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน การตรวจหายืนยันมีอยู่ 3 แบบ คือ 1. ตรวจหาสารพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธีเรียลไทม์พีซีอาร์(RT-PCR) รู้ผลใน 3 ชั่วโมง 2. ชุดทดสอบหาภูมิคุ้มกัน และ 3. การตรวจหาแอนติเจน
ทั้งนี้ ประเทศไทยโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้วิธีเรียลไทม์พีซีอาร์ในการตรวจยืนยันการติดเชื้อผู้ป่วยทุกรายในประเทศไทย โดยได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นวิธีมาตรฐาน และได้พัฒนาวิธีการตรวจและน้ำยาการตรวจ โดยร่วมกับบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ที่มาร่วมผลิตในเชิงอุตสาหกรรมมาเป็นชุดทดสอบ RT-PCR Kits หรือ SMC COVID-19 โดยขณะนี้ได้มอบให้รัฐบาลไป 2 หมื่นชุด และแผนที่วางไว้จะผลิตให้อย่างต่อเนื่องโดยสิ้น เม.ย.จะผลิตให้ได้ 1 แสนชุด หากยังมีการระบาดของโรคก็จะผลิตให้ได้ 1 ล้านชุด ภายใน 6 เดือน
“น้ำยาที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้ในการตรวจปัจจุบันก็เป็นน้ำยาที่เราผลิตเองขึ้น โดยรองรับในส่วนของห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และ รพ.ในเครือข่าย ไม่ได้สั่งซื้อเข้ามา ก็ให้มั่นใจว่า ในน้ำยาของเราจะมีเพียงพอตอบสนองต่อการระบาดของโรค ส่วนการจะนำน้ำยาชุดตรวจที่ผลิตนี้กระจายไปยังส่วนห้องแล็บอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยและเอกชนหรือไม่ ตรงนี้ต้องพิจารณาเรื่องของเครื่องที่ใช้ตรวจด้วยว่ารองรับกับน้ำยาแบบใด บางเครื่องต้องใช้น้ำยาเฉพาะ บางเครื่องใช้ได้หลายแบบ แต่อย่างของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เครื่องเราจะใช้กับน้ำยาได้หลายแบบ เพราะตอนนี้ยึดยุทธศาสตร์ว่าในช่วงที่มีความต้องการทั่วโลก และของขาดแคลนก็ต้องเอาของมาจากหลายแหล่ง กระจายความเสี่ยงเช่น อเมริกาส่งไม่ได้ก็มีจีน ญี่ปุ่น เยอรมนี ก็ทำให้น้ำยาไม่ขาด นอกจากนี้ ยังมีการอนุญาตนำเข้าน้ำยาตรวจวิธีเรียลไทม์พีซีอาร์อีก 16 บริษัท ซึ่งจะมีใช้อย่างเพียงพอ”
นพ.โอภาสให้ข้อมูลด้วยว่า สำหรับแรพิดเทสต์ (Rapid Test) ที่เป็นการตรวจภูมิคุ้มกันที่ตรวจได้ง่ายและไว แต่ไม่ได้ไวในการวินิจฉัยหาโรค เพราะต้องรอ 14 วัน กว่าภูมิคุ้มกันร่างกายจะขึ้นถึงจะรู้ว่าผลบวกหรือลบ เช่น ติดเชื้อไป 3 วัน ยังไม่มีอาการ แต่ไปตรวจแล้วได้ผลลบ ก็ไม่รู้ผลอยู่ดีว่าติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ ซึ่งอาจจะเป็นการติดเชื้อแต่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน หรืออาจไม่ติดเชื้อก็ได้
ที่สำคัญคือ ข้อมูลทางวิชาการ หลักการ และแพทย์ผู้รักษา ทั้งจากคณบดีคณะแพทยศาสตร์จากจุฬาฯ รามาธิบดี และศิริราช ก็ยังยืนยันว่า การตรวจแบบ RT PCR ยังสำคัญในการตรวจวินิจฉัย และการควบคุมโรค ไม่ใช่การตรวจแบบแรพิดเทสต์ และ ผอ.รพ.จุฬาฯ ก็ทำหนังสือยืนยันว่า รพ.จุฬาฯ ยังใช้ RT PCR ในการตรวจเป็นหลัก
“หากทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคณะกรรมการมีเจตนาจะทุจริตจริงอย่างที่มีการกล่าวหา เราคงต้องรีบปล่อยชุดแรพิดเทสต์ออกมาอย่างกว้างขวาง หรือมีการสนับสนุนให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง แต่ที่ผ่านมา ทั้งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หรือแม้แต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กลับทำตรงกันข้ามคือ เรายืนหยัดในหลักการ ในหลักวิชาการ ว่า การใช้แรพิดเทสต์มีข้อจำกัด และที่มีข้อกล่าวหาว่าทางคณะกรรมการเลือกปฏิบัติ ไม่โปร่งใส ไม่มีมาตรฐาน เรายืนยันว่าการดำเนินงานมีมาตรฐานสากล หลักวิชาการรองรับและสอดคล้องกับหลักวิชาการ ทั้งนี้ ผมและผู้บริหารกรมฯ ทุกระดับมายืนยันว่า เรามุ่งมั่นทำสงครามกับโควิด-19 ด้วยความเป็นมืออาชีพ ยึดมั่นในหลักวิชาการ มาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ที่ผ่านมา ไม่มีแม้แต่ความคิดที่จะทุจริต และเราไม่เคยถูกครอบงำจากกลุ่มใด ผู้ใด ให้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือทุจริต แม้จะมีอุปสรรคการทำงานอาจทำให้สะดุดไปบ้าง แต่เรายืนยันที่จะปฏิบัติหน้าที่ปกป้องพี่น้องประชาชนและประเทศชาติต่อไป” นพ.โอภาสยืนยัน
ขณะที่ ศ.นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า การระบุตัวเลขผู้ติดเชื้อโดยปกติจะยึดตามการตรวจในผู้ที่มีอาการโดยวิธี PCR แต่แท้ที่จริงแล้ว การแพร่ที่สำคัญจะมาจากคนหนุ่มสาวแข็งแรงที่ไม่มีอาการด้วยซ้ำ รายงานสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงการแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการ ซึ่งจากการศึกษาเรือสำราญไดมอนด์ปริ้นเซสระยะแรก ที่มีผู้ติดเชื้อประมาณ 700 รายและพบว่า 18% ไม่มีอาการใดๆ จนกระทั่งถึงรายงานในวารสาร Science (16 มีนาคม) ซึ่งวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนวันที่ 23 มกราคมในประเทศจีนที่ยังไม่ได้ห้ามการเดินทาง จะพบว่า มีผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ สูงกว่าที่คิดและทำให้ตัวเลขจริงอาจจะสูงกว่าตัวเลขที่รายงานไปแล้วหลายเท่า และในวารสารโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID วันที่ 16 มีนาคม) แสดงให้เห็นว่า จะมีจำนวนสูงถึง 12.6% ที่แพร่เชื้อได้ก่อนที่จะมีอาการ (presymptomatic transmission)
ข่าวที่ออกมาจากวารสาร Nature (Nature news) วันที่ 20 มีนาคมได้ตอกย้ำถึงการแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการ และวันที่ 22 มีนาคม ใน South China morning post ได้รวบรวมข้อมูลทั้งในประเทศจีนและเกาหลีเองซึ่งมีการตรวจอย่างมากมาย และเป็นไปได้ว่า ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อได้ อาจมีจำนวนสูงถึง 30%
ศ.นพ ธีระวัฒน์ระบุว่า จากข้อมูลนี้นำมาถึงประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญและเข้าใจคือ หมอพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ใครติดเชื้อ และแพร่เชื้อได้ ทั้งๆ ที่คนๆนั้น ไม่ได้มีประวัติมั่วสุมกับสถานบันเทิงใดใดๆ มาก็ตาม ดังนั้น จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเหลือเกิน โดยที่ถ้าจะป้องกันตัวได้ดีที่สุดคือต้องใส่ชุดหมีตลอดเวลา ไม่ว่าจะตรวจผู้ป่วยใดๆ ก็ตาม
ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ต้องมีการตรวจอย่างรวดเร็วประหยัดและสามารถทำได้กับคนหมู่มาก เพื่อกันการแพร่กระจายของเชื้อ นั่นก็คือ rapid test ที่เป็น strip เจาะเลือดปลายนิ้ว
ส่วนเรื่อง “ทุจริต” น.ส.นทพร บุญบุบผา หนึ่งในกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงในบริษัท เอ็มพี เมดกรุ๊ป จำกัด ให้สัมภาษณ์ชี้แจงสำนักข่าวอิศรา เป็นทางการ ถึงกรณีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชุดตรวจอย่างง่าย (Rapid Test) จากบริษัท Bioeasy สรุปได้ว่า สาเหตุที่นำเข้าผลิตภัณฑ์จากบริษัท Bioeasy เนื่องจากเป็นหนึ่งในรายชื่อผู้ผลิตขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อตรวจสอบเอกสารแล้วพบว่าสมบูรณ์ มีรายงานแสดงว่าผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพเหมาะสม อย่างไรก็ดีเมื่อเกิดเหตุการณ์ประเทศสเปนระบุว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้งานไม่ได้ จึงอีเมล์ไปถามที่โรงงานผู้ผลิต พบว่ามีข้อผิดพลาดจริง จึงยังไม่ได้นำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ ยืนยันว่าบริษัทเข้าสู่กระบวนการยื่นประเมินอย่างถูกต้อง และพร้อมรับการตรวจสอบจาก ป.ป.ช.
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่น่าสนใจนอกจากเรื่องนี้ก็คือ กระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวทางการขยายผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังและสอบสวนโรค และนำเข้ามาสู่การตรวจในห้องปฏิบัติการ (แล็บ)ให้มากขึ้น โดยหัวใจสำคัญของการควบคุมโรคระบาดคือ “ค้นหาผู้มีความเสี่ยงรับเชื้อให้เร็วที่สุด”
ทั้งนี้ ประชาชนไทยทุกคนที่มีความเสี่ยงและมีอาการเข้าข่ายสงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ตามหลักเกณฑ์ผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือ PUI ซึ่งย่อมาจาก Patient Under Investigation ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คือ ไข้ 37.5 องศาขึ้นไป หรือประวัติมีไข้ร่วมกับอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ ไอ, น้ำมูก, เจ็บคอ, หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก หรือผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ และมีปัจจัยเสี่ยง สามารถเข้ารับคัดกรองได้ฟรีที่โรงพยาบาลทุกแห่ง ซึ่งเมื่อถูกวินิจฉัยว่าเข้าเกณฑ์แล้ว โรงพยาบาลจะเป็นผู้เก็บสิ่งส่งตรวจ เมื่อผลการตรวจพบว่าติดเชื้อ ก็จะเข้าสู่การรักษาตามกระบวนการมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับความพร้อมของห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีนโยบายเชิงรุกในการจัดการการแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ “1 จังหวัด-1 แล็บ-100 ห้องปฏิบัติการ” เพื่อเร่งตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่และให้รายงานผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง
กรณีนี้กลายเป็นประเด็นร้อน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกมาชี้แจงหลายต่อหลายครั้งว่าไม่มีการทุจริต แต่ก็ยังมีการขุดคุ้ยและขยายความกันอย่างไม่หยุดหย่อนถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจนสังคมสงสัยว่า มันเป็นอย่างไรกันแน่ แล้วการตรวจแบบแรพิดเทสต์มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด แตกต่างจากวิธี RT PCR ที่ประเทศไทยใช้กันอยู่ทุกวันนี้ตรงไหน
เรื่องนี้เกิดขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้อง มีความกดดัน ทั้งต่อรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จากสังคมให้นำแรพิดเทสต์มาใช้อย่างผสมผสานกับวิธี RT PCR เพื่อให้มีการตรวจผู้ติดเชื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งเกิดกรณีใหญ่โตเมื่อประเทศสเปนยกเลิกนำเข้าชุดทดสอบหาแอนติเจนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จากประเทศจีน ซึ่งเป็นตัวเดียวกันกับตัวที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการพิจารณาร่วมกันและอนุญาตให้นำเข้าก่อนหน้า
ตามมาด้วยการที่ “บริษัท เอ็มพี เมดกรุ๊ป จำกัด” หนึ่งในเอกชนที่ยื่นประเมินผลชุดตรวจอย่างง่าย (Rapied Test) ถูก “เสี่ยหนู-นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี” และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมาตรฐานของชุดตรวจดังกล่าว และผสมโรงด้วยการที่ “ส.ส.พรรคภูมิใจไทย” ร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ไต่สวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อถกเถียงทั้งในทางการเมืองและในทางวิชาการกันอย่างหน้าดำคร่ำเครียดทีเดียว
ประเด็นนี้ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน การตรวจหายืนยันมีอยู่ 3 แบบ คือ 1. ตรวจหาสารพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธีเรียลไทม์พีซีอาร์(RT-PCR) รู้ผลใน 3 ชั่วโมง 2. ชุดทดสอบหาภูมิคุ้มกัน และ 3. การตรวจหาแอนติเจน
ทั้งนี้ ประเทศไทยโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้วิธีเรียลไทม์พีซีอาร์ในการตรวจยืนยันการติดเชื้อผู้ป่วยทุกรายในประเทศไทย โดยได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นวิธีมาตรฐาน และได้พัฒนาวิธีการตรวจและน้ำยาการตรวจ โดยร่วมกับบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ที่มาร่วมผลิตในเชิงอุตสาหกรรมมาเป็นชุดทดสอบ RT-PCR Kits หรือ SMC COVID-19 โดยขณะนี้ได้มอบให้รัฐบาลไป 2 หมื่นชุด และแผนที่วางไว้จะผลิตให้อย่างต่อเนื่องโดยสิ้น เม.ย.จะผลิตให้ได้ 1 แสนชุด หากยังมีการระบาดของโรคก็จะผลิตให้ได้ 1 ล้านชุด ภายใน 6 เดือน
“น้ำยาที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้ในการตรวจปัจจุบันก็เป็นน้ำยาที่เราผลิตเองขึ้น โดยรองรับในส่วนของห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และ รพ.ในเครือข่าย ไม่ได้สั่งซื้อเข้ามา ก็ให้มั่นใจว่า ในน้ำยาของเราจะมีเพียงพอตอบสนองต่อการระบาดของโรค ส่วนการจะนำน้ำยาชุดตรวจที่ผลิตนี้กระจายไปยังส่วนห้องแล็บอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยและเอกชนหรือไม่ ตรงนี้ต้องพิจารณาเรื่องของเครื่องที่ใช้ตรวจด้วยว่ารองรับกับน้ำยาแบบใด บางเครื่องต้องใช้น้ำยาเฉพาะ บางเครื่องใช้ได้หลายแบบ แต่อย่างของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เครื่องเราจะใช้กับน้ำยาได้หลายแบบ เพราะตอนนี้ยึดยุทธศาสตร์ว่าในช่วงที่มีความต้องการทั่วโลก และของขาดแคลนก็ต้องเอาของมาจากหลายแหล่ง กระจายความเสี่ยงเช่น อเมริกาส่งไม่ได้ก็มีจีน ญี่ปุ่น เยอรมนี ก็ทำให้น้ำยาไม่ขาด นอกจากนี้ ยังมีการอนุญาตนำเข้าน้ำยาตรวจวิธีเรียลไทม์พีซีอาร์อีก 16 บริษัท ซึ่งจะมีใช้อย่างเพียงพอ”
นพ.โอภาสให้ข้อมูลด้วยว่า สำหรับแรพิดเทสต์ (Rapid Test) ที่เป็นการตรวจภูมิคุ้มกันที่ตรวจได้ง่ายและไว แต่ไม่ได้ไวในการวินิจฉัยหาโรค เพราะต้องรอ 14 วัน กว่าภูมิคุ้มกันร่างกายจะขึ้นถึงจะรู้ว่าผลบวกหรือลบ เช่น ติดเชื้อไป 3 วัน ยังไม่มีอาการ แต่ไปตรวจแล้วได้ผลลบ ก็ไม่รู้ผลอยู่ดีว่าติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ ซึ่งอาจจะเป็นการติดเชื้อแต่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน หรืออาจไม่ติดเชื้อก็ได้
ที่สำคัญคือ ข้อมูลทางวิชาการ หลักการ และแพทย์ผู้รักษา ทั้งจากคณบดีคณะแพทยศาสตร์จากจุฬาฯ รามาธิบดี และศิริราช ก็ยังยืนยันว่า การตรวจแบบ RT PCR ยังสำคัญในการตรวจวินิจฉัย และการควบคุมโรค ไม่ใช่การตรวจแบบแรพิดเทสต์ และ ผอ.รพ.จุฬาฯ ก็ทำหนังสือยืนยันว่า รพ.จุฬาฯ ยังใช้ RT PCR ในการตรวจเป็นหลัก
“หากทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคณะกรรมการมีเจตนาจะทุจริตจริงอย่างที่มีการกล่าวหา เราคงต้องรีบปล่อยชุดแรพิดเทสต์ออกมาอย่างกว้างขวาง หรือมีการสนับสนุนให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง แต่ที่ผ่านมา ทั้งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หรือแม้แต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กลับทำตรงกันข้ามคือ เรายืนหยัดในหลักการ ในหลักวิชาการ ว่า การใช้แรพิดเทสต์มีข้อจำกัด และที่มีข้อกล่าวหาว่าทางคณะกรรมการเลือกปฏิบัติ ไม่โปร่งใส ไม่มีมาตรฐาน เรายืนยันว่าการดำเนินงานมีมาตรฐานสากล หลักวิชาการรองรับและสอดคล้องกับหลักวิชาการ ทั้งนี้ ผมและผู้บริหารกรมฯ ทุกระดับมายืนยันว่า เรามุ่งมั่นทำสงครามกับโควิด-19 ด้วยความเป็นมืออาชีพ ยึดมั่นในหลักวิชาการ มาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ที่ผ่านมา ไม่มีแม้แต่ความคิดที่จะทุจริต และเราไม่เคยถูกครอบงำจากกลุ่มใด ผู้ใด ให้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือทุจริต แม้จะมีอุปสรรคการทำงานอาจทำให้สะดุดไปบ้าง แต่เรายืนยันที่จะปฏิบัติหน้าที่ปกป้องพี่น้องประชาชนและประเทศชาติต่อไป” นพ.โอภาสยืนยัน
ขณะที่ ศ.นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า การระบุตัวเลขผู้ติดเชื้อโดยปกติจะยึดตามการตรวจในผู้ที่มีอาการโดยวิธี PCR แต่แท้ที่จริงแล้ว การแพร่ที่สำคัญจะมาจากคนหนุ่มสาวแข็งแรงที่ไม่มีอาการด้วยซ้ำ รายงานสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงการแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการ ซึ่งจากการศึกษาเรือสำราญไดมอนด์ปริ้นเซสระยะแรก ที่มีผู้ติดเชื้อประมาณ 700 รายและพบว่า 18% ไม่มีอาการใดๆ จนกระทั่งถึงรายงานในวารสาร Science (16 มีนาคม) ซึ่งวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนวันที่ 23 มกราคมในประเทศจีนที่ยังไม่ได้ห้ามการเดินทาง จะพบว่า มีผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ สูงกว่าที่คิดและทำให้ตัวเลขจริงอาจจะสูงกว่าตัวเลขที่รายงานไปแล้วหลายเท่า และในวารสารโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID วันที่ 16 มีนาคม) แสดงให้เห็นว่า จะมีจำนวนสูงถึง 12.6% ที่แพร่เชื้อได้ก่อนที่จะมีอาการ (presymptomatic transmission)
ข่าวที่ออกมาจากวารสาร Nature (Nature news) วันที่ 20 มีนาคมได้ตอกย้ำถึงการแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการ และวันที่ 22 มีนาคม ใน South China morning post ได้รวบรวมข้อมูลทั้งในประเทศจีนและเกาหลีเองซึ่งมีการตรวจอย่างมากมาย และเป็นไปได้ว่า ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อได้ อาจมีจำนวนสูงถึง 30%
ศ.นพ ธีระวัฒน์ระบุว่า จากข้อมูลนี้นำมาถึงประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญและเข้าใจคือ หมอพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ใครติดเชื้อ และแพร่เชื้อได้ ทั้งๆ ที่คนๆนั้น ไม่ได้มีประวัติมั่วสุมกับสถานบันเทิงใดใดๆ มาก็ตาม ดังนั้น จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเหลือเกิน โดยที่ถ้าจะป้องกันตัวได้ดีที่สุดคือต้องใส่ชุดหมีตลอดเวลา ไม่ว่าจะตรวจผู้ป่วยใดๆ ก็ตาม
ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ต้องมีการตรวจอย่างรวดเร็วประหยัดและสามารถทำได้กับคนหมู่มาก เพื่อกันการแพร่กระจายของเชื้อ นั่นก็คือ rapid test ที่เป็น strip เจาะเลือดปลายนิ้ว
ส่วนเรื่อง “ทุจริต” น.ส.นทพร บุญบุบผา หนึ่งในกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงในบริษัท เอ็มพี เมดกรุ๊ป จำกัด ให้สัมภาษณ์ชี้แจงสำนักข่าวอิศรา เป็นทางการ ถึงกรณีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชุดตรวจอย่างง่าย (Rapid Test) จากบริษัท Bioeasy สรุปได้ว่า สาเหตุที่นำเข้าผลิตภัณฑ์จากบริษัท Bioeasy เนื่องจากเป็นหนึ่งในรายชื่อผู้ผลิตขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อตรวจสอบเอกสารแล้วพบว่าสมบูรณ์ มีรายงานแสดงว่าผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพเหมาะสม อย่างไรก็ดีเมื่อเกิดเหตุการณ์ประเทศสเปนระบุว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้งานไม่ได้ จึงอีเมล์ไปถามที่โรงงานผู้ผลิต พบว่ามีข้อผิดพลาดจริง จึงยังไม่ได้นำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ ยืนยันว่าบริษัทเข้าสู่กระบวนการยื่นประเมินอย่างถูกต้อง และพร้อมรับการตรวจสอบจาก ป.ป.ช.
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่น่าสนใจนอกจากเรื่องนี้ก็คือ กระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวทางการขยายผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังและสอบสวนโรค และนำเข้ามาสู่การตรวจในห้องปฏิบัติการ (แล็บ)ให้มากขึ้น โดยหัวใจสำคัญของการควบคุมโรคระบาดคือ “ค้นหาผู้มีความเสี่ยงรับเชื้อให้เร็วที่สุด”
ทั้งนี้ ประชาชนไทยทุกคนที่มีความเสี่ยงและมีอาการเข้าข่ายสงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ตามหลักเกณฑ์ผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือ PUI ซึ่งย่อมาจาก Patient Under Investigation ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คือ ไข้ 37.5 องศาขึ้นไป หรือประวัติมีไข้ร่วมกับอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ ไอ, น้ำมูก, เจ็บคอ, หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก หรือผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ และมีปัจจัยเสี่ยง สามารถเข้ารับคัดกรองได้ฟรีที่โรงพยาบาลทุกแห่ง ซึ่งเมื่อถูกวินิจฉัยว่าเข้าเกณฑ์แล้ว โรงพยาบาลจะเป็นผู้เก็บสิ่งส่งตรวจ เมื่อผลการตรวจพบว่าติดเชื้อ ก็จะเข้าสู่การรักษาตามกระบวนการมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับความพร้อมของห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีนโยบายเชิงรุกในการจัดการการแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ “1 จังหวัด-1 แล็บ-100 ห้องปฏิบัติการ” เพื่อเร่งตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่และให้รายงานผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง