ผู้จัดการรายวัน360-"สุชาติ"แนะรัฐบาลเร่งค้นหา-จำกัด Super Spreader ตามโมเดลจีน-เกาหลีใต้ ชี้ต้องขยายโอกาส ตรวจเชื้อโควิด-19 ให้ประชาชนเข้าถึงฟรีทุกกลุ่ม ตัดเงื่อนไขตรวจไม่พบ-จ่ายเองออก ยกมาตรา 47 รัฐธรรมนูญ กำหนดสิทธิคนไทยป้องกันโรคร้ายแรงฟรี เชื่อคนไม่เสี่ยง คงไม่เข้ามาตรวจให้เป็นภาระ "เทพไท" เห็นดีตามฝ่ายค้าน จี้นายกฯ เปิดสภาฯ วิสามัญ ถก 3 เรื่อง "โควิด-แก้รัฐธรรมนูญ-ปัญหาปากท้อง" ด้าน"แรมโบ้อีสาน" สวนเปิดสภาฯ ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกทาง แนะส.ส.ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนดีกว่า "ชวน"ให้ กมธ. พิจารณาเองจะงดประชุมหรือไม่
นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เปิดเผยถึงสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง และจำเป็นที่ภาครัฐต้องมีมาตรการออกมาอย่างเร่งด่วน ประการแรก คือ การจำกัดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศ ที่มีแนวโน้มจะขยายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่ปรากฏว่า ผู้ติดเชื้อเริ่มเป็นกลุ่มก้อนมาจากสถานที่หรือกลุ่มคนที่มีกิจกรรมร่วมกัน สะท้อนว่า มีผู้ติดเชื้อที่เป็น Super Spreaderหรือ ผู้ติดเชื้อที่แพร่กระจายเชื้อในวงกว้างแล้ว รัฐจึงต้องปรับแนวทางการทำงานเชิองรุก โดยการเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อ และ Super Spreaderที่เป็นพาหะในการแพร่เชื้อไวรัสเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโดยเร็วและมากที่สุด เพื่อป้องกันผู้ติดเชื้อบางรายที่อาจจะกลายเป็น Super Spreader โดยไม่รู้ตัว และไปปรากฏ หรือร่วมกิจกรรมในที่ชุมนุมชนต่างๆ ตามสถิติการติดเชื้อในประเทศไทยระยะหลัง
ทั้งนี้ เข้าใจดีว่า การค้นหาผู้ติดเชื้อนั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ที่รู้ตัวว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้เข้ามารับการตรวจหาเชื้อด้วยตัวเอง แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อไวรัสที่ยังค่อนข้างสูงถึงหลายพันบาท ก็ทำให้ผู้มีความเสี่ยง หลีกเลี่ยงการเข้ารับการตรวจหาเชื้อ และแม้ทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะออกประกาศว่า กลุ่มเสี่ยงสามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่การกำหนดเงื่อนไขว่า หากเข้ารับการตรวจแล้วไม่พบว่าติดเชื้อผู้เข้ารับการตรวจ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองนั้น ก็เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้กลุ่มเสี่ยงบางส่วนหลีกเลี่ยงการเข้ารับการตรวจหาเชื้อที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจ กรณีที่ไม่ติดเชื้อ
"เมื่อมีการประกาศว่า โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว รัฐบาลก็จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติตาม มาตรา 47 แห่งรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะถ้าไปกำหนดว่า ตรวจแล้วไม่พบเชื้อ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองนั้น ถือเป็นกีดกันประชาชนบางส่วนที่อาจไม่มีความพร้อมในเรื่องค่าใช้จ่าย ที่สุดแล้ว หากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อจริงก็อาจกลายเป็น Super Spreader แพร่กระจายเชื้อในวงกว้าง ที่ย่อมไม่เป็นผลดีแน่ ควรดูตัวอย่าง ประเทศจีนและประเทศเกาหลีใต้ ที่ยอมเสียงบประมาณตรวจวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยงจำนวนมาก จนที่สุดสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ ซึ่งประเทศไทยเองก็สามารถทำได้ โดยรัฐบาลก็มีอำนาจปรับเปลี่ยนกลไกงบประมาณให้เหมาะสมตามสถานการณ์อยู่แล้ว" รองประธานสภาฯ กล่าวและว่า ภาครัฐยังต้องปรับแนวทางการบริหารจัดการอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัส โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพ ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง และเป็นธรรมด้วย
"เทพไท" จี้"บิ๊กตู่"สั่งเปิดสภาฯถกปัญหาโควิด
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีฝ่ายค้าน เรียกร้องให้มีการเปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาการแก้ปัญหาไวรัสโควิด19 ว่า เรื่องนี้ตนได้นำเสนอความเห็นต่อสังคม และต่อรัฐบาลมานานแล้วว่า ควรจะนำเข้าสู่การประชุมสภาฯ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของ ส.ส.ทั้งหมด อย่างน้อยใน3 เรื่อง คือ 1.การแก้ปัญหาเชื้อไวรัสโควิด-19 2.การชุมนุมของนักศึกษาในเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ 3.การแก้ปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน
ส่วนที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ออกมาคัดค้าน โดยอ้างว่าจะยิ่งเป็นการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ตนเห็นว่าเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เพราะการประชุมสภาฯ มีมาตรการป้องกัน มีการคัดกรอง ก่อนเข้าอาคารรัฐสภา และสามารถขอความร่วมมือให้ ส.ส.สวมหน้ากากอนามัยระหว่างที่อยู่ในห้องประชุมได้ทุกคน
"อยากให้นายกฯ กล้าเผชิญหน้ากับความจริง พร้อมที่จะรับฟังความเห็นจาก ส.ส.ทุกคน และให้ความสำคัญกับเวทีสภาฯ มากกว่า ช่องทางอื่น จึงขอเรียกร้องให้ท่าน ได้ใช้ความกล้าหาญ ใช้ความใจกว้าง ใช้ความจริง เข้าสู้กับปัญหาทั้งหมด อยากให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพ เสนอเปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญตามมาตรา 165 ให้เร็วที่สุด" นายเทพไทกล่าว
ส.ส.ควรเอาเวลาลงพื้นที่ไปดูแลประชาชน
นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเสนอให้เปิดประชุมสภาฯ เพื่อหารือแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤติการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือเป็นความคิดที่ดี แต่การประชุมร่วมกันของคนหมู่มาก อาจมีใครคนใดคนหนึ่งนำเชื้อมาแพร่กระจายได้ ซึ่งช่องทางที่จะเสนอ มีหลายช่องทางที่ทำได้ ทั้งส่งเป็นจดหมาย หรือทำหนังสือส่งถึงรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลพร้อมรับฟัง แต่ถ้าให้ดี ส.ส. แต่ละท่านควรเอาเวลาอันมีค่า รีบเร่งลงพื้นที่ เข้าไปดำเนินการช่วยกันจัดการป้องกันให้พี่น้องประชาชนทุกคนในพื้นที่ของท่านปลอดภัยดีกว่า เอาเวลามาอภิปรายในสภาฯ แล้ววิพากษ์ วิจารณ์ ตำหนิการทำงานแบบไม่สร้างสรรค์
ขอให้คณะกรรมาธิการหยุดประชุม
นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ขณะนี้ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เราควรจะหลีกเลี่ยงการประชุม หรือสัมมนาที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมของคณะกรรมาธิการชุดต่างของสภาฯ 35 คณะ ที่ยังมีการประชุมกันทุกสัปดาห์ ตนในฐานะ รองประธาน กมธ.การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้มีการหารือกันว่า จะขอให้งดประชุม งดจัดกิจกรรม หรืองดศึกษาดูงานทั้งหมด รวมไปถึงคณะอนุกรรมาธิการต่างๆ ด้วย เพื่อป้องกันไว้ดีกว่าแก้
"ชวน"ให้แต่ละชุดตัดสินใจกันเอง
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ กล่าวว่า ในช่วงนี้ไม่มีการประชุมสภาฯ ที่มีส.ส.จำนวนมาก แต่มีการประชุม กมธ. ซึ่งจำนวนไม่มากนัก จึงกำหนดให้เป็นดุลพินิจของ กมธ. แต่ละชุดที่จะวินิจฉัยว่าควรจะมีการประชุมต่อหรือไม่ ส่วนกรณีที่ กมธ. เชิญบุคคลภายนอกมาชี้แจงนั้น สภาฯ มีกระบวนการตรวจคัดกรองอยู่แล้ว แต่สำหรับกรณีไม่มีความแน่ใจในสถานการณ์ ทาง กมธ. ตัดสินใจได้ทันที ซึ่งตนจะย้ำไปยัง กมธ. อีกครั้ง เพื่อให้พิจารณาไปตามความเหมาะสม
นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เปิดเผยถึงสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง และจำเป็นที่ภาครัฐต้องมีมาตรการออกมาอย่างเร่งด่วน ประการแรก คือ การจำกัดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศ ที่มีแนวโน้มจะขยายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่ปรากฏว่า ผู้ติดเชื้อเริ่มเป็นกลุ่มก้อนมาจากสถานที่หรือกลุ่มคนที่มีกิจกรรมร่วมกัน สะท้อนว่า มีผู้ติดเชื้อที่เป็น Super Spreaderหรือ ผู้ติดเชื้อที่แพร่กระจายเชื้อในวงกว้างแล้ว รัฐจึงต้องปรับแนวทางการทำงานเชิองรุก โดยการเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อ และ Super Spreaderที่เป็นพาหะในการแพร่เชื้อไวรัสเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโดยเร็วและมากที่สุด เพื่อป้องกันผู้ติดเชื้อบางรายที่อาจจะกลายเป็น Super Spreader โดยไม่รู้ตัว และไปปรากฏ หรือร่วมกิจกรรมในที่ชุมนุมชนต่างๆ ตามสถิติการติดเชื้อในประเทศไทยระยะหลัง
ทั้งนี้ เข้าใจดีว่า การค้นหาผู้ติดเชื้อนั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ที่รู้ตัวว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้เข้ามารับการตรวจหาเชื้อด้วยตัวเอง แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อไวรัสที่ยังค่อนข้างสูงถึงหลายพันบาท ก็ทำให้ผู้มีความเสี่ยง หลีกเลี่ยงการเข้ารับการตรวจหาเชื้อ และแม้ทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะออกประกาศว่า กลุ่มเสี่ยงสามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่การกำหนดเงื่อนไขว่า หากเข้ารับการตรวจแล้วไม่พบว่าติดเชื้อผู้เข้ารับการตรวจ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองนั้น ก็เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้กลุ่มเสี่ยงบางส่วนหลีกเลี่ยงการเข้ารับการตรวจหาเชื้อที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจ กรณีที่ไม่ติดเชื้อ
"เมื่อมีการประกาศว่า โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว รัฐบาลก็จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติตาม มาตรา 47 แห่งรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะถ้าไปกำหนดว่า ตรวจแล้วไม่พบเชื้อ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองนั้น ถือเป็นกีดกันประชาชนบางส่วนที่อาจไม่มีความพร้อมในเรื่องค่าใช้จ่าย ที่สุดแล้ว หากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อจริงก็อาจกลายเป็น Super Spreader แพร่กระจายเชื้อในวงกว้าง ที่ย่อมไม่เป็นผลดีแน่ ควรดูตัวอย่าง ประเทศจีนและประเทศเกาหลีใต้ ที่ยอมเสียงบประมาณตรวจวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยงจำนวนมาก จนที่สุดสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ ซึ่งประเทศไทยเองก็สามารถทำได้ โดยรัฐบาลก็มีอำนาจปรับเปลี่ยนกลไกงบประมาณให้เหมาะสมตามสถานการณ์อยู่แล้ว" รองประธานสภาฯ กล่าวและว่า ภาครัฐยังต้องปรับแนวทางการบริหารจัดการอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัส โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพ ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง และเป็นธรรมด้วย
"เทพไท" จี้"บิ๊กตู่"สั่งเปิดสภาฯถกปัญหาโควิด
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีฝ่ายค้าน เรียกร้องให้มีการเปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาการแก้ปัญหาไวรัสโควิด19 ว่า เรื่องนี้ตนได้นำเสนอความเห็นต่อสังคม และต่อรัฐบาลมานานแล้วว่า ควรจะนำเข้าสู่การประชุมสภาฯ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของ ส.ส.ทั้งหมด อย่างน้อยใน3 เรื่อง คือ 1.การแก้ปัญหาเชื้อไวรัสโควิด-19 2.การชุมนุมของนักศึกษาในเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ 3.การแก้ปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน
ส่วนที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ออกมาคัดค้าน โดยอ้างว่าจะยิ่งเป็นการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ตนเห็นว่าเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เพราะการประชุมสภาฯ มีมาตรการป้องกัน มีการคัดกรอง ก่อนเข้าอาคารรัฐสภา และสามารถขอความร่วมมือให้ ส.ส.สวมหน้ากากอนามัยระหว่างที่อยู่ในห้องประชุมได้ทุกคน
"อยากให้นายกฯ กล้าเผชิญหน้ากับความจริง พร้อมที่จะรับฟังความเห็นจาก ส.ส.ทุกคน และให้ความสำคัญกับเวทีสภาฯ มากกว่า ช่องทางอื่น จึงขอเรียกร้องให้ท่าน ได้ใช้ความกล้าหาญ ใช้ความใจกว้าง ใช้ความจริง เข้าสู้กับปัญหาทั้งหมด อยากให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพ เสนอเปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญตามมาตรา 165 ให้เร็วที่สุด" นายเทพไทกล่าว
ส.ส.ควรเอาเวลาลงพื้นที่ไปดูแลประชาชน
นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเสนอให้เปิดประชุมสภาฯ เพื่อหารือแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤติการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือเป็นความคิดที่ดี แต่การประชุมร่วมกันของคนหมู่มาก อาจมีใครคนใดคนหนึ่งนำเชื้อมาแพร่กระจายได้ ซึ่งช่องทางที่จะเสนอ มีหลายช่องทางที่ทำได้ ทั้งส่งเป็นจดหมาย หรือทำหนังสือส่งถึงรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลพร้อมรับฟัง แต่ถ้าให้ดี ส.ส. แต่ละท่านควรเอาเวลาอันมีค่า รีบเร่งลงพื้นที่ เข้าไปดำเนินการช่วยกันจัดการป้องกันให้พี่น้องประชาชนทุกคนในพื้นที่ของท่านปลอดภัยดีกว่า เอาเวลามาอภิปรายในสภาฯ แล้ววิพากษ์ วิจารณ์ ตำหนิการทำงานแบบไม่สร้างสรรค์
ขอให้คณะกรรมาธิการหยุดประชุม
นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ขณะนี้ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เราควรจะหลีกเลี่ยงการประชุม หรือสัมมนาที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมของคณะกรรมาธิการชุดต่างของสภาฯ 35 คณะ ที่ยังมีการประชุมกันทุกสัปดาห์ ตนในฐานะ รองประธาน กมธ.การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้มีการหารือกันว่า จะขอให้งดประชุม งดจัดกิจกรรม หรืองดศึกษาดูงานทั้งหมด รวมไปถึงคณะอนุกรรมาธิการต่างๆ ด้วย เพื่อป้องกันไว้ดีกว่าแก้
"ชวน"ให้แต่ละชุดตัดสินใจกันเอง
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ กล่าวว่า ในช่วงนี้ไม่มีการประชุมสภาฯ ที่มีส.ส.จำนวนมาก แต่มีการประชุม กมธ. ซึ่งจำนวนไม่มากนัก จึงกำหนดให้เป็นดุลพินิจของ กมธ. แต่ละชุดที่จะวินิจฉัยว่าควรจะมีการประชุมต่อหรือไม่ ส่วนกรณีที่ กมธ. เชิญบุคคลภายนอกมาชี้แจงนั้น สภาฯ มีกระบวนการตรวจคัดกรองอยู่แล้ว แต่สำหรับกรณีไม่มีความแน่ใจในสถานการณ์ ทาง กมธ. ตัดสินใจได้ทันที ซึ่งตนจะย้ำไปยัง กมธ. อีกครั้ง เพื่อให้พิจารณาไปตามความเหมาะสม