xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

สั่งเร่งผลิต"หน้ากากอนามัยผ้า"ตลาดผ้าคึกคัก หรือฉวยโอกาส

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ตลาดผ้ากลับมาคึกคัก หลังหลายหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนสนับสนุนให้จัดทำ "หน้ากากอนามัยผ้า" เพื่อการป้องกันตนเอง จาก"โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)"

วันก่อน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สรุปผลศึกษาชนิดของผ้าที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ทำหน้ากากอนามัย คือ "ผ้าฝ้ายมัสลิน" เพราะมีประสิทธิภาพดีหลายด้าน คือสามารถกันละอองน้ำ และเส้นใยผ้าสามารถกันอนุภาคได้ดีกว่าผ้าชนิดอื่น และที่สำคัญ สามารถนำมาใช้งานได้หลายครั้ง

ยังมี "ผ้าฝ้ายดิบ และผ้านาโน" ที่เหมาะในการทำหน้ากากอนามัย โดยเมื่อนำผ้ามาประกอบกัน 2 ชั้น และส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ เส้นใยผ้าสามารถกันอนุภาคได้ใกล้เคียงหน้ากากอนามัยทางการแพทย์

ทั้ง 2 หน่วยงาน สรุปผลการทดสอบจำนวนการซักล้าง เพื่อทดสอบการเป็นขุย พบว่าผ้าฝ้ายดิบ และผ้าฝ้ายมัสลิน สามารถซักได้มากกว่า 100 ครั้ง โดยคุณภาพของเนื้อผ้าไม่เสื่อม และทดสอบประสิทธิภาพการต้านการซึมผ่านของละอองน้ำพบว่า ผ้าฝ้ายมัสลินและผ้าสาลูสามารถต้านการซึมผ่านได้ดีที่สุด

ส่วนผ้านาโน ซักได้น้อยกว่า 10 ครั้ง ประสิทธิภาพการต้านการซึมผ่านของละอองน้ำพอๆ กับผ้ายืด และผ้าฝ้ายดิบ ซึ่งน้อยกว่าผ้าสาลู และผ้าฝ้ายมัสลิน

เกณฑ์ในการทดสอบครั้งนี้ คือดูว่า 1. สามารถกันอนุภาคขนาดเล็ก 2. ป้องกันการซึมผ่านของละอองน้ำ 3. สามารถนำไปซักได้หลายครั้ง รวมถึงหาได้ง่ายทั่วไป โดยเปรียบเทียบผ้าหลายรูปแบบ เช่น ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าฝ้ายมัสลิน ผ้าสาลู ผ้านาโน และผ้ายืด

เรื่องนี้ทำให้ตลาดผ้ากลับมาคึกคัก ดูเฉพาะใน กทม. "สำเพ็ง พาหุรัด วงเวียนใหญ่" หรือตามเพจเฟซบุ๊ก "ผ้าชนิดทำหน้ากาก" ถูกสั่งจอง พรึบ! นอกจากหน่วยงานรัฐ สถานศึกษา ควานหากันวุ่น !

ส่วนตลาดต่างจังหวัด ผ้าที่เหมาะสมมีออเดอร์ สั่งจอง รวมไปถึง "ยางยืด" สำหรับผูกกับตัวหน้ากาก

ขณะที่หน่วยงานภาครัฐ ถูกกำหนดตามกฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง มีตลาดรองรับจาก "หน่วยงานศิลปาชีพ" เป็นหลัก ตรวจสอบตามตลาดออนไลน์ ราคาไม่ต่าง จากตลาดผ้าขายปลีกและค้าส่ง เท่าใดหนัก!

แต่ที่แน่ ๆ องค์กรปกครองสวนท้องถิ่น (อปท.) 7,774 แห่ง จาก "เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ที่เพิ่งได้รับโอนเงินงบประมาณ "งบกลาง" จากกระทรวงมหาดไทย 225 ล้านบาท หากต้องการวัสดุรวดเร็ว สามารถผลิตได้ตามเป้าหมาย ที่กระทรวงมหาดไทย กรมปกครองส่วนท้องถิ่น และจังหวัด มอบโจทย์ไว้ให้ หากอย่ากได้เร็ว ต้องเข้า กทม. มาจัดหากันเอง!! เพราะจะรอวัสดุจาก "หน่วยงานศิลปาชีพ" เป็นหลัก คงยาก

คราวนี้มาดูราคาจากร้านมีจำหน่าย "ผ้าสาลู ผ้าป่านมัสลิน ผ้าไฮเกรด" เริ่มจาก "ผ้าสาลู" แหล่งสำเพ็ง ผลิตจากเส้นใย cotton 100% ผลิตในประเทศไทย ท่อจากเส้นด้ายเบอร์ละเอียด หน้ากว้าง 44" (110ซม.) ราคาตัดปลีก 40 บาท/หลา หากยกม้วน 30 บาท/หลา

แหล่งพาหุรัด หน้ากว้าง 60 นิ้ว 1 ม้วน มี 50 หลา ขายปลีก หลาละ 41 บาท ขายส่งเป็นม้วน ตกหลาละ 39 บาท ส่วน "ผ้าไฮเกรด หรือ ผ้าซับในยืด" หน้ากว้าง 58/60" มีให้เลือกหลายเฉดสี ม้วนละ 140 บาท แว่วว่า หากของขาดราคาอาจสูงถึง 300 บาท/ม้วน

"ผ้าป่านมัสลินแท้" ผ้าเมตร 52-480 บาท หากเป็น ผ้าดี ๆ ยกม้วน อย่างสีราชนิยม ราคาม้วนละ ประมาณ 5,200 บาท แต่ราคาขายส่งหลาละ 44 บาท หรือแบบอื่น ผ้ามัสลินแบมบู หลาละ 99 บาท ผ้ามัสลินเอนกประสงค์ หลาละ 99 บาท ผ้ามัสลินหนา 6 ชั้น ขนาด75*75 ราคา หลาละ 95 บาท ผ้ามัสลินออแกนิก หลาละ 50 บาท ผ้ามัสลิน เนื้อคอตตอน หลาละ 75 บาท ถ้าแบบดี ๆ หน่อย ผ้ามัสลินทอ 6 ชั้น ราคา 219 บาท

ขณะที่ราคา "ยางยืดสีขาว" แบบแบน เบอร์ 6 -เส้นกลม สีขาว เบอร์ 4 ม้วนละ 80-350 บาท จากปกติขายม้วนละ 200 - 250 บาท และอาจจะสูงถึง 500 บาท หากส่งไปขายต่างจังหวัด

คนใน กทม.ฟันธงว่า หากจะหาผ้าราคาส่ง ให้ไป "ตลาดผ้าวงเวียนใหญ่" ซึ่งจะถูกว่า "ตลาดผ้าพาหุรัด-สำเพ็ง" แน่นอน โดยเฉพาะต้องหาร้านในซอกในซอย ลึกๆ หน่อย เชื่อว่า แหล่งใหญ่ในกทม. ภายใน 1 สัปดาห์ มีแนวโน้มจะมีการปรับราคาขึ้นรายวัน

ขณะที่พื้นที่ต่างจังหวัด มีข่าวว่า บางแห่งสินค้าขาดตลาดมาประมาณ 1 สัปดาห์ มีเพียงการสั่งซื้อ แต่ยังไม่ได้สินค้า หรือหากได้มาก็ได้ไม่ครบตามจำนวนที่สั่ง เพราะโรงงานผลิตไม่ทันความต้องการ

ทีนี้มาดูหน่วยงาน ที่กำลังเร่งผลิต "หน้ากากผ้า" ทั้งแจกทั้งจำหน่าย มีที่ไหน ? บ้าง

นอกจาก อปท. ที่ได้รับโจทย์ 50 ล้านชิ้นแล้ว จากการสำรวจ "กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์" เปิดพื้นที่ทั่วประเทศ ผ่านศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว มีเป้าหมายผลิต 3,000 -5,000 ชิ้นต่อวัน ทั้งแจก และสอนทำหน้ากาก สถาบันการศึกษาหลายแห่ง "ม.มหาสารคาม-วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี" ผลิตแจกฟรี แต่เร่งทำกันจนไม่ทัน

รวมไปถึง "คณะสงฆ์-วัด-ศาสนสถานต่าง ๆ" รวมไปถึงภาคเอกชน เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อีกหลายหน่วยงาน ที่เร่งผลิตแบบแจกฟรี เช่นเดียวกับ "กองบัญชาการกองทัพไทย" หรือ "กรุงเทพมหานคร" ก็มีกิจกรรม เปิดสอนทำ "หน้ากากผ้า" ในหลายพื้นที่

ขณะที่ "ออเดอร์หน้ากากผ้า" ที่ได้รับโจทย์ เป้าหมายการผลิตมากที่สุด ไม่พ้น "เทศบาล-อบต." 7,744 แห่ง ที่จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนในพื้นที่

โดยเบิกจ่าย ในงบเงินอุดหนุนประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป ตามโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID -19) ประกอบด้วย จ.กระบี่ 61 อปท. 1,707,678 บาท เป้าหมายผลิตหน้ากากผ้า 379,460 ชิ้น จ.กาญจนบุรี 121 อปท. 3,023,649 บาท เป้าหมาย 671,986 ชิ้น จ.กาฬสินธุ์ 150 อปท. 3,805,515 บาท เป้าหมาย 845,734 ชิ้น จ.กำแพงเพชร 89 อปท. 2,803,077 บาท เป้าหมาย 622,976 ชิ้น จ.ขอนแก่น 224 อปท. 6,843,132 บาท เป้าหมาย 1,520,802 ชิ้น

จ.จันทบุรี 81 อปท. 1,999,980 บาท เป้าหมาย 444,472 ชิ้น จ.ฉะเชิงเทรา 108 อปท. 2,581,677 บาท เป้าหมาย 573,762 ชิ้น จ.ชลบุรี 97 อปท. 4,797,837 บาท เป้าหมาย 1,066,230 ชิ้น จ.ชัยนาท 59 อปท. 1,256,472 บาท เป้าหมาย 279,232 ชิ้น จ.ชัยภูมิ 142 อปท. 4,354,524 บาท เป้าหมาย 967,798 ชิ้น จ.ชุมพร 78 อปท. 1,903,005 บาท เป้าหมาย 426,294 ชิ้น

จ.เชียงราย 143 อปท. 4,596,129 บาท เป้าหมาย 1,021,432 ชิ้น จ.เชียงใหม่ 210 อปท. 6,349,311 บาท เป้าหมาย 1,411,042 ชิ้น จ.ตรัง 99 อปท. 2,450,340 บาท เป้าหมาย 544,574 ชิ้น จ.ตราด 43 อปท. 861,723 บาท เป้าหมาย 191,512 ชิ้น

จ.ตาก 68 อปท. 2,173,770 บาท เป้าหมาย 483,114 ชิ้น จ.นครนายก 45 อปท. 986,607 บาท เป้าหมาย 219,286 ชิ้น จ.นครปฐม 116 อปท. 3,361,365 บาท เป้าหมาย 747,048 ชิ้น จ.นครพนม 103 อปท. 2,724,129 บาท เป้าหมาย 605,434 ชิ้น จ.นครราชสีมา 333 อปท. 9,978,534 บาท เป้าหมาย 2,217,678 ชิ้น จ.นครศรีธรรมราช 184 อปท. 5,922,837 บาท เป้าหมาย 1,316,320 ชิ้น จ.นครสวรรค์ 142 อปท. 4,119,759 บาท เป้าหมาย 915,626 ชิ้น จ.นนทบุรี 45 อปท. 4,434,840 บาท เป้าหมาย 985,554 ชิ้น

จ.นราธิวาส 88 อปท. 2,892,86 บาท เป้าหมาย 634,942 ชิ้น จ.น่าน 99 อปท. 1,841,805 บาท เป้าหมาย 409,342 ชิ้น จ.บึงกาฬ 59 อปท. 1,572,327 บาท เป้าหมาย 349,444 ชิ้น จ.บุรีรัมย์ 208 อปท. 5,959,458 บาท เป้าหมาย 1,324,458 ชิ้น จ.ปทุมธานี 64 อปท. 3,963,096 เป้าหมาย 880,738 ชิ้น

จ.ประจวบคีรีขันธ์ 60 อปท. 1,984,014 บาท เป้าหมาย 440,938 บาท จ.ปราจีนบุรี 69 อปท. 1,820,151 บาท เป้าหมาย 404,530 ชิ้น จ.ปัตตานี 113 อปท. 2,578,977 บาท เป้าหมาย 573,176 ชิ้น จ.พระนครศรีอยุธยา 157 อปท. 3,055,356 บาท เป้าหมาย 679,032 ชิ้น

จ.พะเยา 71 อปท. 1,860,147 บาท เป้าหมาย 413,392 ชิ้น จ.พังงา 51 อปท. 985,149 บาท เป้าหมาย 218,954 ชิ้น จ.พัทลุง 73 อปท. 1,953,855 บาท เป้าหมาย 434,216 ชิ้น จ.พิจิตร 101 อปท. 2,118,249 บาท เป้าหมาย 470,774 ชิ้น จ.พิษณุโลก 102 อปท. 3,287,124 บาท เป้าหมาย 730,540 ชิ้น

จ.เพชรบุรี 84 อปท. 1,781,559 บาท เป้าหมาย 395,934 ชิ้น จ.เพชรบูรณ์ 127 อปท. 3,829,248 บาท เป้าหมาย 851,040 ชิ้น จ.แพร่ 83 อปท. 1,767,906 บาท เป้าหมาย 392,910 ชิ้น จ.ภูเก็ต 18 อปท. 1,382,319 บาท เป้าหมาย 307,190 บาท จ.มหาสารคาม 142 อปท. 3,651,381 บาท เป้าหมาย 811,512 ชิ้น จ.มุกดาหาร 54 อปท. 1,305,378 บาท เป้าหมาย 290,108 ชิ้น จ.แม่ฮ่องสอน 49 อปท. 907,389 บาท เป้าหมาย 201,670 ชิ้น จ.ยโสธร 87 อปท. 2,065,428 บาท เป้าหมาย 459,028 ชิ้น จ.ยะลา 63 อปท. 1,915,515 บาท เป้าหมาย 425,708 บาท

จ.ร้อยเอ็ด 202 อปท. 5,035,392 บาท เป้าหมาย 1,119,098 ชิ้น จ.ระนอง 30 อปท. 684,243 บาท เป้าหมาย 152,064 ชิ้น จ.ระยอง 67 อปท. 2,448,504 บาท เป้าหมาย 544,154 ชิ้น จ.ราชบุรี 111 อปท. 3,225,564 บาท เป้าหมาย 716,868 ชิ้น จ.ลพบุรี 125 อปท. 2,901,582 บาท เป้าหมาย 644,874 ชิ้น จ.ลำปาง 102 อปท. 2,902,410 บาท เป้าหมาย 645,024 ชิ้น จ.ลำพูน 57 อปท. 1,533,069 บาท เป้าหมาย 340,700 ชิ้น จ.เลย 100 อปท. 2,401,794 บาท เป้าหมาย 533,796 ชิ้น จ.ศรีสะเกษ 216 อปท. 5,593,482 บาท เป้าหมาย 1,243,150 ชิ้น จ.สกลนคร 140 อปท. 4,307,013 บาท เป้าหมาย 957,188 ชิ้น

จ.สงขลา 140 อปท. 5,311,026 บาท เป้าหมาย 1,180,316 ชิ้น จ.สตูล 41 อปท. 1,174,752 บาท เป้า หมาย 261,086 ชิ้น จ.สมุทรปราการ 48 อปท. 4,757,823 บาท เป้าหมาย 1,057,354 ชิ้น จ.สมุทรสงคราม 35 อปท. 744,399 บาท เป้าหมาย 165,434 ชิ้น จ.สมุทรสาคร 37 อปท. 1,966,959 บาท เป้าหมาย 437,126 ชิ้น

จ.สระแก้ว 65 อปท. 2,073,951 บาท เป้าหมาย 460,928 ชิ้น จ.สระบุรี 108 อปท. 2,390,229 บาท เป้า หมาย 531,202 ชิ้น จ.สิงห์บุรี 41 อปท. 819,873 บาท เป้าหมาย 182,200 ชิ้น จ.สุโขทัย 90 อปท. 2,325,825 บาท เป้าหมาย 516,912 ชิ้น จ.สุพรรณบุรี 126 อปท. 3,220,110 บาท เป้าหมาย 715,646 ชิ้น

จ.สุราษฎร์ธานี 137 อปท. 3,950,883 บาท เป้าหมาย 878,054 ชิ้น จ.สุรินทร์ 172 อปท. 5,282,910 บาท เป้าหมาย 1,174,138 หนองคาย 67 อปท. 1,969,560 บาท เป้าหมาย 437,724 ชิ้น จ.หนองบัวลำภู 67 อปท. 1,927,089 เป้าหมาย 428,276 ชิ้น จ.อ่างทอง 64 อปท. 1,088,640 บาท เป้าหมาย 241,944 ชิ้น

จ.อำนาจเจริญ 63 อปท. 1,443,825 บาท เป้าหมาย 320,880 ชิ้น จ.อุดรธานี 180 อปท. 5,983,668 บาท

เป้าหมาย 1,329,822 ชิ้น จ.อุตรดิตถ์ 79 อปท. 1,768,527 บาท เป้าหมาย 393,046 ชิ้น จ.อุทัยธานี 63 อปท. 1,233,099 บาท เป้าหมาย 274,060 ชิ้น จ.อุบลราชธานี 238 อปท. 7,019,217 บาท เป้าหมาย 1,559,994 ชิ้น.

ล่าสุด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งว่า ขณะนี้ มหาดไทย ได้จัดอบรมบุคลากรโครงการ ครู ก. แล้ว 200,100 คน เพื่อเป็นวิทยากรเผยแพร่การทำหน้ากากผ้า และทยอยแจกจ่ายหน้ากากผ้า ไปแล้ว 274,923 ชิ้น

"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้เริ่มสั่งการให้จัดทำหน้ากากผ้า เพื่อเป็นหน้ากากทางเลือกแทนหน้ากากอนามัยสำหรับประชาชนทั่วไป โดยให้เร่งผลิตหน้ากากผ้าให้ครบ 50 ล้าน เพื่อแจกฟรีให้กับพี่น้องประชาชนในชุมชนต่าง ๆ อย่างทั่วถึง"




กำลังโหลดความคิดเห็น